iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://www.academia.edu/45014303/การสํารวจพื_นที_วัฒนธรรมการตีกลองล_านนา_Lanna_Studies_CMU
(PDF) การสำรวจพื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา Lanna Studies CMU | Thitipol Kanteewong - Academia.edu
Academia.eduAcademia.edu

การสำรวจพื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา Lanna Studies CMU

2014, สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายงานผลการสํารวจโครงการล้านนาคดีศึกษา ด้านที่ 4 ฉบับสมบูรณ์ โครงการสํารวจพื้นทีว่ ัฒนธรรมด้านศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏยกรรม โครงการย่อย การสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมการตีกลองล้านนา โดย ธิติพล กันตีวงศ์ ต่อพงษ์ เสมอใจ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานการสํารวจฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการล้านนาคดีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจําปีงบประมาณ 2557 สารบัญ หน้า คํานํา กิตติกรรมประกาศ สารบัญแผนที่ สารบัญภาพ รายละเอียดตัวอย่างเพลง ที่มาของโครงการ บทนํา บทที่ 1 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองก้นยาว กลองมองเซิง วงตอยอฮอร์น บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายหม่องจิ่ง สายบัว นายป๊ะ ยอดนายเมือง นายบุญพบ วัฒนวงค์ วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ก ข ค ง ฌ ญ ณ 1 1 1 2 3 4 10 12 16 16 17 18 19 บทที่ 2 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดแพร่ น่าน พะเยา พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองปูจาเมืองน่าน กลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน 20 20 21 22 23 24 31 34 สารบัญ(ต่อ) หน้า กลองเปิ่งอั่ง เมืองปัว กลองเส้งเมืองแพร่ บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายญาณ สองเมืองแก่น นายพงศกร จูมปา นายชูชาติ ฐิติวัชร์วรกุล นักดนตรีชุมชนวัดพญาภู จังหวัดน่าน นักดนตรีคณะมิตรแก้วสหายคํา อําเภอปัว จังหวัดน่าน วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น 38 40 41 41 42 43 44 46 47 บทที่ 3 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดเชียงราย พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองแอว กลองปูจา กลองทิ้งบ้อม วงกลองเต่งถิ้งเมืองเชียงราย บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายบุญชม วงค์แก้ว นายเทิดไทย ขจีจิตร์ นายธงชัย บุญเจริญ วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น 48 48 49 50 50 51 53 56 58 62 62 63 64 64 บทที่ 4 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดเชียงใหม่ พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร 66 66 67 68 สารบัญ(ต่อ) หน้า วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองโป่งโป้ง กลองปู่เจ่ กลองมองเซิง กลองมองลาว กลองทิ้งบ้อม กลองปูจา กลองสะบัดไชย กลองแอว วงกลองตึ่งนง กลองตะหลดป๊ด บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายชาย ชัยชนะ นายสุทศั น์ สินธพทอง นายบุญถึง จักขุเนตร นายบุญเลิศ ตีคัง วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น บทที่ 5 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูน วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดลําพูน พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองหลวง กลองปูจาเมืองลําพูน บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายชาญศักดิ์ สุภามงคล นายอินสอน สุวรรณล้อม วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น 69 69 70 71 71 73 73 74 75 81 82 82 83 84 85 86 87 87 87 89 89 89 97 102 102 104 105 สารบัญ(ต่อ) หน้า บทที่ 6 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําปาง วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดลําปาง พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น วงกลองปะหลดสิ้ง วงกลองเต่งถึ้งเมืองลําปาง บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายปั๋น วงศ์ละกา วงกลองเต่งถึ้งคณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น 106 106 106 108 109 109 112 116 116 117 118 บทสรุป 120 บรรณานุกรม ภาคผนวก ตัวอย่างแบบสอบถาม สัมภาษณ์ 124 126 127 ประวัตินักวิจัย 131 ก คํานํา โครงการสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมด้านศิลปหัตถกรรม ดนตรีและนาฏยกรรมล้านนา เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล และบริ ก ารวิ ช าการแก่ ชุ ม ชน เป็ น โครงการที่ จั ด ทํ า ขึ้ น ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของโครงการล้ า นนาคดี ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ โดยคณะกรรมการดํ า เนิ น งานล้ า นนาคดี ด้ า นที่ 4 ศิ ล ปกรรม หั ต ถกรรม ดนตรี แ ละ นาฏยกรรม ได้ดําเนินการสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมด้านศิลปหัตถกรรม ดนตรีนาฏยกรรมล้านนา เพื่อการพัฒนา ฐานข้อมูลและบริการวิชาการแก่ชุมชน ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จํานวน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.) นาฏยกรรมแห่ง ชายหาญล้านนา 2.) การสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมกลองล้านนา และ 3.) การสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา ไฟต่ําสําคัญในล้านนา อันนํามาซึ่งองค์ความรู้ที่ถูกประมวลและจัดการให้เป็นระเบียบ มีความถูกต้องและทันสมัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาฐานข้อมูลด้านศิลปหัตถกรรม ดนตรี และนาฏยกรรม ในอนาคต ในส่วนของโครงการย่อย “การสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมกลองล้านนา” เน้นสํารวจข้อมูลโดยใช้กระบวนการทาง มานุษยดนตรีวิทยา ในการดําเนินการสํารวจและเก็บข้อมูลโดยสํารวจพ่อครูผู้เชี่ยวชาญการตีกลองล้านนา ช่างทํากลอง นักตีกลอง ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พบความหลากหลายของรูปแบบกลอง และบริบทการตีกลองของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ อาศัยอยูใ่ นพืน้ ที่ดังกล่าว อันมีเอกลักษณ์ทางดนตรีท่มี ีคุณค่าสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมกับชุนชนโดย ผ่านการบรรเลงวงกลองร่วมกัน พบรูปแบบกลองล้านนาในการสํารวจเบื้องต้น เช่น กลองก้นยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลองเส้ง จังหวัดแพร่ และกลองปูจา กลองอืด จังหวัดน่าน บัดนี้ ผู้ทําการสํารวจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพล กันตีวงศ์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการ แสดง คณะวิจิตรศิลป์ นายต่อพงษ์ เสมอใจ นักช่างศิลป์ สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และคณะ ได้ดําเนินการสํารวจ พื้นที่ บั นทึกข้อมู ลภาคสนาม และจั ดทํารายงานฉบั บสมบูรณ์เป็ นที่เรียบร้อยแล้ว ทางโครงการฯ ใคร่ขอขอบคุ ณ โครงการล้ านนาคดี ศึ กษา มหาวิ ทยาลั ยเชี ยงใหม่ โดยสํ านั กส่ งเสริ มศิ ลปวั ฒนธรรมเป็ นอย่ างสู ง ที่ ได้ สนั บสนุ น งบประมาณเพื่อดําเนินโครงการ มา ณ โอกาสนี้ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม) ประธานกรรมการดําเนินงานล้านนาคดี ด้านที่ 4 ศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏกรรม ข กิตติกรรมประกาศ โครงการล้ า นนาคดีศึ ก ษาหมวดที่ 4 การสํ ารวจพื้นที่ท างวั ฒ นธรรมด้ า นศิล ปหั ต ถกรรม ดนตรี แ ละ นาฏยกรรมล้านนา เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและบริการวิชาการแก่ชุมชน โดยมีโครงการย่อย 4 โครงการ โครงการ สํารวจและเก็บองค์ความรู้เ รื่องนาฏยกรรมแห่งชายหาญในล้านนา โครงการสํารวจและเก็บองค์ความรู้เรื่อง วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา โครงการสํารวจและเก็บองค์ความรู้เรื่องแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําที่สําคัญใน ล้านนา และโครงการผลิตเอกสารรายงานการสํารวจและเก็บข้อมูลองค์ความรู้ล้านนาคดีทั้ง 3 เรื่อง โครงการสํารวจและเก็บองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมการตีกลองล้านนา เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ใน การสํารวจพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีของล้านนา โดยเน้นหนักเกี่ยวกับเรื่องบทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรี ประเภทกลองในบริบทที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในพื้นที่สํารวจ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน โดยใช้กระบวนการการ สํารวจแบบออกเก็บข้อมูลภาคสนามตามกระบวนการทางมานุษยดนตรีวิทยา(Ethnomusicology) ในการเก็บข้อมูล พื้นฐานจากการสัมภาษณ์ศิลปิน นักตีกลอง ช่างทํากลอง และนักปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อบันทึกและประมวลผล เบื้องต้น อันนําไปสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมของชาวล้านนาแบบองค์รวมโดยใช้ลักษณะพื้นที่(Geological Identity) และกลุ่มชาติพันธุ์ในการแบ่งประเภทการใช้งานของแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่มีรูปร่างลักษณะทางกายภาพของ กลองและวงกลองที่แตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวล้านนาจากอดีตสู่ปัจจุบันทําให้รูปแบบการตีกลองในบางพื้นที่ปรับตัวให้ เข้ากับสังคมสมัยใหม่ หากแต่ในบางพื้นที่ช่างทํากลองยังคงมีบทบาทในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากช่าง รุ่นเก่ามายังช่างทํากลองรุ่นใหม่เป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีประโยชน์สามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแต่ ละพื้นที่ สะท้อนวิธีคิด และการดําเนินชีวิตในรอบปี วัฒนธรรมการตีกลองในสังคมชาวล้านนามีความโดดเด่นและยังคงอยู่ในวิถีชีวิตของชาวล้านนา กลอง นอกจากใช้ตีเพื่อบอกสัญญาณสื่อสารระหว่างคนในชุมชนแล้ว การตีกลองยังเป็นเครื่องมือในการรวมจิตใจของคน ในชุมชน กระบวนการการสร้างกลองมีความน่าสนใจในเรื่องวัสดุธรรมชาติท่ีนํามาประกอบขึ้นเป็นตัวกลอง การ รวมวงกลองร่วมกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ คณะผู้สํ า รวจและเก็บข้อมู ล ขอขอบพระคุณโครงการล้านนาคดีศึกษา ที่ได้เล็ ง เห็ นความสํ าคัญ ของ วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านล้านนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมดนตรีล้านนา หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการสํารวจ และเก็บองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรมการตีกลองล้านนาจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการด้านดนตรี และผู้ท่ีสนใจ ศึกษา วิจัยต่อยอดจากการสํารวจและเก็บข้อมูลครั้งนี้ และหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ดนตรีล้านนาในช่วงปัจจุบัน ธิติพล กันตีวงศ์ ต่อพงษ์ เสมอใจ คณะผู้สํารวจและจัดทําข้อมูล ค สารบัญแผนที่ หน้า แผนที่หมายเลข 1 แสดงแผนที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย แผนที่หมายเลข 2 แสดงแผนที่จงั หวัดแม่ฮ่องสอน แผนที่หมายเลข 3 แสดงแผนที่จงั หวัดแพร่ น่าน พะเยา แผนที่หมายเลข 4 แสดงแผนที่จงั หวัดเชียงราย แผนที่หมายเลข 5 แสดงแผนที่จงั หวัดเชียงใหม่ แผนที่หมายเลข 6 แสดงแผนที่จงั หวัดลําพูน แผนที่หมายเลข 7 แสดงแผนที่จงั หวัดลําปาง ฏ 2 22 49 67 88 107 ง สารบัญภาพ หน้า รูปภาพที่ 1 ภาพวัดหนองจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รูปภาพที่ 2 ภาพการตีกลองก้นยาว ในงานประเพณีปอยเดือนสิบเอ็ด รูปภาพที่ 3 ภาพแสดงส่วนประกอบหนังหน้ากลองก้นยาว รูปภาพที่ 4 ภาพกลองก้นยาว รูปภาพที่ 5 ภาพเครื่องมือในการสร้างกลองก้นยาว รูปภาพที่ 6 ภาพกลองก้นยาวและฆ้องราว รูปภาพที่ 7 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองก้นยาว รูปภาพที่ 8 ภาพส่วนประกอบกลองก้นยาว รูปภาพที่ 9 ภาพการตีกลองก้นยาว รูปภาพที่ 10 ภาพวงกลองมองเซิง รูปภาพที่ 11 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองมองเซิง รูปภาพที่ 12 ภาพกลองจะควิ่น รูปภาพที่ 13 ภาพกลองตอยลง รูปภาพที่ 14 ภาพวงตอยอฮอร์น คณะเมืองสามหมอก ควบคุมวงโดยลุงบุญพบ วัฒนวงค์ รูปภาพที่ 15 ภาพวงตอยอฮอร์นในการแสดงลิเกจ๊าดไต รูปภาพที่ 16 ภาพนายหม่องจิ่ง สายบัว รูปภาพที่ 17 ภาพนายป๊ะ ยอดนายเมือง รูปภาพที่ 18 ภาพนายบุญภพ วัฒนวงค์ รูปภาพที่ 19 ภาพการฟ้อนนกกิงกะหล่าประกอบการตีกลองก้นยาว รูปภาพที่ 20 ภาพวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 21 ภาพการแต่งกายชาวไทลื้อ จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 22 ภาพกลองปูจา เมืองน่าน รูปภาพที่ 23 ภาพกลองลูกตุ๊บ กลองปูจาเมืองน่าน รูปภาพที่ 24 ภาพผลน้ําเต้าที่ใช้ทําหัวใจกลองปูจา รูปภาพที่ 25 ภาพไม้แซ่กลองลูกตุ๊บ กลองปูจา รูปภาพที่ 26 ภาพการตีกลองปูจาเมืองน่าน รูปภาพที่ 27 ภาพวงกลองอืดเมืองน่าน วงกลองวัดพญาภู รูปภาพที่ 28 ภาพขันตั้งสําหรับการบรรเลงวงกลองอืดเมืองน่าน รูปภาพที่ 29 ภาพกลองตอมแตม ในวงกลองอืด เมืองน่าน 3 5 6 6 7 8 8 9 10 11 11 13 13 15 15 16 17 18 19 20 23 25 26 28 30 31 31 32 33 จ สารบัญภาพ(ต่อ) หน้า รูปภาพที่ 30 ภาพเชือกดึงกลองอืดเมืองน่าน รูปภาพที่ 31 ภาพวงกลองล่องน่าน ในขบวนแข่งเรือประจําปีจังหวัดน่าน รูปภาพที่ 32 ภาพกลองล่องน่าน รูปภาพที่ 33 ภาพปานใช้บรรเลงประกอบวงกลองอืด รูปภาพที่ 34 ภาพฆ้องวงกลองล่องน่าน รูปภาพที่ 35 ภาพวงกลองล่องน่าน คณะมิตรแก้วสหายคํา รูปภาพที่ 36 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองล่องน่าน รูปภาพที่ 37 ภาพกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 38 ภาพวงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 39 ภาพวงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 40 ภาพการติดถ่วงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 41 ภาพกลองเส้ง เมืองแพร่ รูปภาพที่ 42 ภาพนายญาณ สองเมืองแก่น รูปภาพที่ 43 ภาพนายพงศกร จูมปา รูปภาพที่ 44 ภาพนายชูชาติ ฐิติวัชร์วรกุล รูปภาพที่ 45 ภาพนักดนตรีชุมชนวัดพญาภู จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 46 ภาพนักดนตรีคณะมิตรแก้วสหายคํา อําเภอปัว จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 47 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วงดนตรี วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 48 ภาพวงกลองในจิตรกรรมฝาผนัง หอพระสังกัจจายน์ วัดป่าซาง ตําบลป่าซาง อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 49 ภาพแสดงขนาดกลองแอว วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 50 ภาพกลองแอว วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 51 ภาพรูร้อยเชือกเพื่อดึงหนังหน้ากลองแอว รูปภาพที่ 52 ภาพหอกลองปูจา วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 53 ภาพกลองปูจา วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 54 ภาพเหงือกกลองด้านในกลองปูจา รูปภาพที่ 55 ภาพหนังกลองที่ใช้หุ้มกลองปูจา รูปภาพที่ 56 ภาพไม้ที่ใช้ทําตัวกลองปูจา รูปภาพที่ 57 ภาพกลองทิ้งบ้อม รูปภาพที่ 58 ภาพการตีกลองถิ้งบ้อมในอดีต 33 34 35 35 36 36 37 38 38 39 39 40 41 42 43 44 46 47 48 51 52 52 53 54 54 55 55 56 57 ฉ สารบัญภาพ(ต่อ) หน้า รูปภาพที่ 59 ภาพชุดกลองทิ้งบ้อม รูปภาพที่ 60 ภาพกลองเต่งถิ้ง รูปภาพที่ 61 ภาพวงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์ จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 62 ภาพการติดจ่ากลองเต่งถิ้ง รูปภาพที่ 63 ภาพนายบุญชม วงค์แก้ว รูปภาพที่ 64 ภาพนายเทิดไทย ขจีจิตร์ รูปภาพที่ 65 ภาพนายธงชัย บุญเจริญ รูปภาพที่ 66 ภาพตัวกลองสะบัดไชย รูปภาพที่ 67 ภาพวัดต้นเกว๋น อําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ รูปภาพที่ 68 ภาพกลองโป่งโป้ง รูปภาพที่ 69 ภาพการขึ้นรูปกลองปู่เจ่ รูปภาพที่ 70 ภาพกลองมองเซิง รูปภาพที่ 71 ภาพกลองมองลาว รูปภาพที่ 72 ภาพรูไขกลองมองลาว รูปภาพที่ 73 ภาพกลองทิ้งบ้อม รูปภาพที่ 74 ภาพกลองปูจา รูปภาพที่ 75 ภาพกลองสะบัดไชย รูปภาพที่ 76 ภาพวงกลองตึ่งนง รูปภาพที่ 77 ภาพกลองแอว รูปภาพที่ 78 ภาพการทําหนังกลองแอว รูปภาพที่ 79 ภาพหูห่งิ กลองแอว รูปภาพที่ 80 ภาพหูห่งิ กลองแอว รูปภาพที่ 81 ภาพกลองตะหลดป๊ด รูปภาพที่ 82 ภาพนายชาย ไชยชนะ รูปภาพที่ 83 ภาพนายสุทศั น์ สินธพทอง รูปภาพที่ 84 ภาพนายบุญถึง จักขุเนตร รูปภาพที่ 85 ภาพนายบุญเลิศ ตีคัง รูปภาพที่ 86 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ รูปภาพที่ 87 ภาพฆ้องแบน วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 88 ภาพกลองหลวง จังหวัดลําพูน 57 59 60 61 62 63 64 65 68 69 70 71 72 72 73 74 75 76 78 79 80 80 81 82 83 84 85 86 88 90 ช สารบัญภาพ(ต่อ) หน้า รูปภาพที่ 89 ภาพนักตีกลองหลวง รูปภาพที่ 90 ภาพการพันมือ ตีกลองหลวง รูปภาพที่ 91 ภาพการติดถ่วงกลองหลวง รูปภาพที่ 92 ภาพการติดถ่วงกลองหลวง รูปภาพที่ 93 ภาพโค้ชกลองหลวง รูปภาพที่ 94 ภาพกรรมการแข่งขันกลองหลวง รูปภาพที่ 95 ภาพการแข่งกลองหลวง จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 96 ภาพการตีกลองหลวง จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 97 ภาพการแข่งกลองหลวง จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 98 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 99 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 100 ภาพการทําหนังกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 101 ภาพอุปกรณ์เครื่องมือการกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 102 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 103 ภาพนายชาญศักดิ์ สุภามงคล รูปภาพที่ 104 ภาพนายอินสอน สุวรรณล้อม รูปภาพที่ 105 ภาพกลองหลวง จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 106 ภาพวัดพระธาตุลาํ ปางหลวง จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 107 ภาพกลองปูจาแบบลําปาง รูปภาพที่ 108 ภาพสิ้ง รูปภาพที่ 109 ภาพกลองปะหลด จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 110 ภาพกลองแอว หรือกลองอืด จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 111 ภาพวงกลองปะหลดสิ้ง รูปภาพที่ 112 ภาพวงกลองเต่งถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 113 ภาพกลองเต่งถึ้ง จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 114 ภาพกลองโป้ง จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 115 ภาพการตีกลองเต่งถึ้ง รูปภาพที่ 116 ภาพการตีกลองโป้ง รูปภาพที่ 117 ภาพนายปั๋น วงศ์ละกา รูปภาพที่ 118 ภาพนักดนตรีวงกลองถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ 90 91 91 92 93 93 94 95 96 97 99 100 101 101 102 104 105 108 109 110 110 111 112 113 114 114 115 115 116 117 ซ สารบัญภาพ(ต่อ) หน้า รูปภาพที่ 119 ภาพวงกลองเต่งถึ้งในงานฟ้อนผี จังหวัดลําปาง 119 ฌ รายละเอียดตัวอย่างการตีกลอง ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2 ตัวอย่างที่ 3 ตัวอย่างที่ 4 ตัวอย่างที่ 5 ตัวอย่างที่ 6 ตัวอย่างที่ 7 ตัวอย่างที่ 8 ตัวอย่างที่ 9 ตัวอย่างที่ 10 ตัวอย่างที่ 11 ตัวอย่างที่ 12 ตัวอย่างที่ 13 ตัวอย่างที่ 14 ตัวอย่างที่ 15 ตัวอย่างที่ 16 ตัวอย่างที่ 17 ตัวอย่างที่ 18 ตัวอย่างที่ 19 ตัวอย่างที่ 20 การตีกลองก้นยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน การตีกลองก้นยาว ประกอบการฟ้อนเจิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การตีกลองมองเซิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงตอยอฮอร์น จังหวัดแม่ฮ่องสอน การตีกลองปูจาเมืองน่าน ระบํากลองแบบต่างๆ การตีกลองปูจาไม้แซะ เมืองน่าน การตีกลองล่องน่าน ในขบวนเรือแข่ง การตีกลองล่องน่าน การตีกลองปานเฮือแข่ง การตีกลองล่องน่านประกอบการฟ้อนล่องน่าน การตีกลองปานเฮือแข่ง ประกอบฟ้อนล่องน่าน การตีกลองอืดเมืองน่าน วงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์ จังหวัดเชียงราย วงกลองมองลาว จังหวะช้า วงกลองมองลาว จังหวะเร็ว การแข่งขันการตีกลองหลวง จังหวัดลําพูน การแข่งขันกลองหลวง จังหวัดลําพูน การให้สัญญาณโค้ช กลองหลวง จังหวัดลําพูน วงกลองเต่งถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ จังหวัดลําปาง วงกลองปะหลดสิ้ง จังหวัดลําปาง 3:10 นาที 0:40 นาที 5:19 นาที 5:19 นาที 1:51 นาที 0:55 นาที 0:59 นาที 5:12 นาที 3:55 นาที 1:15 นาที 7:40 นาที 2:35 นาที 4:18 นาที 2:10 นาที 1:23 นาที 2:36 นาที 0:28 นาที 0:20 นาที 10:33 นาที 5:28 นาที ญ ที่มาของโครงการ ล้านนาคดีด้านที่ 4 (ศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรีและนาฏยกรรม) 1. ชื่อโครงการ: การสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมด้านศิลปหัตถรรมดนตรีและนาฏยกรรมล้านนาเพื่อพัฒนา ฐานข้อมูล และบริการวิชาการแก่ชุมชน โครงการย่อย: 1. โครงการสํารวจนาฏยกรรมแห่งชายหาญในล้านนา 2. โครงการสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมการตีกลองล้านนา 3. โครงการสํารวจแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ํา 2. ความเป็นมาหรือหลักการเหตุผล ล้านนาคื อชื่อเรียกดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนาที่ย่ิงใหญ่ในอดีตมีประวั ติศาสตร์ความเป็น มา ยาวนานนับเนื่องกว่าเจ็ดร้อยปีล้านนามีประชากรหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมกันมานานจนหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมล้านนาที่อาจจะกล่าวโดยภาพรวมได้ว่าคือวัฒนธรรมของผู้คนที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปางแม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่และน่าน วัฒนธรรมล้านนามีหลากหลายด้านและมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันภูมิปัญญาวัฒนธรรม ด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการต่อสู้ศิลปะ หัตถกรรม ตลอดจนดุริยนาฏยกรรมต่างๆ ก็มีการสืบต่อกันมาจากรุ่น สู่ รุ่ น หลากหลายรู ป แบบ ทั้ ง ที่ เ ป็ น การสื บ ทอดโดยระบบครอบครั ว ถ่ า ยทอดโดยผ่ า นระบบครู แ ละศิ ษ ย์ หรื อ ถ่ายทอดผ่านการศึกษาในวัด ฯลฯล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทําให้ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมด้านศิลปหัตถกรรมดุริย นาฏยกรรมล้านนาสามารถดํารงอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวิถีชีวิตจึงทําให้การสืบทอดศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้มีความ เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและส่งผลให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง แตกขยายไปสู่รูปแบบ ใหม่มากขึ้นซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ดําเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดแต่ยังไม่มีผู้ท่ีรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ ความเปลี่ ย นแปลงเหล่ า นั้ น อย่ า งเป็ น ระบบและครบถ้ ว นสมบู ร ณ์ โ ครงการ การสํ า รวจพื้ น ที่ วั ฒ นธรรมด้ า น ศิลปหัตถกรรมดนตรีและนาฏยกรรมล้านนาเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและบริการวิชาการแก่ชุมชนจึงจะดําเนินการ สํารวจชุมชน พื้นที่วัฒนธรรมสามด้านได้แก่นาฏยกรรมแห่งชายหาญในล้านนา พื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา และแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําที่สําคัญในล้านนาอันจะนํามาซึ่งองค์ความรู้ท่ีถูกประมวลและและจัดการให้ เป็นระเบียบมีความถูกต้องและทันสมัยเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านศิลปหัตกรรม ดนตรีและ นาฏยกรรมล้านนาที่สมบูรณ์ในการดําเนินงานปีถดั ไป ฎ 3. วัตถุประสงค์ 3.1 เพื่ อดํ าเนิ นการสํ ารวจพื้ นที่ ชุ มชน แหล่ งความรู้ ด้ านล้ านนาคดี 3 ประเด็ น ได้ แก่ นาฏยกรรม แห่งชายหาญในล้านนา, พื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนาและแหล่งเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ 3.2 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสามประเด็นข้างต้นสําหรับการพัฒนาฐานข้อมูลและบริการวิชาการ ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 3.3 เพื่อถอดบทเรียนและประมวลองค์ความรู้ทั้งสามประเด็นข้างต้นในรูปแบบเอกสารรวบรวมองค์ ความรู้ 4. เป้าหมายการดําเนินงาน เพื่อมุ่งสํารวจพื้นที่ชุมชนอันเป็นแหล่งความรู้ด้านล้านนาคดีใน 3 ประเด็นคือ 1.นาฏยกรรมแห่งชายหาญ ในล้านนา 2.พื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา และ 3.แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ํา ปรากฏอยู่ในบริเวณ 8 จังหวัดภาคเหนือหรือพื้นที่วัฒนธรรมล้านนาอันจะนํามาซึ่งองค์ความรู้ท่ีถูกประมวลและจัดการให้เป็นระเบียบมี ความถูกต้องและทันสมัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาฐานข้อมูลด้านศิลปหัตกรรมดนตรีและนาฏยกรรมล้านนาที่ สมบูรณ์ในปีถัดไป 5. ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ 5.1 ได้ข้อมูลและองค์ความรู้ท่ีถูกต้องและทันสมัยใน 3 ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนในการใช้ ต่ อ ยอดองค์ ค วามรู้ ใ นหลากหลายแนวทางทั้ ง ทางวิ ช าการและการอนุ รั ก ษ์ ภู มิ ปั ญ ญา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา 5.2 ครู ภู มิ ปั ญ ญาด้ า นศิ ล ปหั ต ถกรรม ดนตรี แ ละนาฏยกรรมล้ า นนาได้ รั บ การยกย่ อ งเชิ ด ชู ให้เป็นรู้จักในวงกว้างทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 5.3 ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักถึงความสําคัญของศิลปหัตถกรรม ดนตรีและนาฏยกรรมรวมถึง ศิลปวัฒนธรรมล้านนาที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองและภูมิภาคล้านนา 5.4 นักออกแบบนักวิชาการและผู้ประกอบการด้านเครื่องปั้นดินเผาสามารถนําข้อมูลจากโครงการนี้ไปใช้ ในการหาแนวทางการพัฒนาเพื่อต่อยอดเทคนิคการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมหรือออกแบบ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท่ีสะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สามารถสนองประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิตของผู้บริโภค ปัจจุบนั เพื่อสร้างตลอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้ 5.5 หน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลที่สามารถนําไปใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ของแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําที่สําคัญของพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้แก่ สถานศึกษาและ เยาวชน ในท้องถิ่นเพื่อสร้าง สร้างจิตสํานึกทัศนคติท่ีดีต่ออาชีพและความภาคภูมิใจในการเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาให้แก่ นักเรียนเยาวชน และชุมชน ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในสินค้าที่มีคุณค่าเอกลักษณ์และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นให้แก่ผู้บริโภค และพ่อค้าคนกลาง ฏ 5.6 เกิ ด ความรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งในงานเครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาไฟต่ํ า ซึ่ ง เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ งาน เครื่องปั้นดินเผาไฟสูงแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับงานเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ํายังคงมีอยู่น้อยมาก 6. ผลผลิต (หมายถึง สิ่งของหรือบริการรูปธรรมที่ทําโดยหน่วยงาน (Outputs) 6.1 รายงานการสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมและแหล่งความรู้ล้านนาคดีเรื่องนาฏยกรรมของชายหาญใน ล้านนา จํานวน 30 เล่ม 6.2 รายงานการสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมและแหล่งความรู้ล้านนาคดีเรื่องกลองล้านนา จํานวน 30 เล่ม 6.3 รายงานการสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมและแหล่งความรู้ล้านนาคดีเรื่องแหล่งผลิตเครื่องปั้น ดินเผาไฟต่ํา ที่สาํ คัญในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จํานวน 30 เล่ม 7. ผลลัพธ์ (หมายถึง ผลประโยชน์จากผลผลิต, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน (Outcomes) 7.1 องค์ความรู้ล้านนาคดีทั้งสามประเด็นได้รับการประมวลและเรียบเรียงให้เป็นระบบระเบียบข้อมูล ทันสมัย สามารถสืบค้นได้ง่ายและใช้อ้างอิงในทางวิชาการได้ 7.2 ร่วมเชิดชูและเผยแพร่ภูมิปัญญาของครูภมู ิปัญญาที่เกี่ยวข้องในสามประเด็นข้างต้นอันจะเป็นการ เปิดโอกาสในการสร้างชื่อเสียงและสร้างงานให้แก่ช่างฝีมือครูภมู ิปัญญาและผู้ท่สี ืบทอดในอนาคต 7.3 เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่ทรงคุณค่าที่ สืบทอดต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น 7.4 ข้อมูลที่ได้สามารถนําไปใช้ในการหาแนวทางการพัฒนาต่อยอดเทคนิคการตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาที่ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมโดยนํามาประยุกต์ร่วมกับเทคนิคงานเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเทคนิคตกแต่งรูปลักษณ์ใหม่ที่ มีความน่าสนใจและมีคุณค่าทางงานเครื่องปั้นดินเผาสามารถ สร้างตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ 7.5 ข้อมูลที่ได้สามารถนําไปใช้ในการหาแนวทางการออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและสามารถสนองประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิตของผู้บริโภคปัจจุบนั ได้มาก ยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการสร้างและขยายตลาด 7.6 ข้อมูลที่ได้สามารถนําไปใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เอกลักษณ์และภูมิปัญญาของแหล่งผลิต เครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําที่สําคัญของพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้แก่ สถานศึกษาและ เยาวชนใน ท้องถิ่น เพื่อสร้างสร้างจิตสํานึก ทัศนคติท่ดี ีต่ออาชีพและความภาคภูมิใจในการเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญา ให้แก่นักเรียนเยาวชน และชุมชน ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในสินค้าที่มีคุณค่า เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ผู้บริโภค และพ่อค้าคนกลาง 8. กิจกรรม 8.1 สํารวจและเก็บรวบรวมองค์ความรูเ้ รื่อง “นาฏยกรรมแห่งชายหาญล้านนา” โดยสํารวจและบันทึก ข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือเกี่ยวกับนาฏยกรรมอันสืบเนื่องมาจากศิลปะการต่อสู้ของ ชายชาวล้านนาโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับครูเจิง สล่าเจิงสํานักดาบเครือข่ายพ่อครูด้านศิลปะการต่อสู้ใน ล้านนาโดยเน้นศิลปะการต่อสู้ท่สี ืบทอดมาตั้งแต่โบราณว่ามีสืบทอดภูมิปัญญาการต่อสู้มาอย่างไร ฐ แพร่หลายไปยังพื้นที่ใดและปรากฏอยู่ในพื้นที่ใดบ้างในปัจจุบัน 8.2 สํารวจและเก็บรวบรวมองค์ความรู้เรื่อง “พื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา” โดยสํารวจและบันทึก ข้อมู ลภาคสนามเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะกลอง จังหวะกลอง วิธีการบรรเลงช่างทํากลอง นักตีกลอง สัมภาษณ์การใช้งานและบริบทการตีกลองในสังคมชาวล้านนา ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่เชียงราย ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน พะเยาและแม่ฮ่องสอน 8.3 สํารวจและเก็บรวบรวมองค์ความรูเ้ รื่อง “แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาไฟต่ําที่สําคัญในล้านนา” โดยจะ สํารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้านภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันแนวคิดในการออกแบบการนําไปใช้กระบวนการผลิต เครื่องมือ วัตถุดิบ ตลอดจน รูปแบบและองค์ประกอบความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นภูมิปัญญา เดิมที่สืบทอดมาและที่สร้างขึ้นใหม่ 8.4 ผลิตเอกสารรายงานการสํารวจพื้นที่วฒ ั นธรรมล้านนาทั้ง 3 เรื่องฉบับสมบูรณ์ 9. ระยะเวลาดําเนินงาน (6 เดือน) กรกฎาคม 2557 - ธันวาคม2557 10. หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระบุหน่วยงานรับผิดชอบหลัก : สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ ชื่อ : ผศ.มาณพ มานะแซม ตําแหน่ง : รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ส่วนงาน : สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 086-1157259 สัดส่วนการทํางาน : 10% หน้าที่รบั ผิดชอบในโครงการ : บริหารจัดการโครงการ จัดทํารายการความก้าวหน้าและรายงานสรุปของโครงการ ผู้ร่วมโครงการ ชื่อ : ผศ.คนธาภรณ์ เมียร์แมน ตําแหน่ง : อาจารย์ ส่วนงาน : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 089-5574134 สัดส่วนการทํางาน : 15% ฑ หน้าที่รับผิดชอบในโครงการ : สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมและเก็บข้อมูลภาคสนาม ถอดองค์ความรู้เรียบเรียง สังเคราะห์องค์ความรูเ้ รื่อง “แหล่งผลิตเครื่องปั้น ดินเผาไฟต่ําที่สําคัญในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน” เพื่อให้ เป็นข้อมูลที่พร้อมจะจัดทําเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์และพัฒนาฐานข้อมูลในปีต่อไป ผู้ร่วมโครงการ ชื่อ : ผศ.ธิติพล กันตีวงศ์ ตําแหน่ง : อาจารย์ ส่วนงาน : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 081-5306483 สัดส่วนการทํางาน : 15% หน้าที่รับผิดชอบในโครงการ : สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมและเก็บข้อมูลภาคสนาม ถอดองค์ความรู้เรียบเรียง สังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง “กลองล้านนา” เพื่อให้เป็นข้อมูลที่พร้อมจะจัดทําเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์และ พัฒนาฐานข้อมูลในปีต่อไป ผู้ร่วมโครงการ ชื่อ : นายสราวุธ รูปนิ ตําแหน่ง : นักวิจัย ส่วนงาน : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 082-8975495 สัดส่วนการทํางาน : 15% หน้าที่รับผิดชอบในโครงการ : สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมและเก็บข้อมูลภาคสนาม ถอดองค์ความรู้เรียบเรียง สังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง “กลองล้านนา” เพื่อให้เป็นข้อมูลที่พร้อมจะจัดทําเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์และ พัฒนาฐานข้อมูลในปีต่อไป ผู้ร่วมโครงการ ชื่อ : นายสนั่น ธรรมธิ ตําแหน่ง : นักวิชาการ ส่วนงาน : สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 081-7461627 สัดส่วนการทํางาน : 15% หน้าที่รับผิดชอบในโครงการ : สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมและเก็บข้อมูลภาคสนาม ถอดองค์ความรู้เรียบเรียง สั ง เคราะห์ อ งค์ ค วามรู้ เ รื่ อ ง “นาฏยกรรมของชายหาญในล้ า นนา” เพื่ อ ให้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ พ ร้ อ มจะจั ด ทํ า เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์และพัฒนาฐานข้อมูลในปีตอ่ ไป ฒ ผู้ร่วมโครงการ ชื่อ : นางธิตินัดดา จินาจันทร์ ตําแหน่ง : นักวิจัย ส่วนงาน : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรติดต่อ : 088-2515948 สัดส่วนการทํางาน : 15% หน้าที่รับผิดชอบในโครงการ : สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมและเก็บข้อมูลภาคสนาม ถอดองค์ความรู้เรียบเรียง สั ง เคราะห์ อ งค์ ค วามรู้ เ รื่ อ ง “นาฏยกรรมของชายหาญในล้ า นนา” เพื่ อ ให้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ พ ร้ อ มจะจั ด ทํ า เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์และพัฒนาฐานข้อมูลในปีตอ่ ไป ส่วนงานสนับสนุน หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานภายนอก : ชมรมพื้นบ้านล้านนา : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : เครือข่ายช่างฝีมือล้านนา : เครือข่ายนักดนตรีพื้นบ้านล้านนา : เครือข่ายครูภมู ิปัญญานาฏยกรรมล้านนา : ชมรมดาบและศิลปะการต่อสู้ในล้านนา ณ บทนํา รายงานข้อมูลการสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของ ประเทศไทยฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมวดที่ 4 การสํารวจพื้นที่ วัฒนธรรมด้านศิลปหัตถกรรม ดนตรีและนาฏยกรรมล้านนาเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและบริการวิชาการแก่ชุมชน โดย ได้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากงบยุ ท ธศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ป ระจํ า ปี พ.ศ. 2557 ภายใต้ ก าร ดําเนินงานของสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจพื้นที่ ชุมชนที่ยังคง ใช้กลองบรรเลง และจัดทําข้อมูลพื้นฐานของช่างทํากลอง รูปแบบและหน้าที่ของกลองและวงกลองแต่ละประเภทที่ ใช้บรรเลงในสังคมชาวล้านนา และเพื่อรวมรวมข้อมูลพื้นฐานสําหรับการเสวนาทางวิชาการด้านวัฒนธรรมการ แสดงดนตรีในการดําเนินงานช่วงต่อไปของโครงการล้านนาคดีศึกษา โครงการสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนาครั้งนี้มีเป้าหมายการดําเนินการเพื่อสํารวจ เก็บข้อมูล ภาคสนามเบื้องต้นในพื้นที่สํารวจตัวอย่างที่กําหนด และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลองล้านนาเพื่อนําไปสู่การสร้าง ฐานข้อมูลทางวิชาการด้านดนตรีที่สมบูรณ์ต่อไป การดําเนินการสํารวจครั้งนี้คาดว่าจะเกิดความตระหนักถึง ความสําคัญของดนตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการบรรเลงกลองในชุมชนของตนเองและสามารถนําข้อมูลไป เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการ และใช้ประกอบการสัมมนาทางวิชาการต่อไป กระบวนการสํ า รวจพื้ น ที่ วั ฒ นธรรมการตี ก ลองล้ า นนาใช้ ก ระบวนการทางด้ า นมานุ ษ ยดนตรี วิ ท ยา (Ethnomusicology) ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่ม ตัวอย่าง ช่างทํากลอง นักตีกลอง นั กปราชญ์ทาง วัฒนธรรมท้องถิ่น และจากผู้ท่ีมีชื่อเสียงด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรีท้องถิ่น การเก็บข้อมูลใช้กระบวนการการ สัมภาษณ์แบบทางการ(Formal Interviewing) และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interviewing) บันทึก ภาพถ่าย วัดขนาดกลอง บันทึกเสียง และบันทึกภาพเคลื่อนไหวในการบรรเลงกลองที่สามารถนําไปใช้ในการ วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะทางดนตรีต่อไปได้อย่างเป็นกระบวนการ และรวบรวมข้อมูลทางบริบทการใช้งานของ กลองในแต่ละวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรมแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ สะท้อนผ่านเทคนิค วิธีการสร้างกลอง วัสดุ วิธีการคัดเลือก และเตรียมวัสดุในการสร้างกลองของแต่ละพื้นที่ท่ีมี ความคล้ายคลึงและแตกต่างกันออกไป ระยะเวลาการดํ าเนินการออกสํ ารวจใช้เวลาการดํ า เนิน การ ตั้งแต่เดื อนพฤษภาคม 2557 ถึง เดื อ น กันยายน 2557 รวมทั้งหมด 5 เดือน หากแต่ได้ขอขยายเวลาในการสํารวจเพิ่มโดยกําหนดขอขยายเวลาโดยจะ สิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2558 เพื่อให้สามารถสํารวจข้อมูลการใช้กลองในพิธีกรรมในช่วง 1 รอบปีซ่ึงในการ สํารวจพบว่าสังคมชาวล้านนามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางสังคม งานประเพณีที่สําคัญต่างๆ เทศกาลสําคัญที่ เกิดขึ้นในแต่ละเดือนมีความสําคัญต่อวิถีชีวิตชาวล้านนา เช่น งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่านที่ใช้กลองร่วม บรรเลงประกอบในขบวนเรือแข่งในช่วงเดือนตุลาคม พิธีสรงน้ําพระธาตุวัดพระธาตุหริภุญไชยที่นิยมแข่งขันกลอง หลวงจังหวัดลําพูนในเดือนเมษายนของทุกปี การสํารวจวัฒนธรรมกลองในสังคมชาวล้านนาพบว่าสังคมล้านนามีความหลากหลายทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ความเชื่อ พื้นที่ท่ีอยู่อาศัย ลักษณะภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ช่วงประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการสํารวจครั้งนี้ให้ความสําคัญต่อพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งในแต่ละพื้นที่น้ันมีความเชื่อโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัย ด อยู่เช่นกัน ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในบางพื้นที่มีความสัมพันธ์กันโดยแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่วัฒนธรรม ของล้านนา ประกอบด้วย 1. กลุ่มวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน และลําปาง 3. กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน และพะเยา แผนที่หมายเลข 1 แสดงแผนที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ในล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่รวมกันในดินแดนล้านนาประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แบ่งโดยการอยู่อาศัย กลุ่มที่อยู่อาศัยในเขตพื้นราบ(Low Land People) กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบลุ่มนิยมตั้งถิ่นฐานใกล้ กับบริเวณแม่นํ้าเป็นหลัก แม่นํ้าสายใหญ่ที่ประกอบไปด้วยสายน้ําต่างๆ ในพื้นที่ล้านนาจะพบชุมชนที่อาศัยอยู่ บริเวณแม่น้ํา จากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออกพบว่าสายน้ําสายสําคัญมีชุมชนที่สําคัญอาศัยอยู่ ประกอบด้วย แม่น้ําสาละวิน แม่น้ําปิง แม่นํ้าวัง แม่นํ้ายม และแม่นํ้าน่าน กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมอยู่ในกลุ่มที่ใช้ภาษาในตระกูล ออสโตรเอเชียติก(Austro-Asiatic) ประกอบด้วยกลุ่ม ลัวะ กล๋อม และกลุ่มที่ใช้ภาษาในตระกูลไต-ลาว(Tai-Laos) ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรกลุ่มใหญ่ที่กระจายตัวอาศัยในพื้นที่ต่างๆ ของล้านนา กลุ่มชาติพันธุ์ไตเป็นกลุ่มที่มีบทบาทต่อ ในการปกครองและจัดการสังคมชาวล้านนาเป็นอย่างมากในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์ไต ประกอบด้วย กลุ่มไทลื้อ กลุ่ม ไทเขิน กลุ่มไทยอง กลุ่มไทใหญ่ และกลุ่มไทยวน ในแต่ละกลุ่มมีอัตลักษณ์ท่ีเด่นชัดทั้งภาษา การแต่งกาย อาหาร และรูปแบบดนตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนทรียรสในการตีกลองของแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ต ยกตัวอย่างเช่น การแข่งกลองหลวงนิยมในพื้นที่จังหวัดลําพูน การแข่งขันกลองแอวที่นิยมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตอนบน ในการออกสํารวจเก็บข้อมูลเรื่องวัฒนธรรมการตีกลองในล้านนาครั้งนี้เป็นโครงการเริ่มต้นให้ความสําคัญ ต่อการตีกลองของกลุ่มชนชาติพันธุ์ไตเป็นหลัก กลุ่มที่อยู่อาศัยในเขตที่สูง(High Land People) กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สูง เป็นกลุ่มที่อาศัยเดิมในพื้นที่ ร่วมกับกลุ่มที่อาศัยในพื้นราบและมีกลุ่มที่อพยพเข้ามาสู่ดินแดนทางภาคเหนือในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย แบ่งกลุ่มตามความสูงการตั้งถิ่นฐานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มม้ง-เย้า(Hmong-Yao) เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่สงู จากระดับน้ําทะเลช่วง 1,000 เมตร ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ม้งและเย้า หรือเมี่ยน กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท่ีต่ํากว่าระดับน้ําทะเลระดับ 1,000 เมตรลงมาจนถึงระดับพื้นราบ ประกอบด้วยกลุ่มจีน-ธิเบต (Chinese-Tibetan) ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ลีซู ลาหู่ อาข่า ปะหล่อง และฮ้อ การแบ่งประเภทเครื่องดนตรีโดยทั่วไปหากแบ่งตามวิธีปฏิบัติแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ ดีด สี ตี เป่า หากแต่ การแบ่งตามลักษณะกายภาพสามารถแบ่งเครื่องดนตรีออกเป็นกลุ่มได้ 4 กลุ่มใหญ่ดังต่อไปนี้ 1. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย(Chordophones) แบ่งออกเป็นเครื่องสายประเภทดีด(Plucked Instruments) และเครื่องสายประเภทสี(Fiddle Instruments) 2. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า(Aerophones) แบ่งออกเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลิ้นคู่(Double Reeds) เครื่องเป่าลิ้นลมอิสระ(Free Reeds) เครื่องเป่าแบบผิวด้านข้าง(Side Blow Flutes) เครื่องเป่า ด้านท้าย(End Blow Flutes) 3. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Idiophones) เครื่องกระทบที่ไม่มีทํานอง เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ และ เครื่องกระทบที่มีทํานอง ระนาด ฆ้องวง 4. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง(Membranophones) เครื่องดนตรีที่หุ้มด้วยหนัง เช่น กลองประเภท ต่างๆ ในวัฒนธรรมการตีกลองของล้านนาปรากฏรูปแบบของกลองหลากหลายประเภท เช่น กลอง หน้าเดี่ยว กลองสองหน้า กลองรูปถัง กลองรูปถ้วย ฯลฯ กลองในวัฒนธรรมล้านนาไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ากลองในล้านนาเกิดขึ้นเมื่อใด หากแต่สันนิษฐานได้ ว่ากลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่น่าจะมีกําเนิดและใช้ในสังคมเป็นเครื่องดนตรีประเภทแรกๆ ก่อนที่จะเกิด เครื่องดนตรีประเภทดีด สี และเป่า อย่างไรก็ตามปรากฏการกล่าวถึงเครื่องดนตรีประเภทตีในการบันทึกเป็นลาย ลักษณ์อักษร จากเรื่อง อุสาบารถ ผูกที่ 1 ตอนพระยากาลีพรหมทัตราชให้นํามเหสุราเทวีไปเที่ยวชมสวนอุทยานที่ มีการจัดมหรสพ ดังนี้ ... “มหาชนา อันว่าคนทั้งหลายก็เหล้นมหรสพหลายประการต่างๆ ลางพร่องก็ตีกลองสะบัดไชยตื่นเต้น ลางพร่องก็ตพ ี าทย์คอ้ งการะสับ ลางพร่องเยียะหลายฉบับฟ้อนตบตีนมือ ลางพร่องปักกะดิกเอามือตางตีน”… นอกจากนี้ในตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับพระงาม ผูกที่ 2 กล่าวถึงสมัยพระยามังราย ตอนขุนครามรบ พระยาเบิกที่เมืองเขลางค์ มีใจความว่า ... “เจ้าขุนครามก็แต่งกลเสิ๊กฉันนี้ แล้วก็หื้อสัญญาริพลเคาะคล้องโย้ง ตีกลองชัย ยกสกุลโยธาเข้าชูชน พระญาเบิกยู้ขึ้นมาวันนั้นแล”… (สนั่น ธรรมธิ, 2550) ถ เครื่องดนตรีประเภทตีถูกเขียนไว้ในเอกสารสําคัญหลายฉบับหากแต่ไม่สามารถทราบถึงจังหวะการตี กลองและลักษณะที่แท้จริงได้ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะและตี ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะมีกําเนิดมาพร้อม กับสังคมชาวล้านนาเพื่อวัตถุประสงค์ท่แี ตกต่างทั้งใช้ประกอบพิธีกรรมความเชื่อ และเพื่อความบันเทิงในสังคม พื้น ที่ใ นการสํ า รวจข้ อ มู ล กลองล้ า นนา 8 จั ง หวั ด ภาคเหนื อ ตอนบน พบลั ก ษณะรู ป แบบกลองหลาย ลักษณะประกอบด้วย กลองสองหน้าที่ใช้มือตี(Hand Beaten Drum) เช่น กลองโป่งโป้ง กลองมองเซิง กลองมอง ลาว กลองเต่งทิ้ง กลองที่มีลักษณะสองหน้าใช้ไม้ตีรูปถัง(Barrel Shape Drum) เช่น กลองปูจา กลองสบัดไชย กลองหน้าเดี่ยวมีลักษณะคล้ายแก้วไวน์(Wine Glass Shape Drum) เช่น กลองก้นยาว กลองปู่เจ่ กลองเปิ่งอั่ง กลอง หลวง กลองแอว กลองอืด กลองตกเส้ง วิธีการตีกลองแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน กลองบางลักษณะใช้ตี เพียงใบเดียวเพื่อการประชันเสียง เช่น กลองหลวง กลองแอว และกลองที่มีการประสมวงบรรเลงร่วมกับเครื่อง ประกอบจังหวะอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฆ้อง และฉาบ รวมกันเป็นวงกลองที่มีลักษณะการบรรเลงผสมผสาน สร้างรูปแบบจังหวะ(Rhythmic Patterns) ที่หลากหลาย แบ่งหน้าที่ในการบรรเลงกลองและเครื่องประกอบจังหวะ ให้มีความสอดคล้องกัน วงกลองที่ปรากฏมีลักษณะที่แตกต่างและหลากหลาย เช่น วงกลองตึ่งนง ที่ใช้กลองแอว เป็นเครื่องดนตรีดําเนินจังหวะหลัก ประกอบกับฆ้อง 2 ใบ ฆ้องอุยใบใหญ่ และฆ้องโหย่งใบเล็ก ฉาบ กลองตะ หลดป๊ด และใช้ป่ีแนเป็นเครื่องดนตรีสร้างทํานอง ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน นําขบวนครัวทาน ในงาน สมโภชการสร้างอาคารและพุทธศาสนสถานต่างๆ ของชุมชน กลอง และวงกลองมีความสําคัญต่อระบบทางสังคมชาวล้านนา ชาวล้านนาเชื่อและนิยมเก็บกลองไว้ท่ีวัด ไม่นิยมเก็บกลองไว้ที่บ้านตามความเชื่อ วัดจึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนแต่ละชุมชนที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน วงกลองจึงมีความหมายในการรวมกันเป็นหนึ่งของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ของชาวล้านนา อย่างไรก็ตามวงกลองบางประเภทใช้ตีประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ ความเชื่อ ดั้งเดิมของชาวล้านนา เช่น วงกลองเต่งถิ้งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมฟ้อนผีในพื้นที่จงั หวัดลําปาง ความหลากหลายของรูปร่างลักษณะกลองที่ปรากฏในสังคมชาวล้านนา พบว่ามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ไปในแต่ละพื้นที่ การสํารวจเก็บข้อมูลครั้งนี้พบลักษณะกลองที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่เรียกชื่อที่แตกต่างกันไป วิธีการสร้างกลองแต่ละชนิดมีกระบวนการแตกต่างในเชิงเทคนิค เครื่องมือ และวัสดุในการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในการสร้าง รวมทั้งความเชื่อเชิงไสยศาสตร์ร่วมเพื่อให้เกิดเสียงกลองที่ดีและสมบูรณ์ นอกจากการผลิต กลองแล้วการใช้กลองร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ รวมเป็นวงกลองที่มีบริบทการบรรเลงแตกต่างกัน ออกไป เช่น การบรรเลงเฉพาะกลองที่เน้นจังหวะกลองเป็นสําคัญ การบรรเลงกลองที่มีหน้าที่เป็นเครื่องดนตรี ควบคุมจังหวะ การบรรเลงกลองเพื่อประกอบจังหวะ และการบรรเลงกลองเดี่ยวเพื่อการประชันเสียงกลอง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน นิยามความหมายคําว่า ‘กลอง’ หมายถึง เครื่องตีทําด้วยหมายเป็น ต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้ว ยหนัง องค์ประกอบที่สําคัญของกลองประกอบด้วยตัวกลองที่ทําจากไม้ และ ส่วนประกอบสําคัญคือหน้ากลองที่ทําจากหนังสัตว์ ลักษณะของกลองแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่ง รูปร่างลักษณะกลองออกเป็น 4 ลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย 1. กลองที่หุ้มด้วยหนังรูปร่างลักษณะตัวกลองเป็นรูปถ้วย ให้มือตี หรือใช้ไม้ตี (Kettle drums) เช่น กลองตั้ง 2. กลองที่มีลักษณะตัวกลองเป็นท่อ หุ้มด้วยหนัง (Tubular drums) เช่น กลองตะหลดป๊ด ท 3. กลองที่มีลักษณะรูปถังหุ้มด้วยหนัง (Barrel-shaped drums) เช่น กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลอง ไชยมงคล 4. กลองที่มีรูปร่างคล้ายกับนาฬิกาทราย หรือแก้วไวน์ มีลักษณะสอบตรงกลาง (Hourglass-shaped drums) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม - กลองแบบหุ้มหน้าเดี่ยว (Single-headed) เช่น กลองแอว กลองหลวง กลองตกเส้ง กลอง อืด - กลองแบบหุ้มหนังสองหน้า (Double-headed) ไม่ปรากฏลักษณะกลองรูปแบบนี้ในการ สํารวจครั้งนี้ อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะรูปแบบกลองแบบอื่นที่ไม่ปรากฏในการสํารวจครั้งนี้อีก เช่น กลองที่มีลูกตุ้มผูก สายติดกับตัวกลอง ไกวลูกตุ้มเพื่อให้ตีไปบนหนังกลอง(Rattle drums) ตัวอย่างเช่น บัณเฑาะว์ และกลองที่ขึงด้วย หนังและโยงเชือกจากตัวหนังหน้ากลองและดีดสายที่ขึงบนหน้ากลองเพื่อให้เกิดเสียง(Friction drums) พบมากใน กลุ่มดนตรีอเมริกาใต้ แอฟริกา เป็นต้น วัสดุท่ีใช้ในการสร้างกลองในแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไป ส่วนประกอบสําคัญคือ ส่วนของตัวกลองที่นิยมใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลักทั้งไม้เนื้ออ่อนและเนื้อแข็งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของกลอง ไม้แต่ละประเภทถูกนํามาใช้สร้างกลองตามคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ไม้ท่ีนิยมนํามาทําเป็นตัวกลอง เช่น ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ไม้ซ้อ ไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้มะม่วง ไม้ฉําฉา ฯลฯ หนังกลองเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของกลองที่มี กระบวนการการคัดเลือกชนิดของหนังที่แตกต่างกันไป เช่น หนังวัวตัวผู้ใช้หุ้มกลองสะบัดไชย กลองหลวง หนังวัว ตัวเมีย ใช้หุ้มกลองแอว และหนังควายให้ทําสายเชือกเพื่อดึงกลอง กลองบางชนิดใช้การติดถ่วงหน้ากลองเพื่อปรับ เสียงให้มีเสียงที่เหมาะสม ทุ้ม นุ่ม ส่วนผสมของถ่วงกลอง ‘ขี้จ่า’ แตกต่างกันไปตามลักษณะของกลองและตามสูตร การทําของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ อุปกรณ์เครื่องมือในการสร้างกลองสร้างขึ้นจากภูมิปัญญาของช่างทํากลอง ‘สล่ากลอง’ ที่มี ความน่าสนใจในการออกแบบและวิธีใช้อุปกรณ์แต่ละประเภท การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีเทคโนโลยี เครื่องมือ ในยุ คอุต สาหกรรมทํา ให้เ กิด เครื่อ งมื อ ที่ดี สะดวกขึ้ น อย่างไรก็ ต ามเครื่ อ งมื อ แบบโบราณยั ง คงใช้ ร่ว มกัน กั บ เทคโนโลยีใหม่ในส่วนที่ต้องการความละเอียดอ่อนที่มีผลต่อลักษณะของเสียงกลอง วัฒนธรรมการตีกลองของชาวล้านนานั้นแฝงไปด้วยความเชื่อและพิธีกรรมร่วมด้วยนับตั้งแต่การเลือกไม้ ที่จะนํามาทําเป็นกลอง หากจําเป็นต้องใช้ไม้ท่ีมีขนาดใหญ่ต้องทําพิธีขอไม้ และในขึ้นตอนการทํากลองบางชนิดจะ เชื่อเรื่อง ‘โฉลก’ อัตราส่วนที่มีผลต่อลักษณะความเป็นมงคลและอวมงคลของกลองในแต่ละใบ กล่าวโดยสรุป วัฒนธรรมการตีกลองในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมีความสําคัญต่อวิถีชีวิต และชุมชนท้องถิ่น การตีกลองมีความหมายในการสื่อสารระหว่างคนในชุมชน และการตีกลองเพื่อประกอบพิธีกรร รม ความเชื่อ และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการสร้าง การเล่น และการใช้งานมีคุณค่าทางสังคมและ สามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ของชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมชาวล้านนาได้เป็นอย่างดี คณะผู้จัดทํา รายงานการสํารวจพื้นที่วัฒนธรรมการตีกลองล้านนา ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยฉบับนี้ จะได้ นํา เสนอข้อมู ล การสํ ารวจในพื้นที่ต่ างๆ ในบทต่า งๆ โดยแบ่ง ออกเป็ น 6 พื้น ที่ สํ าคั ญ ดัง ต่อไปนี้ บทที่ 1 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน บทที่ 2 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน ธ พะเยา บทที่ 3 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย บทที่ 4 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ บทที่ 5 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูน บทที่ 6 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัด ลําปาง และบทสรุป ในส่วนท้ายเล่มคณะนักวิจัยได้จัดทํา DVD บันทึกการสาธิตการตีกลองในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ เข้าใจและรับชมรับฟังการตีกลองแบบต่างๆ บทที่ 1 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน การตีกลองในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนพบกลองที่นิยมใช้ตีเพื่อประกอบการเฉลิมฉลองงานที่เกี่ยวข้องกับ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย มีความโดดเด่นในอัตลักษณ์ท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการตี กลองของกลุ่มชาวไทใหญ่ท่ีเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ท่ีอาศัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลองที่นิยมใช้ตีใน กลุ่มวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เช่น กลองก้นยาว กลองมองเซิง กลองเขียด กลองม่านอุเจ่ มอง กาก และติ่งตุง ในงานเทศกาลสําคัญต่างๆ ของชุมชน โดยเฉพาะงานเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกาลสําคัญทางพุทธ ศาสนา กลองถูกใช้เพื่อประโคม และตีร่วมกับการฟ้อนรํา ขบวนแห่ กลองเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้ชุมชนได้ทราบถึงวัน สําคัญ เทศกาลสําคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการสร้างกลอง ใช้กลองในบริบท ที่แตกต่างในสังคม คติ ความเชื่อเกี่ยวกับกลองในสังคม สุนทรียภาพทางดนตรีมีความแตกต่างจากวัฒนธรรม ล้านนาในกลุ่มล้านนาตะวันตก และกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก นอกจากตัวกลองเองแล้วการเลือกเสียงฆ้องเพื่อใช้ประกอบการตีกลองของชาวไทใหญ่มีระบบ ระเบียบ วิธีการทางดนตรีวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นถือเป็นบุคลิกทางดนตรีท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนได้เป็นอย่างดี การตีกลอง นิยมตีกลองในงานประเพณีท่ีสําคัญทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานปอย หรืองานเทศกาลที่มีในแต่ละ เดือนในทุกๆ ปี พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป หมอกสามฤดู ป่าเขียวขจี ประเพณีงาม กองมูเสียดฟ้า ผู้คนดี ลืมนาม ถิ่นบัวตอง (คําขวัญประจําจังหวัดแม่ฮ่องสอน) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย 7 อําเภอ อําเภอสบเมย อําเภอแม่สะเรียง อําเภอแม่ลาน้อย อําเภอขุนยวม อําเภอเมือง อําเภอปางมะผ้า และอําเภอปาย มีพื้นที่ประมาณ 3,925,787 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 97 องศาตะวันออก ยาวจาก ทิศเหนือจดทิศใต้ประมาณ 250 กิโลเมตร กว้างประมาณ 95 กิโลเมตร มีพรหมแดนติดต่อกับประเทศสหภาพ เมียนม่าร์ มีแม่น้ําสายสําคัญแม่นํา้ สาละวิน แม่นํา้ เมย แม่นํา้ ปาย แม่นํา้ ยวม มีอาณาเขตติดต่อ ดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดกับรัฐฉานประเทศสหภาพเมียนมาร์ มีเทือกเขาแดนลาวเป็นแนวแบ่งเขต ทิศใต้ ติดกับอําเภอท่าสองยางจังหวัดตาก มีแม่น้ํายวมเป็นแนวเขตแดน 2 ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเชียงใหม่ มีเทือกเขาถนนธงชัยที่แยกจากเทือกเขาแดนลาวเป็นแนวแบ่งเขต แดนและทอดแนวยาวไปบรรจบเทือกเขาตะนาวศรี ทิศตะวั น ตก ติด กั บรั ฐฉาน รั ฐคะยา และรั ฐกอทู เ ล ประเทศสหภาพเมียนมาร์ มีเ ทื อ กเขาถนนธงชั ย ตะวันตกและแม่น้ําสาละวินเป็นแนวแบ่งพรหมแดน แผนที่หมายเลข 2 แสดงแผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่นํา้ ที่ไหลผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนสายสําคัญประกอบด้วย แม่น้ําปาย ต้นน้ําไหลมาจากทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาวในเขตอําเภอปายไหลผ่านอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอนมีความยาว 135 กิโลเมตรและไหลรวมลงสู่ แม่นํา้ สาละวินในเขตประเทศสหภาพเมียนม่าร์ และแม่น้ํายวม ต้นน้ําไหลมาจากขุนเขาใต้ช่องปางเกี๊ยะในเขตอําเภอ ขุนยวม ไหลผ่านเขตอําเภอแม่ลาน้อย อําเภอแม่สะเรียง อําเภอสบเมย และไหลไปบรรจบแม่นํ้าเมยปลายสุดเขต แม่ฮ่องสอน กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีจํานวนประชากรทั้งหมดประมาณ 225,053 คน แบ่งเป็น เพศชาย 115,640 คนและเพศหญิง 109,444 คน (ข้อมูลสํารวจปี 2549) แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีจํานวน ประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ไท ที่มีเชื้อสายไทใหญ่ หรือคนไต และกลุ่มชาว ไทยภูเขา กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ ลัวะ และม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่เป็นกลุ่มประชากรที่มีบทบาทต่อ สังคมพื้นราบจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 รูปภาพที่ 1 ภาพวัดหนองจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมดนตรีของชาวไทใหญ่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความโดดเด่นโดยเฉพาะวงกลองรูปแบบต่างๆ เช่น วงกลองก้นยาว วงกลองมองเซิง วงตอยอฮอร์น วงกลองต่างๆ ใช้บรรเลงในพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญทางพุทธ ศาสนา และใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงในสังคม กลองและเครื่องดนตรีประเภทเคาะที่ปรากฏในพื้นที่จังหวั ด แม่ ฮ่ อ งสอนพบเครื่ อ งดนตรี ที่ ห ลากหลาย แบ่ ง ออกได้ 2 กลุ่ ม ประเภทกลองหลั ก (Drums Percussions) ประกอบด้วย กลองก้นยาว กลองมองเซิง กลองม่านอุเจ่ กลองเขียด มองกาก และติ่งตุง ประเภทเครื่องเคาะเสริม จังหวะ(Auxiliary Percussions) ประกอบด้วย ฉิ่ง(จี) ฉาบ ฆ้อง กลองกับวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสําคัญต่อสังคม เป็นสิ่ง รวมจิตใจของคนในแต่ละชุมชน กลองเป็นเครื่องให้จังหวะ ให้สัญญาณ และเสียงกลองเป็นสิ่งบ่งบอกให้ชุนชน ทราบว่าจะมีงานสําคัญเกิดขึ้น เสียงกลองยังสร้างความสนุกสนาน ฮึกเหิม แก่ผู้ที่ได้ยิน กลองที่บรรเลงร่วมกับ เครื่องดนตรีอื่นๆ ทําให้เกิดรูปแบบวงกลองชนิดต่างๆ ในสังคมชาวแม่ฮ่องสอนมากมาย เช่น วงกลองก้นยาว วง กลองมองเซิง วงตอยอฮอร์นที่ใช้กลองกําหนดจังหวะของบทเพลงและกําหนดความช้า เร็วของผู้ที่ฟ้อนรํา งานประเพณีใน 1 รอบปีของชาวไทใหญ่นั้นมีความสําคัญต่อความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ในแต่ละ เดือนมีประเพณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ธันวาคม) เดือนที่ 1 (เดือนอ้ายไต) เรียกว่า เหลินเจ๋ง ทําพิธีตานข้าวใหม่แด่พระภิกษุสงฆ์ (มกราคม) เดือนที่ 2 (เดือนยี่) เรียกว่า เหลินก๋ํา ทําพิธีเข้าโสสานกรรม (กุมภาพันธ์) เดือนที่ 3 เรียกว่า เหลินสาม ทําพิธีตานหลัว หรือฟืน หิงหลัวพระเจ้า (มีนาคม) เดือนที่ 4 เรียกว่า เหลินสี่ ทําพิธีรับเสด็จพระพุทธเจ้า (เมษายน) เดือนที่ 5 เรียกว่า เหลินห้า มีงานปอยเหลินห้า ปอยชางกย่าน ปอยจายตี่ชาย 4 เดือนที่ 6 เรียกว่า เหลินหก มีงานปอยจ่าตี่ หรือกองมูทราย ปอยบอกไฟ ปอยชอมต่อ โหลง (มิถุนายน) เดือนที่ 7 เรียกว่า เหลินเจ็ด เป็นช่วงที่ทาํ นา (กรกฎาคม) เดือนที่ 8 เรียกว่า เหลินแปด ทําบุญวันโกน นิยมจัดงานตีกลองก้นยาวในขบวนเพื่อนํา สิ่งของไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ (สิงหาคม) เดือนที่ 9 เรียกว่า เหลินเก้า งานสลากพัตร (กันยายน) เดือนที่ 10 เรียกว่า เหลินสิบ งานตานข้าวล้นบาตร (ตุลาคม) เดือนที่ 11 เรียกว่า เหลินสิบเอ็ด งานทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย และงานแห่จอง พารา ถวายต้นเกี๊ยะ ทําขบวนแห่เต้นนกกิงกะหลา เต้นโต ตีกลองก้นยาวประกอบ (พฤศจิกายน) เดือนที่ 12 เรียกว่า เหลินสิบสอง งานปอยส่างการ ถวายจีวรพระ 1 สังคมชาวไทใหญ่จังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ความสําคัญในงานประเพณีทั้ง 12 เดือน ในการจัดงานปอย ต่างๆ ในสังคมชาวไทใหญ่มีงานปอยที่สําคัญ เช่น ปอยส่างหลอง ปอยเหลินสิบเอ็ด ในงานปอยจะพบการตีกลองเพื่อ เฉลิมฉลองเทศกาล และชุมชนต่างมีส่วนร่วมในการจัดงานเทศกาล การตีกลองในงานประเพณีมีความสําคัญในวัฒนธรรมไทใหญ่ กลองในวัฒนธรรมไทใหญ่มีหลากหลาย ประเภท ในการออกสํารวจภาคสนามโครงการล้านนาคดีศึกษาครั้งนี้พบกลองที่สําคัญที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ได้ดังต่อไปนี้ (พฤษภาคม) กลองก้นยาว 2 กลองก้นยาว มีลักษณะรูปร่างคล้ายแก้วไวน์ กลองหน้าเดี่ยวหุ้มด้วยหนัง ติดถ่วงกลอง กลองก้นยาวใช้ตี ร่วมกับฆ้องตั้งแต่ 1 ใบขึ้นไปจนเป็นชุดฆ้อง 5-7 ใบ และฉาบ 1 คู่ กลองก้นยาวใช้ตีในเทศกาล และงานประเพณี ทางพุทธศาสนา งานบุญต่างๆ เช่น งานออกพรรษา งานปอยส่างลอง ปอยเดือนสิบเอ็ด วิธีการตีกลองก้นยาวแบ่ง จังหวะออกเป็น 3 จังหวะที่สาํ คัญ ดังนี้ 1. จังหวะแบบกลองทุบ(ช้า) ใช้ตีประกอบการฟ้อนเจิง ที่มีลักษณะการร่ายรําที่ช้า และสง่างาม 2. จังหวะเป่ยุบ(เร็ว) ใช้ตีประกอบการฟ้อนดาบ(ก้าแลว) และการฟ้อนรูปตัวสัตว์ในป่าหิมพานต์ เช่น ฟ้อนนกกิงกะหล่า เต้นโต 3. จังหวะลอแล เป็นจังหวะที่ผสมจังหวะ และเทคนิคการตีกลองแบบกลองทุบและเป่ยุบเข้าไว้ด้วยกัน ปอย มาจากภาษาพม่า ปเว หมายถึงงานฉลองรื่ นเริ ง หรื องานเทศกาลที่จดั ขึ ้น ถ่วงกลองภาษาท้ องถิ่นเรี ยกว่า จ่ากลอง ทําจากข้ าวเหนียว เส้ นขนมจีน ผสมขี ้เถ้ า อัตราส่วนขึ ้นอยู่กบั แต่ละท้ องถิ่นและประเภทกลองที่ ใช้ 1 2 5 รูปภาพที่ 2 ภาพการตีกลองก้นยาว ในงานประเพณีปอยเดือนสิบเอ็ด ลักษณะทางกายภาพของกลองก้นยาวมีส่วนประกอบที่สาํ คัญ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ 3 1. ตัวกลอง หรือไหกลอง ตัวกลองก้นยาวทําจากไม้ ไม้ที่นิยมนํามาทํานิยมใช้ไม้ซ้อ (Gmelina arborea) ด้วยมีคุณสมบัติที่เบา เหมาะแก่การใช้สะพายเดินตี ไม้กลึงขึ้นรูปคล้ายแก้วไวน์ ความยาวกลองก้น ยาวโดยประมาณ 160-180 เซนติเมตร ตัวกลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก ไหกลอง เป็นส่วนที่ สําคัญในการกําหนดเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของหน้ากลอง ส่วนที่สอง แอวกลอง เป็นส่วน บังคับลมและเสียงส่งต่อจากไหกลองไปสู่ส่วนตีนกลองเพื่อขยายเสียงต่อไป ส่วนที่สุดท้าย ตีนกลอง รวมถึงก้นกลอง ส่วนที่ส่งขยายเสียงกลอง 2. หน้ากลอง เป็นส่วนสําคัญมีลักษณะกลม หน้ากลองก้นยาวทําจากหนังวัว ขึงตึงบนไหกลอง ขอบ หนังกลองถักร้อยเชือกหรือหนัง เรียกว่า ‘หูห่งิ ’ แบ่งออก 2 รูปแบบ หูห่ิงแบบ 24 หูห่ิง(จเร) และหูหิ่ง แบบ 32 หูห่งิ (32 ขวัญ) ไม้ ซ้อ หรื อไม้ แต้ งขาว ไม้ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร พบทัว่ ไปในบริ เวณกึ่งโล่งแจ้ งในป่ าผลัดใบทัว่ ภาคเหนือ มักจะปะปนกับไม้ สกั มี คุณสมบัตเิ บา 3 6 รูปภาพที่ 3 ภาพแสดงส่วนประกอบหนังหน้ากลองก้นยาว รูปภาพที่ 4 ภาพกลองก้นยาว 7 เครื่องมือในการเจาะกลองก้นยาว ใช้เครื่องมือประดิษฐ์ขึ้นหลายขนาดเพื่อขุดตัวกลองด้านในและกลึงรูป กลองด้านนอก ประกอบด้วย สิ่วตัด สิ่วค๊ด สิ่วเจาะ เต่า สว่าน และตะไบ กระบวนการสร้างกลองก้นยาวเริ่มจาก การเลือกไม้ ขึ้นรูปกลองด้วยการกลึง และขุดเจาะกลอง กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่สําคัญในการกําหนด ลักษณะของเสียงกลองที่ต้องการ และหุ้มกลอง พบในบางพื้นที่ทํากลองก้นยาวด้วยวิธีผ่าไม้ เจาะไม้แล้วจึงประกบ ไม้ใช้ผ้าชุดยางรัก พันรัดตัวกลอง ก่อนที่จะหุ้มกลอง วิธีการแบบนี้ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนัก ยังคงมีการผลิต 4 ด้วยวิธีนี้จากการสัมภาษณ์ช่างทํากลองที่ยงั คงใช้วิธีนี้อยู่ รูปภาพที่ 5 ภาพเครื่องมือในการสร้างกลองก้นยาว 4 สัมภาษณ์สล่าคง นายอุทิตย์ ขยันกิจ อายุ 57 ปี , 4 ตุลาคม 2557 8 รูปภาพที่ 6 ภาพกลองก้นยาวและฆ้องราว รูปภาพที่ 7 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองก้นยาว วิธีการเลือกเสียงฆ้องเพื่อให้เข้าชุดกัน และใช้ตีประกอบกับการตีกลองก้นยาว ฆ้องใบใหญ่ที่สุดมี ความสําคัญเรียกว่า ‘แม่ฆ้อง’ โดยจะเทียบเสียงกับฆ้องใบที่มีขนาดเล็ก ‘ลูกฮับ’ หรือ ‘ลูกรับ’ เทียบเสียงให้ได้เสียง คู่ 8 (Octave) และเสียงฆ้อง ‘ลูกขัด’ เทียบเสียงให้ได้คู่ 5 ระหว่างเสียงแม่ฆ้องกับเสียงลูกขัด การเทียบเสียงฆ้องจะ จับคู่เสียงฆ้องสลับกันไป บางครั้งอาจเพิ่มเสียงของฉิ่งเป็นเสียงตัดกับเสียงกลุ่มฆ้องทั้งหมด 9 รูปภาพที่ 8 ภาพส่วนประกอบกลองก้นยาว 10 รูปภาพที่ 9 ภาพการตีกลองก้นยาว กลองมองเซิง กลองมองเซิงมีลักษณะรูปร่างกลองคล้ายเมล็ดข้าว ป่องกลาง เป็นกลองสองหน้าหุ้มด้วยหนัง ใช้มือตี ผู้ ตีจะสะพายกลองจากสายสะพายคล้องคอ ใช้มือทั้งสองข้างร่ายรําและตีกลอง พร้อมกับการร้องเพลงเฮ็ดความไต เป็นท่อนๆ ร่วมกับการตีฆ้องหลายใบและฉาบ ร้องเป็นลูกคู่ แบ่งท่อนร้องออกเป็นช่วงๆ ใช้ตีร่วมกับการเดินขบวน แห่ กลองมองเซิงมีขนาดโดยประมาณยาว 26 นิ้ว หน้ากลองด้านทีม่ ีขนาดใหญ่กว้างประมาณ 15 นิ้ว หน้ากลองที่ มีขนาดเล็กกว้าง 13 นิ้ว นิยมใช้ไม้ที่มีขนาดเบาทําเป็นตัวกลองเนื่องจากเวลาตีต้องสะพายกลองตี ไม่ติดถ่วงกลอง หากต้องการให้มีเสียงต่ําลงใช้ผ้าชุบน้ําเช็ดหน้ากลอง นอกจากตัวกลองมองเซิงแล้ว การเทียบเสียงฆ้องที่ใช้ตีประกอบการตีกลองมองเซิงมีความสําคัญที่จะ เป็นตัวกําหนดความกลมกลืนระหว่างเสียงกลองกับเสียงฆ้อง การตีกลองมองเซิงในวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ จังหวัด แม่ฮ่องสอนนิยมใช้ฆ้องตั้งแต่ 5 -9 ใบประกอบการตีกลองมองเซิง ฆ้องที่มีขนาดใหญ่จะใช้ฆ้องแขวนบนราวฆ้อง และแบกโดยผู้ตี ฆ้อง 1 ราว มีฆ้อง 2-3 ใบ และใช้ฉาบตีเพื่อขัดจังหวะ 1 คู่ การตีกลองมองเซิงนิยมมีลีลาท่าทาง ประกอบในการตีกลอง 11 รูปภาพที่ 10 ภาพวงกลองมองเซิง รูปภาพที่ 11 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองมองเซิง 12 วิธีการเทียบเสียงชุดฆ้องเพื่อประกอบการตีกลองมองเซิงมีความสําคัญ มองเซิง หมายถึง ชุดฆ้องที่ ประกอบด้วยฆ้องจํานวนตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป วงกลองมองเซิงให้ความสําคัญกับฆ้องใบใหญ่ท่ีสุด เรียกว่า ‘ฆ้องแม่ ลากหลวง’ หรือ ‘ฆ้องแม่ลากเสียงใหญ่’ เป็นฆ้องที่มีเสียงต่ําที่สุด ความกังวานและความยาวต่อเนื่องของเสียงฆ้อง เรียกว่า ‘กํา’ หมายถึงการกําธรของเสียงฆ้อง(Resonant) หลังจากตีแล้วควรมีเสียงลากยาวเป็นครั้งๆ จากเสียงดัง ค่อยๆ กําธรเบาลงลากยาวต่อเนื่องตั้งแต่ 7 - 9 กํา จึงจะนับได้ว่าเป็นฆ้องแม่ลากหลวงที่ดี เสียงฆ้องแม่ลากหลวงจะมีเสียงต่ํากว่าฆ้องใบถัดไป เรียกว่า ‘ลูกฮับ’ หรือ ‘ลูกรับ’ 1 ช่วงเสียง(Octave) จากเสียงฆ้องลูกฮับไปยังเสียงฆ้องลูกขัดห่างกัน 5 ช่วงเสียง(P5) และจากฆ้องลูกฮับไปยังฆ้องลูกขัดใบเล็กถัดไปมี เสียงห่างกัน 4 ช่วงเสียง(P4) สลับกันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนครบจํานวนฆ้อง 7 – 9 ใบ วงตอยอฮอร์น วงตอยอฮอร์นในวัฒนธรรมชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเครื่องสายผสมเครื่องดนตรีต่างๆ และ กลองรูปแบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน วงตอยอฮอร์นเป็นวงดนตรีท่ีสร้างขึ้นในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเฉพาะโดยอาจารย์ เกษม อุดมพานิชเป็นผู้คิดค้นวงตอยอฮอร์นนี้ขึ้น กลองที่มีบทบาทในการควบคุมจังหวะ เรียกว่า กลอง ‘จะควิ่น’ มี ลักษณะเป็นกลองรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวป่องตรงกลาง กลองสองหน้าหุ้มด้วยหนังใช้มือตี ติดถ่วงกลอง และใช้ชุด กลอง ‘ตอยลง’ มีลักษณะเป็นกลองรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวป่องตรงกลาง กลองสองหน้า แต่ตีด้านเดียว ใช้มือตี ติด ถ่วงกลองเพื่อกําหนดเสียงในระดับเสียงต่างๆ 1 ชุดประกอบด้วยกลอง 4 ใบ ใช้ตีร่วมกับกลองจะควิ่น วงตอยอฮอร์นพัฒนาและใช้งานในช่วงการปกครองแบบเจ้าฟ้า ต่อมาได้มีการเปลี่ยนการปกครองยกเลิก ระบบเจ้าฟ้า วงตอยอฮอร์นได้รับการปรับปรุงโดย อาจารย์เกษม อุดมพานิช เรียการผสมเครื่องดนตรีว่า วงดนตรี เทศบาล และมีการเรียนรู้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันวงตอยอฮอร์นที่ยังคงเล่นสมบูรณ์แบบใน จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเพียงวงตอยอฮอร์นของนายบุญพบ วัฒนวงค์ คณะวงดนตรีเมืองสามหมอก ที่ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ตอยอฮอร์น แบนโจ แอคคอเดียน กลองจะควิ่น กลองตอยลง เครื่องเคาะประกอบจังหวะ และฉิ่ง(จี) วงตอยอฮอร์ น ใช้ บ รรเลงในงานบวช งานปอยส่ า งลอง งานประเพณี พื้ น บ้ า น และงานพิ ธี สํ า คั ญ ของจั ง หวั ด แม่ฮ่องสอน 13 รูปภาพที่ 12 ภาพกลองจะควิ่น รูปภาพที่ 13 ภาพกลองตอยลง 14 วงตอยอฮอร์นใช้บรรเลง และประกอบการแสดงฟ้อนรํา และแสดงลิเกไทใหญ่(ลิ๊กเกไต) หรือจ๊าดไต เครื่องดนตรีท่ีใช้ในวงตอยอฮอร์นประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ทั้งเครื่องดําเนินทํานองที่เป็นเครื่องสาย และ เครื่องเคาะระนาด ร่วมกับกลองชนิดต่างๆ และเครื่องประกอบจังหวะ ดังต่อไปนี้ 1. ปิ่นโจ ลักษณะคล้ายกับแบนโจ เครื่องสายประเภทดีด 2. ตอยอฮอร์น เครื่องสายประเภทสี 3. คีย์บอร์ด หรือแอคคอเดียน 4. ฉิ่ง(จี), กรับ, ฉาบ 5. กลองจะควิ่นและกลองตอยลง 6. ปี่ หรือขลุ่ย 7. เป่าใบไม้ 8. ระนาดเหล็ก(ขุนน่าโลงมอง) 9. ฆ้องแผง 7 หรือ 9 ใบ(โกน่าโลงมอง) วงตอยอฮอร์นบรรเลงในงานประเพณีพื้นบ้าน งานบวช และใช้ประกอบการฟ้อนรําต่างๆ บทเพลงที่นิยม บรรเลงประกอบด้วยบทเพลงต่างๆ ทั้งช้าและเร็ว บทเพลงที่สําคัญที่นิยมบรรเลงโดยวงตอยอฮอร์น ประกอบด้วย บทเพลงดังต่อไปนี้ เพลงครู เพลงตอเย่หุ่น(เพลงเดินดง)(ช้า) เพลงรําไต(เร็ว) เพลงมวยโลโล่ เพลงตอเม่งจุน(ช้า) เพลงเหม่ามะเป่(ช้า) เพลงมองซวยยี(เร็ว) วงตอยอฮอร์นใช้บรรเลงประกอบการขับร้องเพลงแบบไทใหญ่(เฮ็ดความ) ที่มีทํานองแตกต่างกัน เช่น ทํา นองเฮ็ดความล่องคง เฮ็ดความปานแซง เฮ็ดความตะคิ่นลุน เฮ็ดความหยอบหยอน เฮ็ดความนกกือ และเฮ็ดความ ซ้อล่อ(วณิพก) กอลงจะควิ่น เป็นกลองที่กาํ หนดจังหวะหลักภายในวง โดยเทียบเสียงกลองสองด้านให้ได้เสียง 1 ช่วงเสียง (Octave) และใช้กลองจะควิ่นตีร่วมกันกับกลองตอยลง 4 ใบที่ตีจังหวะขัด ประกอบเครื่องดนตรีที่บรรเลงทํานอง เช่น ตอยอฮอร์น ระนาด เบนโจ คี ย์บอร์ด วงตอยอฮอร์นใช้ บรรเลงเพื่ อขั บ กล่ อ มในงานพิ ธี เทศกาล และใช้ ประกอบการแสดง ลิเกไทใหญ่ ฟ้อนรําแบบไทใหญ่ และการขับร้องเพลงเฮ็ดความไทใหญ่ 15 รูปภาพที่ 14 ภาพวงตอยอฮอร์น คณะเมืองสามหมอก ควบคุมวงโดยลุงบุญพบ วัฒนวงค์ รูปภาพที่ 15 ภาพวงตอยอฮอร์นในการแสดงลิเกจ๊าดไต 16 บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายหม่องจิ่ง สายบัว(จั๋นต๊ะ) รูปภาพที่ 16 ภาพนายหม่องจิ่ง สายบัว อายุ 86 ปี เกิดวันที่ - - 2471 ที่อยู่ 19/1 หมู่ 2 ตําบลเมืองป๋อน อําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เบอร์โทร 093-157-6154 ความชํานาญ ตีกลองก้นยาว ช่างทํากลองก้นยาว งานพิธีกรรม งานช่างทําจองพารา นายหม่องจิ่ง สายบัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ ชํานาญในการสร้างกลองก้นยาว และทํางานฝีมือเชิงช่างที่มีความ ประณีต ลวดลายการแกะสลักไม้ งานฉลุโลหะ งานตกแต่งอาคารทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประเพณีของ ชาวไทใหญ่ ทําจองพารา ที่ได้เรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ กลองก้นยาวของนายหม่องจิ่งได้รับการยอมรับจากชุมชนท้องถิ่นและชุมชนภายนอกที่นิยมสั่งกลองจาก นายหม่องจิ่ง เป็นกลองที่มีสัดส่วนที่ดี ใช้วัสดุในการผลิตที่มีคุณภาพ เสียงกลองครบถ้วนทั้งเสียงที่ออกจากหน้า กลองและเสียงที่ออกจากท้ายกลอง 17 นายป๊ะ ยอดนายเมือง รูปภาพที่ 17 ภาพนายป๊ะ ยอดนายเมือง อายุ 83 ปี เกิดวันที่ - - 2475 ที่อยู่ 168 ตําบลขุนยวม อําเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เบอร์โทร ความชํานาญ ตีกลองก้นยาว ช่างทํากลองก้นยาว ทําจองพารา ทําปราสาท นายป๊ะ ยอดนายเมือง เป็นช่างทํากลองที่มีชื่อเสียงในพื้นที่อําเภอเมืองและอําเภอขุนยวม มีความสามารถ ทํางานฝีมือพื้นบ้านไทใหญ่ เช่น การตัดตุง ตัดกระดาษ นายป๊ะ ยอดนายเมืองเป็นช่างทํากลองก้นยาวได้อย่าง ชํานาญ กลองก้นยาวของนายป๊ะเป็นที่ยอมรับในคุณภาพเสียงที่ดี และรูปร่างรูปทรงที่สวยงาม นายป๊ะ ยอดนาย เมืองเป็นช่างฝีมือที่สามารถทํางานเชิงช่างอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะงานไม้ เป็นผู้ท่ีทํางานเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม พื้นบ้านไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 18 นายบุญพบ วัฒนวงค์ รูปภาพที่ 18 ภาพนายบุญภพ วัฒนวงค์ อายุ 75 ปี เกิดวันที่ 10 มกราคม 2483 ที่อยู่ บ้านไม้แงะ ตําบลปางหมู อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เบอร์โทร 053-613-236 ความชํานาญ เป่าใบไม้ ตีกลองก้นยาว เล่นตอยอฮอร์น นายบุญภพ วัฒนวงค์ เป็นศิลปินนักดนตรีที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทใหญ่ได้หลายชนิด เช่น สี ตอยอฮอร์น เป่าใบไม้ แอ๊ดคอเดียน ปิ่นโจ เฮ็ดความ ตีกลองก้นยาวได้อย่างชํานาญ ตีกลองมองเซิง และกลองมอง ลาว นายบุ ญพบ วั ฒนวงค์ ได้รับรางวัลศิลปินพื้นบ้าน เป็นปราชญ์ท้องถิ่น และบุ คคลทางวั ฒนธรรมจั ง หวั ด แม่ฮ่องสอน และเป็นผู้อนุรกั ษ์ดูแลวงดนตรีไทใหญ่ คณะเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน 19 วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมการตีกลองของชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปรากฏลักษณะกลองที่นิยมตีหลากหลาย ประเภท ทั้งกลองที่ใช้ประกอบวงดนตรี บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีที่มีทํานอง เช่น วงตอยอฮอร์น และวงกลองที่ ใช้ตีจังหวะหลักร่วมกับเครื่องเคาะประกอบจังหวะอื่นๆ เช่น วงกลองก้นยาว วงกลองมองเซิง วงกลองทุกประเภทที่ พบในการสํารวจใช้ตีเพื่อประโคมในงานรื่นเริง งานมงคล งานเทศกาล งานประเพณีพื้นบ้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ งานบุญในพุทธศาสนา รวมทั้งใช้ตีเพื่อความบันเทิงในชุมชน การผลิตกลองยังคงใช้วัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น ชุมชน ทั้งวัสดุท่ีทําตัวกลอง และวัสดุท่ีใช้ทําหนังหุ้มหน้า กลอง หากแต่จํานวนปริมาณของช่าง หรือสล่าทํากลองมีแนวโน้มลดลงและไม่ได้มีกระบวนการถ่ายทอดเรียนรู้ ให้กับคนรุ่นต่อไป แต่ความต้องการและความนิยมในการใช้กลองยังคงมีความต้องการที่ไม่ลดลง ทั้งนี้เทคนิคการ ทํากลองและเครื่องมือแบบพื้นบ้านอาจเปลี่ยนไปสู่เทคโนโลยีที่ทนั สมัยมากขึ้นเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น หรือ อาจจะต้องสั่งกลองจากพื้นที่อื่นๆ ที่ยงั คงมีช่างที่สามารถทําได้อยู่ในอนาคต ความสําคัญของวงกลองประเภทตีร่วมกับฆ้อง เช่น วงกลองก้นยาว วงกลองมองเซิง การคัดเลือกฆ้อง ต้องนําเข้าจากประเทศเมียนม่าร์ ในชุมชนท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนเองไม่ส ามารถผลิตฆ้องที่มีคุณภาพได้ทัดเทียม เนื่องจากเทคนิคการผลิตเป็นการผสมโลหะ หลอมโลหะ และขึ้นรูปโลหะมีขั้นตอนที่ซบั ซ้อนกว่างานไม้และงานหนัง นอกจากกระบวนการการสร้าง การใช้งานที่ควรทําการศึกษาเพิ่มเติมแล้ว กระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับลักษณะจังหวะที่แตกต่างของกลองแต่ละชนิดที่สะท้อนวิธีคิด ปรัชญา และภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนควรได้รับการบันทึก และศึกษาต่อไป วิธีการตีกลองแต่ละประเภทมีความรู้ และลักษณะเฉพาะ ท้องถิ่นที่ควรทําการเก็บข้อมูลในขั้นงานวิจัยต่อไป รูปภาพที่ 19 ภาพการฟ้อนนกกิงกะหล่าประกอบการตีกลองก้นยาว บทที่ 2 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดแพร่ น่าน พะเยา วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา กลุ่ ม วั ฒ นธรรมล้ า นนาตะวั น ออกที่ ป ระกอบด้ ว ยพื้ น ที่ จั ง หวั ด แพร่ น่ า น และพะเยา เป็ น พื้ น ที่ ท าง วัฒนธรรมที่สําคัญที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก ทั้งในเรื่องของภาษา เฉพาะถิ่ น กลุ่ม ชาติพัน ธุ์ การเมื องการปกครองในอดีต สุนทรียรสในศิล ปะและดนตรี ประเพณี วิถีชีวิต และ วั ฒ นธรรม ความสั ม พั น ธ์ กั บ วั ฒ นธรรมจากอาณาจั ก รล้ า นนา เมื อ งหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรั ฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวในอดีต และความสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนาในช่วงที่ เมืองเชียงใหม่มีบทบาทและอํานาจในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกในเขต พื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน และพะเยามีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมทางดนตรี และมีรูปแบบการใช้งานเครื่องดนตรี ประเภทกลองที่น่าสนใจ แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวัฒนธรรมไทลื้อที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดน่าน กลองที่พบในพื้นที่กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก บริเวณจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา มีรูปร่างลักษณะตัว กลองคล้ายกันกับกลองในกลุ่ม วัฒนธรรมล้านนาตะวันตกพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน และลําปาง หากแต่วิธีการบรรเลง กระสวนจังหวะ(Rhythmic Patterns) และชื่อเรียกแตกต่างกันไป เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ กลองที่พบในบริเวณนี้ เช่น วงกลองอืดเมืองน่าน วงกลองเส้งเมืองแพร่ วงกลองปูจาเมืองน่าน วงกลองเปิ่งอั่ง อําเภอปัว จังหวัดน่าน อย่างไรก็ตาม พบวงกลองประเภทอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในบริเวณกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกนี้ที่ ได้รับอิทธิพลจากพื้นที่ใกล้เคียงเช่นกัน วัฒนธรรมดนตรีน่านมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมากในกลุ่มวัฒนธรรมแถบนี้ วง กลองใช้ตีในงานที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลประเพณีพื้นบ้าน วงกลองส่วนใหญ่นิยมเก็บไว้ท่ีวัด และชุมชนแต่ละชุมชน เป็นผู้ที่ดูแลและใช้กลองร่วมกัน รูปภาพที่ 20 ภาพวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน 21 พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป จากประวัติศาสตร์เชื่อว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก สืบเชื้อสายมา จากพระยาภูคา ที่แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตกที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ลาวจก หิรัญนครเงิน ยางเชียงแสน อาณาล้านนาตะวันออกเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาเดียวกันกับอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้าน ช้าง พื้นที่ 3 จังหวัด พะเยา แพร่ และน่าน จึงมีความสัมพันธ์ต่อกัน กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงําเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม (คําขวัญประจําจังหวัดพะเยา) จังหวัดพะเยาเดิมเป็นที่ต้ังของอาณาจักรภูกามยาว หรือพยาว ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ในอดีตเป็น อําเภอส่วนหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดลําดับที่ 72 ของประเทศไทย มี เนื้อที่โดยประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับจังหวัดเชียงราย ด้านทิศตะวันออกติดกับจังหวัด จังหวัดน่านและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัดลําปาง และด้านทิศ ใต้ติดกับจังหวัดแพร่ จังหวัดพะเยามี 9 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมืองพะเยา อําเภอจุน อําเภอเชียงคํา อําเภอ เชียงม่วน อําเภอดอกคําใต้ อําเภอปง อําเภอแม่ใจ อําเภอภูซาง และอําเภอภูกามยาว หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม (คําขวัญประจําจังหวัดแพร่) จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 6,538.59 ตาราง กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน ด้านทิศตะวันออกติดกับจังหวัดน่าน ทิศตะวันตกติดกับ จังหวัดลําปาง และทิศใต้ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย จังหวัดแพร่มี 8 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอ เมืองแพร่ อําเภอร้องกวาง อําเภอลอง อําเภอสูงแม่น อําเภอเด่นชัย อําเภอสอง อําเภอวังชิ้น และอําเภอหนองม่วง ไข่ แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดํา จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง (คําขวัญประจําจังหวัดน่าน) จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่สําคัญในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 11,472.072 ตาราง กิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัด อุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดแพร่และจังหวัดพะเยา จังหวัดน่านมี 15 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมืองน่าน 22 อําเภอแม่จริม อําเภอบ้านหลวง อําเภอนาน้อย อําเภอปัว อําเภอท่าวังผา อําเภอเวียงสา อําเภอทุ่งช้าง อําเภอเชียง กลาง อําเภอนาหมื่น อําเภอสันติสุข อําเภอบ่อเกลือ อําเภอสองแคว อําเภอภูเพียง และอําเภอเฉลิมพระเกียรติ วัฒนธรรมการตีกลองในพื้นที่ท้ัง 3 จังหวัดมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ และช่วงเวลาในแต่ละสมัย พื้นที่วัฒนธรรมล้านนาตะวันออกมีความเชื่อมโยง กับวัฒนธรรมที่อยู่รอบด้านทั้งวัฒนธรรมจากกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก กลุ่มวัฒนธรรมล้านช้างและกลุ่ม วัฒนธรรมไทยภาคกลาง จึงทําให้ลักษณะวัฒนธรรมการตีกลองในกลุ่มนี้มีการผสมผสานและปรับตัวค่อนข้างสูง และมีเอกลักษณ์แตกต่างจากกลุม่ อื่นๆ แผนที่หมายเลข 3 แสดงแผนที่จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา การสํารวจเก็บข้อมูลในพื้นที่กลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกครั้งนี้ เก็บข้อมูลในส่วนตัวอย่างกลองที่สําคัญที่นิยม ใช้ตีในพื้นที่ 3 จังหวัดโดยสํารวจตัวแทน(Sampling) กลองและวงกลองที่สําคัญในพื้นที่อําเภอเมืองน่าน อําเภอปัว และอําเภอเมืองแพร่ กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ล้านนาตะวันออก ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยบนที่สูง เช่น กลุ่มม้ง และเมี่ยน(เย้า) และกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ เช่น กลุ่ม ลั วะ ขมุ และมาบลี และกลุ่มชาติพันธุ์ไ ท ประกอบด้วย กลุ่มไทยวน(คนเมือง) กลุ่มไทลื้อ กลุ่มไทยอง กลุ่มไทเขิน กลุ่มชาวไทใหญ่ และกลุ่มชาวไทพวน(ลาว พวน) 23 รูปภาพที่ 21 ภาพการแต่งกายชาวไทลื้อ จังหวัดน่าน วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมการใช้กลองในพื้นที่ 3 จังหวัด พะเยา แพร่ และน่าน พบว่านิยมใช้กลองตีร่วมในขบวนแห่ที่ เกี่ยวข้องกับเทศกาลประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และร่วมขบวนแห่ในพิธีของชนชั้นสูง เจ้านาย ในอดีต วงกลองบางประเภทเริ่มสูญหายไปจากสังคม เช่น วงกลองเส้ง จังหวัดแพร่ ที่ในอดีตใช้ตีในขบวนแห่เป็น กลองสองหน้า หน้ากลองสอบลดขนาดจากใหญ่ไปหาเล็ก กลองมีขนาดใหญ่ใช้ราวไม้แบกเพื่อสามารถใช้ตีในขณะ เดินร่วมขบวนแห่ ตีรวมกันเป็นชุด 3 ใบ นอกจากกลองที่สูญหายไปแล้ว ยังปรากฏวงกลองที่กําลังเริ่มจะสูญหาย แต่ได้รับการรื้อฟื้น อนุรักษ์โดย ชุมชน กลุ่มเยาวชน ตัวอย่างเช่น วงกลองเปิ่งอั่ง อําเภอปัว จังหวัดน่าน ที่มีลักษณะคล้ายกับกลองยาว ตีรวมวง หลายใบเป็นชุด เทียบเสียงโดยติดจ่ากลอง เสียงกลองไล่เสียงเป็นกลุ่มๆ ตีเพื่อแข่งเสียง และใช้ในขบวนแห่ การสํารวจเก็บข้อมูลกลองในพื้นที่วฒ ั นธรรมล้านนาตะวันออก พบตัวอย่างกลองที่น่าสนใจหลายประเภท เช่น วงกลองอืดเมืองน่าน หรือกลองล่องน่าน วงกลองเปิ่งอั่ง กลองเส้ง กลองปูจาที่มีลักษณะวิธีการตี มีทํานอง 5 ‘ระบํากลอง’ ที่แตกต่างไปจากวิธีการตีกลองแบบเชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปาง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ของเมืองน่าน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการตีกลองในกลุ่มวัฒนธรรมน่าน พบว่านิยมใช้ ปาน มีลักษณะเป็นฆ้อง แบน(Flat Gong) ตีร่วมกันกับฆ้องและฉาบประกอบการตีกลองล่องน่าน และใช้ปี่แน บรรเลงทํานองบทเพลง ร่วมกับการตีกลอง การตีกลองล่องน่านมีลักษณะพิเศษนอกจากการใช้บรรเลงร่วมกับการเดินในขบวนแห่แล้ว วง กลองล่องน่านมีความสําคัญในการบรรเลงประกอบการล่องเรือในแม่น้ําน่านในพิธีสําคัญของชุมชน การแข่งเรือ ประจําปีจังหวัดน่าน เป็นต้น การสํ ารวจข้อมูลกลองล้านนาในเขตล้านนาตะวั นออกครั้ง นี้สํ ารวจในพื้นที่จังหวั ด น่านเป็นหลั ก พบ รูปแบบกลองที่สําคัญ 5 แบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 5 ระบํากลอง หมายถึงรูปแบบการตีกลองในแต่ละกระสวนจังหวะ(Rhythmic Patterns) เช่น ระบําเสือขบตุ๊ ระบําสาวหลับเต๊อะ ระบํา ฟาดแส้ 24 กลองปูจาเมืองน่าน กลองปูจา หรือกลองบูชา เป็นกลองที่มีความสําคัญทางพระพุทธศาสนา เชื่อว่าใช้ตีเพื่อบอกสัญญาณแก่ ชุมชนเมื่อถึงวันที่สําคัญทางศาสนา และเป็นกลองที่ใช้บอกเหตุต่างๆ ให้กับชุมชน เช่น ตีเพื่อบอกเวลา ตีเพื่อบอก เหตุไฟไหม้ หรือการตีเมื่อพระในวัดมรณภาพ นอกจากนั้นยังใช้ตีเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาลประเพณี พื้นบ้านอีกด้วย กลองปูชาเป็นกลองรูปถังขนาดใหญ่หุ้มด้วยหนังสองด้าน ใช้ไม้ตี ลําตัวกลองทําจากไม้ขุดขนาด ใหญ่ จึงจําเป็นต้องสร้างหอกลองเพื่อแขวนกลองไว้ในแต่ละวัด นอกจากกลองใบใหญ่แล้ว กลองใบเล็ก 3 ใบ ที่ นิยมวางไว้ด้านซ้ายของตัวกลองใบใหญ่เรียงเป็นแนวนอนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของกลองปูจาเมืองน่าน ลักษณะกายภาพทีม่ ีรูปร่างรูปทรงแบบถังช่วยให้เสียงกลองมีความดังสามารถได้ยินในระยะไกล ในสังคม ชาวล้านนาแทบทุกวัดจะมีกลองปูชาประจําวัด การตีกลองมีวิธีการตีกลอง 3 รูปแบบหลัก 1. การตีกลองปูจาแบบประโคม เป็นวิธีการตีเพื่อประโคม ในงานบุญ ตีเพื่อต้อนรับขบวนคัวตาน ตี กลองก่อน-หลังการเทศน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทศน์มหาชาติ ใช้ฆ้องและฉาบประกอบการตี โดย ใช้คนตีฆ้องฉาบประกอบ 5-7 คน วิธีการตีแบบนี้จะตีกลองในคื นก่อนวันพระ 1 วัน แต่ ใ นพื้น ที่ อําเภอปัวจะตีเพิ่มในคืนวันพระอีก 1 วัน เรียกว่า ‘ตีส่ง’ เพื่อเป็นการอนุโมทนาบุญหลังจากที่ชาวบ้าน มาทําบุญ และเชื่อว่าเป็นการตีเพื่อส่งสัญญาณให้เทวดารับทราบในการทําบุญ นิยมใช้ระบํากลองที่ เรียกว่า ระบําเสือขบงัว ระบําเสือขบตุ๊ ระบําสาวหน้อยเก็บผัก ระบําแม่ฮ้างติ้วซิ่น ระบําตุ๊ป้ีสิก ระบํา ล่องสา ระบําลุกตางเหนือมาสุบ ระบําจกอี่ลุ้ม และระบําล่องน่าน การตีกลองปูจาเฉพาะท้องถิ่น เมืองน่านมีวิธีการตีกลอง 4 วรรค โดยวรรคที่ 1-3 จะตีในระบําที่ต้องการตีในจังหวะที่ช้า และวรรค ที่ 4 จะตีระบําล่องน่านที่เป็นจังหวะเร็ว เรียกว่า ‘ตีหลบ’ อย่างไรก็ตามบางวัดอาจจะไม่ตีระบําล่อง น่านในวรรคสุดท้ายเนื่องจากเกรงว่าพระภิกษุและสามเณรเกิดความฮึกเหิมและนําไปสู่การผิดพระ วินัยได้ 2. การตีกลองปูจาแบบฟาดไม้แซะ เป็นลักษณะการตีกลองจังหวะที่เร็ว เร่งเร้า วิธีการตีแบบนี้ใช้ผู้ตี 2 6 คน คนตีกลองและคนฟาดไม้แซะ จังหวะที่เร็วของการตีกลองประเภทนี้มีระบําเฉพาะในการตี เช่น ระบําตุบต้าง ระบําท้องแง้น ระบําม้าทืบคอก ระบํานพก๋อน ระบําสารเกี้ยวเกล้า ระบําช้างข้ามโต้ง และระบําม้าย่ําไฟ โอกาสในการตีกลองแบบฟาดไม้แซะนิยมในการตีเพื่อขึ้นธัมม์ หมายถึงการตี ก่อนที่พระสงฆ์จะเริ่มเทศน์ ในช่วงเวลาการตั้งธัมม์หลวง ช่วงเปลี่ยนกัณฑ์เทศน์มหาชาติในแต่ละ กัณฑ์เทศน์จะตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณบอก นอกจากนั้นการตีกลองปูจาแบบฟาดไม้แซะใช้ในการตี เพื่อรับขบวนเครื่องไทยทานต่างๆ ในงานแห่องค์ผ้าป่า องค์กฐิน ขบวนแห่งานประเพณีต่างๆ และใช้ตี ในงานสลากภัตช่วงกลางคืนก่อนวันถวายสลากภัต เรียกว่า ‘การตีสลากออก’ 6 ไม้แซะ ทําจากไม้ไผ่ผ่าซีก สับไม้ไผ้ช่วงปลายไม้ให้แยกออกจากกันเป็นซี่ ใช้ฟาดลงบนหนังหน้ากลองเป็นจังหวะเท่าๆ กัน อย่าง สม่ําเสมอ 25 3. การตีกลองแบบบอกเหตุ เป็นวิธีการตีกลองแบบหน้าเดียว ใช้คนตีเฉพาะกลองตีด้านหน้ากลองเพื่อ บอกเหตุร้ายแรง เช่น เจ้าอาวาสมรณภาพ ไฟไหม้ รวมทั้งตีเพื่อบอกเวลา เรียกว่ากลองย่ําค่ํา จังหวะ กลองเป็นตัวกําหนดสัญญาณ เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์สัญญาณกลองจะมีจังหวะที่แตกต่างกัน โดยคนในชุมชนจะเข้าใจในสัญญาณที่ได้ยินจากการตีกลอง วิธีการตีกลองแบบบอกเหตุ ตีบอกเหตุ 3 วิธี วิธีแรก การตีเพื่อบอกเวลาย่ําค่ํา ตีในเวลาพลบค่ําเวลาหกโมงเย็นหรือ 1 ทุ่มของทุกวัน โดยจะ เน้นการตีกลองลูกตุ๊บใบที่ 2 และ3 วิธีที่สอง การตีกลองยามปกติเพื่อเป็นสัญญาณการเรียกรวมตัว ของคนภายในหมู่บ้านเพื่อมาประชุมกันที่วัดจะตีกลองใบใหญ่เว้นระยะ 3 ครั้ง และตีกลองถี่ขึ้นและ รัวกลองเร็วขึ้นในท้ายที่สุด วิธีสุดท้าย หากได้ยินเสียงกลองใบใหญ่ตีรัวเร็วเป็นสัญญาณบอกว่ามี เหตุร้ายข้าศึกเข้าเมือง รูปภาพที่ 22 ภาพกลองปูจา เมืองน่าน 7 กลองปูจาเมืองน่านมีลักษณะการเรียงกลองลูกตุ๊บ ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ โดยเรียงกลองอยู่ทางด้าน ซ้ายมือของคนตี โดยมีกลองปูจาใบใหญ่วางอยู่ทางขวามือ ใช้ไม้ตีกลองทั้ง 4 ใบที่อยู่ในชุดกลองปูจา วางตั้งบนขา กลองที่แน่นหนา หรือวางอยู่ในหอกลองปูจา ตีได้ 2 วิธี ตีโดยใช้ไม้ตีประกอบชุดฆ้องและฉาบ และการตีโดยใช้ไม้ แซะตีเป็นจังหวะเพื่อให้ผู้ตีกลองปูจาได้ออกลีลาท่าทางและสร้างกระสวนจังหวะกลองให้เข้ากันเป็นระบําต่างๆ 7 กลองลูกตุ๊บ เป็นกลองขนาดเล็กใช้ตัดจังหวะกลองใบใหญ่ โดยไล่เสียงสูงต่ํา วางกลองไว้ดา้ นข้างกลองปูจาใบใหญ่ 26 รูปภาพที่ 23 ภาพกลองลูกตุ๊บ กลองปูจาเมืองน่าน กระบวนการการสร้างกลองปูจา ให้ความสําคัญต่อวัสดุที่นํามาใช่ทําตัวกลอง และหนังกลอง ตัวกลอง นิยมทําจากไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่ดีเช่นไม้ประดู่(Pterocarpus macrocarpus) นํามาขุดเนื้อไม้ด้านในออกโดยจะเว้นขอบไม้ ไว้ 3-4 นิ้ว เรียกว่า ‘เหงือกกลอง’ เหงือกกลอง มี 2 แบบ แบบแรกเรียกว่าแบบแบบสองชั้นปากนกแก้ว มีเหงือก กลองบริเวณทั้งสองด้านของปากกลองส่วนที่ติดกับหนังกลอง แบบที่สอง แบบสามชั้นโดยเพิ่มเหงือกกลองด้านใน ระยะ 2 ใน3 ส่วนจากหน้ากลองทั้งสองด้าน ขึ้นหนังกลองด้วยหนังควาย เตรียมหนังควายดิบขึงตากให้แห้ง 5-7 วัน นิยมใช้หนังควายตัวผู้มากกว่าหนังควายตัวเมียเชื่อว่าให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า นําหนังควายลงแช่ในน้ําที่ผสมหัว ข่าและต้นข่าที่ตําละลายในน้ํา 1 คืนเพื่อดับกลิ่นหนังควาย และให้หนังควายขยายตัวง่ายขึ้น นําหนังกลองมาขึงดึง ขึ้นหน้ากลองกับตัวกลอง ใช้เชือกดึงหนังเพื่อให้ตึง ตีกลอง 1 วัน เพื่อให้หนังอยู่ตัวก่อนที่จะดึงขั้นตอนสุดท้าย เมื่อ หนังกลองตึงได้ตามทีต่ ้องการสวมปลอกรัดหนังเข้ากับตัวกลอง และนําหมุดไม้ตอกรอบกลองเพื่อยึดหนังให้ติดกับ ตัวกลอง นํากลองออกตากแดดเพื่อให้หนังกลองตึงเป็นอันเสร็จกระบวนการสร้างตัวกลอง ในกลองปูจาใบใหญ่ นิยมนําเครื่องรางของขลัง ใส่ไว้ในผลน้ําเต้าห้อยไว้ในกลางกลอง เรียกว่า ‘หัวใจกลอง’ โดยเขียนคาถาหัวใจกลอง ลงไปบนผลน้ําเต้า 27 คาถาที่นิยมเขียนใส่ในหัวใจกลองขึ้นอยู่กับผู้ท่ีสร้างกลอง คาถาหัวใจกลองมีหลายรูปแบบ เช่น คาถาดง สงัด คาถาเสือโคร่ง คาถาเสือเหลือง คาถามหาอํานาจ คาถาเสือเผือก คาถานกยูงทอง จากหนังสือกลองปูจา เมืองน่าน เสียงสวรรค์แห่งนันทบุรีแสดงรายละเอียดคาถาแต่ละคาถาไว้ดังนี้ (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, 2556) คาถาดงสงัด อมพิจจะแหลก แขกดักในใจขาด อะขยาดดักใน ไผว่าบ่ได้ คูว่าได้ใจฟัง สะสิมา คะหะดัก คาถาเสือโคร่ง อมเสือโคร่งเฒ่าลายเรือง อมเสือเหลืองอ้ายลายจ้ําลอด อมเสือแผ้วสอดลายแสง แรงคูมีเท่า ช้างพายสาร หาญคูมีเท่าช้างพายใหญ่ อํานาจกูมี คะคื้นใต้ลุ่มพื้นแม่ธรณี อมสวาหะเถก คาถาเสือเหลือง อมเสือเหลืองขบกวางดังงะงาด เสียงคูมีอํานาจ ข้าเสิกขาดใจตาย อทสวาหะคาบ คาถามหาอํานาจ หื้อเสียงกว่าฟ้า เสียงหนักรักกว่านางปันหุง รักกว่าหล่อน แสนขอนวอนใจ อยู่บ่ได้ตู่จักหื้อมึง ป่าวเสียงขวาง หื้อมีเสียงเถิงเทวดาอยู่อากาศ เสียงฟ้าฟาดแสนดี ตูจักหื้อมึงป่าว เสียงขวางหื้อมึงรัก รักเนอเออ สวาหุม คาถาเสือเผือก สะสิสุปญ ั จะตัง วะระธาเมหิ จิตตา ธัมเมปัณฑุเร ธัมมะราชา อะจิเรนะนะ อะวิสันติ คาถานกยูงทอง อมนกยูงตอง ถูกต้องต๋านาง ป๋างเมื่อนกยูงตองอยู่ในป่า กั๋นกูแผ่ปกี ไปหื้อมึงแลตามา กั๋นกูแลตา ไปหื้อมึงเข้าใกล้กูแต้เนอ นางเนอเออ สวาหุมติด 28 รูปภาพที่ 24 ภาพผลน้ําเต้าที่ใช้ทําหัวใจกลองปูจา การสร้างตัวกลองปูจาชาวล้านนาเชื่อในเรื่องโฉลกของหน้ากลอง เชื่อว่าสัดส่วนที่สมดุลของกลองจะทํา ให้ชุมชนมีความสามัคคี จากเอกสารพับสาสวดเบิกโปร่งแก้ว วัดโปร่ง ตําบลส้าน อําเภอเวียงสา จังหวัดน่านได้ 8 จารึกโฉลกหน้ากลองปูจา โดยใช้สัดส่วนการวัดขนาดจากการกํามือ ไว้ดังนี้ (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, 2556) กลองที่มีขนาดหน้ากลองกว้าง 6 กํามือต่อกัน ยาว 16 กํามือต่อกัน ชื่อว่า นันทเภรี 1. กลองที่มีขนาดความยาว ยาวเป็นสองเท่าของหน้ากลอง ชื่อว่า สุขวหา 2. กลองที่มีความยาวเป็นสามเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของกลอง ชื่อว่า ไชยเภรี 3. กลองที่มีความยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้ากลอง ชื่อว่า เภรี 4. กลองที่มีความยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้ากลอง ชื่อว่า รัตนเภรี นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญต่อขนาดความกว้างของหน้ากลองเพื่อให้ได้โฉลกกลองที่ดี ตีความหมาย ของโฉลกกลองแต่ละสัดส่วนแตกต่างกันออกไป ดังรายละเอียดที่ได้จากเอกสารพับสาสวดเบิกโปร่งแก้ว วัดโปร่ง ตําบลส้าน อําเภอเวียงสา จังหวัดน่านมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 8 1 กํามือ เท่ากับ 4 นิ้ว ในขณะกําหมัด 1 ฝู เท่ากับ 1 กํามือในลักษณะการกําหมัดพร้อมยกหัวแม่มือขึ้น 29 1. นันทเภรี กลองที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน ดี 2. สะหรีเมืองชื่น กลองที่มีความเป็นสิริมงคล บ้านเมืองร่มเย็น ดี 3. หมื่นเมืองพรหม กลองที่มีเทวดารักษา ดี 4. ศรมอยู่สร้าง กลองที่ทาํ ให้พระสงฆ์อยู่เป็นสุข ดี 5. ม้างสังโฆ กลองที่ทาํ ให้วัดขาดพระสงฆ์มาจําพรรษา ไม่ดี 6. โพธิสัตว์ กลองที่ดีประดุจพระโพธิสัตว์ ดี 7. วัดพระเจ้า กลองที่ทาํ ให้วัดเป็นวัดร้าง ไม่ดี วิธีการนับโฉลกกลองนั้นใช้กํามือเรียงต่อความยาวไปเรื่อยๆ นับเรียกโฉลกกลองจากหมายเลข 1 ไปยัง หมายเลข 7 เมื่อครบตามลําดับก็จะเวียนนับใหม่ เมื่อสิ้นสุดความกว้างขอหน้ากลองแล้วพอดีกับหมายเลขใดให้ถือ โฉลกนั้นเป็นโฉลกของกลอง 9 นอกจากตัวกลองทีใ่ ห้ความสําคัญในโฉลกแล้ว จํานวน ไม้แซ่ ที่ปกั รอบขอบกลองมีโฉลกเช่นเดียวกัน ไม้ หมุดที่ปักรอบขอบกลองปูจามี 2 ลักษณะใหญ่ ไม้หมุดยึดแบบแถวเดียว และแบบหมุดสองแถว ความสั้นยาวของ หมุดขึ้นอยู่กับช่างที่ทํากลองหากมีขนาดที่ยาว เรียกว่า ‘แซ่หางค่าง’ หมุดจะยาวอยู่ด้านในตัวกลอง หมุดจะถูกปัก ลงบนช่องเสียบหมุดที่เจาะเป็นรูรอบขอบกลองทั้งสองด้าน เรียกว่า ‘รูแซว’ จํานวนหมุดมีความสําคัญกับโฉลก กลอง วิธีการนับไม้แซ่จะนับจนรอบกลองเมื่อนับครบรอบจะได้โฉลกตามที่เอกสารพับสาสวดเบิกโปร่งแก้ว วัด โปร่ง ตําบลส้าน อําเภอเวียงสา จังหวัดน่านได้จารึกโฉลกไม้แซ่กลอง ไว้ดังนี้ 1. ตีฟาดผี ตีกระทบผี เป็นมงคลดี 9 2. ตีกินเหล้า ตีแล้วพระสงฆ์ดื่มสุรา ไม่เป็นมงคล 3. ตีอยู่เฝ้านาง ตีแล้วพระสงฆ์จะเสพเมถุน ไม่เป็นมงคล 4. ตีมาเมืองใหม่ ตีแล้วได้อยู่เมืองใหม่ เป็นมงคลดี 5. ตีอุ้มท้าวกินเมือง ตีแล้วยกให้กษัตริย์ครองเมือง เป็นมงคลดี ไม้หมุดยึดหนังกลองปูจา 30 รูปภาพที่ 25 ภาพไม้แซ่รอบขอบกลองลูกตุ๊บและกลองปูจา การสร้างกลองเชื่อถือการหาวันดีในการสร้างกลองตามตําราการสร้างกลองชาวล้านนากําหนดวันดี วัน เสียในการสร้างกลองตามปฏิทินล้านนา ที่มีการนับแตกต่างจากปฏิทินไทยภาคกลาง ดังนี้ เดือนมกราคม เดือน 4 เดือนกุมภาพันธ์ เดือน 5 เดือนมีนาคม เดือน 6 เดือนเมษายน เดือน 7 เดือนพฤษภาคม เดือน 8 เดือนมิถุนายน เดือน 9 เดือนกรกฎาคม เดือน 10 เดือนสิงหาคม เดือน 11 เดือนกันยายน เดือน 12 เดือนตุลาคม เดือนเกี๋ยง เดือนพฤศจิกายน เดือนยี่ เดือนธันวาคม เดือน 3 วันที่ดีสําหรับการหุ้มกลองนิยมหุ้มในวันตามแบบการนับวันแบบหนวันไท หุ้มกลองในวันยี่ วันเหม้า(หุ้ม กลองศึก) วันเม็ด วันเส็ด วันไค้ และเดือนที่เหมาะสําหรับการหุ้มกลองตามการนับเดือนแบบน่าน หุ้มกลองในเดือน สิบสอง เดือนเกี๋ยง เดือนสี่ เดือนหก เป็นเดือนที่หุ้มกลองที่เป็นมงคล (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, 2556) 31 รูปภาพที่ 26 ภาพการตีกลองปูจาเมืองน่าน กลองอืดเมืองน่าน กลองอืดเมืองน่าน มีลักษณะเป็นกลองรูปแก้วไวน์ กลองหน้าเดี่ยว ติดจ่ากลองเวลาตี ตีร่วมกับชุดฆ้อง 3-5 ใบ ฉาบ 1 คู่ กลองตอมแตม 1 ใบ ปาน 1 อัน ฉิ่ง 1 คู่ และปี่แนบรรเลงทํานอง วงกลองอืดเมืองน่านใช้บรรเลง ในการรับประทานขันโตก ขบวนแห่ตามประเพณี ประกอบการฟ้อนล่องน่าน รูปภาพที่ 27 ภาพวงกลองอืดเมืองน่าน วงกลองวัดพญาภู 32 กลองอืดเมืองน่าน ลักษณะคล้ายกับกลองแอว แบบเชียงใหม่ และกลองตกเส้ง แบบลําปาง หากแต่ วิธีการผสมวง และบทเพลงที่ใช้บรรเลงแตกต่างออกไป วงกลองอืดคณะวัดพญาภู จังหวัดน่านเป็นอีกวงที่ได้ อนุรักษ์วิธีการตีกลองอืด มีบทเพลงในการบรรเลงกับกลองอืดหลายเพลงแตกต่างจากวงกลองอืดในหลายๆ พื้นที่ ก่อนเริ่มทํ าการแสดงจะต้องทําพิธีไหว้ครูก่อนบรรเลง ‘ขั นตั้ง ’ หรือเครื่องไหว้ครูวงกลองคณะวัดพญาภู ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน อย่างละ 12 เบี้ย 32 ตัว ผ้าขาว 1 ผืนเล็ก ผ้าแดง 1 ผืนเล็ก เหล้าขาว 1 ขวด น้ํา ขมิ้นส้มป่อย รูปภาพที่ 28 ภาพขันตั้งสําหรับการบรรเลงวงกลองอืดเมืองน่าน รูปแบบการใช้งานวงกลองอืดมีวิธีการใช้กลองแตกต่างกันไป ใช้ร่วมในขบวนแห่ท่ีวงกลองตั้งอยู่กับที่เป็น หลัก การตีกลองอืดเมืองน่าน แบ่งวิธีการตีออกเป็น 2 รูปแบบ 1. ตีแบบกลองอืดเมืองน่าน ใช้ประกอบการฟ้อนล่องน่าน มีจังหวะช้า ใช้กลองตอมแตมที่มีลักษณะ กลองสองหน้ารูปทรงกระบอก หุ้มด้วยหนัง ใช้ไม้มีหัวไม้ตีจังหวะขัด คล้ายกับกลองตะหลดป๊ดในวง กลองตึ่งนงของเชียงใหม่ ใช้เพลงฟ้อนล่องน่าน เพลงเจ้าน่าน เพลงเขมรไทรโยค 2. ตีแบบกลองปานเฮือแข่ง มีจังหวะช้า เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบคล้ายกันกับวงกลองอืด แต่ไม่ใช้กลอง ตอมแตมร่วมตีภายในวง 33 รูปภาพที่ 29 ภาพกลองตอมแตม ในวงกลองอืด เมืองน่าน รูปภาพที่ 30 ภาพเชือกดึงกลองอืดเมืองน่าน 34 กลองล่องน่าน กลองล่องน่านมีลักษณะกลองสองหน้าหุ้มด้วยหนังใช้มือตี ใช้เชือกคล้องคอสะพายกลองเวลาตี ตีร่วมกัน กับฆ้องเป็นชุด ฉาบ ปาน และปี่แน นิยมใช้ตีบนเรือ ประกอบขบวนแห่ทางน้ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนแข่งเรือ ประจําปีเมืองน่าน กลองล่องน่านนิยมใช้ประกอบการฟ้อนล่องน่าน รูปภาพที่ 31 ภาพวงกลองล่องน่าน ในขบวนแข่งเรือประจําปีจังหวัดน่าน ชุมชนบ้านพญาภู เป็นชุมชนที่ได้อนุรักษ์วิธีการตีกลองอืดเมืองน่าน และวงกลองล่องน่านที่ยังคงสืบทอด และสามารถรวมวงกันมาถึงปัจจุบัน นักดนตรีรุ่นอาวุโสหลายท่านมีความสําคัญต่อวงโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักดนตรี เป่าปี่แน ลุงเขียว ภูไชยา ที่สามารถเป่าบทเพลงพื้นบ้านเมืองน่านได้หลายเพลง และเป่าเพลงไทยเดิมที่ใช้เล่น ประกอบกับวงกลองในงานประเพณีที่สําคัญได้ค่อนข้างครบ วงกลองล่องน่านเป็นวงขนาดเล็กนิยมใช้บรรเลงใน ขบวนแห่ บ นเรื อ และใช้ บ รรเลงเพื่ อ ประกอบการฟ้ อ นล่ อ งน่ า น ขบวนแห่ คั ว ตานเช่ น กั น วงกลองล่ อ งน่ า น ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้ ปี่แน 1 เลา บรรเลงบทเพลงทํานองหลักประกอบจังหวะกลอง ฆ้อง 3-5 ใบ ตีประกอบจังหวะหลัก กลองอืด 1 ใบ ลักษณะเป็นกลองสองหน้าใช้มือตี หรืออาจจะใช้กลองลูกตุ๊บ ของกลองปูจาตี กลองอืด เป็นกลองหลักของวงใช้ตีเพื่อให้เกิดจังหวะ มีหน้าทับเฉพาะ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ปาน 1 อัน ฉิ่ง1 คู่ หมายเหตุ วงกลองอืดเมืองน่าน มีจังหวะเดียวในการตีแต่เปลี่ยนทํานองหลายเพลง มีจังหวะช้า บทเพลงที่ใช้ บรรเลงประกอบ เช่น เพลงเจ้าน่าน เพลงฟ้อนล่องน่าน เพลงเขมรไทรโยค เพลงมอญแข่งเรือ 35 วงกลองล่องน่าน แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน กลองล่องน่าน ‘สายเหนือ’ ในบริเวณ พื้นที่อําเภอท่าวังผา อําเภอปัว อําเภอเชียงกลาง และอําเภอทุ่งช้าง นิยมใช้เครื่องดนตรีประกอบวงกลองล่องน่าน ดังต่อไปนี้ ฆ้อง 1 ใบขนาดกลาง ฉาบใหญ่ 1 คู่ ปาน 1 อัน กลองสองหน้า หรือกลองลูกตุ๊บของกลองปูจา ไม่มีปี่แน เป่าประกอบ และกลองล่องน่าน ‘สายใต้’ ในพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอภูเพียง และอําเภอเวียงสามีลักษณะการจัดวง โดยใช้เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ ฆ้อง 5 ใบ ปาน 1 อัน(ใช้สําหรับลงเรือแข่งหากเล่นบนบกใช้ฉาบ 1 คู่แทน) ปี่แน 1 – 2 เลา ถ้าใช้ป่ีแน 1 เล่า จะใช้ป่ีแนขนาดเล็ก ปี่แนเดิมของน่านมีรูนับ 6 รู วงกลองปานแข่งเรือ มีจังหวะช้า ไม่มี กลองตอมแตมตีประกอบเหมือนกับกลองอืด รูปภาพที่ 32 ภาพกลองล่องน่าน รูปภาพที่ 33 ภาพปานใช้บรรเลงประกอบวงกลองอืด 36 รูปภาพที่ 34 ภาพฆ้องวงกลองล่องน่าน นอกจากการบรรเลงวงกลองล่องน่านบนขบวนแห่เรือแล้ววงกลองล่องน่านยังสามารถใช้บรรเลงบนบกได้ ใช้ประกอบการฟ้อนล่องน่าน โดยการเพิ่มชุดฆ้องที่เว้นจังหวะการตี และเทียบเสียงฆ้องที่แตกต่าง สลับกันกับ จังหวะกลองสองหน้าที่ใช้มือตี การตีกลองล่องน่านได้รับความนิยมสามารถพบเห็นได้ทวั่ ไปในงานประเพณีของชาว น่าน คณะมิตรแก้วสหายคํา อําเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นอีกกลุ่มที่ได้อนุรักษ์วิธีการตีกลองล่องน่านนี้ไว้ ทํานองหลักของวงกลองล่องน่านใช้ปี่แนบรรเลงบทเพลงต่างๆ จากการสัมภาษณ์นักเป่าปี่แน เกียรติศักดิ์ ศิริรัตน์(ครูท๊อป) นักเป่าปี่แนคณะมิตรแก้วสหายคํา ได้เล่าว่า ได้รับการสืบทอดบทเพลงโบราณมาจากพ่อครูสนิท พุฒิมาบ้านดอนไชย โดยเรียนรู้การเป่าปี่แนทํานองเพลงที่สําคัญใช้ประกอบการตีกลองล่องน่าน เช่น บทเพลงเวียง สา บทเพลงล่องน่าน รูปภาพที่ 35 ภาพวงกลองล่องน่าน คณะมิตรแก้วสหายคํา 37 รูปภาพที่ 36 ภาพผังการเทียบเสียงฆ้องวงกลองล่องน่าน ตัวอย่างวิธีการตีฆ้องวงกลองล่องน่านที่ใช้ผู้ตีประจําตําแหน่งฆ้องแต่ละใบ ทั้ง 5 ใบ หรือคนตี 1 คนต่อ ฆ้อง 2 ใบ มีวิธีการตีฆ้องตามหมายเลขเป็นจังหวะ แทนจังหวะโดยใช้หมายเลขฆ้องที่กาํ หนด ดังต่อไปนี้ / / / 12/ / / / 12/ / / / 12/ / / 3/ 12/ / / 4/ 12/ / / 5/ 12/ / / / 12/ 5 // 4 // 3 // 1 2 // เมื่อตีครบตามจังหวะแล้วจะวนกลับมาตีซ้ําจังหวะ(Ostinato) ฆ้องสลับกับการตีฉาบ หรือปานในจังหวะ ยก กลองตีเป็นจังหวะหน้าทับหลักโดยใช้ปี่แนเป็นเครื่องดําเนินทํานอง บทเพลงที่นิยมใช้ประกอบการตีกลองล่อง น่านคือ เพลงล่องน่าน ลักษณะกลองล่องน่านเป็นกลองสองหน้าขนาดไม่ใหญ่หากเทียบกับกลองมองเซิง หรือ กลองมองลาว กลองหุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน ขนาดหน้ากลองทั้งสองด้านมีขนาดความกว้างไม่เท่ากัน ใช้มือตีกลอง อาจจะวางไว้บนเรือ หรืออาจใช้สายสะพายคล้องคอขณะที่ตี 10 วงกลองล่องน่านนิยมใช้ปาน ตีประกอบเมื่ออยู่ในขบวนเรือ และใช้ฆ้อง 3 ใบ ประกอบด้วยฆ้องนํา เป็น ฆ้องใบเล็กที่สุดใช้ตีเป็นหลัก ขึ้นนําเพลง ฆ้องขนาดกลาง และฆ้องอุย เป็นฆ้องที่มีขนาดใหญ่ใช้ตีเพื่อคุมเสียงฆ้อง ทั้งหมดให้มีเสียงที่กลมกลืนกัน วงกลองล่องน่านใช้ฉาบในการตีจังหวะยก 10 ปานมีลกั ษณะเป็ นฆ้ องแบน(Flat Gong) ทําจากทองเหลือง หรื อสําริ ด ใช้ ไม้ ตีเพื่อให้ เกิดเสียง 38 กลองเปิ่งอั่ง เมืองปัว กลองเปิ่งอั่ง มีลักษณะคล้ายกับกลองยาวภาคกลาง มีรูปร่างรูปทรงแบบแก้วไวน์ หุ้มด้วยหนังหน้าเดียว ใช้มือตี ติดถ่วงกลอง นิยมตีเข้ากลุ่มกันหลายใบ โดยจะมีกลองใบหลักตีให้สัญญาณเมื่อต้องการปลี่ยนจังหวะ กลอง ในในขบวนแห่งานประเพณีท้องถิ่น การติดถ่วงกลองจะทําให้เสียงกลองมีเสียงต่ําลง การเรียกชื่อกลอง เปิ่งอั่ง เรียกตามเสียงที่เกิดขึ้น เสียง ‘เปิ่ง’ คือเสียงการตีเปิดมือ และเสียง ‘อั่ง’ คือเสียงที่เกิดจากการกํากําปั้นทุบ ลงบนหน้ากลอง จังหวะการตีกลองนิยมตีสลับกันโดยให้เกิดเสียง “... เปิ่ง ยุบ อั่ง เปิ่ง เปิ่ง ยุบ อั่ง ...” รูปภาพที่ 37 ภาพกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 38 ภาพวงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน 39 ปัจจุบันวงกลองเปิ่งอั่งยังคงพบเห็นการตีในอําเภอปัว จังหวัดน่าน โดยกลุ่มเยาวชนที่อนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้าน กลุ่มมิตรแก้วสลายคํา ที่ได้เรียนมาจากท้องถิ่น กลองเปิ่งอั่งกลับมาใช้งานใน สังคมอีกครั้งหลังจากที่กาํ ลังจะสูญหายไปจากสังคม รูปภาพที่ 39 ภาพวงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 40 ภาพการติดถ่วงกลองเปิ่งอั่ง จังหวัดน่าน วงกลองเปิ่งอั่ง เป็นกลองที่ใช้แสดงในท้องถิ่นอําเภอปัว ใช้ประกอบการเดินขบวนแห่ ใช้รับขบวนคัวตาน วงกลองสามารถเดินตามขบวนแห่ได้ จังหวะการตีกลองมีจังหวะที่กระชับ ทําให้เกิดความสนุกสนานเมื่อตีกลองแต่ ละใบร่วมกัน 40 กลองเส้งเมืองแพร่ กลองเส้ง มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า หุ้มด้วยหนังทั้ง 2 หน้า รูปทรงกระบอกสอบเข้าด้านหนึ่ง หน้า กลองทั้งสองด้านมีขนาดไม่เท่ากัน วงกลองเส้งจากภาพถ่ายโบราณพบว่าวงกลองเส้งประกอบด้วย กลองเส้ง ขนาดต่างกัน 3 ใบ ใช้ไม้หามกลองแต่ละใบ ใช้กลองในขบวนแห้คัวตาน ขบวนงานบุญตามประเพณีท้องถิ่น รูปภาพที่ 41 ภาพกลองเส้ง เมืองแพร่ การสํารวจข้อมูลวัฒนธรรมกลองครั้งนี้พบหลักฐานการใช้กลองเส้งในวัฒนธรรมเมืองแพร่ ลักษณะการ ใช้งานกลองเส้งเริ่มลดความนิยมลง แต่ยังปรากฏลักษณะกลองในพิพิธภัณฑ์ของวัดศรีดอนคํา อําเภอลอง จังหวัด แพร่ ควรมีการทํางานวิจัยเกี่ยวกับกลองเส้งเพิ่มเติม เนื่องจากมีวิธีการบรรเลงที่แตกต่างไปจากกลองประเภทอื่นๆ และอาจจะมีความสัมพันธ์กับวงกลองตกเส้งในพื้นที่จังหวัดลําปาง 41 บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายญาณ สองเมืองแก่น รูปภาพที่ 42 ภาพนายญาณ สองเมืองแก่น อายุ 50 ปี เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2508 ที่อยู่ 184 หมู่ 4 ตําบลกลางเวียง อําเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เบอร์โทร --ความชํานาญ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ทรงความรู้ด้านวัฒนธรรม ตีกลองปูจา 42 นายพงศกร จูมปา รูปภาพที่ 43 ภาพนายพงศกร จูมปา อายุ 24 ปี เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 ที่อยู่ 33 หมู่ที่ 7 ตําบล วรนคร อําเภอปัว จังหวัดน่าน เบอร์โทร --ความชํานาญ กลองเปิ่งอั่ง กลองล่องน่าน กลองอืด กลองปูจา 43 นายชูชาติ ฐิติวัชร์วรกุล รูปภาพที่ 44 ภาพนายชูชาติ ฐิติวัชร์วรกุล อายุ 54 ปี เกิดวันที่ 2 ตุลาคม 2504 ที่อยู่ 507/1 ถนนสุมนเทวราช ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ ตีกลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน หัวหน้าคณะวงดนตรีชุมชนบ้านพญาภู อําเภอเมือง จังหวัดน่าน 44 นักดนตรีชุมชนวัดพญาภู จังหวัดน่าน รูปภาพที่ 45 ภาพนักดนตรีชุมชนวัดพญาภู จังหวัดน่าน นายสมนึก ธนามี อายุ 75 ปี เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม 2483 ที่อยู่ 24/2 ถนนมณเฑียร ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ ตีกลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน ฟ้อนล่องน่าน นายมนัส กัปกัลป์ อายุ 48 ปี เกิดวันที่ 9 เมษายน 2510 ที่อยู่ 71 หมู่ที่ 2 ตําบลม่วงตี๊ด อําเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ความชํานาญ กลองตอมแตม กลองอืด นายสัมฤทธิ์ อินกัน อายุ 68 ปี เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2490 ที่อยู่ 507/1 ถนนสุมนเทวราช ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ กลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน 45 นายศักดา กัปกัลป์ อายุ 55 ปี เกิดวันที่ 27 ธันวาคม 2503 ที่อยู่ 166/1 อําเภอสายท่าลี่ ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ กลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน นายเขียว ภูไชยา อายุ 86 ปี เกิดวันที่ -- 2472 ที่อยู่ 116 ถนนสายท่าลี่ ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ เป่าปี่แน วงกลองอืด กลองล่องน่าน นายสมบูรณ์ สุรินทร์ อายุ 61 ปี เกิดวันที่ 10 มีนาคม 2497 ที่อยู่ 160 ถนนสายท่าลี่ ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ กลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน นายสมนึก ภาแก้ว อายุ 47 ปี เกิดวันที่ 7 เมษายน 2511 ที่อยู่ 13 ตรอกพญาภู ตําบลในเวียง อําเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ความชํานาญ 46 นักดนตรีคณะมิตรแก้วสหายคํา อําเภอปัว จังหวัดน่าน นายชวิศ ศรีฆนา(ปี่แน) นายสถาพร จันต๊ะยอด นายวชิรศักดิ์ สายสูงธนาศักดิ์ นายพิพัฒน์พล ไชยยะ นายสุธิพงษ์ สุถาลา นายอนุวัทน์ แสงลา (กลองล่องน่าน) รูปภาพที่ 46 ภาพนักดนตรีคณะมิตรแก้วสหายคํา อําเภอปัว จังหวัดน่าน 47 วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น พื้นที่วัฒนธรรมกลุ่มล้านนาตะวันออกในพื้นที่จังหวัดน่าน แพร่ และพะเยา มีรูปแบบการตีกลอง และวง กลองที่สําคัญ เช่น กลองอืดเมืองน่าน กลองล่องน่าน กลองปูจา กลองเปิ่งอั่ง กลองเส้ง ฯลฯ กลองใช้งานในขบวน แห่ทั้งทางบก และทางน้ําที่เกี่ยวเนื่องกับงานประเพณีของท้องถิ่น กลองใช้เพื่อความบันเทิงในสังคม และทําหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา รูปแบบการตีกลองมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ วัฒนธรรม การตีกลองกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกมีลักษณะการตีกลองที่มีจังหวะ รูปแบบแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรม ล้ า นนาตะวั น ตก อย่ า งไรก็ ต ามบริ บ ทการใช้ ง านวงกลองยั ง คงเกี่ ย วข้ อ งกั บ ความเชื่ อ ความศรั ท ธาใน พระพุทธศาสนา และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่วฒ ั นธรรมนี้ รูปภาพที่ 47 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วงดนตรี วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน วัฒนธรรมการตีกลองในกลุ่มพื้นที่ล้านนาตะวันออกมีเอกลักษณ์โดดเด่นและแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรม อื่นๆ กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเป็นประชากรกลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการตีกลอง และ ได้แลก รับ ปรับ ใช้รูปแบบทางวัฒนธรรมภาคกลางของไทย วัฒนธรรมลาว และวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก บทที่ 3 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จงั หวัดเชียงราย วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย การตีกลองในพื้นที่จัง หวั ด เชี ย งรายมีค วามหลากหลาย มีว งกลองคล้ายคลึง และแตกต่างจากกลุ่ ม วัฒนธรรมล้านนาตะวันตก พบวงกลองรูปแบบต่างๆ เช่น กลองปูจา กลองแอว กลองทิ้งบ้อม กลองสะบัดไชย และกลองเต่งถิ้ง ที่ใช้ประกอบวงปี่พาทย์พื้นเมือง หากแต่ลักษณะวิธีการตีกลอง และการจัดวงกลองมีลักษณะที่ แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น การสํารวจข้อมูลกลองครั้งนี้ทําการออกสํารวจในพื้นที่อําเภอเมือง และอําเภอแม่ จัน พบช่างทํากลอง นักดนตรี นักตีกลองคนสําคัญหลายท่าน รูปภาพที่ 48 ภาพวงกลองในจิตรกรรมฝาผนัง หอพระสังกัจจายน์ วัดป่าซาง ตําบลป่าซาง อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าซางแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมการใช้กลองในขบวนแห่ของชาวล้านนานั้นมี ความสําคัญและใช้ตีร่วมในขบวนแห่ทางพุทธศาสนามาตั้งแต่ในอดีตช่วง 50-100 ปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมการตี กลองในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่อาศัยอยู่และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นแบบเชียงราย กลองที่ พบมีทั้งกลองที่ใช้งานในท้องถิ่นเดิม เช่น กลองปูจาแบบเชียงราย กลองเต่งถิ้ง กลองแอว และกลองที่ได้รับอิทธิพล จากภายนอกและปรับตัวให้เข้ากับสังคมท้องถิ่นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องดนตรีท้องถิ่น เช่น กลองทิ้งบ้อม ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายยังคงพบช่างทํากลอง และนักตีกลองคนสําคัญหลายท่าน ซึ่งส่วนใหญ่อายุอยู่ ในช่วง 60-70 ปี ที่มีความสนใจเรียนรู้การสร้างกลองจากบรรพบุรุษ และมีการสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อไป การเก็บ ข้อมูลในพื้นที่จังหวัดเชียงรายครั้งนี้ ผู้เก็บข้อมูลเลือกบุคคลข้อมูลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น ในพื้นที่อําเภอเมือง และ อําเภอแม่จันเป็นหลัก 49 พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป จั ง หวั ด เชี ย งรายเป็ น จั ง หวั ด ที่ อ ยู่ ท างทิ ศ เหนื อ ที่ สุ ด ของประเทศไทย เป็ น พื้ น ที่ ท่ี มี ค วามสํ า คั ญ ทาง ประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคก่อนตั้งอาณาจักรล้านนา พบเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงรายที่สําคัญ หลายเมือง เช่น เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ และเมืองเทิง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบันมีพื้นที่ท่ีติด กับ 3 ประเทศ บริเวณสามเหลี่ยมทองคําที่เชื่อมประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศเมียนมาร์ มีสายน้ําใหญ่ ไหลผ่าน เช่น แม่นํา้ กก แม่นํา้ อิง แม่นํา้ แม่ลาว และแม่น้ําโขง เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผนดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ําค่าพระธาตุดอยตุง (คําขวัญประจําจังหวัดเชียงราย) พื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงรายในประวัติศาสตร์เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณของล้านนาโดยผ่านยุคสมัย ราชวงศ์มังรายในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งพญามังรายทรงสร้างเมืองเวียงไชยนารายณ์ขึ้นยังบริเวณเมืองเชียงราย ในปัจจุบันและต่อมาทรงย้ายเมืองลงมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 วัฒนธรรมและประเพณีทั้งเชียงใหม่ และเชียงรายจึงมีความเชื่อโยงและสัมพันธ์กัน ในช่วงเวลาปีพ.ศ. 2101 เชียงรายได้ถูกปกครองโดยขุนนางพม่า ในช่วงที่พม่ามีอิทธิพลเหนือดินแดนล้านนา ต่อมาในปี พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละได้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือและสวามิภักดิ์ต่อสยาม เมืองเชียงแสนเป็นที่มั่นสุดท้าย ของพม่าก่อนที่จะถูกขับไล่จากกองทัพเชียงใหม่ ลําปาง และน่าน ช่วงสงครามนี้ผู้คนได้ถูกกวาดต้อนลงไปทางตอน ใต้ทําให้เมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสนร้างผู้คน 50 แผนที่หมายเลข 4 แสดงแผนที่จังหวัดเชียงราย เมืองเชียงรายได้รับการฟื้นฟูในปีพ.ศ. 2386 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชานุญาตให้ เจ้ า หลวงเมื อ งเชีย งใหม่ฟื้น ฟู เ มื อ งเชี ย งราย และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 สมั ย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกสถานะให้เมืองเชียงรายเป็นเมือง จัตวามณฑลพายัพ แบ่งออกเป็น 10 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมืองเชียงราย อําเภอเมืองเชียงแสน อําเภอเชียง ของ อําเภอเวียงป่าเป้า อําเภอเมืองพะเยา อําเภอแม่ใจ อําเภอดอกคําใต้ อําเภอแม่สรวย อําเภอเชียงคํา และ อําเภอเชียงของ ต่อมาได้ยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันจังหวัดเชียงมีบริเวณพื้นที่กว้าง 11,678 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 18 อําเภอ อําเภอเมือง เชียงราย อําเภอเวียงชัย อําเภอเชียงของ อําเภอเทิง อําเภอพาน อําเภอป่าแดด อําเภอแม่จัน อําเภอเชียงแสน อําเภอแม่สาย อําเภอแม่สรวย อําเภอเวียงป่าเป้า อําเภอพญาเม็งราย อําเภอเวียงแก่น อําเภอขุนตาล อําเภอแม่ฟ้า หลวง อําเภอแม่ลาว เชียงรุ้ง และอําเภอดอยหลวง กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร ภูมิศาสตร์จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ท่ีเป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่สูงบนภูเขา กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่ร่วมกันมี ความหลากหลาย ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม และกลุ่มผู้คนที่อพยพโยกย้ายในช่วงสงครามในอดีต ช่วงยุคเก็บผักใส่ ซ้า เก็บข้าใส่เมือง และช่วงการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนจากประเทศจีน และประเทศเมียนมาร์ กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัย อยู่บริเวณที่ราบลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน หรือ ‘คนเมือง’ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนที่สูงหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู กลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง กลุ่มชาติพันธุ์ฮ้อ กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน กลุ่มชาติพันธุ์ ขมุ และกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีกลองที่ใช้ในแต่ละกลุ่ม การสํารวจกลองครั้งนี้ให้ความสนใจหลักในการสํารวจเก็บ ข้อมูลที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลองของกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่บน ที่สูงน่าสนใจและควรได้รับการสํารวจต่อไปในอนาคตเช่นกัน วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดเชียงรายอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตกที่มีรูปแบบการตีกลอง และการใช้กลองคล้าย กับพื้นที่อื่นๆ ของกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก เช่น กลองแอว กลองสะบัดไชย กลองปูเจ่ ฯลฯ หากแต่ลักษณะ เด่นของกลองที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายผู้สํารวจขอเลือกนําเสนอข้อมูลช่างทํากลอง นักตีกลอง และรูปแบบ กลองที่สาํ คัญ 4 ชนิด ประกอบด้วย กลองแอว กลองปูจา กลองทิ้งบ้อม และกลองเต่งถิ้งเมืองเชียงราย วัสดุท่ีใช้ทํากลองเป็นวัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น ทั้งส่วนที่ใช้ทําตัวกลองที่ใช้ไม้แต่ละประเภทที่เหมาะสม กับลักษณะของกลอง เช่น ไม้ประดู่ ใช้ทํากลองแอว กลองหลวง ไม้ฉําฉา ไม้ขนุนใช้ทํากลองสะบัดไชย กลองปูจา ไม้ขนุน ไม้มะม่วง ใช้ทํากลองทิ้งบ้อม ส่วนของหนังที่ใช้หุ้มกลองหากเป็นกลองที่ใช้มือตีนิยมใช้หนังวัวตัวเมียหุ้ม ส่วนกลองที่ต้องใช้ไม้ตีนิยมใช้หนังควายหุ้มกลองเนื่องจากมีความหนา และความทนทานในการใช้งานมากกว่าหนัง วัว 51 กลองแอว กลองแอว หรือกลองหลวงมีรูปร่างลักษณะรูปแก้วไวน์ขนาดใหญ่ มีขนาดใหญ่กว่ากลองแอวจังหวัด เชียงใหม่ และเล็กกว่ากลองหลวงจังหวัดลําพูน หุ้มด้วยหนังหน้าเดียว ใช้สายเชือกหนังดึงหน้ากลอง กลองใช้จ่า กลองติดเพื่อปรับเสียงให้ทุ้มต่ําลง นิยมวางกลองบนล้อเกวียนเพื่อใช้ในขบวนแห่ที่ต้องการการเดินทาง เคลื่อนย้าย ใช้ตีประกอบร่วมกันกับฆ้อง และฉาบ ใช้ปี่แนเป่าทํานองเพลงประกอบจังหวะกลอง ตัวอย่างกลองแอว พบที่วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีลักษณะวางบนล้อเกวียนเพื่อ ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย และใช้ในขบวนแห่ และกลองแอวที่เก็บไว้ภายในโรงเก็บ ตัวกลองแอวทําจากไม้ ประดู่ ขนาดกลองยาว 155 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลสงหน้ากลอง 30 เซนติเมตร มีลูกเคี่ยนหรือลูกหมากจํานวน 13 ลูก เส้นผ่าศูนย์กลางก้นกลองกว้าง 34 เซนติเมตร รูร้อยสายเชือกขึงหน้ากลอง 30 รู ขนาดตัวไหกลองยาว 72 เซนติเมตร รูปภาพที่ 49 ภาพแสดงขนาดกลองแอว วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 52 รูปภาพที่ 50 ภาพกลองแอว วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย รูปภาพที่ 51 ภาพรูร้อยเชือกเพื่อดึงหนังหน้ากลองแอว 53 กลองปูจา กลองปูจา แบบเมืองเชียงรายมีลักษณะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ โดยนิยมวางลูกตุ๊บ 3 ใบไว้ทางซ้ายมือของผู้ ตีโดยเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กใหญ่วางซ้อนกัน โดยมีกลองปูจาใบใหญ่อยู่ทางขวามือของผู้ตี กลองปูจามี ลักษณะเป็นกลองรูปถังหุ้มทั้ง 2 ด้าน ใช้ไม้ตี กลองลูกตุ๊บเป็นกลองที่มีขนาดเล็กลดขนาดแตกต่างกัน 3 ใบ หุ้ม ด้วยหนังสองด้าน บางแห่งหุ้มเพียงด้านหน้าด้านเดียวเปิดเสียงให้ออกทางท้ายกลองลูกตุ๊บ นิยมสร้างหอกลองปูจา และตั้งกลองไว้ในหอกลอง กลองปูจาใช้ตีเพื่อบอกเหตุให้กับชุมชน และใช้ตีเพื่อต้อนรับขบวนคัวตาน และในงาน ประเพณีท่เี กี่ยวข้องกับพุทธศาสนา รูปภาพที่ 52 ภาพหอกลองปูจา วัดแม่คําสบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 54 รูปภาพที่ 53 ภาพกลองปูจา วัดแม่คาํ สบเปิน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ลักษณะกลองลูกตุ๊บแบบเชียงรายที่นิยมเปิดด้านหลังของกลองลูกตุ๊บเพื่อให้เสียงดังขึ้นเป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่น กลองลูกตุ๊บทั้ง 3 ใบ นิยมใส่แส้กลองเพื่อยึดหนังกลองเข้ากับตัวกลอง กลองปูจาจะใช้ไม้ตี ทั้งซ้าย และขวา กลองปูจาใบใหญ่มีรูปทรงกระบอก รูปถัง ภายในกลองนิยมเว้นระยะห่างจากขอบกลองเข้าไป 1 ส่วน 3 11 ทําเหงือกกลอง รูปภาพที่ 54 ภาพเหงือกกลองด้านในกลองปูจา 11 เหงือกกลองเป็นส่วนที่ยกระดับจากบริเวณผิวไม้ด้านในกลองสูงประมาณ 3 นิ้วโดยรอบเพื่อให้สะท้อนเสียงในขณะที่ตีกลอง 55 รูปภาพที่ 55 ภาพหนังกลองที่ใช้หุ้มกลองปูจา กลองปูจา สร้างจากไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ขึ้นรูปด้วยวิธีการเจาะ ไม้ที่นิยมนํามาสร้างกลองปูจา เช่น ไม้ ประดู่ ไม้ชิงชัน ฯลฯ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตัวกลองปูจาขนาดเล็กที่สุดควรมีขนาดไม่ต่ํากว่า 24 นิ้ว มีความยาว ตั้งแต่ 1.61 เมตร(ขนาดความสูงเฉลี่ยของคนทั่วไป) ขึ้นไป ตัวกลองปูจาจะถูกขุดเนื้อไม้ด้านในออกไปให้มีความหนา ขอบกลองประมาณ 3 นิ้ว และทําเหงือกกลองร่นเข้าด้านในลึกเข้าไปประมาณ 3 นิ้ว รูปภาพที่ 56 ภาพไม้ท่ใี ช้ทาํ ตัวกลองปูจา 56 ขนาดกลองลูกตุ๊บ 3 ใบ มีขนาดลดหลั่นขนาดกัน กลองลูกตุ๊บใบใหญ่มีขนาดหน้ากว้างกลอง 16 นิ้ว กลองใบกลางหน้ากลองกว้าง 14 นิ้ว และกลองลูกตุ๊บใบเล็กมีขนาดหน้ากลองกว้าง 12 นิ้ว กลองทิ้งบ้อม เป็นกลองที่นิยมใช้เล่นในขบวนคัวตาน ขบวนแห่กฐิน ผ้าป่า และงานบุญต่างๆ ของชุมชน วงกลองทิ้งบ้อม ประกอบด้วยกลองทิ้งบ้อม 11 ใบ และกลองตัด 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ ฆ้อง 1 ชุด ไม้แก๊บ ลักษระกลองทิ้งบ้อมมี ลักษณะตัวกองรูปแก้วไวน์ หุ้มหนังหน้าเดียว ติดจ่า ใช้มือตี คล้ายกลองยาวในภาคกลาง วงกลองทิ้งบ้อมจะมี กลองทิ้งบ้อมหลัก 1 ใบ ใช้ตีนาํ ขึ้นและลงจังหวะกลอง และมีกลองทิ้งบ้อมตีรับอีก 6-10 ใบ ใช้กลองตัดที่มีลักษณะ กลองรูปถังหุ้มสองหน้า ใช้ไม้ตีเพื่อให้เกิดเสียงเบสหนักในจังหวะหนักของหน้าทับ รูปภาพที่ 57 ภาพกลองทิ้งบ้อม วงกลองทิ้งบ้อมได้รับความนิยมในการใช้ประกอบขบวนแห่เนื่องจากสมาชิกในชุมชนสามารถมีส่วนร่วม เคลื่อนที่ได้สะดวก และมีจังหวะที่กระชับคึกคัก การแต่งกายของนักตีกลองวงกลองทิ้งบ้อมในอดีตอาจแต่งกายชุด พม่า หรือชุดพื้นเมืองเพื่อเพิ่มความพร้อมเพรียงและเป็นสีสันให้กับขบวนแห่ วงกลองทิ้งบ้อมได้รับความนิยมใน หลายๆ พื้นที่ของจังหวัดเชียงราย จากการสัมภาษณ์ช่างทํากลองทิ้งบ้อมพบว่ามีการสั่งซื้อกลองทิ้งบ้อมอย่าง ต่อเนื่องจากหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย 57 รูปภาพที่ 58 ภาพการตีกลองถิ้งบ้อมในอดีต รูปภาพที่ 59 ภาพชุดกลองทิ้งบ้อม บ้อม 12 12 บทเพลงที่นิยมใช้กลองทิ้งบ้อมตี เช่น เพลงพม่าแห่กระจาด จังหวะกลอง 1 บ้อม ไปจนถึงจังหวะกลอง 12 กลองทิ้งบ้อมได้รับความนิยมในสังคมชาวเชียงรายเขตอําเภอแม่จันและกระจายตัวไปยังพื้นที่ใกล้เคียง บ้อม หมายถึงการกํากําปั้นทุบลงไปบนหน้ากลองเพือ่ ให้เกิดเสียงทุ้มหนัก 58 เนื่องจากเป็นกลองที่นักดนตรีภายในหมู่บ้านสามารถมีส่วนร่วมในการตีกลองและร่วมบรรเลงเป็นกลุ่มจํานวนมาก ได้ ลักษณะจังหวะกลองทิ้งบ้อมอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับหน้าทับกลองยาวภาคกลาง แต่มีจังหวะที่ปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การตีกลองทิ้งบ้อมตีประกอบกับชุดฆ้องและฉาบ ขันตั้งในการทํากลองสําหรับสล่า หรือช่างทํากลองของสล่าเทิดไทย ขจีจิตร์ ประกอบด้วย ไก่ขาว 1 คู่ เหล้าขาว 1 ขวด บุหรี่ 1 ซอง เงิน 12 บาท ดอกไม้ขาว 12 ดอก ธูป 12 ก้าน ผ้าขาว 1 ผืนเล็ก ผ้าแดง 1 ผืนเล็ก ข้าวเปลือก ข้าวสาร กล้วย มะพร้าว น้ําขมิ้นส้มป่อย วงกลองเต่งถิ้งเมืองเชียงราย วงกลองเต่งถิ้งเมืองเชียงราย หรือวงปี่พาทย์ท่ีมีกลองเต่งถิ้งเป็นเครื่องดนตรีควบคุมจังหวะหลักของวง กลองเต่งถิ้งมีลักษณะเป็นกลองรูปทรงเมล็ดข้าวป่องกลางขนาดไม่เล็กมาก หุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน ใช้มือตี ติด ถ่ ว งกลอง ตั ว กลองทํ า จากไม้ เ นื้ อ แข็ ง เช่ น ไม้ ประดู่ ไม้ ชิ ง ชั น วงกลองเต่ ง ถิ้ ง ใช้ บ รรเลงประกอบงานศพ ประกอบการฟ้ อ นรํ า และงานพิ ธี ก รรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พุ ท ธศาสนา งานมงคล งานสมโภช วงกลองเต่ ง ถิ้ ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้ ระนาดเอก 1 ราง ระนาดทุ้ม 1 ราง ระนาดเหล็ก 1 ราง ฆ้องวงเล็ก 1 วง ฆ้องวงใหญ่ 1 วง ปี่แนหน้อย 1 เลา ปี่แนหลวง 1 เลา กลองเต่งถิ้ง 1 ใบ ฉาบใหญ่ 1 คู่ 59 การสํารวจข้อมูลครั้งนี้ ทําการเก็บข้อมูลวงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์ จังหวัดเชียงราย โดยพ่อครูบุญชม วงค์แก้วเป็นผู้ดูแล และถ่ายทอดความรู้ให้กับนักดนตรีภายในวงกลองเต่งถิ้ง จากการสัมภาษณ์พ่อครูบุญชม วงค์ แก้วให้สัมภาษณ์ว่า เริ่มเรียนวิธีการบรรเลงปี่พาทย์ในปี พ.ศ. 2495 เรียนที่วัดสันทรายมูล ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้เรียนดนตรีกับพ่อครูโม ใจสม(ทหารรักษาพระองค์ท่ีย้ายขึ้นมาประจําการที่จังหวัดเชียงใหม่) ในช่วงนั้นครูดนตรี ไทยหลายท่านย้ายขึ้นมาอยู่ที่จังหวัดเชียงรายหลังจากยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกเหนือจากครูโม แล้ว พ่อ ครูหาญ ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยที่มาจากจังหวัดลพบุรีก็ได้ย้ายขึ้นมาอยู่ท่ีจังหวัดเชียงรายเช่นกันในช่วงปี พ.ศ. 24942495 บทเพลงที่ใช้วงกลองเต่งถิ้งบรรเลงประกอบด้วยบทเพลงพื้นเมืองเดิม และบทเพลงไทยเดิมจากภาคกลาง บทเพลงพื้นเมืองประกอบด้วย เพลงฟ้อนเล็บ เชียงราย เพลงสาวไหม เพลงดาวีไก่หน้อย เพลงเสเลเมา เพลง ปราสาทไหว(เพลงราชลํ า พู น ) เพลงฟ้ อ นผี เ ม็ ง เพลงแห่ และเพลงมวย เป็ น ต้ น เพลงไทยเดิ ม ที่ ใ ช้ บ รรเลง 13 ประกอบด้วย เพลงมอญแปลง เพลงลาวชมดง เพลงลาวเสี่ยงเทียน เพลงพม่ารําขวาน เพลงพม่าเกี้ยว เป็นต้น รูปภาพที่ 60 ภาพกลองเต่งถิ้ง วงกลองเต่งถิ้งเชียงราย ไม่นิยมใช้กลองโป่งโป้งเป็นกลองตัด ใช้เพียงกลองเต่งถิ้งใบเดียวควบคุมจังหวะ เพลงทั้งหมด บทเพลงที่คณะสายทิพย์บรรเลงมีหลากหลายบทเพลง แบ่งบทเพลงเป็นชุดเพลงในการบรรเลงแต่ละ ช่วง เช่น เพลงชุดแห่ยาว ประกอบด้วยบทเพลง ฟ้อนเล็บ เพลงปราสาทไหว(เพลงราชลําพูน) เพลงปราสาทไหว เชียงราย เพลงไก่หน้อยดาวี เพลงเสเลเมา เพลงพระลอ เพลงพม่าเกี้ยว เพลงพม่ารําขวาน เพลงมอญรําดาบ เพลงไก่ก้อม หรือเพลงมอญเก๊าห้า เพลงมวย และเพลงล่องปิง เป็นต้น 13 บทเพลงสําคัญใช้เรียนเป็นเพลงแรก นักดนตรีต้องเรียนบทร้องเพลงมอญแปลงและจดจําท่ารําประกอบบทเพลงให้ได้ 60 รูปภาพที่ 61 ภาพวงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์ จังหวัดเชียงราย คณะสายทิพย์เป็นวงกลองเต่งถิ้งที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับ ก่อนการบรรเลงดนตรีมีการไหว้ครูโดยมี ขันตั้งที่ใช้สําหรับไหว้ครู ประกอบด้วย ดอกไม้ขาว 5 ดอก ธูป 5 ก้าน เทียน 5 เล่ม เหล้า 1 ขวด บุหรี่ 1 ซอง เงิน 100 บาท น้ําขมิ้นส้มป่อย 61 รูปภาพที่ 62 ภาพการติดจ่ากลองเต่งถิ้ง พ่อครูบุญชม กล่าวว่าในอดีตวงกลางเต่งถิ้งไม่มีระนาดเอก ใช้พียงฆ้องวงเป็นเครื่องดําเนินทองร่วมกับปี่ แน และกลองเต่งถิ้งเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2498-2499 ระนาดเอกจึงถูกนํามาร่วมใช้บรรเลงกับวงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์มีสมาชิกในปัจจุบัน 8 ท่าน ระนาดเอก พ่อครูบญ ุ ชม วงค์แก้ว อายุ 75 ปี ระนาดทุ้ม พ่อสมจิตต์ พรหมวงค์ อายุ 61 ปี ฆ้องวงเล็ก พ่อจันตา ดอนชัย อายุ 75 ปี ฆ้องวงใหญ่ นายบรรจง เตจะกลอง อายุ 39 ปี ปี่แนหลวง นายสงวน ปัญญานะ อายุ 57 ปี ปี่แนหน้อย นายจิระเดช จิณานุกูล อายุ 16 ปี กลองเต่งถิ้ง นายบุญชม จันทา อายุ 72 ปี ฉาบ นายทวี สมจิตต์ อายุ 73 ปี 62 บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายบุญชม วงค์แก้ว รูปภาพที่ 63 ภาพนายบุญชม วงค์แก้ว อายุ 75 ปี เกิดวันที่ 15 กันยายน 2483 ที่อยู่ 29 หมู่ 7 ตําบลป่าอ้อดอยชัย อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เบอร์โทร 086-916-0026 ความชํานาญ ระนาดเอก วงกลองเต่งถิ้ง หัวหน้าวงกลองเต่งถิ้ง คณะสายทิพย์ จังหวัดเชียงราย 63 นายเทิดไทย ขจีจิตร์ รูปภาพที่ 64 ภาพนายเทิดไทย ขจีจิตร์ อายุ 62 ปี เกิดวันที่ --- 2496 ที่อยู่ 85 หมู่ 4 ตําบลแม่จัน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เบอร์โทร 089-555-0416 ความชํานาญ ทํากลองยาว กลองทิ้งบ้อม กลองปูจา กลองตัด กลองมองเซิง กลองตะล๊ดป๊ด กลองแอว กลอง หลวง กลองเสือลากหาง(กลองก้นยาว) นอกจากเป็นช่างทํากลองแล้วยังเป็นช่างตีเหล็ก นายเทิดไทย ขจีจิตร์ เริ่มทํากลองในปี พ.ศ. 2518 เรียนจากพ่อแก้ว สุวรรณ์(พ่อตา) เดิมเป็นชาวราชบุรี ย้ายมาอยู่ที่เชียงราย ตีกลองยาว 12 เพลงได้ ทํากลองในรุ่นเดียวกับช่างทํากลองท่านอื่นในละแวกใกล้เคียงที่ เสียชีวิตไปแล้ว เช่น ลุงดี และลุงอ้วน บ้านห้วย อําเภอแม่จัน 64 นายธงชัย บุญเจริญ รูปภาพที่ 65 ภาพนายธงชัย บุญเจริญ อายุ 53 ปี เกิดวันที่ 29 มิถุนายน 2505 ที่อยู่ 9 หมู่ที่ 7 ตําบลรอบเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เบอร์โทร 089-997-1353 ความชํานาญ ช่างทํากลอง ช่างฝีมือ ช่างสิบหมู่ วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมการตีกลองจังหวัดเชียงรายมีความเกี่ยวข้องกับประเพณี และความบันเทิงในสังคม ที่แฝงภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในองค์ความรู้เชิงช่าง การสร้างกลองโดยใช้อัตราส่วนที่สัมพันธ์กับความเชื่อท้องถิ่น วัสดุท่ีหาได้ ภายในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบที่สําคัญในการสร้างกลองแต่ละชนิด วัฒนธรรมทางดนตรีท่ีได้รับอิทธิพลมาจาก วัฒนธรรมที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดนตรีไทยเดิมจากภาคกลาง มีบทบาทต่อสังคมเชียงราย และได้ปรับตัวให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่แ ปลกแยก กลองเต่งถิ้งเปรียบเสมือน ตัวแทนการยึดโยงวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีเดิมของเชียงรายเข้าไว้กับดนตรีไทย เดิมอย่างกลมกลืน นอกจากนี้ เ อกลั ก ษณ์ ข องวงกลองพื้ น บ้ า นที่ ใ ช้ ง านในสั ง คมท้ อ งถิ่ น มี ค วามสํ า คั ญ และมี เ อกลั ก ษณ์ แตกต่างไปจากพื้นที่วัฒนธรรมอื่นๆ ของล้านนา วงกลองแอวที่มีขนาดใหญ่กว่ากลองแอวจังหวัดเชียงใหม่ และมี ขนาดเล็กกว่ากลองหลวงจังหวัดลําพูน เป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งที่สําคัญของพื้นที่วัฒนธรรมแบบเชียงราย ที่นิยมใช้ 65 กลองแอวในการร่วมขบวนแห่ในงานบุญและเทศกาลโดยหามกลองหรือใส่ล้อกลองเพื่อลากไปพร้อมๆ กับขบวนใน การนําขบวนกฐิน ผ้าป่า และช่างฟ้อนเข้าไปยังหัววัดต่างๆ ที่มีงานปอยหลวง กลองปูจาแบบเชียงรายที่นิยมเรียงกลองลูกตุ๊บแบบสามเหลี่ยมวางไว้ด้านซ้ายมือของกลองปูจาใบใหญ่ มี ระบําการตีกลองอันเป็นเอกลักษณะของท้องถิ่น และนิยมสร้างหอกลองไว้ในวัดเพื่อเก็บรักษากลองและใช้ตีเพื่อ บอกสัญญาณแก่ชุมชน และใช้ประกอบพิธีการเทศน์มหาชาติในงานตั้งธัมม์หลวง กลองแต่ละประเภทมีบริบทการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รูปร่าง ลักษณะกลอง เทคนิคการสร้างกลอง อุปกรณ์ เครื่องมือ ของช่างทํากลองแต่ละคนมีความแตกต่าง มีภูมิปัญญาที่ควรทําการศึกษา อนุรักษ์ และพัฒนา ต่อไป รูปภาพที่ 66 ภาพกลองปูจา จังหวัดเชียงราย บทที่ 4 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่รวมกันทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ไท และกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยในพื้นที่สูง เมืองเชียงใหม่ผ่านช่วงประวัติศาสตร์ที่สําคัญต่อการปกครองอาณาจักร ล้านนาในอดีต การเป็นศูนย์กลางการปกครองมีเจ้าหลวงครองเมืองเชียงใหม่ และได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสยามใน เวลาต่อมา และเป็นจังหวัดที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมทางภาคเหนือตอนบนของประเทศ ไทยในปัจจุบัน การตีกลองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง กลองที่สําคัญ ของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น กลองแอว ที่ใช้ตีประกอบขบวนคัวตาน งานประเพณีท้องถิ่น ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน และใช้ตีประกอบการฟ้อนเพื่อรับขบวนหัววัดที่เดินทางมาร่วมงานประเพณี ใช้ประกอบการฟ้อนรําของ เจ้านายฝ่ายเหนือ การใช้กลองแอวประกอบการตีฆ้องอุย ฆ้องโหย่ง ฉาบ และกลองตะล๊ดป๊ด และบรรเลงทํานอง โดยใช้ปี่แนหน้อยและปี่แนหลวง จะเรียกวงนี้ว่า วงกลองตึ่งนง นอกจากวงกลองตึ่งนงแล้ว พื้นที่จงั หวัดเชียงใหม่ยังพบกลองประเภทอื่นๆ อีก เช่น กลองสะบัดไชย กลอง สะบัดไชยลูกตุ๊บ กลองมังคละ กลองสิ้งหม้องหรือกลองทิ้งบ้อม กลองปูจา กลองมองเซิง กลองมองลาว กลองทิ้ง บ้อม กลองปู่เจ่ ฯลฯ ในการสํารวจข้อมูลกลองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ทําการสํารวจช่างทํากลอง และนักตี กลองที่อยู่บริเวณทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการสร้างกลองมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ และวิธีการตี กลองมีเอกลักษณ์แตกต่างจากท้องถิ่นอื่น พบการแข่งขันกลองแอว ที่แข่งขันเสียงกลองที่นิยมในพื้นอําเภอเมือง และทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ วิถีชีวิตชาวเชียงใหม่มีความสัมพันธ์กับกลองที่เป็นเครื่องดนตรีของแต่ละชุมชน แต่ละวัดมีกลองประจําแต่ ละวัด การตีกลองเป็นการรวมตัวของสมาชิกในแต่ละชุมชน เพื่อให้ประกอบขบวนแห่ เพื่อความบันเทิง และเพื่อ เป็นพุทธบูชา ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรง พัฒนาวงกลองตึ่งนง และใช้ประกอบการฟ้อนมือ ฟ้อนเล็บ ในยุคต่อมาการตีกลองตึ่งนงใช้ประกอบการฟ้อนถวาย มือของเจ้านายชั้นสูงเมืองเชียงใหม่ในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ครั้นเสด็จพระ ราชดําเนินเยือนมณฑลพายัพ การตี ก ลองในวั ฒ นธรรมชาวเชี ย งใหม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ความเชื่ อ และความศรั ท ธาที่ มี ต่ อ พระพุทธศาสนาและการให้ความเคารพต่อผู้ปกครอง กลองมีสถานะที่แตกต่างกันตามบริบทการใช้งาน ในแต่ละ พื้นที่ทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่มีรสนิยม และความชื่นชอบกลองแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจมีความ เกี่ยวข้องกับพื้นที่ท่กี ลุ่มชาติพันธุ์ได้อาศัยอยู่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างที่อยู่ใกล้เคียงจากพื้นที่โดยรอบ 67 พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีอาณาบริเวณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มี สายน้ําแม่ปิงไหลผ่านเมือง มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร พื้นที่ทางทิศเหนือติดกับรัฐฉานประเทศเมียนมาร์ มีดอยผีปันน้ําของดอยคํา ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ํา ป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางที่อยู่บนแนวทิวเขาแดนลาวเป็นแนวแบ่งพรมแดน ด้านทิศใต้ ติดกับ อําเภอสามเงา อําเภอแม่ระมาด และอําเภอท่าสองยางจังหวัดตาก มีดอยผีปันน้ํา ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นแนว แบ่งอาณาเขต ทิศตะวันออก ติดกับอําเภอแม่ฟ้าหลวง อําเภอเมืองเชียงราย อําเภอแม่สรวย อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย อําเภอเมืองปาน อําเภอเมืองลําปางจังหวัดลําปาง อําเภอบ้านธิ อําเภอเมืองลําพูน อําเภอป่าซาง อําเภอเวียงหนองล่อง อําเภอบ้านโฮ้ง และอําเภอลี้ จังหวัดลําพูน บริเวณพื้นที่ท่ีติดกับจังหวัดเชียงรายและลําปางมี ร่องน้ําลึกของแม่นํา้ กก สันปันน้ําดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณา เขต ส่วนที่ติดจังหวัดลําพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องแม่น้ําปิงเป็นแนวแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อําเภอปาย อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อําเภอขุนยวม อําเภอแม่ลาน้อย อําเภอแม่สะเรียง และอําเภอสบเมย จังหวัด แม่ฮ่องสอน โดยมีดอยผีปนั น้ํา ดอยกิว่ แดง ดอยแปรเมือง ดอยอังเกตุ ดอยแม่ยะ ดอยขุนยวม ดอยแม่สุรินทร์ ดอย หลวง และร่องแม่ริด แม่ออย มีดอยผีปันน้ําดอยขุนแม่ตื่นเป็นแนวแบ่งเขต แผนที่หมายเลข 5 แสดงแผนที่จังหวัดเชียงใหม่ 68 ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ําค่านครพิงค์ (คําขวัญประจําจังหวัดเชียงใหม่) รูปภาพที่ 67 ภาพวัดต้นเกว๋น อําเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมืองเชียงใหม่ อําเภอจอมทอง อําเภอแม่แจ่ม อําเภอเชียงดาว อําเภอดอยสะเก็ด อําเภอแม่แตง อําเภอแม่ริม อําเภอสะเมิง อําเภอฝาง อําเภอแม่ อาย อําเภอพร้าว อําเภอสันป่าตอง อําเภอสันกําแพง อําเภอสันทราย อําเภอหางดง อําเภอฮอด อําเภอดอยเต่า อําเภออมก๋อย อําเภอสารภี อําเภอเวียงแหง อําเภอไชยปราการ อําเภอแม่วาง อําเภอแม่ออน อําเภอดอยหล่อ และอําเภอกัลยาณิวัฒนา กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในอดีตมีกลุ่มลัวะเป็นกลุ่มชนในพื้นที่ ที่เชื่อว่าสืบเชื้อสาย มาจากปู่จ้าวลาวจก ซึ่งเป็นเชื้อสายของพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา เชียงใหม่ผ่านช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ มากมายทั้งในช่วงที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ช่วงที่เมืองเชียงใหม่ร้าง ช่วงยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองในสมัยของ พระเจ้ากาวิละ สมัยยุคที่ชาติตะวันตกมีบทบาทในดินแดนล้านนาที่เข้ามาค้าขายและเผยแผ่คริสต์ศาสนา ช่วงยุค รอยต่อล้านนากับสยามประเทศในช่วงยุคพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมหัว เมืองฝ่ายเหนือเข้ากับส่วนกลาง และมาจนถึงยุคปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่จึงมีความ หลากหลาย กลุ่มดั้งเดิม ลัวะ ได้ลดบทบาทโดยกลุ่มไทยวน หรือไทโยน บางครั้งเรียกว่า ‘คนเมือง’ มีบทบาททาง สังคมมากขึ้น ไทยวนเป็นกลุ่มที่ผสมกลุ่มชาติพันธุ์ไท นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันใน 69 ปัจจุบัน เช่น กลุ่มกระเหรี่ยง ม้ง เย้า ลีซู ไทใหญ่ ชาวตะวันตก ชาวจีน ฯลฯ วัฒนธรรมแบบเชียงใหม่จึงมีการ ผสมผสานอย่างต่อเนื่องจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมการตีกลองในพื้นที่ทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่จึงมีความหลายหลากแต่อยู่บนพื้นทางการรับ ใช้สังคมแบบบ้าน วัด และคุ้ม วงกลองบางประเภทใช้งานเพื่อความบันเทิง แข่งขันกันในชุมชน เช่น กลองแอว กลองปูเจ่ กลองสะบัดไชย กลองบางประเภทใช้สําหรับการตีประกอบการฟ้อนรํา ขบวนแห่ ที่เกี่ยวข้องกับงานบุญ เช่น กลองมองเซิง กลองสิ้งหม้อง กลองปู่เจ่ กลองตึ่งนง และกลองบางประเภทใช้ตีในขบวนพระราชพิธีที่สําคัญ เช่น กลองตึ่งนง เป็นต้น การสํารวจเก็บข้อมูลกลองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้พบลักษณะกลองที่หลากหลาย มีความสําคัญใน สังคม และแสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเชียงใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ กลองโป่งโป้ง มีลักษณะกลองสองหน้า รูปทรงเมล็ดข้าวป่องกลาง ติดถ่วงกลอง ใช้มือตี ทําจากไม้ขนุน ไม้ประดู่ หน้า กลองทั้งสองหน้ามีขนาดไม่เท่ากัน หน้ากลองเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิ้ว หน้ากลองด้านที่ใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง หน้ากลอง 9 นิ้ว กลองโป่งโป้งใช้ประกอบวงดนตรีสะล้อ ซอ ซึง รูปภาพที่ 68 ภาพกลองโป่งโป้ง 70 กลองปู่เจ่ กลองปูเจ่ มีรูปร่างคล้ายแก้วไวน์ กลองหน้าเดียว ใช้มือตี ติดถ่วงกลอง กลองปู่เจ่มีความยาวประมาณ 1.4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลอง 10-11 นิ้ว ตัวกลองนิยมใช้ไม้ท่ีเบา เช่น ไม้ซ้อ ไม้ขนุน ไม้กระท้อน และไม้ มะม่วงทําตัวกลอง ส่วนตัวกลองแบ่งออกเป็นหน้ากลอง ไหกลอง เล็บช้าง เป็นส่วนที่ใช้ร้อยเชือกดึงหนังหน้ากลอง เอวกลอง ก้นกลอง และตีนกลอง (ตีนต๋ํา) กลองปู่เจ่ตีร่วมกันกับชุดฆ้อง ตั้งแต่ 1 ใบขึ้นไป และฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ใช้ตีประกอบขบวนแห่คัวตาน แห่ผ้าป่า แห่กฐิน งานปอยหลวง และขบวนแห่ในประเพณีท้องถิ่น ใช้ตีประกอบการ ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง มีลักษณะจังหวะการตีแตกต่างจากกลองก้นยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลองปู่เจ่ให้ความสําคัญ ของเสียง ‘เสียงหึ่งหน้ากลอง’ หมายถึง เสียงที่ตีเปิดหน้ากลอง และเสียง ‘เสียงลงส้นกลอง’ หมายถึง เสียงที่ออก จากท้ายกลองที่มีเสียงทุ้ม หนักแน่น ถ่วงกลองปู่เจ่ นิยมใช้ขนมจีนผสมขี้เถ้าที่ร่อนละเอียด ขี้เถ้าที่ได้จากใบตอง กล้วยจะทําให้สีของถ่วงกลองเป็นสีดํา ในปัจจุบันหลายที่เปลี่ยนใช้กล้วยตากบดติดเป็นถ่วงกลอง มีความสะดวก มากขึ้นแต่จะทําให้หน้ากลองเสียได้ง่ายจากน้ําผึ้งที่ผสมอยู่ในกล้วยตากจะซึมเข้าสู่ผิวหน้ากลอง เป็นแหล่งอาหารที่ หนู และแมลงสาบจะมากัดแทะหนังกลองได้ สล่าทํากลองปู่เจ่ในอดีตและปัจจุบนั ของเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย พ่อหนานดํารงค์(เสียชีวิต), สล่าโซน (เสียชีวิต), สล่าหน้อย บุญเลิศ ตีคัง วัดลังกา, สล่าเนตร, เจ้าอาวาส วัดปางควาย อําเภอเวียงแหง รูปภาพที่ 69 ภาพการขึ้นรูปกลองปู่เจ่ 71 กลองมองเซิง กลองมองเซิง เป็นกลองสองหน้า ใช้มือตีไม่ติดถ่วงกลอง มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวป่องตรงกลาง กลอง หุ้มด้วยหนัง หน้ากลองด้านเล็กมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 นิ้ว หน้ากลองด้านใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 17 นิ้ว ความหนาของกลองประมาณ 0.5 นิ้ว กลองยิ่งมีความบางยิ่งดีเนื่องจากต้องสะพายกลองเวลาตี กลองมองเซิงทํา จากไม้ขนุน หรือไม้ท่ีมีน้ําหนักเบา กลองมองเซิงใช้ตีประกอบชุดฆ้อง 3 ใบขึ้นไป และฉาบ รูปแบบกลองมองเซิง แบบเชียงใหม่มีลักษณะการบรรเลงจังหวะกลองที่แตกต่างจากกลองมองเซิงแบบแม่ฮ่องสอน รูปภาพที่ 70 ภาพกลองมองเซิง กลองมองลาว กลองมองลาวมีลักษณะรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวป่องกลาง กลองสองหน้า หุ้มด้วยหนัง ใช้มือตี ไม่ติดถ่วง ลักษณะกลองภายนอกคล้ายกับกลองมองเซิง แต่มีขนาดใหญ่กว่ายาวกว่า ขนาดกลองมองลาว ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร การผสมวงกับฆ้องใช้ฆ้อง 1 ชุด 3-5 ใบ ในขณะที่กลองมองเซิงใช้ฆ้อง 1 ชุด 7-9 ใบ กลองมองลาว นิยมเล่นทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลองมองลาวนิยมมากในพื้นที่อําเภอแม่สะเรียง อําเภอสันป่าตอง และอําเภอเมืองเชียงใหม่(วัดกู่เต้า และวัดป่าเป้า) ในวัฒนธรรมชาวไทใหญ่กลองมองลาวผู้หญิง เป็นผู้ตีกลอง จังหวะหน้าทับกลองที่แตกต่างไปจากกลองมองเซิง ทําให้กลองมองลาวมีรูปแบบการตีและมีจังหวะ การตีท่ีเป็นเอกลักษณ์ เช่น จังหวะ ‘เปิดปีกปอน เปิกป๊กปอน’ กลองมองลาวจะมี ‘รูไขเสียง’ บริเวณตรงกลางของ กลองเพื่อให้เป็นที่ระบายเสียง 72 รูปภาพที่ 71 ภาพกลองมองลาว รูปภาพที่ 72 ภาพรูไขกลองมองลาว 73 กลองทิ้งบ้อม กลองทิ้งบ้อมมีลักษณะรูปร่างแก้วไวน์ กลองหน้าเดี่ยว หุ้มด้วยหนังติดถ่วงกลอง ใช้มือตี คล้ายกับกลอง ยาวภาคกลาง วงกลองทิ้งบ้อมประกอบด้วยกลองทิ้งบ้อม 5 ใบ และกลองตั้ง อีก 1 ใบ ลักษณะกลองตั้งเป็นกลอง ที่มีรูปทรงกระบอกแบน หุ้มด้วยหนังหน้าเดียว ใช้ไม้ตีเพื่อให้เกิดเสียงหนักแน่นทุ้มต่ํา กลองตั้งทําหน้าที่ตีจังหวะ หนักของเพลง วงกลองทิ้งบ้อมนิยมใช้แห่ในขบวนคัวตาน ขบวนแห่ต่างๆ มีความสนุกสนาน คึกครื้น หน้ากลองทิ้ง บ้อมมีขนาดลดหลั่นไปตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้วไปถึง 6 นิ้ว กลองตั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 นิ้ว กลองทิ้งบ้อมใช้ประกอบการฟ้อนดาบ วงกลองทิ้งบ้อมที่มีชื่อเสียง เช่น วงกลองทิ้งบ้อม วัดพันตาเกิน ตี กลองในจังหวะคล้ายกลองยาวภาคกลาง วงกลองทิ้งบ้อม วัดศรีดอนไชย ใช้ตีประกอบการฟันกระบี่กระบอง ฟัน ดาบ วิธีการติดถ่วงกลองทิ้งบ้อมจากการสัมภาษณ์พ่อครูชาย ชัยชนะได้ให้ข้อมูลถึงวิธีการติดถ่วงกลองทิ้งบ้อม แบบ สามโหนก หมายถึง การติดถ่วงกลองเป็นวงกลม 3 กลุ่มบนหน้ากลอง รูปภาพที่ 73 ภาพกลองทิ้งบ้อม กลองปูจา กลองปูจาแบบเชียงใหม่ มีลักษณะรูปถัง หุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน ใช้ไม้ตี มีกลองลูกตุ๊บสามใบเรียงเป็นรูป สามเหลี่ยมด้านซ้ายมือของกลองใบใหญ่ กลองปูจานิยมใช้ตีในวัดเพื่อบอกสัญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง เทศน์มหาชาติ งานตั้งธัมม์หลวง งานก๋วยสลาก ระบํากลองที่นิยมตี ประกอบด้วย ระบําเสือขบตุ๊ ระบําสาว หลับเต๊อะ ระบําล่องน่าน ระบําฟาดแส้ ระบําสะบัดไชย การตีกลองปูจานิยมตีทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ การตี กลองที่มีได้รับการยอมรับว่ามีรปู แบบที่ดีส่วนใหญ่มีระบํากลองที่นิยมตีในพื้นที่อําเภอดอยสะเก็ด อําเภอสันกําแพง (พ่อครูแก้ว)อําเภอสารภี (วัดต้นแก้ว)อําเภอแม่ริม (วัดปราสาท และวัดกู่เต้า)อําเภอเมือง 74 รูปภาพที่ 74 ภาพกลองปูจา กลองสะบัดไชย กลองสะบัดไชย เป็นกลองรูปถัง หุ้มด้วยหนังสองด้าน ใช้ไม้ตี ไม่ติดถ่วงกลอง เส้นผ่าศูนย์กลางกลอง สะบัดไชยมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับไม้ที่หาได้ เริ่มต้นที่ 24 นิ้ว 25 นิ้ว 27 นิ้ว 30 นิ้ว เจาะเนื้อไม้กลางกลองออกให้มี ความหนาขอบกลองประมาณ 1 นิ้ว ความลึกประมาณ 35 นิ้ว กลองสะบัดไชยมีขากลองที่ใช้คนหามเวลาเดินตี ตกแต่งเป็นรูปพญานาค และลวดลายต่างๆ ตามความเหมาะสม การตีกลองสะบัดไชยผู้ตีอาจมีลีลาท่าทาง ประกอบ วิธีการตีกลองสะบัดไชยที่ได้รับความนิยมทั่วไปทั้งเชียงใหม่มีวิธีการตีกลองตามรูปแบบของครูคํา กาไวย์ กลองสะบัดไชยลูกตุ๊บ มีกลองลูกตุ๊บเพิ่มด้านข้าง 3 ใบ เป็นลักษณะกลองสะบัดไชยที่ย่อขนาดกลองปูจาเพื่อ สามารถใช้ตีในขบวนแห่ได้ บางครั้งอาจใช้ไม้แซะตีร่วมกับไม้ค้อนตีกลอง กลองลักษณะนี้บางแห่งเรียก กลองไชย มงคล การเรียงกลองลูกตุ๊บกลองสะบัดไชยแบบเชียงใหม่นิยมนํากลองลูกตุ๊บทั้ง 3 ใบไว้ทางขวามือของผู้ตีกลอง รูปแบบการตีกลองสะบัดไชยลูกตุ๊บแบบเชียงใหม่มีเอกลักษณ์ตามแบบการตีของครูพัน มาณพ ยาระณะ นอกจากนั้นยังมีคณะกลองสะบัดไชยลูกตุ๊บ วัดผาบ่องที่มีชื่อเสียง ใช้ฆ้อง 2 ใบ ฉาบ 1 คู่ และตีกลองแบบใช้ไม้แซะ และไม้ตีกลอง พ่อครูชาย ชัยชนะเล่าว่า ในอดีตการบูชาเสาอินทขิล วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันสุดท้าย ของการใส่ขันดอก นิยมตีกลองสะบัดไชยและฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ เพื่อเป็นการลาเสาอินทขิล 75 รูปภาพที่ 75 ภาพกลองสะบัดไชย กลองแอว วงกลองตึ่งนง กลองแอว หรือกลองตึ่งนง มีลักษณะรูปร่างแบบแก้วไวน์ หุ้มหนังหน้าเดียว ติดถ่วงกลอง ใช้มือตี ตัว กลองทําจากไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ไม้ขนุน ไม้ขี้เหล็ก ไม้ชิงชัน ไม้สัก กลองแอวแบบเชียงใหม่มีลักษณะคล้ายกับ กลองอืดจังหวัดน่าน กลองแอว กลองตกเส้ง จังหวัดลําปาง กลองเปิ้ง กลองเปิ้งมง จังหวัดลําพูน วงกลองตึ่งนง ในอดีตที่ผ่านมาวัดในจังหวัดเชียงใหม่ต้องมีกลองแอวที่ใช้ในวงกลองตึ่งนงอย่างน้อย 2 ใบ ใบเล็ก และใบใหญ่ใช้ในการแห่งานปอยหลวง ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ท่าฟ้อนรํา ฟ้อนเล็บ และฟ้อนมือ ซึ่งต่อมาเป็นที่แพร่หลายในแต่ละชุมชน แต่ละหัววัด ใช้ฟ้อนเพื่อรับขบวนหัววัดที่มางานปอยหลวง และใช้ประกอบในขบวนแห่ของวัดที่เดินทางมางานปอยหลวงเช่นกัน พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ท่ีนิยมตีกลองตึ่งนงพบ ในพื้นที่อําเภอเมืองเชียงใหม่ อําเภอสันทราย อําเภอแม่ริม อําเภอสันป่าตอง และอําเภอดอยสะเก็ดเป็นจํานวนมาก ในพื้นที่อําเภออื่นๆ เช่น อําเภอแม่วาง และในบางพื้นที่ของอําเภอสันป่าตองนิยมใช้วงกลองมองเซิง 76 จากการสัมภาษณ์ครูชาย ชัยชนะ ให้ข้อมูลว่า กลองแอวที่ใช้บรรเลงในวงกลองตึ่งนง จังหวัดเชียงใหม่ มี รูปแบบการทํากลองจากสล่าเก๊า ตุ๊เจ้าคํา วัดท่าเดื่อ ได้สอนวิธีทํากลองให้กับพ่อต๋า บ้านมะกอกหม่น พ่อหน้อย บ้านสันปูเลย อําเภอดอยสะเก็ด พ่อเลิศ บ้านสันศรี และพ่อหนานหล้อม บ้านแม่ย่อย(เสียชีวิต) ต่อมาพ่อหนาน ดํารงค์(เสียชีวิต) ได้เรียนรู้วิธีทํากลองจากตุ๊เจ้าคํา และสอนวิธีการทํากลองให้กับสล่าหน้อย บุญเลิศ ตัคัง ปัจจุบัน เป็นสล่าทํากลองที่ยังทํากลอง แต่งเสียงกลอง นอกจากนี้ยังมีสล่าคํา วัดท่าหลุก ทํากลองและได้สอนให้กับสล่า เนตรผู้เป็นหลาน ปัจจุบนั ยังคงทํากลองแอว กลองแอวในวงกลองตึ่งนงมีความสําคัญ โดยจะตีจังหวะหลักการขึ้นกลอง ลงกลอง เพื่อเป็นสัญญาณ ให้กับช่างฟ้อน วงกลองตึ่งนงประกอบด้วย กลองแอว 1 ใบ กลองตะหลดป๊ด 1 ใบ ฆ้องโหย้ง(ใบเล็ก) 1 ใบ ฆ้องอุย(ใบใหญ่) 1 ใบ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ปี่แนหน้อย 1 เลา ปี่แนหลวง 1 เลา รูปภาพที่ 76 ภาพวงกลองตึ่งนง 77 วงกลองตึ่งนงใช้ประกอบการฟ้อนรํา และอยู่ในขบวนแห่ในงานประเพณีท้องถิ่น ขบวนคัวตาน ปอยหลวง วงกลองตึ่งนงมีความสําคัญในวิถีชีวิตและประเพณีชาวเชียงใหม่อันเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สําคัญในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ การตีกลองแอวในพื้นที่จงั หวัดเชียงใหม่นอกจากใช้เพื่อประกอบวงกลองตึ่งนง เพื่อประกอบขบวนแห่ และ ฟ้อนรํา พบว่านิยมนํากลองแอวมาประชันเสียงกลอง โดยนิยมแข่งเสียงเสียงที่ออกจากกลอง ‘ลูกปล๋าย’ ที่มี ลักษณะเสียงยาว เสียงที่ดีมีเสียงเมื่อตีแล้วจะได้เสียง ‘... ต๊ง โหวด ...’ เสียงที่ดีควรมีลักษณะ ‘เสียงดังยาว ลูกปล๋า ยแข็ง’ เสียงกลองมีการประชันกลองแอวจะนํากลองขึ้นฮ้านกลอง ที่มีลักษณะค่าวไม้ไผ่ สามารถยกกลองขึ้นไปผูก กับเชือกให้ตัวกลองยกสูงลอยขึ้นจากพื้นในระนาบแนวนอน สามารถนํากลองขึ้นฮ้านเรียงกันได้ 4-5 ใบ ในอดีต หลังจากการตีกลองทีละใบเพื่อฟังเสียงแล้ว นิยมให้ตีกลองแอวไล่เสียงกัน เรียกว่า ‘กุมกลอง’ เพื่อประชันว่ากลอง ใบไหนมีเสียงที่ดีกว่า การแข่งกลองแอวนิยมทําในช่วงออกพรรษา และในช่วงงานปอยหลวง งานเทศกาลประเพณี ท้องถิ่น การแข่งขันแข่งกลองในช่วงเวลาบ่ายโมงไปจนถึงห้าโมงเย็น คัดจากกลองที่เข้าประกวดทั้งหมดให้เหลือ เพียงรางวัลที่ 1 รางวัลที่ 2 รางวัลที่ 3 และรางวัลชมเชย 2 รางวัล กลองแอวเสียงกลางเป็นที่นิยมนํามาตีแข่งเสียงปัจจุบัน ในอดีตนิยมแข่งเสียงกลองเสียงกลางและเสียง ใหญ่ แต่เนื่องจากน้ําหนักของกลองเสียงใหญ่ที่มีมากทําให้ลําบากเวลายกขึ้นลงฮ้านกลองจึงลดความนิยมที่จะแข่ง กลองเสียงใหญ่ ขนาดของกลองแอวแบ่งได้ 3 ขนาด โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลองดังรายละเอียดต่อไปนี้ กลองเสียงหน้อย หน้ากลองเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-11 นิ้ว กลองเสียงกลาง หน้ากลองเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-13 นิ้ว กลองเสียงใหญ่ หน้ากลองเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้วขึ้นไป พบกลองแอวที่มีขนาดใหญ่ วางไว้บนล้อเกวียนเวลาเดินตี เรียกกลองนี้ว่า ‘กลองล้อ’ วัดหนองโค้ง อําเภอสันกําแพง โฉลกกลองแอวให้นับตามจํานวนขั้นของลูกหมาก หรือลูกเคี่ยน นับจากบนลงล่าง ดังต่อไปนี้ สุขขะมุกขี ศรีชมชื่น ตื่นเมืองพรหม สมเสพสร้าง ม้างสังโฆ โพธิสัตว์ วัดพระเจ้า เข้าสู่นิพพาน ในช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ไม่นํากลองออกมาใช้งาน ในแต่ละวัดมีกรรมการกํากับกลอง ที่มีหน้าที่ดูแล บํารุงรักษากลองของวัด ช่วงเข้าพรรษากรรมการกํากับกลองจะอดหนังกลองออกจากตัวกลอง นําน้ํามันมะพร้าว มาชโลมกลองเพื่อรักษาเนื้อไม้ ชาวล้านนาไม่นิยมนําฆ้อง และกลองเก็บไว้ที่บ้านเพราะเชื่อว่าฆ้องและกลองเป็น ของส่วนรวมควรเก็บรักษาไว้ที่วัด 78 รูปแบบกลองแอว ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แบ่งออก 6 รูปแบบตามฝีมือช่างทํากลอง ดังต่อไปนี้ 1. กลองแอวรูปแบบแม่ย่อย สล่าพ่อหนานหล่อม มีลูกศิษย์ สล่าพร และสล่าเทิง 2. กลองแอวรูปแบบวัดบุพาราม สล่าตุ๊หวัน 3. กลองแอวรูปแบบน้ําแพร่ อําเภอดอยสะเก็ด 4. กลองแอวรูปแบบท่าหลุก สล่าพ่อคํา 5. กลองแอวรูปแบบท่าเดื่อ สล่าชล 6. กลองแอวรูปแบบพ่อหนานดํารงค์ สล่าบุญเลิศ ตีคัง รูปภาพที่ 77 ภาพกลองแอว 79 สล่าทํากลองแอวในปัจจุบันพบสล่าที่ยังคงทํากลองอยู่ เช่น สล่าเนตร บ้านท่าหลุก สล่าพงษ์ บ้านแม่สา สล่าชา บ้านสารภี สล่าทูล วัดช้างค้ํา หางดง สล่าหน้อย(บุญเลิศ ตีคัง) บ้านลังกา การทําหนังกลองแอว จากการสัมภาษณ์สล่าบุญเลิศ ตีคัง กล่าวว่า หนังที่ใช้ทําหน้ากลองแอว หนังที่ดี ควรเป็นหนังวัวตัวเมีย ที่ออกลูกมาแล้ว 2 ครั้งเนื่องจากหนังจะมีความยืดหยุ่นและอยู่ตัว สล่าบุญเลิศซื้อหนังวัว จากโรงขายหนัง อําเภอนาก่วมจังหวัดลําปาง หนังที่นํามาใช้เป็นหนังสดที่ไม่ผ่านกระบวนการการฟอกหนัง หนังวัว กิโลกรัมละ 270 บาท วัว 1 ตัวมีหนัง 5-10 กิโลกรัม รูปภาพที่ 78 ภาพการทําหนังกลองแอว การขึ้นหนังกลองตัดหนังตามขนาดหน้ากลอง เพิ่มระยะที่ต้องทําขอบกลอง และหูห่ิงกลอง โดยแบ่ง จํานวนหูห่ิงกลองจากเส้นผ่าศูนย์กลาง หากจํานวนนับหูห่ิงได้เลขคู่ ใช้วิธีการถักหูห่ิงแบบ ‘สับด้นหน’ กล่าวคือ สลับรูสอดสายเข้า 1 รู ออกข้ามอีก 1 รู หากจํานวนนับหูห่ิงได้เลขคี่ ใช้วิธีการถักหูห่ิงแบบเข้า 1 รู เว้น 2 รู เข้ารูท่ี 3 เป็นวิธีการถักหูห่งิ ที่นิยม 80 รูปภาพที่ 79 ภาพหูหิ่งกลองแอว รูปภาพที่ 80 ภาพหูหิ่งกลองแอว จ่ากลองแอว ทําจากขนมจีนผสมข้าวเหนียวสุกบดละเอียด ผสมกับขี้เถ้าที่ได้จากไม้ลําไย ไม้ขนุน ไม้ ทองกวาวร่อนขี้เถ้าให้ละเอียด โดยนําข้าวเหนียวสุกแช่น้ํา ผสมกับขนมจีนบดให้เข้ากันผสมขี้เถ้านวดผสมให้เข้ากัน จนนุ่มนวล(ผิวสัมผัสนุ่มคล้ายกับติ่งหู) นําถ่วงกลองที่ได้เก็บรักษาไว้โดยใช้ผ้าชุบน้ําห่อไว้เพื่อรักษาความชื้นของถ่วง กลอง การติดถ่วงกลองบนหน้ากลอง หากหน้ากลองมีความมันจะทําให้ถ่วงกลองไม่ติดหน้ากลอง นิยมนําใบ 81 มะเขือ ใบพลู หรือใบสาบเสือ ถูบริเวณหน้ากลองเพื่อลดความมันบนหน้ากลองและทําให้ถ่วงกลองติดบนหน้า กลองได้เป็นอย่างดี กลองตะหลดป๊ด กลองตะหลดป๊ด บางแห่งออกเสียงปะหลดป๊ด มีลักษณะเป็นกลองรูปทรงกระบอกยาว หุ้มด้วยหนังสอง หน้า ทําจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะม่วง ไม้ขนุน ใช้ไม้มีหัวไม้กลมขนาดเล็ก สองอันตีลงบนหน้ากลองเพียง หน้าเดียว ก้านไม้ตีกลองตะหลดป๊ดอาจทําจากไม้ไผ่หรือหวายเพื่อให้เกิดแรงสะบัดมากขึ้นสําหรับตอนที่รัวกลอง กลองตะหลดป๊ดอาจจะติดถ่วงกลองเพื่อให้ได้ระดับเสียงเท่ากับเสียงฆ้องเมื่อผสมวงกลองตึ่งนง กลองตะหลดป๊ด ทําหน้าที่ตัดจังหวะ และนับจังหวะย่อยภายในวงกลองตึ่งนง กลองตะหลดป๊ดยาวประมาณ 25 นิ้ว หน้ากลองทั้ง สองด้านมีขนาดไม่เท่ากัน หน้ากลองด้านทีเ่ ล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว และด้านที่ใหญ่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิ้ว รูปภาพที่ 81 ภาพกลองตะหลดป๊ด 82 บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายชาย ชัยชนะ รูปภาพที่ 82 ภาพนายชาย ไชยชนะ อายุ 64 ปี เกิดวันที่ 24 กันยายน 2494 ที่อยู่ 107 ซอย 22 (ถนนโชตนา) ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทร 086-185-1783 ความชํานาญ นักตีกลองแอว กลองก้นยาว กลองปู่เจ่ กลองมองเซิง กลองมองลาว กลองทิ้งบ้อม 83 นายสุทัศน์ สินธพทอง รูปภาพที่ 83 ภาพนายสุทัศน์ สินธพทอง อายุ 41 ปี เกิดวันที่ 23 สิงหาคม 2517 ที่อยู่ 6 ซอย 4 (ถนนท่าแพ) ตําบลช้างคลาน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทร 081-765-2155 ความชํานาญ นักตีกลองแอว กลองก้นยาว กลองปู่เจ่ กลองมองเซิง กลองมองลาว กลองทิ้งบ้อม ฟ้อนเจิง ฟ้อน นกกิงกะหล่า เต้นโต ฟ้อนดาบ 84 นายบุญถึง จักขุเนตร รูปภาพที่ 84 ภาพนายบุญถึง จักขุเนตร อายุ 69 ปี เกิดวันที่ 1 เมษายน 2489 ที่อยู่ 44/1 ถนนรัตนโกสินทร์ ตําบลวัดเกต อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทร 086-195-1228 ความชํานาญ นักตีกลองปู่เจ่ เล่นสะล้อ ซึง ช่างทําเครื่องดนตรีพื้นเมือง ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ผู้เชี่ยวชาญพิธีกรรม ล้านนา 85 นายบุญเลิศ ตีคัง รูปภาพที่ 85 ภาพนายบุญเลิศ ตีคัง อายุ 59 ปี เกิดวันที่ 23 สิงหาคม 2499 ที่อยู่ 118/2 หมู่ที่ 3 ตําบลฟ้าฮ่าม อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทร 086-192-1287 ความชํานาญ ช่างทํากลองแอว กลองปู่เจ่ กลองโป่งโป้ง กลองเต่งถิ้ง ช่างทําสะล้อ ซึง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน 86 วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองในวัฒนธรรมพื้นที่เชียงใหม่ พบกลองหลายรูปแบบ ลักษณะเด่นของกลองในวัฒนธรรมเชียงใหม่ พบกลองหลายรูปแบบที่มีลักษณะแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น กลองแอวมีลักษณะที่โดดเด่นใช้แข่งขันเสียง และใช้รวมวงกับเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ เป็นวงกลองตึ่งนง ในประกอบขบวนแห่ และใช้ประกอบการฟ้อนรํา และวงกลองปู่เจ่ที่มีลักษณะแตกต่างจากกลองก้นยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลองปู่เจ่มีขนาดสั้นและเล็กกว่ากลอง ก้นยาว วิธีการตีจังหวะกลองแตกต่างกัน กลองปูจาแบบเชียงใหม่มีลักษณะการวางกลองลูกตุ๊บสามใบไว้ทางด้าน ซ้ายมือของกลองปูจาใบใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และมีระบําการตีกลองเฉพาะแบบเชียงใหม่ กลอง สะบัดไชยมี 2 รูปแบบ กลองสะบัดไชยแบบธรรมดาที่มีกลองใบเดียว และกลองสะบัดไชยแบบลูกตุ๊บ ทั้งสอง รูปแบบได้รับความนิยมทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วงกลองมองลาว นิยมใช้ตีในบริเวณแถบทางใต้ของเมือง เชียงใหม่ที่นิยมใช้กลองมองลาวประกอบขบวนแห่ ส่วนในพื้นที่อําเภอเมืองนิยมใช้กลองมองเซิงร่วมในขบวนแห่ ความนิยมในการเลือกตีกลองในแต่ละพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่แตกต่างกัน วัฒนธรรมการตีกลองสามารถ บ่งบอกกลุ่มวัฒนธรรมแต่ละท้องที่ได้อย่างชัดเจนควรทําการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์โดยละเอียดต่อไป รูปภาพที่ 86 ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ บทที่ 5 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูน วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูน พื้นที่จังหวัดลําพูนเป็นพื้นที่ท่สี าํ คัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกัพระพุทธศาสนา มีวัดที่สําคัญหลายแห่ง มีวัฒนธรรมการตีกลองอันเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีกลองหลวง กลอง ประจําท้องถิ่นที่ต้องใช้ความชํานาญ และความสามัคคีของผู้คนที่อยู่ในแต่ละชุมชน เสียงกลองหลวงที่ประชันกัน นั้นมีความละเอียดอ่อน มีกระบวนการ เทคนิค ในการประชันเสียงกลองที่น่าสนใจ นอกจากกลองหลวงแล้วยัง ปรากฏการตีกลองอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก เช่น กลองสะบัดไชย กลองปูจา ฯลฯ วัฒนธรรมการตีกลองมีความสําคัญในวิถีชีวิตชาวลําพูน ช่วงออกพรรษาเป็นช่วงที่มีกิจกรรมงานบุญ การทอดผ้าป่า งานกฐิน การตีกลองเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมอยู่ในขบวนแห่นั้นๆ ช่างทํากลองที่มีฝีมือส่วนใหญ่ในอดีต เป็นพระ หรือพ่อหนาน(ผู้ท่ีเคยบวชเรียนมาก่อน) เป็นผู้สร้างกลอง แต่งเสียงกลอง ในช่วงยุคสมัยปัจจุบันการ แข่งขั นกลองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขัน กลองหลวงในพื้น ที่จังหวั ด ลํ าพูนได้รับความนิยมและมีการสร้าง เครือข่ายชมรมเพื่ออนุรกั ษ์และสืบสานการตีกลองอย่างจริงจัง การสํารวจเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลําพูนครั้งนี้ทําการเก็บข้อมูลตัวอย่างจากสล่าทํากลอง และบุคคล ข้อมูลที่อยู่ในวงการการตีกลองหลวงซึ่งได้รับองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการตีกลองได้ เป็นอย่างดี พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป จังหวัดลําพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดไม่ใหญ่มากหากเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ในภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ 4,505.882 ตารางกิโลเมตร เมืองหริภุญไชยในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมีความสัมพันธ์กับเมืองเชียงใหม่ท่ีมีอาณา เขตที่ติดต่อกัน และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนับพันปี เมืองลําพูนตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา และต่ อ มาได้ ร วมเข้ า กั บ ราชอาณาจั ก รไทยในช่ ว งสมั ย พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช และในสมั ย ต่ อ มาช่ ว งการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย พลตรีเจ้าจักรคําขจรศักดิ์ถึงแก่พิราลัย เมือง ลําพูนจึงเปลี่ยนสถานะขึ้นเป็นจังหวัดและเป็นส่วนหนึง่ ของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย พื้นที่จังหวัดลําพูนมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ทางทิศเหนือติดกับอําเภอสารภี และอําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกติดกับอําเภอห้างฉัตร อําเภอสบปราบ และอําเภอเสริมงาม จังหวัดลําปาง ทิศใต้ ติดกับ อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง และอําเภอสามเงา จังหวัดตาก และทิศตะวันตก ติด กับอําเภอฮอด อําเภอ จอมทอง อําเภอหางดง และอําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 88 แผนที่หมายเลข 6 แสดงแผนที่จังหวัดลําพูน พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลําไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย (คําขวัญประจําจังหวัดลําพูน) การจัดการการปกครองจังหวัดลําพูน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อําเภอ ประกอบด้วย อําเภอเมือง ลําพูน อําเภอแม่ทา อําเภอบ้านโฮ่ง อําเภอลี้ อําเภอทุ่งหัวช้าง อําเภอป่าซาง อําเภอบ้านธิ และอําเภอเวียงหนอง ล่อง รูปภาพที่ 87 ภาพฆ้องแบนวัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลําพูน 89 กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีอาศัยอยู่ในจังหวัดลําพูนกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยองที่ย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองยอง ประเทศเมียนมาร์ในอดีต ประชากรกลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มมีเชื้อสายไทยอง และไทลื้อเป็นกลุ่มหลัก ภาษาที่ใช้ พูดมีสําเนียงท้องถิ่นแบบไทยอง วิถีชีวิตผูกพันกับการทําเกษตรกรรม เพาะปลูกพืชไร่ ทําสวน นับถือพุทธศาสนา และมีประชากรกลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง กลุ่มกระเหรี่ยง ปกาเกอญอ ที่อาศัยอยู่บริเวณอําเภอลี้ กลุ่มไทยองในจังหวัดลําพูนย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองยอง ประเทศเมียนม่าร์ท่ีมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วง พุทธศตวรรษที่ 19 ต่อมามีการอพยพของผู้คนจากเมืองเชียงรุ่งเข้าสู่เมืองยอง ชาวไทลื้อกลุ่ม นั้นได้ปกครอง บ้านเมืองโดยมีเจ้าเมืองเป็นผู้ดูแล เมืองยองผ่านภาวะสงคราม เมืองร้างในหลายครั้ง ต่อมาพม่าได้ยกเลิกระบบเจ้า เมืองและเปลี่ยนสถานะเป็นอําเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุงในปัจจุบัน บรรพบุรุษชาวไทยองได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่ยุคสมัยพญาติโลก ราชแห่งราชวงศ์มังราย และในช่วงที่สําคัญที่สุดในปี พ.ศ. 2348 สมัยพระเจ้ากาวิละซึ่งพยายามรวบรวมผู้คนเพื่อ ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่และลําพูนหลังจากที่เป็นเมืองร้าง โดยได้ทําการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองเทครัวชาวไทยอง เข้ามาอาศัยในจังหวัดลําพูนและสืบเชื้อสายเป็นกลุ่มประชากรหลักของจังหวัดลําพูนมาจนถึงปัจจุบัน วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น การสํารวจเก็บข้อมูลวัฒนธรรมการตีกลองในพื้นที่จังหวัดลําพูน ทําการออกเก็บข้อมูลหลายพื้นที่ ใน อําเภอบ้านโฮ้ง อําเภอเมือง และสังเกตการณ์การแข่งขันกลองหลวงในการแข่งขันสําคัญหลายครั้ง ข้อมูลจากการ สําภาษณ์ช่างทํากลอง และปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความชํานาญเกี่ยวกับการสร้าง การตี การแต่งเสียง การฟังเสียง และการแข่งขันกลองหลวง กลองที่พบในเขตพื้นที่จังหวัดลําพูนมีรูปแบบกลองที่หลากหลาย เช่น กลองหลวง กลองปูจา กลองเต่งถิ้ง ฯลฯ ผู้สํารวจนําเสนอข้อมูลที่ได้จากการสํารวจภาคสนามโดยเน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ กลองหลวง และกลองปูจาแบบลําพูนเป็นหลักโดยได้เรียบเรียงดังรายละเอียดต่อไปนี้ กลองหลวง กลองหลวง เป็นกลองขนาดใหญ่รูปร่างรูปทรงแบบแก้วไวน์ หุ้มหนังหน้าเดี่ยว ติดถ่วงกลอง ใช้มือตีโดยมี วิธีการใช้ผ้าพันมือให้เป็นรูปกรวยสามเหลี่ยม กลองหลวงนิยมวางบนล้อกลองทีส่ ามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก กลองหลวงทําจากไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ กลึงขึ้นรูปร่าง และขุดกลองแต่งเสียง กลองหลวงใช้ตีร่วมในขบวนแห่ ประกอบฆ้องและฉาบ และใช้ตีเพื่อการแข่งขัน จากการสัมภาษณ์พ่ออินสอน สุวรรณล้อม พ่ออินสอนเล่าว่า พ่ออินสอนเป็นสล่าทํากลองหลวง เริ่มทํา กลองหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นผู้มีความชํานาญในการสร้างกลอง แต่งเสียงกลอง โค้ชกลอง ตีกลองง และเป็น กรรมการตัดสินกลองหลวง พ่ออินสอนเริ่มทํากลองใบแรกให้กับบ้านหัวฝาย วัดหัวฝาย ตําบลเมืองเลน อําเภอสัน ทราย จังหวัดเชียงใหม่ และทํากลองหลวงโดยรับว่าจ้างให้เข้าไปทํากลองหลวงในแต่ละพื้นที่อีกหลายแห่ง เช่น วัด ป่าซางน้อย และวัดในอําเภอแม่แจ่ม 90 รูปภาพที่ 88 ภาพกลองหลวง จังหวัดลําพูน การแข่งขันกลองหลวง แต่ละทีมแบ่งหน้าที่ของสมาชิกในทีม หน้าที่สําคัญแบ่งออก 3 ส่วน คนตี คนติด ถ่วงกลอง คนแต่งเสียงกลอง และคนฟังเสียงกลอง โค้ชกลอง 1. คนตีกลอง มีหน้าที่ตีกลองลองเสียง โดยจะตีกลองติดต่อกัน 9 ครั้ง แบ่งเป็นชุด ชุดละ 3 ครั้ง สลับกันตีกลองแต่ละใบที่เข้าแข่งขันแต่ละรอบ รอบละไม่เกิน 4 ใบ โดยการตีกลองหลวงต้องอาศัย ความชํานาญในการควบคุมเสียง ผู้ตีต้องพันผ้าเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ด้วยผ้าเพื่อให้ ปลายกรวยสัมผัสหน้ากลองและบางส่วนของท่อนแขนจะสัมผัสกับหน้ากลองเช่นกัน รูปภาพที่ 89 ภาพนักตีกลองหลวง 91 รูปภาพที่ 90 ภาพการพันมือ ตีกลองหลวง 2. คนทําจ่ากลอง ถ่วงกลองหลวงมีสูตรการทําจ่ากลองที่แตกต่างไปจากกลองประเภทอื่นๆ ส่วนผสม จ่ากลองประกอบด้วยข้าวเหนียวสุก ขี้เถ้า และทรายร่อนละเอียด วิธีการติดถ่วงกลองต้องวัดขนาด พื้นที่ท่ีจะติดถ่วงกลองโดยมีแบบที่ทําไว้แล้ววัดขนาด ต้องควบคุมปริมาณของถ่วงกลองให้มีปริมาณ ที่เหมาะสม พอดีกับเสียงที่ต้องการ และในบางครั้งต้องปรับสายหนังขึ้นลง หมุนกลอง เพื่อให้ได้เสียง ที่ดีตามที่โค้ชกลองส่งสัญญาณ รูปภาพที่ 91 ภาพการติดถ่วงกลองหลวง 92 รูปภาพที่ 92 ภาพการติดถ่วงกลองหลวง 3. คนฟังเสียงกลอง ทําหน้าที่ฟังเสียงกลองโดยจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปฟังเสียงกลองของทีมตนเองได้ หน้าโต๊ะกรรมการ เมื่อฟังเสียงแล้วจะส่งสัญญาณมือให้กับคนแต่งเสียงกลองในรอบลองเสียง คนฟัง เสียงกลอง หรือโค้ชกลอง ต้องเป็นผู้ท่ีมีความชํานาญและมีประสบการณ์ในการฟังเสียง ตีกลอง หลวง 93 รูปภาพที่ 93 ภาพโค้ชกลองหลวง รูปภาพที่ 94 ภาพกรรมการแข่งขันกลองหลวง 94 รูปภาพที่ 95 ภาพการแข่งกลองหลวง จังหวัดลําพูน เสียงที่ได้จากการปรับแต่งและตีกลองหลวงมีลักษณะเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเสียงแต่ละแบบที่ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันทั้งน้ําหนักของถ่วงกลอง ความตึง ความหย่อนหนังหน้ากลอง องศาและทิศ ทางการตั้งกลอง รูไหกลองที่มีรูปแบบอันเป็นความลับของกลองแต่ละใบ และเทคนิควิธีการตีของนักตีกลองหลวง แต่ละคน ลักษณะของเสียงแต่ละรูปแบบอธิบายได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ เสียงเวย หมายถึง เสียงที่สั้น จบลงอย่างรวดเร็วไม่มีหางเสียง เสียงแข็ง หมายถึง เสียงที่มีพลัง ส่งเสียงได้ไกล เสียงเจ็บ หมายถึง เสียงที่ดัง กระโดด เสียงลาก หมายถึง เสียงเอื้อนยาวไม่มีพลัง เสียงอ่อน หมายถึง เสียงเบา ไม่มีพลัง เสียงใหญ่ หมายถึง เสียงที่ดีมีพลัง มีลูกทุ่ม สามารถคุมเสียงกลองใบอื่นๆ ได้ เสียงนวล หมายถึง เสียงเบาส่งพลังไปได้ไม่ไกล 95 เสียงที่เกิดจากการตีกลอง มีลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันไปตามตัวแปรต่างๆ คุณสมบัติเสียงกลอง หลวงมี คุ ณ สมบั ติ แ ละบุ ค ลิ ก ของกลองแต่ ล ะใบแตกต่ า งกั น ชื่ อ อธิ บ ายเสี ย งที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการตี ก ลองหลวงมี รายละเอียดเสียงที่สําคัญ ดังต่อไปนี้ ลูกทุ่ม หมายถึง เสียงที่ดังกังวาน เสียงดูดเสียงกลองใบข้างๆ เปลี่ยนเป็นเสียงของตนเองที่ ชัดเจน ลูกส้น หมายถึง เสียงหึ่งที่ออกจากท้ายกลอง ลูกปล๋าย หมายถึง เสียงสะท้อนที่เกิดจากพลังเสียงที่ถูกบีบอัดในตัวกลองก่อนปล่อยเสียง ออกไป รูปภาพที่ 96 ภาพการตีกลองหลวง จังหวัดลําพูน 96 ขั้ น ตอนการสร้ า งกลองหลวง จั ง หวั ด ลํ า พู น ในปั จ จุ บั น การสร้ า งกลองหลวงขึ้ น ใหม่ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ย าก เนื่องจากหาไม้ที่มีขนาดใหญ่ได้ยาก และมีราคาแพง กลองหลวงนิยมทําจากไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ เช่น ไม้ประดู่ ไม้ มะค่า ไม้ตะเคียน ขั้นตอนแรก สล่าทํากลองจะเลือกต้นไม้ที่ควรนํามาทําเป็นกลอง ไม้ควรมีลําต้นตรง สล่าจะทํา พิธีขอไม้ แล้วตัดไม้ ขึ้นรูปกลอง เรียกว่า ซ้อมกลอง ใช้เวลาประมาณ 3 วัน มีผู้ช่วย 3-4 คน ขั้นตอนเจาะเดือย ขุด หลุมเพื่อเตรียมกลึงกลอง ใช้เวลา 7-8 วัน จากนั้นทําการเจาะไม้ในส่วนไหกลอง โดยใช้สิ่วขนาดใหญ่เจาะ ใช้เวลา ประมาณ 5-6 วัน ต่อจากนั้นจึงจะเจาะกลองให้ทะลุระหว่างไหกลองกับท้ายกลองให้ทะลุถึงกัน ใช้เวลาประมาณ 2 วัน จากนั้นจึงตกแต่งกลอง ขัดกลอง ก่อนที่จะหุ้มหนังกลองในขั้นตอนต่อไป หนังหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวตัวเมีย ส่วนเชือกหนังสําหรับดึงหนังหน้ากลองนิยมใช้หนังควายเนื่องจากมีความคงทนมากกว่าหนังวัว และใช้ ‘เม่น’ ลิ่มไม้ ขันชะเนาะสายรั้งหน้ากลองเพื่อให้มีความตึง ในกรณีแข่งขันหากกลองมีความตึงมากเกินไปอาจปลดเม่นออกได้ กลองหลวงมีขนาดความยาว 3.1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลอง 27 นิ้ว ท้ายกลองมีความกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางขอบกลองด้านนอก 50-52 นิ้ว(ห้ามเกินในกรณีกลองแข่งขัน) และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ส่วนท้ายกลอง 11.5-12 นิ้ว การทํากลองหลวง ผู้ท่ีสร้างกลองหลวงต้องมีขันตั้งในการทํากลองหลวง ขันตั้งการสร้างกลองหลวง ประกอบด้วย กรวยดอกไม้ 16 กรวย กรวยพลู 16 กรวย หมาก 1 หัว พลู 1 มัด เทียนเล่มบาท เล่มเฟื้อง อย่างละ 1 เล่ม น้ําขมิ้น ส้มป่อย รูปภาพที่ 97 ภาพการแข่งกลองหลวง จังหวัดลําพูน 97 กลองปูจาเมืองลําพูน กลองปูจา จังหวัดลําพูน มีลักษณะรูปร่าง รูปทรงกระบอก หุ้มด้วยหนัง สองด้าน ใช้ไม้ตี ลักษณะเฉพาะ ของกลองปูจาลําพูน นิยมเรียงกลองลูกตุ๊บไว้ทางซ้ายมือของกลองใบใหญ่ โดยเรียงกลองลูกตุ๊บลงเป็นแนวดิ่งสาม ใบ รูปแบบการตีกลองปูจาแบบลําพูนตีได้ 2 วิธี วิธีแรกตีกลองประกอบชุดฆ้องและฉาบ และวิธีการตีแบบไม้แซะ รูปภาพที่ 98 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน ตําราหรือลักษณะกลองปูจาแบบดั้งเดิม จากเอกสารเรื่อง เกร็ดความรูเ้ รื่องกลอง เขียนโดยพระครูสังวร ญาณ 10 กันยายน 2529 ได้อธิบายลักษณะสัดส่วนหน้ากลองปูจาที่สัมพันธ์กับมงคลกลอง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 98 บุคคลผู้ใดจะสร้างกลองปูจาให้ได้ลักษณะที่เป็นมงคล ให้วัดเอาหน้ากลองขนาดเท่าใด ให้แบ่งเป็น 8 ส่วน เอาส่วนหนึ่งมาวัดไปด้วยขนาดความยาวของกลองนั้น ได้เท่าใดเอา 3 คูณ แล้วเอา 8 หาร ได้เศษเท่าใดให้ทาย ดังต่อไปนี้ เศษ 1 ชื่อว่า นันทเภรี ตีเมื่อใดก็เกิดปิติยินดีแก่ผู้ท่ไี ด้ยินเสียงกลองนั้น เศษ 2 ชื่อว่า วิปโยคเภรี ตีเมื่อใดผู้ที่ได้ยินก็ไม่เกิดความยินดี เศษ 3 ชื่อว่า เตชะเภรี ตีเมื่อใดก็เกิดความชื่นชมยินดี เศษ 4 ชื่อว่า มรณะเภรี ตีเมื่อใดจิตใจไม่ชื่นชมยินดี เศษ 5 ชื่อว่า ชัยยะเภรี ตีเมื่อใดใจกล้าย่อมตั้งหน้าสาธุการ เศษ 6 ชื่อว่า อุปทวเภรี ตีเมื่อใดย่อมให้หวาดวิตกกังวล เศษ 7 ชื่อว่า มังคละเภรี ตีเมื่อใดย่อมทําให้เสียยังทุกข์โทษ เกิดปราโมทย์ยินดี เศษ 0 ชื่อว่า โกธะเภรี ตีเมื่อใดย่อมให้โทษโกรธเคืองกัน กลองปูจามีกลองลูกตุ๊บอีก 3 ใบ มีขนาดเล็กใหญ่ไล่เรียงกันไป ใบใหญ่กว้าง 11 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว ใบกลาง หน้ากว้าง 10 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว ใบเล็กกว้าง 9 นิ้ว นาว 15 นิ้ว หุ้มหนังกลองลูกตุ๊บหน้าเดียว ตําราเอากลองปูจาเข้าวัด ให้เชิญคนผู้มียศศักดิ์มาเป็นประธาน แล้วให้คนถือเครื่องมือเป็นต้นว่า หอก ดาบ มีด ขวาน และคีมนก เค้า กั้นอยู่ท่ปี ระตูวัด เมื่อคณะหมู่นํากลองเข้ามาให้ผู้ท่กี ้ันประตูวดั ร้องถามผู้ท่จี ะหามกลองปูจาเข้ามาว่า นายอ่าย ดูราท่านทั้งหลาย กุหิงคโต ท่านอยู่ทิศใด อยู่บ้านไหน เมืองไหน ท่านทั้งหลายมีนามโคตรชื่อใด ท่านทั้งหลายหามอะไร เข้ามาถึงบ้านเมืองวัดวาอารมเรานี้ ของอันนี้หา หู ตา ไม่ได้เป็นของทุกข์ยากไร้เข็ญใจเอา หนังมาหุ้มปากเป็นของว่ายากจังไร ถ้าสูไม่หนีไป เราจักฆ่าจักฟันด้วยดาบ และขวานให้ย่อยยับไปเดี๋ยวนี้(เอาไป เอาไป เอาไป) ผู้นํากลองมาก็หามออกไป แล้วหามเข้ามาครั้งที่สอง ก็กล่าวว่าดังนี้ ผู้นําเอาเข้า ข้าพเจ้าทั้งหลายนี้หากเป็นคนดี ของเจ้าฟ้าอันอยู่ในแหล่งหล้าประเทศ มีสิ่งของอันวิจิตร อัน วิเศษมีประเภทนามกร ชื่อว่า นันทเภรี ของอันนี้เป็นมังคลดี มีศิริอุตมะโชค ปราบข้าศึก ข้าทั้งหลายจักนํามาถวาย ค้ําชูพุทธาวาสศาสนา พระมหากษัตริย์ตราธิราชกับนางนาฏสนมเทวี กับทั้งราชบุตตาบุตรี ราชมนตรี และอุปราช ราชาธิราช ทั้งอามาตย์ และเสนาค้ําชูรัฐฐาไพร่ฟ้า อันอยู่ในแหล่งหล้าราชะธานีทั้งมวลให้มีอายุมั่นยืนยาวแลนา คนกั้นประตู(นายอ่าย) ถามครั้งที่สอง(นายอ่าย) คนกั้นประตูร้องถามว่า ดูก่อนสูท่านทั้งหลาย กลองใบนี้ รอยว่าพาวอดวายเป็นกลองเปล่าดายยากไร้ กลองนี้เป็นกลองตีกินเหล้าเป็นกลองตีเฝ้าผีตาย เป็นกลองพาวาย ทุกข์โสก หรือสูเอามาทางไหน เอาไปทางนั้น(เอาไปเดี๋ยวนี้) ผู้นํากลองมาก็ถอยออกไป ต่อไปก็พากันหามกลองเข้า มาอีกเป็นครั้งที่สามอีก ก็บอกกล่าวครั้งที่สามว่าดังนี้ ผู้นํา ข้าแด่ท่านทั้งหลาย ขอฟังคําของข้าพเจ้าอีกครั้งหนึ่งเถิด กลองใบนี้เป็นกลองวิเศษชื่อมงคลเทศนันท เภรี ตีให้แขกมาหา ตีให้ท้าวพระยารักใคร่ ตีให้ท้าวผู้ใหญ่ได้เสวยเมือง ตีให้มีเดชะฤทธีเรืองทุกด้าวทั่วธรณี ตีให้มีศิ ริชมชื่น ตีให้ได้เงินหมื่นเงินแสน ตีให้คนต่างแดนเอาของมาส่วย ตีให้ดังทั่วด้าวตลอดถึงพรหมชั้นยอด ให้มีใจแจ้ง จอดยินดี ตีให้มีศรีรักษาค้ําชูพทุ ธบาทศาสนา กับทั้งวัดวา อาวาสและบุรีให้เป็นดีทุกทั่วหน้า เลี้ยงวัวควายช้างม้าให้ แพร่พอกหลวงหลาย ให้มั่งมีด้วยข้าวของเงินคํา สังฆะพระธรรมให้มีอายุยินยาวร้อยซาวขวบเข้าวะสาให้มีปัญญา 99 แผ่กว้างเป็นดั่งท่าต้างสมุทรสาครอุดมดีเที่ยงเต้าให้ได้ถึงธรรมพระเจ้าบริสุทธิ์ เที่ยงแท้ดีหลี ขอท่านทั้งหลายโปรด รับเอาไว้ด้วยเถิด ครั้งที่สามนายอ่ายคนกั้นประตูกล่าวว่า เออดีแหละถ้าท่านบอกว่าเป็นกลองแก้ว กลองแสง กลองเงิน กลองคํา เป็นกลองนําพล เป็นกลองมงคล วิเศษทิพย์เทพมังคลา ตีบูชาพระเจ้าตีให้คนมั่งมีศรีสุข ตีให้คนใจดีหมั่นกระทําบุญจําศีลภาวนาสืบสร้าง ตีให้สมบัติ มากกว้าง ให้มีอายุฑีฆาเที่ยงแท้ร้อยซาวพรรษาโรคาไม่ได้เบียดเบียนเสนียดจัญไรระงับหาย พวกข้าทั้งหลายก็จะ ขอบูชาเอาไว้เป็นมงคลกับบ้านเมืองวัดวากับศาสนาพระพุทธเจ้า เชิญท่านทั้งหลายนําเข้ามาเถิด(ผู้เป็นหัวหน้านํา เครื่องบูชามีข้าวตอกดอกไม้ออกไปรับแล้วนําคีมนกเค้าคีบกลองปูจาเข้ามา) รูปภาพที่ 99 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน 100 ภายในตัวกลองปูจาใบใหญ่ จะมีหัวใจกลองปูจาที่เป็นส่วนสําคัญของกลองแต่ละใบ ภายในหัวใจกลองปู จาจะเขียน คาถาเขียนใส่ใบตาลหรือใบลาน หรือแผ่นเงิน แผ่นทองก็ดีแล้วเอาบรรจุลงในมะปินคํา(มะตูมแห้งปิด ทอง) แขวนไว้ในกลองปูจาเป็นหัวใจกลอง คาถาหัวใจกลองปูจาว่าดังนี้ ธัมมเทสนัง ภิริโฆสะธัมมัง หุตังสิรหา นมามิ มหาสเมยโยปวันนนสมิง เทวตาโย สัมมาคตา อาคตา สัพพ พยาวินสฺสตุ เภรีเตเชนะ โสฐินา ราชโย สัพเพสัตตาปราโหนตุ สัทธามมัง เมื่อกลองปูจาเข้าถึงในวัดแล้วก็มีพิธีสมโภชเพื่อใช้ให้เกิดเป็นสิริมงคล คือ พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จ แล้ว ประธานสงฆ์เสกท่อนอ้อยตีกลองปูจา 3 ครั้ง หรือ 9 ครั้ง พระสงฆ์ทําพิธีสวดชัยมงคลคาถาเสร็จแล้ว ทําพิธี ถวายไทยทานถวายกลองปูจาไว้กับวัดเป็นเสร็จพิธี คาถาเสกอ้อยฟาดหน้ากลองปูจา ปะถะป๊ะยาต๋าสาปะสันติยาฯ การแห่กลองปูจา กลองปูจามีไว้ตีแห่ เรียกว่า แห่บูชา จะแห่ในวันโกนวันพระ วันโกนตีแห่กลางคืนประมาณสองทุ่ม วันพระ แห่ก่อนฟังเทศน์และเทศน์จบแล้ว ระบํากลองที่ใช้ตีทั่วไปมี 4 ระบํา คือ ระบําเสือขบตุ๊ ระบําสาวหลับเต๊อะ ระบํา ล่องน่าน และเมื่อมีงานถวายสลากภัตรนิยมตีระบําฟาดแส้ นอกจากตีแห่กลองปูจายังใช้ตีเพื่อเป็นสัญญาณเรียก ประชุม ตีบอกเหตุเวลาฉุกเฉิน ไฟไหม้ โดยปกติไม่ตีกลองปูจาหากไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น รูปภาพที่ 100 ภาพการทําหนังกลองปูจา จังหวัดลําพูน 101 รูปภาพที่ 101 ภาพอุปกรณ์เครื่องมือการกลองปูจา จังหวัดลําพูน รูปภาพที่ 102 ภาพกลองปูจา จังหวัดลําพูน 102 ระบําเสือขบตุ๊ เสือขบตุ๊ที่เก๊าบ่ะดะ เสือขบพระที่เก๊าบ่ะเกลี้ยง เสือขบตุ๊ที่เก๊าบ่ะดะ เสือขบพระที่เก๊าบ่ะเกลี้ยง เสือขบตุ๊ที่เก๊าบ่ะดะ เสือขบพระที่เก๊าบ่ะเกลี้ยง กิ๋นบ่เสี้ยงค้างดูกกับหนัง กิ๋นบ่สัง กิ๋นบ่สัง กิ๋นหมดกิ๋นเสี้ยง กิ๋นหมด กิ๋นหมด กิ๋นหมด กิ๋นเสี้ยง ระบําสาวหลับเต๊อะ สาวหลับเต๊อะ หลับเต๊อะ สาว หลับเต๊อะ หลับเต๊อะ สาว หลับเต๊อะ หลับเต๊อะ สาว หลับเต๊อะ หลับตื่น หลับแล้วตื่น ตื่นตื่นเนอฯ ระบําล่องน่าน ระบําล่องน่าน ไม่มีบทร้องประกอบการตีกลองแบบระบําอื่นๆ ใช้การจดจําจังหวะและเสียงกลองจากคน รุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีตีปฏิบัติตามกัน บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายชาญศักดิ์ สุภามงคล รูปภาพที่ 103 ภาพนายชาญศักดิ์ สุภามงคล 103 อายุ 55 ปี เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2503 ที่อยู่ 49 หมู่ 10 ตําบลบ้านโฮ่ง อําเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลําพูน ความชํานาญ ช่างทํากลองหลวง กลองปูจา กลองทิ้งบ้อม กลองแอว กลองโป่งโป้ง นายชาญศักดิ์ สุภามงคล(พ่อสล่าดี) สล่าทํากลอง อําเภอบ้านโฮ้ง จังหวัดลําพูน หัวหน้าชมรมกลอง ล้านนา ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) สล่าดีเรียนรู้วิธีทํากลอง พื้นบ้านล้านนาจากพ่อสล่าปี๋ ได้เริ่มทํากลองสะบัดไชยก่อนที่จะได้เรียนทํากลองประเภทอื่นๆ กลองพื้นบ้านที่ทาํ ได้ ได้แก่ กลองสะบัดไชย กลองมองเซิง กลองปูจา กลองแอว กลองปู่เจ่ กลองหลวง กลองตะหลดป๊ด กลองทิ้งบ้อม และกลองเต่งถิ้ง กลองแต่ละประเภทมีสัดส่วนและวิธีการทําแตกต่างกันไป สล่าดีมีความสามารถในการทํากลอง จนเป็นที่ยอมรับในฝีมือการทํากลอง มีคนสั่งกลองจากพ่อสล่าดีเป็นจํานวนมาก สัดส่วนกลองแต่ละประเภทตามสูตรการทํากลองพ่อสล่าดี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ กลองสะบัดไชย ใช้ไม้ฉําฉา ไม้มะม่วง ไม้ขนุน ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 24-25 นิ้ว เป็นกลอง ขนาดกลาง กลองขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-40 นิ้ว มีความลึก 24 นิ้ว ขุดเนื้อไม้ตรงกลางออกให้ได้รูปร่าง ทําเหงือกกลอง ก่อนหุ้มด้วยหนังวัวตัวเมียพันธุ์พื้นเมืองตามขนาดทั้งสองด้าน ราคากลองสะบัดไชยหน้ากว้าง 24 นิ้วราคาประมาณ 15,000 บาท ชุดฆ้อง 5 ใบ ราคา 8,000 บาท ชุดฆ้อง 7 ใบ ราคา 12,000 บาท กลองเต่งทิ้ง ทําจากไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ประดู่ กลองสองหน้าขนาดใหญ่ หุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า หน้ากลอง ด้านที่เล็กมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 นิ้ว หน้ากลองด้านใหญ่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 17 นิ้ว กลองมีความยาว 28 นิ้ว ราคากลองเต่งทิ้งไม้ขนุนใบละ 7,000 บาท กลองปูจาใบใหญ่ ทําจากไม้เนื้อแข็ง ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน หุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน หากกลองมีความยาว 1.5 เมตร หน้ากลองควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 นิ้ว หากกลองมีความยาว 1.8-2.0 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหน้า กลองควรมีขนาด 40 นิ้ว รายละเอียดเรื่องการทํากลองปูจาได้กล่าวไว้โดยระเอียดข้างต้นแล้ว กลองปู่เจ่ เป็นกลองที่ทําจากไม้ท่มี ีความเบา เช่น ไม้ซ้อ หรือไม้ขนุน ขนาดความยาว 1.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลอง 12 นิ้ว ไหกลองยาว 60 เซนติเมตร กลองโป่งโป้ง กลองสองหน้าขนาดเล็ก หุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกลองหน้าใหญ่ 10-12 นิ้ว หน้ากลองหน้าเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-9 นิ้ว กลองยาว 18 นิ้ว ราคากลองโป่งโป้งไม้ขนุนใบละ 2,000 บาท กลองทิ้งบ้อม ลักษณะกลองคล้ายกับกลองยาว กลองหน้าเดียวรูปแก้วไวน์ ทําจากไม้ขนุน ไม้มะม่วง กลองยาว 28 นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลอง 10-12 นิ้ว กลองตะหลดป๊ด ทําจากไม้เนื้อแข็งทรงกระบอก หุ้มด้วยหนังทั้งสองด้าน ความยาวประมาณ 25 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลองด้านทีม่ ีขนาดใหญ่ 10 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางด้านที่มีขนาดเล็ก 8 นิ้ว ขันตั้ง สล่าทํากลอง ประกอบด้วย 104 หมาก 3 หัว พลู 9 มัด กรวยดอกไม้ 108 ใส่เทียน 1 เล่มในแต่ละกรวย กรวยหมากพลู 108 กรวย เหล้าขาว 1 ขวด เบี้ย 108 ผ้าขาว ผ้าแดง หัวหมู 1 หัว ผลไม้ น้ําส้ม น้ําหวาน ทําพิธีเปลี่ยนขันตั้งครูใหม่ทุกวันที่ 1 มกราคมของทุกปี นายอินสอน สุวรรณล้อม รูปภาพที่ 104 ภาพนายอินสอน สุวรรณล้อม อายุ 77 ปี เกิดวันที่ 25 กรกฎาคม 2481 ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 1 ตําบลบ้านแป้น อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน ความชํานาญ กลองหลวง โค้ชกลองหลวง 105 วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมการตีกลองของชาวลําพูนมีเอกลักษณ์ท่ีโดดเด่น โดยเฉพาะการตีกลองหลวงที่มีความนิยม มากเป็นพิเศษในพื้นที่จังหวัดลําพูน การแข่งกลองหลวงนิยมแข่งกันในช่วงออกพรรษา เสียงกลองหลวงมีลักษณะ พิเศษที่ต้องอาศัยประสบการณ์การฟัง และคลุกคลีกับกลองจึงจะสามารถเข้าใจเกี่ยวกับเสียงของกลอง ในอดีต นิยมใช้กลองหลวงประกอบการแห่ในขบวนแห่ แต่ในปัจจุบันกลองหลวงนิยมนํามาแข่งขันกันมากขึ้น ขนาดของ กลองที่ใช้ในการแข่งขันถูกกําหนดความกว้างของขนาดท้ายกลองจากชมรมกลองหลวง รูปร่างกลองหลวงใน ปัจจุบันจึงมีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่ากลองหลวงในยุคแรกๆ นอกจากกลองหลวงที่นิยมตีในพื้นที่จังหวัดลําพูน กลองปูจาแบบลําพูนมีลักษณะโดดเด่นที่มีระบําจังหวะ การตีแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ กลองหลวงใช้ตีงานงานประเพณีต่างๆ และในปัจจุบันมีการประกวดการตีกลองเพื่อ อนุรกั ษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ช่างทํากลองในพื้นที่ยังคงผลิตกลองตามความต้องการของชุมชนที่นํากลองแต่ละรูปแบบไปใช้งาน เช่น กลองสะบัดชัย กลองทิ้งบ้อม กลองเต่งถิ้ง กลองโป่งโป้ง ฯลฯ เฉพาะกลองหลวงเท่านั้นที่ชุมชนจะต้องว่าจ้างสล่า ทํากลองโดยต้องเดินทางไปทํากลองในพื้นที่นั้นๆ เอง และวัสดุท่ีใช้ทํากลองเริ่มหายาก และลดน้อยลงจึงเป็นปัจจัย ในการสร้างกลองหลวงใหม่ขึ้น รูปภาพที่ 105 ภาพกลองหลวง จังหวัดลําพูน บทที่ 6 วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําปาง วัฒนธรรมการตีกลองในเขตพื้นที่จังหวัดลําปาง วัฒนธรรมการตีกลองในพื้นที่จังหวัดลําปาง พบวงกลองที่มีเอกลักษณ์ในพื้นที่นี้ ทั้งวงกลองปูจาที่มี เอกลักษณ์แตกต่างจากวิธีการตีกลองปูจาพื้นที่อื่นๆ และมีวงกลองปะหล๊ดสิ้ง หรือบางพื้นที่เรียกวงกลองตกเส้ง นอกจากนั้นวงกลองถึ้ง หรือกลองเต่งถึ้ง วงปี่ปาทย์พื้นเมืองที่ใช้กลองเต่งถิ้ง หรือกลองถึ้งตีร่วมกับกลองโป้ง และ เครื่องเคาะประกอบจังหวะ วงปี่พาทย์แบบลําปางมีเอกลักษณ์ท่ีโดดเด่นใช้ในงานฟ้อนผี งานศพ และงานประเพณี ต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดลําปางมีรูปแบบดนตรีแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน รสนิยมทางดนตรีในพื้นที่ที่อยู่ทางตอนเหนือ ของจังหวัดและทางใต้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ พื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดมีรูปแบบการบรรเลงดนตรีแบบ ดั้งเดิม เรียบง่าย ส่วนทางเหนือมีการปรับรูปแบบวงให้มีจังหวะที่กระชับมากกว่าพื้นที่ทางใต้ ลักษณะรู ปแบบกลองที่พบในพื้นที่จังหวั ด ลํ าปางมีความหลากหลาย แตกต่ า งกันไปแต่ละพื้น ที่ การ สํารวจวัฒนธรรมการตีกลองครั้งนี้เน้นสํารวจในพื้นที่วัฒนธรรมสายใต้จังหวัดลําปาง ในพื้นที่อําเภอเกาะคา ที่มี ความสําคัญและพบว่ามีการพัฒนาวงดนตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่งวงกลองถึ้ง หรือวงปี่พาทย์พื้นเมืองที่เป็นจุดกําเนิด วงกลองถึ้งที่มีชื่อเสียงหลายวง และเป็นพื้นที่ท่ียังคงบรรเลงเพลงแบบโบราณที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา 3 ช่วงอายุ คน การสํารวจข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลําปางครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลวงกลองปะหล๊ดสิ้ง ที่ในพื้นที่อื่นๆ อาจเรียกชื่อที่ แตกต่างกันออกไป เช่น วงกลองตกเส้ง วงกลองอืด ลักษณะตัวกลองที่คล้ายกับกลองแอวในวัฒนธรรมเชียงใหม่ แต่วิธีการผสมวง จังหวะ และบทเพลงมีความแตกต่างออกไป พื้นที่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และประวัติพ้นื ที่ทางวัฒนธรรมโดยสังเขป จังหวัดลําปางตั้งอยู่ในพื้นที่ราบที่มีภูเขาล้อมรอบ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะโดยมีแม่น้ําวังเป็นแม่นํ้าสาย หลักไหลจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ผ่านบริเวณอําเภอเมือง อําเภอเกาะคา และอําเภอห้างฉัตร ที่เป็นแหล่งอารยธรรม การตั้งถิ่นฐานที่สําคัญในพื้นที่นี้ ลักษณะภูมิศาสตร์ที่ต้ังของจังหวัดลําปางที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดที่ สําคัญต่างๆ ทางภาคเหนือตอนบนเข้าไว้กับภาคเหนือตอนล่าง ทางทิศเหนือของจังหวัดลําปางติดกับจังหวัด เชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย ทิศ ใต้ติดกับจังหวัดตาก และจังหวัดสุโขทัย ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลําพูน และจังหวัดตาก จังหวัดลําปางมีการตั้งถิ่นฐานในลุ่มน้ําสําคัญ 2 ลุ่มน้ําใหญ่ ลุ่มน้ําแม่วัง และลุ่มน้ํางาว และ 7 ลุ่มน้ํา สาขา ประกอบด้วย ลุ่มน้ําแม่วังตอนบน ลุ่มน้ําแม่สอย ลุ่มน้ําแม่ตุ๋ย ลุ่มน้ําแม่วังตอนกลาง ลุ่มน้ําแม่จาง ลุ่มน้ํา แม่ตํ๋า และลุ่มน้ําแม่วังตอนล่าง จังหวัดลําปางมีอาณาบริเวณพื้นที่ท้ังหมด 12,533.961 ตารางกิโลเมตร จังหวัด ลําปางมีชื่อเดิมที่เรียกว่า ‘เขลางค์นคร’ และ ‘เวียงละกอน’ และเคยเป็นเมืองที่มีความสําคัญต่ออาณาจักรล้านนา ในช่วงฟื้นม่าน ที่พระเจ้ากาวิละได้ทรงขับไล่การปกครองจากพม่า และได้ใช้เมืองลําปางเป็นฐานการปกครอง ใน อดีตเมืองลําปางเป็นเมืองที่เป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางคมนาคมทางรถไฟจากกรุงเทพมหานครฯ มายังภาคเหนือ ซึ่ง ต่อมามีการขุดอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านดอยขุนตาลมายังจังหวัดเชียงใหม่ในเวลาต่อมา 107 แผนที่หมายเลข 7 แสดงแผนที่จังหวัดลําปาง ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างไทยให้ลือโลก (คําขวัญประจําจังหวัดลําปาง) หลังจากที่ส่วนกลางยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล กระทรวงมหาดไทยได้จัดระเบียบการปกครองใหม่ ในปี พ.ศ. 2476 การปกครองราชการส่ ว นภู มิ ภ าคจั ง หวั ด ลํ า ปางได้ แ บ่ ง พื้ น ที่ ก ารปกครองออกเป็ น 13 อํ า เภอ ประกอบด้วย อําเภอเมืองลําปาง อําเภอแม่เมาะ อําเภอเถิน อําเภอแม่พริก อําเภอเกาะคา อําเภอแม่ทะ อําเภอ เสริมงาม อําเภอสบปราบ อําเภองาว อําเภอห้างฉัตร อําเภอแจ้ห่ม อําเภอเมืองปาน และอําเภอวังเหนือ 108 รูปภาพที่ 106 ภาพวัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง กลุ่มชาติพันธุ์และประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดลําปาง ประกอบด้วยกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และ กลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง กลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ และกลุ่มไทยวน ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ําแม่วัง โดยแบ่งพื้นที่การอยู่อาศัยกระจายตัวบริเวณลุ่มน้ําแม่วังตอนบน บริเวณอําเภอวัง เหนือและ อําเภอแจ้ห่ม ลุ่มน้ําแม่วังตอนกลาง บริเวณอําเภอห้างฉัตร อําเภอเมือง อําเภอเกาะคา และอําเภอแจ้ ห่ม และลุ่มแม่น้ําวังตอนล่าง อําเภอเกาะคา อําเภอแม่ทะ อําเภอสบปราบ และอําเภอแม่พริก นอกจากกลุ่มที่อาศัยในบริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่จังหวัดลําปางยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนที่สูงหลาย กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเมี่ยน ม้ง อาข่า ลาหู่ ลีซู ลัวะ ขมุ และกระเหรี่ยง อาศัยกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่สูงแนว เขาที่รายล้อมจังหวัดลําปาง นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่สูงแล้ว กลุ่มชาติพันธุ์ที่ผสมคน ต่างถิ่น เช่น กลุม่ พ่อค้าชาวจีน ชาวตะวันตกกับคนท้องถิ่นโดยเฉพาะช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีการ ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนมีบทบาทในสังคมชาวลําปางเป็นอย่างมาก พื้นที่จังหวัดลําปางจึงประกอบด้วยกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ผสมผสานกลุ่มชาติพันธุ์ 109 วงกลองในวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดลําปางเป็นพื้นที่ที่สําคัญหนึ่งในพื้นที่วัฒนธรรมล้านนาตะวันตก วงกลองที่ปรากฏในจังหวัดลําปาง มีเอกลักษณ์โดดเด่น พบรูปแบบกลองที่หลากหลาย เช่น วงกลองปูจาแบบลําปาง วงกลองตกเส้ง วงกลองปะหลด สิ้ง วงกลองเต่งถึ้งใช้ทั้งบรรเลงและประกอบการฟ้อนผี รูปภาพที่ 107 ภาพกลองปูจาแบบลําปาง การสํารวจเก็บข้อมูลกลองในพื้นที่จังหวัดลําปางครั้งนี้ทําการสํารวจในบริเวณพื้นที่อําเภอเกาะคา โดยได้ ทําการเก็บข้อมูลตัวอย่างวงกลองปะหลดสิ้ง(บางพื้นที่เรียก วงตกเส้ง) และวงกลองเต่งถึ้ง โดยเลือกเก็บข้อมูลวง กลองเต่งถึ้งคณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ ที่สมาชิกมีประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดบทเพลงโบราณและใช้บรรเลง ในงานประเพณี ทั่ ว ไป งานศพเป็ น หลั ก ซึ่ ง มี ค วามแตกต่ า งไปจากวงกลองเต่ ง ถึ้ ง คณะอื่ น ๆ ที่ นิ ย มบรรเลง ประกอบการฟ้อนผี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วงกลองปะหลดสิ้ง วงกลองปะหลดสิ้ง บางพื้น ที่เรียก วงกลองตกเส้ง ประกอบด้วยกลองแอว หรือกลองอืด ที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายแก้วไวน์ หุ้มด้วยหนัง หน้าเดี่ยว ติดถ่วงกลอง ใช้มือตี กลองแอวตีร่วมกันกับฆ้อง 2 ใบ ฆ้องขนาด 14 เล็กฆ้องโหย้ง 1 ใบ และฆ้องใบใหญ่ฆ้องอุย 1 ใบ ฉาบ และสิ้ง วงกลองปะหลดสิ้งใช้กลองปะหลด มีลักษณะรูป ทรงกระบอก หุ้มด้วยหนังสองด้านใช้ไม้ตีเพียงด้านเดียว ติดถ่วงกลอง ใช้ตีจังหวะนับและจังหวะขัด วงกลองปะ 14 เครื่องเคาะมีลักษณะคล้ายฉิ่ง และฉาบผสมกัน ขนาดเล็ก ใช้ตีประกอบในวงปะหลดสิ้ง และวงกลองเต่งถึง้ จังหวัดลําปาง 110 หลดสิ้งใช้ปี่แนหน้อย และปี่แนหลวงเดินทํานองเพลง บทเพลงที่ใช้บรรเลงนิยมบรรเลงเพลงมอญศาลา เพลงซอ พม่า รูปภาพที่ 108 ภาพสิ้ง วงกลองปะหลดสิ้งใช้บรรเลงประกอบขบวนแห่ และใช้เพื่อตีรับขบวนคัวตาน เสียงสวิ้ง และกลองปะหลด มีความสําคัญต่อลักษณะจังหวะการตีกลองแบบลําปาง ที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่นๆ ของล้านนาที่นิยมนับจังหวะตก แบบเลขคู่ เรียกจังหวะการนับจังหวะตกเลขคู่ว่า ‘กาสับด้ง’ ส่วนจังหวะในดนตรีลําปางนิยมนับจังหวะแบบเลขคี่ เรียกว่า ‘นกมะแห่สับไม้’ รูปภาพที่ 109 ภาพกลองปะหลด จังหวัดลําปาง 111 กลองแอว หรือกลองอืดเป็นกลองสําคัญที่ใช้ตีจังหวะหลักของวงกลองปะหลดสิ้ง ลักษณะกลองแอวหรือ กลองอืดแบบลําปางมีลักษณะคล้ายกันกับกลองแอว จังหวัดเชียงใหม่ หรือกลองอืดจังหวัดน่าน มีองค์ประกอบ หลัก ประกอบด้วย หน้ากลอง ไหกลอง เอวกลอง และตีนกลอง ปรับเสียงให้มีความทุ้มต่ําเทียบให้เข้ากันกับเสียง ฆ้องโหย้งและฆ้องอุยด้วยการติดถ่วงกลอง รูปภาพที่ 110 ภาพกลองแอว หรือกลองอืด จังหวัดลําปาง วงกลองปะหลดสิ้ง มีลักษณะแตกต่างจากวงกลองตึ่งนง จังหวัดเชียงใหม่ และวงกลองอืด จังหวัดน่านใน ส่วนของบทเพลง จังหวะ และทํานอง หากวิธีการผสมวงกลองตามองค์ประกอบหลัก ฆ้อง กลอง และปี่ อันเป็น ลักษณะการผสมวงกลองที่มีลักษณะร่วมในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากแต่วงกลองปะหลดสิ้ง เพิ่ม ‘สิ้ง’ เครื่องประกอบจังหวะที่ใช้ตีในจังหวะยก และสร้างจังหวะที่รู้สึกเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอันเป็นลักษณะเด่นของ ดนตรีจังหวัดลําปาง การเดินทํานองเพลงใช้ปี่แนหน้อย และปี่แนหลวงเป่าทํานองเพลงพื้นบ้านแบบลําปาง ในการ เก็บข้อมูลครั้งนี้ทําการบันทึกภาพและเสียง จากกลุ่มศิลปินนักดนตรี ชุมชนวัดศาลาหม้อ อําเภอเกาะคา จังหวัด ลําปาง ที่มีวิธีการบรรเลงแตกต่างไปจากกลุม่ อื่นๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง 112 รูปภาพที่ 111 ภาพวงกลองปะหลดสิง้ วงกลองเต่งถึ้งเมืองลําปาง กลองเต่งถึ้งเมืองลําปาง หรือวงปี่พาทย์พื้นเมือง ที่มีกลองเต่งถึ้ง หรือกลองถึ้ง กลองที่มีลักษณะคล้าย เมล็ดข้าวป่องกลาง กลองหุ้มด้วยหนังสองข้าง ใช้มือตี ติดถ่วงกลอง ให้เสียงทุ้มต่ํา กลองถึ้งตีร่วมกับกลองโป้ง หรือกลองตัด กลองสองหน้าหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า ใช้มือตีเพียงด้านเดียว โดยวางกลองในแนวตั้ง ติดถ่วงกลอง วงกลองเต่งถึ้งประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ ระนาดเอก 1 ราง ระนาดทุ้ม 1 ราง ระนาดเหล็ก 1 ราง ฆ้องวง 1 วง ปี่แนหน้อย 1 เลา ปี่แนหลวง 1 เลา ฉาบใหญ่ 1 คู่ สิ้ง 2 คู่ กลองเต่งถึ้ง 1 ใบ กลองโป้ง 1 ใบ บทเพลงที่นิยมใช้บรรเลงวงกลองเต่งถึ้งมีหลากหลายเพลงทั้งบทเพลงพื้นบ้าน และบทเพลงไทยเดิม วง กลองเต่งถึ้งใช้บรรเลงในงานศพ งานปอยหลวง งานสวดเบิก งานรําวง ประกอบการชกมวยโบราณ และงาน เทศกาลต่างๆ บทเพลงที่บรรเลงประกอบด้วย บทเพลงเขิง(โหมโรง) มอญศาลา(มอญเก๊าห้า) เพลงทหาร เพลง 113 เงี้ยว เพลงมอญโยน เพลงปราสาทไหว(เพลงลาก) เพลงเขมรแจวเรือ เพลงนางหงส์ เพลงลาวคําหอม เพลงแขกวร เชษฐ์ เพลงจะเข้หางยาว เพลงโหมโรงไอยเรศ เพลงแป๊ะ เพลงไหว้ครู เพลงมวย เป็นต้น รูปภาพที่ 112 ภาพวงกลองเต่งถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ จังหวัดลําปาง ขันครูสําหรับวงกลองเต่งถึ้ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี่ กรวยดอกไม้ 8 อัน แต่ละอันใส่ธูป 2 ดอกและเทียน 1 เล่ม กรวยพลู 8 อัน หมาก 1 หัว ผ้าขาว 1 ผืน ผ้าแดง 1 ผืน เหล้า 1 ขวด มะพร้าว 1 ทลาย กล้วย 1 เครือ เงิน 32 บาท เบี้ยหอย 1 มัด ข้าวสาร น้ําขมิ้นส้มป่อย วงกลองเต่งถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ เป็นการรวมตัวของนักดนตรีในหมู่บ้านศาลา 6 หมู่บ้านในอําเภอ เกาะคา จังหวัดลําปาง ประกอบด้วย หมู่บ้านศาลาหลวง ศาลาดงลาน ศาลาไชย ศาลาเม็ง ศาลาบัวบก และศาลา หม้อ ปัจจุบนั รวมตัวกันที่หมู่บ้านศาลาหม้อ นักดนตรีรุ่นเก่าเรียนรู้จากนักดนตรีรุ่นแรก พ่อหน้อยคํา และพ่อหน้อย ดี บ้านศาลาไชย(นักดนตรีรุ่นแรก) ต่อมาได้มีเรียนรู้สืบทอดมายังนักดนตรีรุ่นต่อมาอีก 2 รุ่น 114 รูปภาพที่ 113 ภาพกลองเต่งถึ้ง จังหวัดลําปาง รูปภาพที่ 114 ภาพกลองโป้ง จังหวัดลําปาง วิธีการตีกลองเต่งถึ้งและกลองโป้ง จะตีร่วมกันในขณะที่บรรเลงบทเพลง โดยกลองทั้งสองใบจะตีจังหวะ หลักของวง และใช้สิ้งและฉาบตีในจังหวะยกเพื่อตัดจังหวะ ระนาด ฆ้องวง และปี่แน ดําเนินทํานองหลักของเพลงที่ ใช้บรรเลง 115 รูปภาพที่ 115 ภาพการตีกลองเต่งถึง้ รูปภาพที่ 116 ภาพการตีกลองโป้ง 116 บุคคลข้อมูล กลุ่มศิลปิน นักตีกลอง และช่างทํากลอง นายปั๋น วงศ์ละกา รูปภาพที่ 117 ภาพนายปั๋น วงศ์ละกา นายปั๋น วงศ์ละกา อายุ 77 ปี เกิดวันที่ 6 มิถุนายน 2481 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 110 หมู่ 7 ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ ระนาดเอก หัวหน้าวง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ 117 วงกลองเต่งถึ้งคณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ รูปภาพที่ 118 ภาพนักดนตรีวงกลองถึ้ง คณะ ศ. ศาลาไชยศิลป์ นายจันทร์ ปิงมา อายุ 73 ปี ที่อยู่ 227 หมู่ที่ 2 ตําบล ศาลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ ตีกลอง นายทองคํา มะลิวัลย์ อายุ 56 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 73 หมู่ 4 ตําบลศาลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ ฉาบ นายสุธี รื่นรมย์ อายุ 31 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 3 ตําบลนาแส่ง อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ 118 นายอานันท์ กันวี อายุ 52 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 172/1 หมู่ท่ี 7 ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ สิ้ง นายเพชร ปานทา อายุ 67 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 112 หมู่ท่ี 13 ตําบลลําปางหลวง อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ ปี่แนหลวง นายองค์ คารมย์ อายุ 66 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 105/1 หมู่ท่ี 2 ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ความชํานาญ ฆ้องวง นายสมศักดิ์ ไชยวงค์ อายุ 55 ปี เกิดวันที่ 13 ตุลาคม 2503 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 203/1 หมู่ 2 ตําบลศาลา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง เบอร์โทร 089-855-7629 ความชํานาญ ระนาดทุ้ม วงกลองในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น กลองในพื้นที่จังหวัดลําปางพบวงกลองที่มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วงกลองเต่งถึ้ง กลองปูจา และวงกลอง ปะหลดสิ้ง ที่ใช้บรรเลงในงานประเพณี งานฟ้อนผี งานแห่คัวตาน งานบุญในเทศกาลที่สําคัญ วงกลองเต่งถิ้งใน พื้นที่ท่ีต่างกันให้สําเนียงในการบรรเลงที่แตกต่างกัน มีบทเพลงเฉพาะท้องถิ่น บทเพลงพื้นบ้าน และบทเพลงไทย เดิมที่อยู่ในวัฒนธรรมชาวลําปางได้อย่างกลมกลืนในช่วง 60-90 ปีที่ผ่านมา บริบททางสังคมที่กลองมีส่วนร่วมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ ความเชื่อเรื่องผี บรรพบุรุษ การฟ้อนผี และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา พื้นที่วัฒนธรรมจังหวัดลําปางมีความเชื่อมโยง กับพื้นที่อื่นๆ ทั้งในกลุ่มล้านนาตะวันตก และกลุ่มวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก การศึกษาสํารวจข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลําปางครั้งนี้ ทําการสํารวจแบบเลือกกลุ่มตัวอย่าง หากแต่ยังคง พบลักษณะกลองที่สําคัญในวัฒนธรรมที่ควรทําการศึกษาเพิ่มเติมในหลายพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงลักษณะเฉพาะทาง ดนตรี วิธีการบรรเลงเฉพาะท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณและคุณภาพ และทําการ บันทึกข้อมูล โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ทางด้านดนตรีวิทยา และการศึกษาทางสังคมศาสตร์ที่จะช่วยอธิบาย 119 บริบททางสังคมได้อย่างชัดเจนมากขึ้นทั้งในพิธีกรรมที่วงกลองมีส่วนร่วม ความเชื่อในการสร้างกลอง ซึ่งอาจทํา การวิเคราะห์ศึกาในขั้นตอนของการวิจัยต่อไป รูปภาพที่ 119 ภาพวงกลองเต่งถึ้งในงานฟ้อนผี จังหวัดลําปาง บทสรุป การสํารวจข้อมูลกลองในวัฒนธรรมล้านนา โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งนี้เป็น การเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ทางวัฒนธรรมหลักใน 8 พื้นที่ของภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย กลอง เป็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเพื่อสร้างจังหวะที่มีความสําคัญต่อสังคมชาวล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาว ล้านนาใช้จังหวะกลองเพื่อเป็นสัญญาณในการสื่อสารระหว่างชุมชน เสียงกลองเป็นสัญญาณให้ชุมชนรับทราบถึง การเฉลิมฉลองที่เกิดขึ้นทั้งในโลกมนุษย์และเชื่อว่าเสียงกลองเป็นสัญญาณบอกกล่าวให้กับเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้รับรู้ในการทําบุญแต่ละครั้งเช่นกัน การตีกลองแบบต่างๆ ในสังคมชาวล้านนาเน้นการมีส่วนร่วมของผู้คนใน ชุมชน และกลองแต่ละพื้นที่แสดงออกได้ถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างชัดเจน การตีกลองในวัฒนธรรมชาวล้านนาเป็นลักษณะเด่นทางดนตรีท่ีการใช้วงกลองในสังคมมากที่สุดหาก เปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย ชาวล้านนามีภูมิปัญญา ศาสตร์เชิงช่างในการสร้างกลอง ความเชื่อและ พิธีกรรมที่ปรากฏร่วมในการตีกลองและการสร้างกลอง และความเข้าใจในสวนศาสตร์ทางเสียงที่ลุ่มลึกและ แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ทําให้การสํารวจครั้งนี้พบกลองหลายประเภท ทั้งกลองที่ตีเดี่ยว กลองที่รวมเป็นวง ร่วมกับฆ้องและฉาบ และกลองที่รวมวงร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีบรรเลงทํานองอื่นๆ สามารถสรุปข้อมูลลักษระ กายภาพกลอง พื้นที่ วิธีการตีกลองได้ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้ ลําดับ ชื่อกลอง ลักษณะกลอง กลอง หน้า เดี่ยว กลอง สอง หน้า กลอง รูปถัง กลอง รูป แก้ว ไวน์ การเทียบ เสียง กลอง รูป เมล็ด ข้าว ติดถ่วง กลอง ไม่ตดิ ถ่วง กลอง วิธีการบรรเลง ใช้มือตี กลุ่มชาติ พันธุ์ พื้นที่ หมายเหตุ ใช้ประกอบ วงตอยอ ฮอร์น ใช้ประกอบ วงตอยอ ฮอร์น ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ปาน ประกอบ ใช้ไม้ตี 1 กลองจะควิ่น     ไทใหญ่ แม่ฮ่องสอน 2 กลองตอยลง     ไทใหญ่ แม่ฮ่องสอน 3 กลองก้นยาว   ไทใหญ่, ไทยวน แม่ฮ่องสอน , เชียงใหม่ 4 กลองมองเซิง  ไทใหญ่, ไทยวน แม่ฮ่องสอน , เชียงใหม่ 5 กลองอืด  ไทลื้อ น่าน 6 กลองล่องน่าน  ไทลื้อ น่าน            121 ลําดับ ชื่อกลอง ลักษณะกลอง กลอง หน้า เดี่ยว กลอง สอง หน้า กลอง รูปถัง กลอง รูป แก้ว ไวน์ การเทียบ เสียง กลอง รูป เมล็ด ข้าว ติดถ่วง กลอง ไม่ตดิ ถ่วง กลอง วิธีการบรรเลง ใช้มือตี กลุ่มชาติ พันธุ์ พื้นที่ ใช้ไม้ตี 7 กลองตอมแตม     ไทลื้อ น่าน 8 กลองปูจาเมืองน่าน     ไทลื้อ น่าน 9 กลองเปิ่งอั่ง 10 กลองเส้ง 11 กลองแอว เชียงราย 12 กลองปูจา เชียงราย 13 กลองทิ้งบ้อม 14 กลองเต่งทิ้ง       ไทลื้อ น่าน       ไทลื้อ แพร่ ไทลื้อ, ไทย วน เชียงราย ไทลื้อ, ไทย วน เชียงราย เชียงราย เชียงใหม่ ลําพูน เชียงราย เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง       15 กลองสะบัดไชย   16 กลองโป่งโป้ง     ไทยวน    ไทยวน   17 กลองปู่เจ่ 18 กลองมองลาว  19 กลองปูจา เมืองเชียงใหม่       ไทยวน เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน เชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงใหม่ ลําพูน   ไทยวน   ไทยวน  ไทยวน, ไท ใหญ่ เชียงใหม่ ลําพูน ไทยวน เชียงใหม่   หมายเหตุ  ใช้ประกอบ วงกลองอืด ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ประกอบ เครื่อง ดนตรีวง กลองเต่ง ทิ้ง ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ประกอบวง สะล้อ ซอ ซึง ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ 122 ลําดับ ชื่อกลอง ลักษณะกลอง กลอง หน้า เดี่ยว กลอง สอง หน้า กลอง รูปถัง  กลอง รูป แก้ว ไวน์  20 กลองแอว กลองตึ่งนง เชียงใหม่ 21 กลองตะหลดป๊ด 22 กลองหลวง 23 กลองปูจา ลําพูน   24 กลองเต่งถิ้ง ลําปาง  25 กลองแอว ลําปาง 26 กลองตัด    ติดถ่วง กลอง ไม่ตดิ ถ่วง กลอง  ใช้มือตี   พื้นที่ หมายเหตุ ไทยวน เชียงใหม่ ไทยวน เชียงใหม่ ไทยอง, ไทยวน ไทยอง ลําพูน เชียงใหม่ ลําพูน ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ วงกลองตึ่ งนง และ กลองสะบัด ไชย - กลุ่มชาติ พันธุ์ ใช้ไม้ตี      กลอง รูป เมล็ด ข้าว วิธีการบรรเลง    การเทียบ เสียง     ไทยวน ลําปาง   ไทยวน ลําปาง    ไทยวน ลําปาง วัสดุ ท่ีใช้ส ร้างกลองส่วนใหญ่ใช้วัส ดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นเป็ นหลัก วั สดุห ลักที่ใ ช้ทํากลอง ประกอบด้วย ไม้ และผืนหนัง ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไปในการสร้างกลองแต่ละประเภท เทคนิคการสร้าง สัดส่วน สูตรการทํากลองแต่ละช่างมีความแตกต่างกันโดยรับการเรียนรู้สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วย การจดจําและฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดความชํานาญ การสํารวจวัฒนธรรมการตีกลองครั้งพบลักษณะกลองที่มี ลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบหลัก กลองรูปถัง กลองรูปแก้วไวน์ กลองรูปเมล็ดข้าว กลองแบ่ง ออกเป็นกลองหน้าเดี่ยว และกลองสองหน้า วิธีการตีกลองมี 2 รูปแบบ การตีกลองโดยใช้มือตี และการตีกลอง โดยใช้ไม้ตี กลองที่พบมีทั้งกลองที่ใช้ตีเดี่ยว และใช้ตีรวมวง กลองที่ติดถ่วงกลอง และกลองที่ไม่ต้องติดถ่วงกลอง วัฒนธรรมการตีกลองเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในบริเวณวัฒนธรรมล้านนาที่นิยมตีกลองในแต่ละชุมชน ดนตรีล้านนาเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม 3 ระดับ สังคมระดับบ้าน สังคมระดับวัด และสังคมระดับคุ้ม การตี กลองสะท้อนการใช้งานดนตรีในบริบทสังคมระดับวัดได้เป็นอย่างดี การรวมกันของชุมชนแต่ละชุมชน พื้นที่แต่ละ พื้นที่ จังหวะ รูปร่างลักษณะ และวิธีการตีกลองสามารถบ่งบอกลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ ละพื้นที่(Cultural Geography Identity) ที่เป็นข้อมูลสําคัญในการศึกษาและทําความเข้าใจประกอบองค์ความรู้ด้าน อื่นๆ เกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมล้านนาให้เข้าใจแบบบูรณาการ ใช้ฆ้องและ ฉาบ ประกอบ ประกอบวง กลองเต่งถิ้ง ใช้ฆ้องและ ฉาบ ซวิ้ง ประกอบ ใช้ประกอบ วงกลองเต่ง ทิ้ง 123 ข้อเสนอแนะ ในการสํารวจข้อมูลภาคสนามครั้งนี้ทําให้ทราบว่ากลองมีความสําคัญกับชุมชนชาวล้านนา รูปแบบกลอง แต่ละประเภทมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ ที่แสดงอัตตลักษณ์เฉพาะถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย(sub groups) ได้ เป็นอย่างดี ข้อมูลการสํารวจกลองในวัฒนธรรมดําเนินการสํารวจแบบเลือกบุคคลข้อมูลตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักและ ยอมรับในแต่ละพื้นที่ ซึ่งพบว่ายังคงมีช่างทํากลองพื้นบ้านอีกหลายท่านที่ยังไม่ได้สํารวจ เนื่องด้วยข้อจํากัดเวลา และงบประมาณ หากสามารถพัฒนาการสํารวจไปสู่การวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการด้านดนตรี วิทยาและมานุษยดนตรีวิทยาที่สามารถต่อยอดไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้าน ที่สามารถนําองค์ความรู้ จากการวิจัยไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยได้อย่างเหมาะสมในศตวรรษที่ 21 และ สามารถแสดงอัตตลักษณ์ของท้องถิ่น และของชาติได้ในเวทีประชาคมอาเซียน และสังคมโลกต่อไป คณะผู้สํารวจพื้นที่วัฒนธรรมด้านศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏยกรรม โครงการล้านนาคดี ศึกษา ด้านที่ 4 ขอขอบพระคุณ สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการล้านนาคดี หมวดที่ 4 ที่เล็งเห็นความสําคัญและสนับสนุนงบประมาณในการ สํารวจวัฒนธรรมการตีกลองล้านนาให้สามารถดําเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการครั้งนี้ และหวังเป็น อย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้จากการสํารวจครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ีสนใจศึกษาและต่อยอดการศึกษาวิจัยในเชิงลึก ต่อไป บรรณานุกรม ภาษาไทย ไซมอน การ์ดเนอร์, พินดา สิทธิสุนทร, และ วิไลวรรณ อนุสารสุนทร. (2549). ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาพรรณ ไม้ ยื น ต้ น ในป่ า ภาคเหนื อ ประเทศไทย. หอพรรณไม้ ภาควิ ช าชี ว วิ ท ยา คณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ธิติพล กันตีวงศ์. (2548). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชาดนตรีล้านนา. ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 132 หน้า. ปริตรตา เฉลิมเผ่า กออนันตกุล.(2545). คนใน ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพ, 229 หน้า. พระครูสงั วรญาณ. (2546). เกร็ดความรูเ้ รื่องกลอง. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรญาณ(ครูบา สังวร อุปาลี) 26 มกราคม 2546. สนั่น ธรรมธิ. (2550). นาฏดุริยการล้านนา. หนังสือชุดล้านนาคดี สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สุเทพการพิมพ์, 214 หน้า. สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2549). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ตามโครงการ สืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน งบประมาณยุทธศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน(CEO) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549, เจริญวัฒน์การพิมพ์, เชียงใหม่, 557 หน้า. สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2557). ดนตรีล้านนา สล่าเครื่องดนตรี ภูมิปัญญาช่างทํา เครื่องดนตรีท้องถิ่นภาคเหนือ ประเภทเครื่องตี. สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สุเทพการพิมพ์, 148 หน้า. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) ร่วมกับสํานักงานวัฒนธรรม จังหวัดน่าน. (2556). กลองปูจาเมืองน่าน เสียงสวรรค์แห่งนันทบุรี. ชุดความรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กลองบูชา (กลองปูจา) ในพื้นที่พิเศษ เมืองเก่าน่าน, ห้างหุ้นส่วนจํากัด อิงค์เบอร์รี่ จังหวัดน่าน. 125 ภาษาอังกฤษ Andrew C. Shahriari. (2006). Khon Muang Music and Dance Traditions of North Thailand. White Lotus Press, Bangkok. Curt Sachs. (2006). The History of Musical Instruments. Dover Publications, INC., Mineola, New York. Joel Akins. (2012). Passing It On: Traditional Lanna Music in The Modern-Day City of Chiang Mai. Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, Bangkok. Richard B. Davis. (1984). Muang Metaphysics A Study of Northern Thai Myth and Ritual. Studies in Thai Anthropology1, Pandora, Bangkok. ภาคผนวก 127 แบบสอบถามนักดนตรี ช่างทําเครื่องดนตรี Key Informant Card Type 1: ข้อมูลทั่วไป Card No. 2014 1.1 วันที่บนั ทึก 1.2 ที่ต้งั / ที่อยู่ที่ติดต่อได้ 1.3 จังหวัด 1.4 ข้อมูลการแสดง วัน/เดือน/ปี ชื่อหมู่บ้าน ชื่อกลุ่มชาติพันธุ:์ ที่อยู่: หมายเลขโทรศัพท์: เบอร์มือถือ: หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน: □ เชียงใหม่ □ เชียงราย □ ลําปาง ชื่อการแสดง แสดงในโอกาส สถานที่แสดง ผูแ้ สดง โอกาสในการแสดง เทศกาล วัน เวลา กลุ่มย่อย: □ ลําพูน เพศ □ แพร่ □ พะเยา 1.5 ผูแ้ สดง ชื่อ-นามสกุล 1.6 ประเภทข้อมูล 1.7 ผู้บันทึกข้อมูลภาคสนาม □ ช่างทําเครื่องดนตรี ชื่อผู้บนั ทึกงานเอกสาร แบบสอบถาม ชื่อผู้รับผิดชอบบันทึกวิดโี อ ชื่อผู้รับผิดชอบบันทึกภาพนิ่ง ชื่อผู้รับผิดชอบบันทึกเสียง กล้องวิดีโอ เทปบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพ หมายเลขวิดีโอ หมายเลขเทป หมายเลขฟิลม์ 1.8 ชื่อรุ่นอุปกรณ์การบันทึกข้อมูล ภาคสนาม 1.9 หมายเลขการบันทึกข้อมูล อายุ □ น่าน บทบาทในการแสดง □ นักตีกลอง □ แม่ฮ่องสอน 128 Key Informant Card Type 2: บทบาทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีในการแสดง Card No. 2014 2.1 จํานวน 2.2 ประเภทการแสดง 2.3 ชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้ 2.4 ทํานอง และกระสวนจังหวะ 2.5 บทบาทเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในการ รวมวง จํานวนนักแสดง □ แสดงเดี่ยว ชาย □ แสดงรวมวง หญิง □ แสดงประกอบการขับร้อง / แสดงเต้นรํา 129 แบบสอบถามนักดนตรี ช่างทําเครื่องดนตรี Musical Instruments Card (Individually) วัน/เดือน/ปี ชื่อเครื่องดนตรี พืน้ ที่ที่เก็บข้อมูล ชื่อกลุ่ม / หมู่บ้าน ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ชื่อส่วนต่างๆ ของกลอง ชื่อผู้บันทึกข้อมูล ชื่อในภาษาถิ่น วัสดุ ขนาด และโครงสร้าง กลไกลการเกิดเสียง ลักษณะกายภาพกลอง / เครื่อง ประกอบจังหวะ วิธีการตีกลอง ระดับเสียงในการตีกลองแต่ละ เทคนิค เสียงที่ได้หลักแต่ละเทคนิค หมายเหตุ □ Kettle drums □ tubular □ barrel-shapes □ hourglass-shaped drums □ single-headed □ double-headed □ frame drums □ rattle drums □ friction drum □ clappers □ cymbals □ slit drums □ stamping tubes and sticks □ others Card No. ชื่ออย่างเป็นทางการ 130 รูปถ่าย □ มี □ ไม่มี ภาพสเกต อัตราส่วน □ เซนติเมตร (cm) □ เมตร (m) ประวัตินกั วิจัย ชื่อ- สกุล (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ) ตําแหน่งปัจจุบัน หน่วยงานและที่อยู่ ประวัติการศึกษา นายธิติพล กันตีวงศ์ MR. THITIPOL KANTEEWONG ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-944-817-8 E-mail: thitipol@finearts.cmu.ac.th ศิลปะบัณฑิต(ศิลปะไทย) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต(ดนตรีวิทยา) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ ดนตรีวิทยา/มานุษยดนตรีวิทยา ผลงานการวิจัย (1) กรณีศึกษาลักษณะทํานองปี่ขับลื้อ บ้านนายาง เมืองน้ําบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2547) (2) กรณีศึกษารูปแบบบทการประพันธ์ดนตรีในช่วงสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (2552) (3) The Meaning of Traditional Music in 21st Century: A study of Traditional Music Changing Compare Between Japanese Traditional Music and Northern Part of Thailand. (2007) (4) Changing Identities of Japanese Traditional Music in Twenty First Century. (2010) 132 ชื่อ- สกุล (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ) ตําแหน่งปัจจุบัน หน่วยงานและที่อยู่ ประวัติการศึกษา ผลงานการวิจัย นายต่อพงษ์ เสมอใจ MR. TORPONG SAMERJAI นักช่างศิลป์ สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-94-3638 E-mail: torpong.samerjai@cmu.ac.th ปริญญาตรี ศิลปะบัณฑิต สาขาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (1) งานวิจัยเรื่องลวดลายสิบนักษัตรประดับอาคารทางพุทธศาสนาในเขตจังหวัดลําพูน(2550) (2) หัวหน้าโครงการอบรมดนตรีล้านนา สะล้อ-ซึง จัดโดยสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(2557) (3) บรรณาธิการ หนังสือเรื่องดนตรีล้านนา สล่าเครื่องตี(ภูมิปัญญาช่างทําเครื่องดนตรีท้องถิ่น ในภาคเหนือ) จัดพิมพ์โดยสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(2557) (4) หัวหน้าโครงการเสวนาดนตรีกลุ่มชนเผ่าในล้านนา จัดโดยสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(2557) 133 คณะผู้ดําเนินงาน และผู้ช่วยสํารวจเก็บข้อมูล ช่างภาพ และตัดต่อวิดีโอ : บันทึกเสียง บันทึกวิดีโอ : ภาพร่างและวัดขนาดเครื่องดนตรี เขียนลายเส้นแผนที่ ถอดเทปสัมภาษณ์ พนักงานขับรถ : : : : : นางสาวณพัฐธิกา สุขริน นายศราวุฒิ เรือนคง นายธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ Ms. Shinko Fukuma นางสาวสกาวกวิน กาญจนเสมา นายต่อพงษ์ เสมอใจ นายสารินธ์ ปินทุกาศ นางสาวณพัฐธิกา สุขริน นายธนดล กันทะมา