iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/Plasmodium_falciparum
Plasmodium falciparum - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

Plasmodium falciparum

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Plasmodium falciparum
มาโครกามีโตไซต์ (ซ้าย) กับ ไมโครกามีโตไซต์ (ขวา) ของ P. falciparum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
เคลด: Diaphoretickes
Diaphoretickes
เคลด: TSAR
TSAR
เคลด: SAR
SAR
Infraregnum: Alveolata
Alveolata
ไฟลัม: Apicomplexa
Apicomplexa
ชั้น: Aconoidasida
Aconoidasida
อันดับ: Haemospororida
Haemospororida
วงศ์: Plasmodiidae
Plasmodiidae
สกุล: พลาสโมเดียม
Plasmodium
Welch, 1897
สปีชีส์: Plasmodium falciparum
ชื่อทวินาม
Plasmodium falciparum
Welch, 1897
ชื่อพ้อง[1]
  • Oscillaria malariae Laveran, 1881
  • Plasmodium malariae Marchiafava and Celli, 1885
  • Laverania malariae Feletti and Grassi, 1890
  • Ematozoo falciforme Antolisei and Angelini, 1890
  • Haemamoeba immaculata Grassi, 1891
  • Haemamoeba laverani Labbe, 1894
  • Haematozoon falciforme Thayer and Hewetson, 1895
  • Haematozoon falciparum Welch, 1897
  • Haemosporidium sedecimanae Lewkowicz, 1897
  • Haemosporidium undecimanae Lewkowicz, 1897
  • Haemosporidium vigesimotertianae Lewkowicz, 1897

Plasmodium falciparum เป็นโปรโตซัวเซลล์เดียว และเป็นปรสิตในมุนษย์สปีชีส์หนึ่งในสกุล Plasmodium ที่ก่อโรคมาลาเรียในมนุษย์ที่รุนแรงที่สุด[2] ปรสิตนี้สามารถติดต่อผ่านทางยุง Anopheles เพศเมีย และก่อโรคมาลาเรียรูปที่รุนแรงที่สุด คือมาลาเรียฟาลซิปารัม (falciparum malaria) ซึ่งพบได้ 50% ของผู้ป่วยมาลาเรียทั้งหมด[3][4] P. falciparum มักถูกเรียกขานว่าเป็นปรสิตที่รุนแรงที่สุดในมนุษย์ ด้วยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ที่ 405,000 รายในปี 2018 นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด (บูร์กิทท์ส์ลิมฟอมา) และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A

สปีชีส์นี้มีวิวัฒนาการมาจากปรสิต Laverania ซึ่งพบในกอริลลาราว 10,000 ปีก่อน[5] ออลๆอนส์ ละเวรานเป็นบุคคลแรกที่สามารถระบุเชื้อในปี 1880 และตั้งชื่อว่า Oscillaria malariae ต่อมาในปี 1896 โรนอลด์ รอสส์ ค้นพบว่าเชื้อสามารถติดต่อผ่านทางยุง ในปี 1898 จีโอฟานนี บัตติสตา กรัสซีได้พิสูจน์การติดต่อเชื้ออย่างสมบูรณ์จากยุงอะโนเฟเลสมาสู่มนุษย์ และในปี 1897 วิลเลียม เอช. เวลช์ ได้รังสรรค์ชื่อ Plasmodium falciparum ที่ซึ่ง ICZN ได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1954

P. falciparum มีหลายรูปตลอดวงชีวิต ระยะที่ติดต่อในมนุษย์ซึ่งค่อสปอรอซอยต์จะพบในต่อมน้ำลายของยุง สปอโรซอยต์จะโตและเพิ่มจำนวนภายในตับและกลายเป็นเมโรซอยต์ (merozoites) ซึ่งจะโจมตีเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBCs) เพื่อสร้างทรอฟอซอยต์ (trophozoites), ไชซอนต์ (schizonts) และกามีโตไซต์ (gametocytes) ที่ซึ่งอาการของโรคมาลาเรียจะเริ่มแสดง สำหรับในยุง กามีโตไซต์จะเกิดการสืบพันธุ์อาศัยเพศกับไซโกต ซึ่งจะกลายเป็นโอโอคีเนต (ookinete) ซึ่งต่อมาจะก่อร่างเป็นโอโอไซต์ ซึ่งจะสร้างสปอรอซอยต์ (sporozoites) ไปติดเชื้อต่อไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. Coatney GR, Collins WE, Warren M, Contacos PG (1971). "22 Plasmodium falciparum (Welch, 1897)". The primate malarias. Division of Parasitic Disease, CDC. p. 263.
  2. Rich, S. M.; Leendertz, F. H.; Xu, G.; Lebreton, M.; Djoko, C. F.; Aminake, M. N.; Takang, E. E.; Diffo, J. L. D.; Pike, B. L.; Rosenthal, B. M.; Formenty, P.; Boesch, C.; Ayala, F. J.; Wolfe, N. D. (2009). "The origin of malignant malaria". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106 (35): 14902–14907. Bibcode:2009PNAS..10614902R. doi:10.1073/pnas.0907740106. PMC 2720412. PMID 19666593.
  3. Perkins, D. J.; Were, T.; Davenport, G. C.; Kempaiah, P.; Hittner, J. B.; Ong'Echa, J. M. (2011). "Severe malarial anemia: Innate immunity and pathogenesis". International Journal of Biological Sciences. 7 (9): 1427–1442. doi:10.7150/ijbs.7.1427. PMC 3221949. PMID 22110393.
  4. Perlmann, P; Troye-Blomberg, M (2000). "Malaria blood-stage infection and its control by the immune system". Folia Biologica. 46 (6): 210–8. PMID 11140853.
  5. Loy, Dorothy E.; Liu, Weimin; Li, Yingying; Learn, Gerald H.; Plenderleith, Lindsey J.; Sundararaman, Sesh A.; Sharp, Paul M.; Hahn, Beatrice H. (2017). "Out of Africa: origins and evolution of the human malaria parasites Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax". International Journal for Parasitology. 47 (2–3): 87–97. doi:10.1016/j.ijpara.2016.05.008. PMC 5205579. PMID 27381764.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]