iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/ไบรโอไฟต์
ไบรโอไฟต์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ไบรโอไฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พืชไม่มีท่อลำเลียง
มอสส์ (ไบรโอไฟตา)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ส่วน

ไบรโอไฟต์ คือพืชบกทั้งหมดที่ไม่มีท่อลำเลียง มันมีเนื้อเยื่อที่ล้อมรอบเป็นท่อคล้ายกับระบบท่อลำเลียง แต่ไม่มีเนื่อเยื่อส่วนท่อลำเลียงที่จะส่งผ่านของเหลว ไม่มีดอกและการสร้างเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ คำว่า bryophyte มาจากภาษากรีก βρύον - bruon, "ต้นมอสส์, สีเขียวหอยนางรม" < βρύω - bruo, "เปี่ยมไปด้วย, มาก" + φυτόν - fyton "ต้นไม้"

การแบ่งชั้น

[แก้]

ไบรโอไฟต์ประกอบไปด้วยสามกลุ่มด้วยกันคือ Marchantiophyta (ลิเวอร์เวิร์ต), Anthocerotophyta (ฮอร์นเวิร์ต) และ Bryophyta (มอสส์)

สองสมมุติฐานบนวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพืชบก (embryophyta)

ปัจจุบันการศึกษาในพืชบกโดยทั่วไปแล้วแสดงเป็นสองรูปแบบ แบบแรกนั้นลิเวอร์เวิร์ตแยกออกไปเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยฮอร์นเวิร์ต ในขณะที่มอสส์นั้นเป็นญาติใกล้ชิดกับ polysporangiates (รวมถึงพืชที่มีท่อลำเลียง) ในอีกรูปแบบหนึ่งคือ ฮอร์นเวิร์ตแยกออกไปเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยพืชที่มีท่อลำเลียง ขณะที่มอสส์เป็นญาติใกล้ชิดกับลิเวอร์เวิร์ต สามกลุ่มดั้งเดิมถูกนำมาอยู่ร่วมกันทั้งสามชั้นในส่วนไบรโอไฟต์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่สามกลุ่มของไบรโอไฟต์มาจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันแต่ไม่ได้รวมทายาททั้งหมดไว้ในกลุ่ม (paraphyletic) ทำให้ปัจจุบันถูกแบ่งใหม่ออกเป็นสามส่วนที่แยกจากกัน

การสืบพันธุ์

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วพืชจำพวกนี้จะเป็นแกมีโทไฟต์ที่มีมีโครโมโซมหนึ่งชุด (haploid) กับมีโครงสร้างโครโมโซมสองชุด (diploid) เมื่อถึงคราวเป็นสปอโรไฟต์ ด้วยเหตุนี้เอง ไบรโอไฟต์จึงมีการสืบพันธุ์ต่างจากพืชชนิดอื่น มีการสืบพันธุ์สองประเภทในไบรโอไฟต์:

ไบรโอไฟต์บางชนิดอาจเป็นทั้ง monoicous หรือ dioicous ขึ้นกับสภาพแวดล้อม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Chopra, R. N. & Kumra, P. K. (1988). Biology of Bryophytes. New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-470-21359-0.
  • Crum, Howard (2001). Structural Diversity of Bryophytes. Ann Arbor: University of Michigan Herbarium. ISBN 0-9620733-4-2.
  • Goffinet, Bernard. (2000). Origin and phylogenetic relationships of bryophytes. In A. Jonathan Shaw & Bernard Goffinet (Eds.), Bryophyte Biology, pp. 124-149. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-66097-1.
  • Oostendorp, Cora (1987). The Bryophytes of the Palaeozoic and the Mesozoic. Bryophytorum Bibliotheca, Band 34. Berlin & Stuttgart: J. Cramer. ISBN 3-443-62006-X.
  • Prihar, N. S. (1961). An Introduction to Embryophyta: Volume I, Bryophyta (4th ed.). Allahabad: Central Book Depot.
  • Raven, Peter H., Evert, Ray F., & Eichhorn, Susan E. (2005). Biology of Plants (7th ed.). New York: W. H. Freeman and Company. ISBN 0-7167-1007-2.
  • Schofield, W. B. (1985). Introduction to Bryology. New York: Macmillan. ISBN 0-02-949660-8.
  • Watson, E. V. (1971). The Structure and Life of Bryophytes (3rd ed.). London: Hutchinson University Library. ISBN 0-09-109301-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Glime, Janice M., 2007. Bryophyte Ecology, Volume 1. Physiological Ecology. Ebook sponsored by Michigan Technological University and the International Association of Bryologists.