iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/โบรกปา
โบรกปา - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

โบรกปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบรกปา
หญิงชาวโบรกปาในลาดักสวมชุดพื้นเมืองที่ประดับด้วยดอกไม้บนศีรษะอันเป็นเอกลักษณ์
ประชากรทั้งหมด
48,439 คน (พ.ศ. 2554)[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
คาร์กอน, ทาร์-หานู, พาตาลิก ในลาดัก และกิลกิต-บัลติสถาน
ภาษา
โบรกสตัต
ศาสนา
พุทธนิกายวัชรยาน
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ดาร์ด และอินโด-อารยัน

โบรกปา คือกลุ่มชุมชนย่อยของชาวดาร์ดซึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันออกของกัศมีร์มายาวนาน พวกเขาใช้ภาษาโบรกสตัต ซึ่งเป็นภาษาย่อยของภาษาชีนา จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-อารยัน ซึ่งไม่สามารถเข้าใจได้กับภาษาชีนากลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ชาวโบรกปาอาศัยในเขตลาดักของประเทศอินเดีย และมีจำนวนน้อยอาศัยในเขตบัลติสถานของประเทศปากีสถาน ส่วนใหญ่พบในหมู่บ้านทาร์ (Dha), หานู (Hanu), เบียมา (Beama), คาร์กอน (Garkon), ทาร์จิก (Darchiks), ศารจัย (Sharchay), จูลิจัน (Chulichan) และพาตาลิก (Batalik) ในฝั่งอินเดีย และพ้นเส้นควบคุมจะพบบ้านคาโนก (Ganoaks), โมโรล (Morol), ดานานุซาร์ (Dananusar), เจเจทัง (Chechethang) ในเขตที่ราบสูงเดโอซาอี (Deosai) ในเขตบัลติสถานของประเทศปากีสถาน พวกเขาอ้างว่าบรรพบุรุษอพยพมาจากชีลาสในประเทศปากีสถาน

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อ โบรกปา เป็นชื่อที่ชาวลาดักใช้เรียกชนกลุ่มนี้ มาจากคำว่า ดรุกปา เป็นภาษาทิเบตแปลว่า ชาวเติร์ก[2] หรือมาจาก โบรกปา (འབྲོག་པ།) ซึ่งเป็นคำทิเบตที่แปลว่า เผ่าเร่ร่อน

วัฒนธรรม

[แก้]

ชาวโบรกปาในเลห์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ขณะที่ชาวโบรกปาจำนวนหนึ่งในการ์คิลนับถือศาสนาอิสลาม ชาวโบรกปาจะไม่บริโภคนมและสัตว์ปีก รับประทานอาหารสามมื้อคือ เวลาเช้า กลางวัน และค่ำ โดยมากจะรับประทานเนื้อสัตว์โดยมากเป็นเนื้อแกะ สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเป็นตัวกำหนดการบริโภคเนื้อสัตว์ หากมีเทศกาลหรือการประกอบพิธีกรรมจะทำให้ผู้คนเข้าถึงเนื้อแกะได้มากขึ้น[3]

เศรษฐกิจ

[แก้]

สถานะทางเศรษฐกิจของชาวโบรกปาเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นแรงงานจ้าง การแบ่งงานโดยใช้เพศและอายุกลายเป็นเรื่องพ้นสมัย ชาวโบรกปามีคติผัวเดียวเมียเดียว เป็นครอบครัวเดี่ยว และได้รับการศึกษา โดยพัฒนาสู่การเป็นลูกจ้างในเศรษฐกิจทางทหารและการขนส่งสัมภาระ แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ซับซ้อนของลาดักในภาวะทันสมัย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ST-14 Scheduled Tribe Population By Religious Community". Census of India. Ministry of Home Affairs, India. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  2. "Brokskat". Ethnologue. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  3. "Bhasin, Veena: Social Change, Religion and Medicine among Brokpas of Ladakh, Ethno-Med., 2(2): 77-102 (2008)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  4. Bhan, Mona. "Becoming Brogpa". Counterinsurgency, Democracy and the Politics of Identity in India. Routledge South Asia Series.