เอิตซี
เอิตซี | |
---|---|
เกิด | ป. 3345 ปีก่อนค.ศ. ใกล้กับหมู่บ้านFeldthurns (Velturno), ทางเหนือของโบลซาโน, ประเทศอิตาลี |
เสียชีวิต | ป. 3300 ปีก่อนค.ศ. (อายุประมาณ 45 ปี) Ötztal Alps, ใกล้กับ Hauslabjoch บนชายแดนออสเตรียกับอิตาลี |
ชื่ออื่น | Ötzi the Iceman Similaun Man Man from Hauslabjoch Hauslabjoch mummy Frozen Man Frozen Fritz[1][2] |
มีชื่อเสียงจาก | มัมมีชาวยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในยุคทองแดง |
ส่วนสูง | 1.6 m (5 ft 3 in) |
เว็บไซต์ | South Tyrol Museum of Archaeology |
เอิตซี (เยอรมัน: Ötzi) เป็นมัมมี่ธรรมชาติที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ของชายซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 5,300 ปีมาแล้ว[3] ร่างดังกล่าวได้รับการค้นพบโดยนักปีนเขาชาวเยอรมันสองคนในธารน้ำแข็งชนัลสตัล, เอิตซทัลแอลป์ ใกล้กับเฮาสลับยอค บนพรมแดนระหว่างประเทศออสเตรีย และประเทศอิตาลี[4][5] เอิตซีเป็นมัมมีมนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และได้ให้ภาพใหม่เกี่ยวกับชาวยุโรปในยุคสำริด
ได้มีกรณีพิพาททางการทูตเล็กน้อยระหว่างออสเตรียและอิตาลีว่าประเทศใดจะเป็นเจ้าของร่างดังกล่าว ปัจจุบัน ร่างของเขาและทรัพย์สินถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีเซาท์ไทรอลในบอลซาโนในไทรอลใต้
นอกจากนี้ ยังมีการต่อสู้ทางกฎหมายยืดเยื้อยาวนานโดยผู้ค้นพบ เฮลมุทและเอริกา ไซมอน สำหรับรางวัลตอบแทนที่เหมาะสม หลังจากคำพิพากษาหลายศาล รัฐบาลท้องถิ่นตกลงที่จะจ่ายเงิน 150,000 ยูโร ให้กับเอริกา ไซมอน 17 ปีหลังจากที่ทั้งสองค้นพบร่าง และสามีของเธอได้เสียชีวิตไปแล้ว[6][7]
สาเหตุการเสียชีวิต
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2544 การตรวจสอบด้วยรังสีเอกซ์และซีทีสแกนพบว่า เอิตซีมีหัวธนูฝังอยู่ในหัวไหล่ซ้ายเมื่อเขาเสียชีวิต[8] และรอยฉีกขนาดเล็กที่เข้ากันบนเสื้อโค้ตของเขา[9] การค้นพบหัวธนูนำให้นักวิจัยคิดว่าเอิตซีเสียชีวิตเพราะเสียเลือดจากบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตแม้ว่าจะมีวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ก็ตาม
การวิจัยต่อไปค้นพบว่าด้ามธนูได้ถูกนำออกไปก่อนที่จะเสียชีวิต และการตรวจสอบร่างอย่างใกล้ชิดได้พบรอยฟกช้ำและรอยบาดบริเวณมือ ข้อมือและหน้าอก หนึ่งในรอยบาดนั้นอยู่ที่โคนนิ้วหัวแม่มือซึ่งลึกลงไปจนถึงกระดูกแต่ไม่มีเวลาที่จะรักษาก่อนหน้าเขาเสียชีวิต[10]
ในปัจจุบัน เป็นที่เชื่อกันว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการโจมตีเข้าที่ศีรษะ นักวิจัยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการสะดุดล้ม หรือจากการถูกตีด้วยก้อนหินจากคนอื่น[11]
รอยสัก
[แก้]เป็นที่ชัดเจนว่าเอิตซีมีรอยสักจำนวน 61 รอย[12] รอยสักเหล่านี้เป็นคาร์บอน (เขม่า) เหล่านี้เป็นกลุ่มของลายเส้นสั้นขนานตั้งตรงทั้งสองข้างของบั้นเอว เครื่องหมายรูปกากบาทหลังเข่าขวา และเครื่องหมายอีกจำนวนมากรอบข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งรอยสักเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการรักษาบำบัดความเจ็บปวดคล้ายกับการฝังเข็ม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง วิธีการเช่นนี้จะมีอายุอย่างน้อย 2,000 ปีก่อนหน้าการใช้การฝังเข็มที่เก่าแก่ที่สุดในจีน (ราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล) [13] และยังเป็นหลักฐานของรอยสักที่เก่าที่สุดของโลกขณะนี้[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Farid Chenoune (15 February 2005). Carried Away: All About Bags. Harry N. Abrams. ISBN 978-0-86565-158-6.
- ↑ Joachim Chwaszcza; Brian Bell (1 April 1993). Italian Alps, South Tyrol. Houghton Mifflin. ISBN 978-0-395-65772-0.
- ↑ Norman Hammond (21 February 2005), "Iceman was wearing 'earliest snowshoes'", The Times[ลิงก์เสีย]
- ↑ James Neill (last updated 27 October 2004), Otzi, the 5,300 year old Iceman from the Alps: pictures & information, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12, สืบค้นเมื่อ 8 March 2007
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ "The Discover of Ötzi". South Tyrol Museum of Archaeology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
- ↑ 'Iceman' row ends after 17 years, BBC News, 29 September 2008.
- ↑ Nick Squires (29 September 2008), "Oetzi The Iceman's discoverers finally compensated: A bitter dispute over the payment of a finder's fee for two hikers who discovered the world famous Oetzi The Iceman mummy has finally been settled", The Daily Telegraph.
- ↑ Stephanie Pain (26 July 2001), Arrow points to foul play in ancient iceman's death, New Scientist
- ↑ James M. Deem (updated 3 January 2008), Ötzi: Iceman of the Alps: scientific studies, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-17, สืบค้นเมื่อ 6 January 2008
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ Alok Jha (7 June 2007), "Iceman bled to death, scientists say", The Guardian.
- ↑ Rory Carroll (21 March 2002), "How Oetzi the Iceman was stabbed in the back and lost his fight for life", The Guardian.
- ↑ 12.0 12.1 Marilyn Scallan, "Ancient ink: Iceman Otzi has the world's oldest tattoos" Smithsonian. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธุ์ 2564.
- ↑ Dorfer, L (September 1999), "A medical report from the stone age?" (PDF), The Lancet, 354: 1023–1025, doi:10.1016/S0140-6736 (98) 12242-0, PMID 10501382, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-09-22, สืบค้นเมื่อ 25 September 2010.
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)