iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามในอัฟกานิสถาน_(พ.ศ._2544–พ.ศ._2564)
สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2564) - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2564)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอัฟกานิสถาน
ส่วนหนึ่งของ สงครามในอัฟกานิสถานและสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
จากซ้ายบนไปขวา: เครื่องบินรบของสหรัฐทิ้งระเบิดใส่ถ้ำในอัฟกานิสถานตะวันออก, ทหารสหรัฐสู้รบกับกลุ่มตอลิบาน, ทหารชาวอัฟกันสังเกตการณ์หุบเขา, รถของกลุ่มตอลิบานในเมืองคาบูล, ทหารอัฟกันยืนอยู่บนรถฮัมวี่, ทหารอังกฤษขึ้นเฮลิคอปเตอร์ซีเอช-47 ชีนุก, ทหารอเมริกันเคลื่อนพลท่ามกลางหิมะตก
วันที่7 ตุลาคม ค.ศ. 2001 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 2021 (19 ปี 10 เดือน 3 สัปดาห์ และ 2 วัน)
ระยะแรก: 7 ตุลาคม ค.ศ. 2001 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 2014
ระยะสอง: 1 มกราคม ค.ศ. 2015 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 2021[2][3]
สถานที่
สถานะ

ฝ่ายตอลิบันได้รับชัยชนะ

  • การโค่นล้มกลุ่มตอลิบานที่ปกครองเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2001
  • รัฐอิสลามเปลี่ยนผ่านอัฟกานิสถาน
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ค.ศ. 2004
  • พันธมิตรได้ล้มเหลวในการปราบปรามกลุ่มกบฏตอลิบาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2006
  • ความตกลงโดฮา ค.ศ. 2020
  • การถอนกองกำลังทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถาน
  • การบุกครองของตอลิบาน ค.ศ. 2021
คู่สงคราม

กำลังผสม:

 อัฟกานิสถาน


การรุกราน ค.ศ. 2001:

กลุ่มก่อความไม่สงบ:

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อุซามะฮ์ บิน ลาดิน  

อัฟกานิสถาน มุฮัมมัด โอมาร์ (เสียชีวิต, ไม่ได้ร่วมรบ)
กำลัง

NATO – ISAF: 130,386[1]
อัฟกานิสถาน กองทัพแห่งชาติอัฟกัน: 170,500 (2011)[4]
อัฟกานิสถาน ตำรวจแห่งชาติอัฟกัน: 135,500 (2011)[4]

รวม: 436,386 (2011)

อัฟกานิสถานฏอลิบาน: ~36,000[5]
อัลกออิดะฮ์: 20,000[6][7]
ฯลฯ

รวม: 80,000–100,000 (2553)

สงครามในอัฟกานิสถาน เป็นสงครามต่อเนื่อง ภายหลังจากการบุกครองอัฟกานิสถานของสหรัฐ[8] เมื่อสหรัฐและประเทศพันธมิตรได้ประสบความสำเร็จในการขับไล่กลุ่มตอลิบานจากอำนาจเพื่อปฏิเสธฐานทัพที่ปลอยภัยของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ในปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน[9][10] ภายหลังจากได้บรรลุเป้าหมายเบื้องต้นแล้ว ประเทศพันธมิตรกว่า 40 ประเทศ (รวมทั้งสมาชิกเนโททั้งหมด) ได้ก่อตั้งภารกิจด้านความมั่นคงขึ้นในประเทศซึ่งถูกเรียกว่า กองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติ (International Security Assistance Force, ISAF) ต่อมาถูกรับช่วงต่อโดยภารกิจสนับสนุนที่เด็ดเดี่ยว (Resolute Support Mission, RS) ในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งสมาชิกบางส่วนได้เข้าร่วมการสู้รบทางทหารร่วมกับรัฐบาลอัฟกานิสถาน[11] สงครามส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มกบฏตอลิบาน[12] ต่อสู้รบกับกองทัพอัฟกานิสถานและกองทัพประเทศพันธมิตร ทหารและบุคลากรของหน่วย ISAF/RS ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกัน[11] สงครามนี้มีชื่อรหัสนามที่ถูกตั้งขึ้นโดยสหรัฐคือ ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (ค.ศ. 2001-14) และปฏิบัติการเฝ้าระวังเสรีภาพ (ค.ศ. 2015-ปัจจุบัน)[13][14]

ภายหลังวินาศกรรม 11 กันยายน ใน ค.ศ. 2001 จอร์จ ดับเบิลยู. บุชได้เรียกร้องให้กลุ่มตอลิบาน ซึ่งเป็นผู้ปกครองอัฟกานิสถานโดยพฤตินัยให้ส่งตัวอุซามะฮ์ บิน ลาดิน[15] แต่กลุ่มตอลิบานได้ปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดน[16] จึงนำไปสู่ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน[17] กลุ่มตอลิบานและอัลกออิดะฮ์ซึ่งเป็นพันธมิตรส่วนใหญ่ได้พ่ายแพ้ในประเทศโดยกองทัพที่นำโดยสหรัฐและพันธมิตรฝ่ายเหนือ ซึ่งต่อสู้รบกับกลุ่มตอลิบานมาตั้งแต่ ค.ศ. 1996 ในการประชุมบอนน์ ผู้มีอำนาจชั่วคราวอัฟกันคนใหม่ (ส่วนใหญ่มาจากพันธมิตรฝ่ายเหนือ) ได้เลือกนายฮามิด การ์ไซ มาเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราวของอัฟกานิสถาน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งหน่วย ISAF เพื่อช่วยเหลือผู้มีอำนาจคนใหม่ในการรักษาความปลอดภัยในคาบูล นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการฟื้นฟูบุรณะประเทศ หลังจากการสิ้นสุดของระบอบการปกครองของกลุ่มตอลิบาน[18][19][20] ภายหลังความปราชัยในการรุกรานครั้งแรก กลุ่มตอลิบานได้ถูกจัดระเบียบขึ้นใหม่โดยผู้นำที่ชื่อ มุฮัมมัด อุมัร และเปิดฉากการก่อกบฎต่อต้านรัฐบาลอัฟกานิสถานใน ค.ศ. 2003[21][22] ฝ่ายกบฏจากกลุ่มตอลิบานและกลุ่มอื่น ๆ ต่างทำสงครามอสมมาตรด้วยการตีโฉบฉวยแบบกองโจรและการซุ่มโจมตีในชนบท การโจมตีแบบพลีชีพต่อเป้าหมายในเมือง และพวกเปลี่ยนข้าง (turncoat) ได้สังหารกองกำลังพันธมิตร กลุ่มตอลิบานได้ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อยืนยันใหม่ในอิทธิพลพื้นที่ชนบททางตอนใต้และตะวันออกของอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 กลุ่มตอลิบานได้รับชับชนะอย่างนัยสำคัญและแสดงความตั้งใจที่เพิ่มมากขึ้นด้วยการกระทำสังหารหมู่ต่อพลเรือนมากขึ้น หน่วย ISAF ได้ตอบโต้ด้วยการเพิ่มกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อ"เคลียร์และยึดที่มั่น"ในหมู่บ้าน[23][24] ความรุนแรงได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2009[25] จำนวนทหารได้เพิ่มขึ้นใน ค.ศ. 2009 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง ค.ศ. 2011 เมื่อกองกำลังต่างชาติจำนวนประมาณ 140,000 นาย ซึ่งปฏิบัติการภายใต้บัญชาการของหน่วย ISAF และสหรัฐในอัฟกานิสถาน[26] ผู้นำเนโทใน ค.ศ. 2012 ได้เริ่มต้นกลยุทธ์ทางออกสำหรับการถอนกำลังของพวกเขา[27] และต่อมาสหรัฐได้ประกาศว่า ปฏิบัติการรบที่สำคัญจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 โดยทิ้งกองกำลังที่เหลืออยู่ไว้ในประเทศ[28] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2014 เนโทได้ยุติปฏิบัติการรบของหน่วย ISAF อย่างเป็นทางการในอัฟกานิสถาน และโอนย้ายความรับผิดชอบด้านความมั่นคงทั้งหมดไปยังรัฐบาลอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ ปฏิบัติการสนับสนุนที่เด็ดเดี่ยวภายใต้การนำของเนโทซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในวันเดียวกันในฐานะหน่วยงานที่รับช่วงต่อจากหน่วย ISAF[29][30] เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 สหรัฐอเมริกาและกลุ่มตอลิบานได้ลงนามข้อตกลงสันติภาพแบบมีเงื่อนไขในโดฮา, กาตาร์[31] ซึ่งกำหนดให้กองทัพสหรัฐต้องถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานภายในเวลา 14 เดือน ตราบเท่าที่กลุ่มตอลิบานจะให้ความร่วมมือในเงื่อนไขของข้อตกลงนี้[32]

ตามโครงการ Costs of War ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 สงครามได้คร่าชีวิตผู้คนไป 171,000 ถึง 174,000 คนในอัฟกานิสถาน พลเรือนชาวอัฟกัน 47,245 คน ทหารและตำรวจชาวอัฟกัน 66,000 ถึง 69,000 นาย และนักรบฝ่ายต่อต้านจำนวนอย่างน้อย 51,000 คน จากโครงการระบุว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เกิดจากการต่อต้านตาลีบัน อย่างไรก็ตาม ยอดผู้เสียชีวิตอาจจะสูงขึ้น เนื่องจากการตายที่ไม่ได้ถูกนับโดย "โรคภัย การสูญเสียการเข้าถึงอาหาร น้ำ และโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือผลทางอ้อมอื่น ๆ ของสงคราม"[33] จากข้อมูลของสหประชาชาติ นับตั้งแต่การบุกครองในปี ค.ศ. 2001 อดีตผู้ลี้ภัยจำนวนมากกว่า 5.7 ล้านคนได้เดินทางกลับอัฟกานิสถาน[34] อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2021 ชาวอัฟกันจำนวน 2.6 ล้านคนยังคงเป็นผู้ลี้ภัยหรือหลบหนีไปแล้ว[35] ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถานหรืออิหร่าน และจำนวนชาวอัฟกันอีก 4 ล้านคนยังคงเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 อัฟกานิสถานได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพ การศึกษา และสิทธิสตรี[36][37]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "International Security Assistance Force (ISAF): Key Facts and Figures" (PDF). ISAF. July 6, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2012-01-06.
  2. Gibbons-Neff, Thomas; Katzenberg, Lauren (30 August 2021). "The U.S. military finishes its evacuation, and an era ends in Afghanistan". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
  3. Last troops exit Afghanistan, ending America's longest war
  4. 4.0 4.1 "Afghan National Security Forces (ANSF)" (PDF). NATO. March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 February 2012. สืบค้นเมื่อ 27 March 2012.
  5. "Major-General Richard Barrons puts Taleban fighter numbers at 36,000". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2011. สืบค้นเมื่อ 15 June 2010.
  6. Partlow, Joshua (November 11, 2009). "Moins de 50 combattants d'al-Qaida en Afghanistan". slate.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-02. สืบค้นเมื่อ July 1, 2010.
  7. Roberston, Nic., Cruickshank, Paul. al-Qaeda's training adapts to drone attacks. CNN. July 31, 2009.
  8. Peter Dahl Thruelsen, From Soldier to Civilian: DISARMAMENT DEMOBILISATION REINTEGRATION IN AFGHANISTAN, DIIS REPORT 2006:7 เก็บถาวร 2 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 12, supported by Uppsala Conflict Database Project, Uppsala University.
  9. Maloney, S (2005). Enduring the Freedom: A Rogue Historian in Afghanistan. Washington, D.C: Potomac Books Inc.
  10. Darlene Superville and Steven R. Hurst. "Updated: Obama speech balances Afghanistan troop buildup with exit pledge". cleveland.com. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014. and Arkedis, Jim (23 October 2009). "Why Al Qaeda Wants a Safe Haven". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
  11. 11.0 11.1 Xu, Ruike (5 January 2017). Alliance Persistence within the Anglo-American Special Relationship: The Post-Cold War Era. ISBN 9783319496191.
  12. "A Timeline of the U.S. War in Afghanistan". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2019. สืบค้นเมื่อ 5 March 2019.
  13. * "US War in Afghanistan: 1999–Present". Council on Foreign Relations. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.
  14. David P. Auerswald; Stephen M. Saideman (5 January 2014). NATO in Afghanistan: Fighting Together, Fighting Alone. Princeton University Press. pp. 87–88. ISBN 978-1-4008-4867-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2016. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  15. "Indictment #S(9) 98 Cr. 1023" เก็บถาวร 24 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF). United States District Court, Southern District of New York.
  16. "Bush rejects Taliban offer to hand Bin Laden over". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2013. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  17. "Operation Enduring Freedom". history.navy.mil (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  18. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  19. Karon, Tony (12 November 2001). "Can the Northern Alliance Control Kabul?". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  20. "Saira Shah: Pursuing Truth Behind Enemy Lines". 2 February 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  21. "The Taliban Resurgence in Afghanistan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2006.
  22. Rothstein, Hy S (15 August 2006). Afghanistan: and the troubled future of unconventional warfare By Hy S. Rothstein. ISBN 978-81-7049-306-8.
  23. "AIHRC Calls Civilian Deaths War Crime". Tolonews. 13 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2011.
  24. Starkey, Jerome (30 September 2010). "Karzai's Taliban talks raise spectre of civil war warns former spy chief". The Scotsman. Edinburgh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 February 2011.
  25. "Ten Stories the world should know more about, 2007". un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 June 2017.
  26. "International Security Assistance Force (ISAF): Key Facts and Figures" (PDF). nato.int. 4 March 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2017.
  27. "NATO to endorse Afghan exit plan, seeks routes out". Reuters. 21 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  28. DeYoung, Karen (27 May 2014). "Obama to leave 9,800 US troops in Afghanistan". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  29. "US formally ends the war in Afghanistan". No. online. CBA News. Associated Press. 28 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 28 December 2014.
  30. Sune Engel Rasmussen in Kabul (28 December 2014). "Nato ends combat operations in Afghanistan". The Guardian. Kabul. The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ peace-deal-Feb29
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ proposedwithdrawal
  33. "Human and Budgetary Costs to Date of the U.S. War in Afghanistan, 2001-2021 | Figures | Costs of War". The Costs of War (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
  34. Afghan Refugees, Costs of War, "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2013. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์), 2012
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbc2021
  36. "Counting the costs of America's 20-year war in Afghanistan". AP NEWS. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 6 May 2021.
  37. Jazeera, Al. "Afghanistan: Visualising the impact of 20 years of war". interactive.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]