ราชวงศ์โจฬะ
ราชวงศ์โจฬะ சோழர் குலம் | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
300 ก.ค.ศ.–ค.ศ. 1279 | |||||||
ธงชาติ | |||||||
จักรวรรดิโจฬะในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดราว ค.ศ. 1050) | |||||||
เมืองหลวง | โจฬะตอนต้น: Poompuhar, Urayur, โจฬะตอนกลาง: Pazhaiyaarai, Thanjavur Gangaikonda Cholapuram | ||||||
ภาษาทั่วไป | ทมิฬ | ||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู | ||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||
กษัตริย์ | |||||||
• ค.ศ. 848-871 | วิชัยลยะโจฬะ | ||||||
• ค.ศ. 1246-1279 | ราเชนทระโจฬะที่ 3 | ||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||
• ก่อตั้ง | 300 ก.ค.ศ. | ||||||
• การเรืองอำนาจของโจฬะ | 848 ก.ค.ศ. | ||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 1279 | ||||||
|
ราชวงศ์โจฬะ (อังกฤษ: Chola Dynasty, ทมิฬ: சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่น ๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง
ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[1] ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชีย[2][3] ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศ[4] พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์[3] ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย [5][6]
ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจ[7]
สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด[3] พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วย[8][9] และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5
- ↑ Kulke and Rothermund, p 115
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Keay, p 215
- ↑ Majumdar, p 407
- ↑ The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220
- ↑ Meyer, p 73
- ↑ K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192
- ↑ Vasudevan, pp 20-22
- ↑ Keay, pp 217-218
ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- จักรวรรดิโจฬะ
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศกัมพูชา
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศอินเดีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศปากีสถาน
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศศรีลังกา
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศพม่า
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศเวียดนาม
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศไทย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศอินโดนีเซีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศมาเลเซีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
- สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 13