รัฐยะโฮร์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
รัฐยะโฮร์ Negeri Johor | |
---|---|
เนอเกอรีโจโฮร์ดารุลตักซิม Negeri Johor Darul Ta‘zim นครยะโฮร์อันเป็นที่สถิตแห่งเกียรติยศ | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Johor (รูมี) جوهر (ยาวี) |
• จีน | 柔佛 |
• ทมืฬ | ஜொகூர் |
คำขวัญ: | |
เพลง: ลากูบังซาโจโฮร์ ("เพลงประจำรัฐยะโฮร์") | |
พิกัด: 1°59′27″N 103°28′58″E / 1.99083°N 103.48278°E | |
เมืองหลวง | โจโฮร์บะฮ์รู[ก] |
เมืองเจ้าผู้ครอง | มัวร์ |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• สุลต่าน | สุลต่านอิบราฮิม อิซมาอิล |
• ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | ตุนกู อิซมาอิล อิบนี ซุลตัน อิบราฮิม |
• มุขมนตรี | ซะฮ์รุดดิน จามัล (PH-BERSATU) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 19,166 ตร.กม. (7,400 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2017)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,700,000 (อันดับที่ 3) คน |
• ความหนาแน่น | 174 คน/ตร.กม. (450 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากรศาสตร์ (2010)[3] | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | |
• ภาษาย่อย | |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017) | 0.816 (สูง) (อันดับที่ 6)[4] |
• อัตราเจริญพันธุ์รวม (2017) | 2.1[2] |
• ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2016) | 116,682 ล้านริงกิต[2] |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย[5]) |
รหัสไปรษณีย์ | 79xxx[6] ถึง 86xxx,[7] 73400 |
รหัสโทรศัพท์ | 07[ข] 06 (มัวร์และตังกัก)[8] |
รหัส ISO 3166 | MY-01, 21–24[9] |
ทะเบียนพาหนะ | J[10] |
รัฐสุลต่านยะโฮร์ | ค.ศ. 1528 |
สนธิสัญญาอังกฤษ-ยะโฮร์ | ค.ศ. 1885 |
ธรรมนูญรัฐยะโฮร์ | 14 เมษายน ค.ศ. 1895 |
ดินแดนในอารักขาสหราชอาณาจักร | ค.ศ. 1914 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | 31 มกราคม ค.ศ. 1942 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย | 16 กันยายน ค.ศ. 1963 |
เว็บไซต์ | www |
^[ก] โกตาอิซกันดาร์เป็นศูนย์กลางการบริหารแห่งหนึ่งของรัฐ ^[ข] ยกเว้นมัวร์และตังกัก |
ยะโฮร์[11] หรือ โจโฮร์[11] (มลายู: Johor, جوهر) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ กับ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองโจโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตักซิม ซึ่งแปลว่า "ที่สถิตแห่งเกียรติยศ"
รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจซีโจรี (SIJORI Growth Triangle) เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชื่อ ยะโฮร์ มาจากคำภาษาอาหรับว่า เญาฮัร (جَوْهَر) ซึ่งแปลว่าอัญมณี (แต่ภาษาไทยโบราณ เรียกว่า "ยี่หน") รัฐแห่งนี้สถาปนาขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 (กลางพุทธศตวรรษที่ 21) โดยราชบุตรของสุลต่านมะฮ์มุด ชะฮ์ (Sultan Mahmud Shah) หลังจากที่ทรงหลบหนีการโจมตีของพวกโปรตุเกสที่เมืองมะละกา ซึ่งต่อมาเมืองยะโฮร์ ได้ขยายอำนาจขึ้นเป็นอาณาจักรยะโฮร์ และมีอำนาจปกครองข้ามไปถึงหมู่เกาะเรียว (Riau) เลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าภายหลังอาณาจักรยะโฮร์พยายามทำสงครามกับพวกโปรตุเกสเพื่อยึดเมืองมะละกากลับคืน โดยตลอดระยะเวลา 130 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถยึดกลับคืนมาได้ ดังนั้น ยะโฮร์จึงเปรียบได้กับหอกข้างแคร่ที่คอยขัดขวางการควบคุมช่องแคบมะละกาของโปรตุเกสอย่างเบ็ดเสร็จ
ประวัติศาสตร์ของยะโฮร์ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 23) จะเป็นในลักษณะของการดำเนินนโยบายการต่างประเทศกับรัฐพันธมิตรอื่น ๆ ที่เป็นเครือญาติกัน รวมไปถึงการติดต่อกับชาวตะวันตก ทั้งนี้ก็เพื่อการดำรงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในช่องแคบมะละกา อาณาจักรยะโฮร์ จะต้องทำสงครามยืดเยื้อหลายหนกับอาเจะฮ์ที่อยู่ทางตอนเหนือของสุมาตรากับรัฐมะละกาของพวกโปรตุเกส ทั้งนี้ก็เพื่อแย่งชิงอำนาจในการควบคุมเส้นทางการค้าที่ช่องแคบมะละกา โดยมีพันธมิตรร่วมสงครามที่สำคัญคือรัฐมลายูอื่น ๆ และชาวดัตช์
ในปี ค.ศ. 1641 (พ.ศ. 2184) ยะโฮร์ได้ร่วมมือกับพวกดัตช์ เข้าทำสงครามกับรัฐมะละกาของโปรตุเกส และสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1660 (พ.ศ. 2203) เป็นต้นมา ยะโฮร์ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของภูมิภาค ถึงแม้ว่าในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 (กลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23) ยะโฮร์ได้เริ่มเสื่อมอำนาจและมีรัฐแยกตัวออกไปบ้างก็ตาม
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ราวพุทธศตวรรษที่ 24) ชาวเผ่าบูกิส (Bugis) จากเกาะซูลาเวซี และชาวเผ่ามีนังกาเบา (Minangkabau) จากเกาะสุมาตรา ได้เข้าควบคุมอำนาจในจักรวรรดิยะโฮร์-เรียว แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นคริสตศตรรษที่ 19 (กลางพุทธศตวรรษที่ 24) ชาวมลายูกับชาวบูกิส แข่งขันกันมีอำนาจในบริเวณนี้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1819 (พ.ศ. 2362) จักรวรรดิยะโฮร์-เรียว ได้แยกออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรยะโฮร์ ซึ่งปกครองโดยชาวเตอเมิงกง (Temenggong) และรัฐสุลต่านเรียว-ลิงกี (Sultanate of Riau-Linggi) ซึ่งปกครองโดยชาวบูกิส และจุดนี้เองที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์รัฐยะโฮร์ปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1855 (พ.ศ. 2397) ภายใต้สนธิสัญญาที่ทำกันระหว่างอังกฤษซึ่งขณะนั้นปกครองสิงคโปร์อยู่ กับสุลต่านอาลีแห่งยะโฮร์ ทำให้พระองค์ทรงต้องยอมยกอำนาจการปกครองรัฐให้แก่ ดาโตะก์ เตอเมิงกง ดาอิง อิบราฮิม (Dato' Temenggong Daing Ibrahim) ยกเว้นพื้นที่เกอซัง (Kesang area) หรือมัวร์ (Muar) ซึ่งในที่สุดก็ได้ตกเป็นของเตอเมิงกง อิบราฮิม ในปี ค.ศ. 1877 (พ.ศ. 2420) เตอเมิงกง อิบราฮิม ได้สถาปนาเมืองบันดาร์ตันจุงปูเตอรี (Bandar Tanjung Puteri) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ขึ้นเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของรัฐ และปัจจุบันนี้ได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ผู้สืบราชบัลลังก์องค์ต่อมาคือราชบุตรของพระองค์ชื่อ ดาโตะก์ เตอเมิงกง อาบู บาการ์ (Dato' Temenggong Abu Bakar) หรือศรีมหาราชายะโฮร์ (Seri Maharaja Johor) และต่อมาในปี ค.ศ. 1866 (พ.ศ. 2409) พระองค์ก็ได้รับสถาปนาเป็นสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
สุลต่านอาบู บาการ์ แห่งรัฐยะโฮร์ (ค.ศ. 1864–1895 หรือ พ.ศ. 2407–2438) ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่รัฐยะโฮร์ และทรงปฏิรูประบบการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระราชวังประจำองค์สุลต่าน ซึ่งมีชื่อว่า อิซตานาเบอซาร์ (Istana Besar) เนื่องจากพระองค์ทรงทำให้รัฐมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก พระองค์จึงทรงพระนามอีกพระนามหนึ่งว่า "พระบิดาแห่งรัฐยะโฮร์ใหม่" และมีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นที่ริมฝั่งทะเล ตรงข้ามกับศาลยุติธรรม เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อรัฐ
ความต้องการพริกไทยดำ กับสีเสียดที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราวพุทธศตวรรษที่ 24) ทำให้มีการเปิดพื้นที่ทำเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุให้มีแรงงานจีนอพยพเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นรากฐานเศรษฐกิจของรัฐยะโฮร์เลยทีเดียว และในปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ภายใต้ระบบผู้สำเร็จราชการของอังกฤษ ทำให้สุลต่านอิบราฮิม ผู้ครองราชบัลลังก์ต่อจากสุลต่านอาบู บาการ์ ทรงต้องจำใจยอมรับนาย ดี. จึ. แคมป์เบลล์ (D. G. Campbell) เข้าเป็นที่ปรึกษาราชการ นับเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ได้เป็นที่ปรึกษาราชการของรัฐยะโฮร์ จึงทำให้ยะโฮร์กลายเป็นดินแดนแห่งสุดท้ายในแหลมมลายู (หรือมาเลเซียแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน) ที่ถูกปกครองภายใต้อาณัติของอังกฤษ
โจโฮร์บะฮ์รูเป็นเมืองสุดท้ายบนแหลมมลายูที่ถูกชาวญี่ปุ่นเข้ายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นในปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) รัฐยะโฮร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ "สหพันธรัฐมาลายา" ซึ่งต่อมาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Maklumat Kenegaraan (Negeri Johor Darul Ta'zim)" [Statehood Information (State of Johor Darul Ta'zim)] (ภาษามาเลย์). Ministry of Communications and Multimedia (Malaysia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Johor @ a Glance". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
- ↑ "Total population by ethnic group, administrative district and state, Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
- ↑ "Subnational Human Development Index (2.1) [Johor – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
- ↑ Helmer Aslaksen (28 June 2012). "Time Zones in Malaysia". Department of Mathematics, Faculty of Science, National University of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2016. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Postal codes in Johor". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Postal codes in Kluang". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "Area codes in Johor". cybo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ "State Code". Malaysian National Registration Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2017. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ Teh Wei Soon (23 March 2015). "Some Little Known Facts On Malaysian Vehicle Registration Plates". Malaysian Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
- ↑ 11.0 11.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Johor @ Talk Malaysia เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Malaysia Travel Guide: Johor เก็บถาวร 2005-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Johor Empire
- Mersing Marine Park เก็บถาวร 2005-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Johor Marine Park
- Endau Rompin national Park
- Johor National Parks Corporation
- Johor Wetlandsin Wetlands International เก็บถาวร 2005-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- RAMSAR Sites in Johor
- Map of Johor เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน