iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบดาวเคราะห์
ระบบดาวเคราะห์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ระบบดาวเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดโดยศิลปินแสดงภาพของระบบดาวเคราะห์
ระบบสุริยะของเรา เปรียบเทียบกับระบบดาวเคราะห์ของ 55 Cancri

ระบบดาวเคราะห์ (อังกฤษ: Planetary system) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์ดังกล่าวมีเทหะวัตถุหลายชนิดโคจรรอบ เช่น ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย สะเก็ดดาว ดาวหาง และฝุ่นคอสมิก[1][2]

ระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ ถือเป็นระบบดาวเคราะห์เช่นกัน[3][4] ณ 1 พฤศจิกายน 2020 มีระบบดาวเคราะห์ที่ถูกยืนยันแล้วจำนวน 3,230 ระบบ ในจำนวนนี้ 715 ระบบมีดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง[5]

รายชื่อระบบดาวเคราะห์

[แก้]
  • ระบบสุริยะดวงอาทิตย์ กับระบบดาวเคราะห์ของมัน เป็นระบบแรกที่มีการค้นพบ
  • PSR B1257+12 – ระบบดาวเคราะห์ภายนอกแห่งแรกที่มีการค้นพบ และเป็นการค้นพบดาวเคราะห์พัลซาร์ครั้งแรก ทั้งยังเป็นระบบดาวเคราะห์แบบหลายระบบด้วย
  • Upsilon Andromedae – ระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวเคราะห์หลายดวง เป็นแห่งแรกที่ค้นพบซึ่งมีดาวฤกษ์แม่อยู่บนแถบลำดับหลัก
  • PSR B1620-26 – ระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวฤกษ์หลายดวงในระบบแห่งแรกที่ค้นพบ
  • 55 Cancri – ระบบดาวเคราะห์ภายนอกขนาดใหญ่ที่สุด (มีดาวเคราะห์อย่างน้อย 5 ดวง ตามข้อมูลเมื่อ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007)[6]
  • Gliese 876 – ระบบดาวเคราะห์แห่งแรกที่พบโคจรรอบดาวแคระแดง และเป็นระบบแรกที่พบมีการสั่นพ้องของวงโคจร
  • HD 69830 – พบว่ามีดาวเคราะห์ที่มีมวลขนาด 3 เท่าของดาวเนปจูน และมีแถบดาวเคราะห์น้อย ทั้งหมดอยู่ในรัศมี 1 หน่วยดาราศาสตร์[7][8]
  • 2M1207 – ระบบดาวเคราะห์แห่งแรกที่ถ่ายภาพไว้ได้ และเป็นระบบที่มีดาวแคระน้ำตาลกับดาวเคราะห์ 1 ดวง[9]
  • Gliese 581 - ระบบดาวเคราะห์ภายนอกแห่งแรกที่พบว่ามีดาวเคราะห์อยู่ในย่านกำเนิดชีวิต คือดาวเคราะห์ (Gliese 581 c)[10]
  • Mu Arae - ระบบที่มีดาวเคราะห์ดวงในที่สุดคล้าย "ดาวเนปจูนร้อนจัด"
  • HD 188753 - ระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวฤกษ์เป็น ระบบดาวสามดวง
  • HD 37124
  • HD 12661
  • HD 73526
  • 47 Ursae Majoris
  • Epsilon Eridani
  • 14 Herculis
  • UX Tau A

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. p. 394, The Universal Book of Astronomy, from the Andromeda Galaxy to the Zone of Avoidance, David J. Dsrling, Hoboken, New Jersey: Wiley, 2004. ISBN 0471265691.
  2. p. 314, Collins Dictionary of Astronomy, Valerie Illingworth, London: Collins, 2000. ISBN 0-00-710297-6.
  3. p. 382, Collins Dictionary of Astronomy.
  4. p. 420, A Dictionary of Astronomy, Ian Ridpath, Oxford, New York: Oxford University Press, 2003. ISBN 0-19-860513-7.
  5. Schneider, J. "Interactive Extra-solar Planets Catalog". The Extrasolar Planets Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ แม่แบบ:Extrasolar planet counts/numbers. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Wired News (2002-06-13). "Found: Solar System Like Our Own".
  7. Whitney Clavin (2005-04-20). "NASA's Spitzer Telescope Sees Signs of Alien Asteroid Belt". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-05.
  8. Christophe Lovis; Michel Mayor (2006-05-18). "Trio of Neptunes and their Belt". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-02-05. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Robert Roy Britt (2004-09-10). "Likely First Photo of Planet Beyond the Solar System".
  10. David Perlman (2007-04-24). "New planet found: It might hold life". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.