มาตราโบฟอร์ต
มาตรวัดโบฟอร์ต (อังกฤษ: The Beaufort Scale) เป็นมาตรวัดที่เกิดจากการสังเกตและการทดลองเกี่ยวข้องกับความเร็วลมและสภาพของลมที่สังเกตได้ในทะเลและบนบก มาตรานี้มักใช้สำหรับคาดคะเนความเร็วลม สำหรับใช้ในการเดินเรือใบ[1] โดยถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1805 โดยนักอุทกศาสตร์ชาวไอริชชื่อ ฟรานซิส โบฟอร์ต (ต่อมาเป็นพลเรือตรี เซอร์ ฟรานซิส โบฟอร์ต) เจ้าหน้าที่กองทัพเรือในขณะนั้น มาตราโบฟอร์ตนั้นมีการพัฒนาที่ซับซ้อนและยาวนาน โดยผนวกกับข้อมูลก่อนหน้าของคนอื่น ๆ (รวมถึง แดเนียล เดโฟ ในศตวรรษก่อน) จนเมื่อโบฟอร์ตรับหน้าที่เป็นนักอุทกศาสตร์ของกองทัพเรือในคริสต์ทศวรรษ 1930 และได้คิดค้นขึ้นมา ต่อมาได้ใช้อย่างเป็นทางการโดยกัปตัน โรเบิร์ต ฟิตซ์รอย และได้จัดตั้งสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งแรก (Met Office) ในสหราชอาณาจักรเพื่อให้การพยากรณ์อากาศในปี ค.ศ. 1854[2]
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นายทหารเรือที่ทำการสังเกตสภาพอากาศ แต่ก็ไม่มีมาตราเป็นมาตรฐานและดังนั้นพวกเขาจะตัดสินใจจากความคิดของเขาเอง - "ลมแรง" ของชายคนหนึ่งอาจเป็น "ลมอ่อน" ของผู้อื่น ดังนั้นโบฟอร์ตจึงประสบความสำเร็จในการสร้างมาตรฐานให้กับการวัดความเร็วลมของคนทั่วโลก
ตารางเทียบ
[แก้]หมายเลข | คำอธิบาย | ความเร็วลม | ความสูงของคลื่น | สภาพคลื่นทะเล | สภาพบนบก | ภาพถ่ายทางทะเล | ธง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0 | ทะเลราบ | น้อยกว่า 1 นอต | 0 เมตร | ทะเลราบ – คล้ายกระจก | ควันลอยขึ้นในแนวดิ่ง | ||
1 | ทะเลสงบ | 1 – 3 นอต (เฉลี่ย 2 นอต) | ประมาณ 0 - 0.1 เมตร | มีลมพัดให้เป็นคลื่นพริ้วเล็ก ๆ แต่ยังไม่เป็นลูกระลอก | ควันสามารถแสดงทิศ แต่กังหันลมไม่หมุน | ||
2 | ทะเลเรียบ | 4 – 6 นอต (เฉลี่ย 5 นอต) | ประมาณ 0.1 - 0.5 เมตร | คลื่นเป็นลูกระลอกสั้น ๆ แต่ชัดเจน ยอดระลอกเป็นมันอย่างกระจก แต่ยังไม่เกิดฟอง | รับรู้ถึงลมได้, ใบไม้ส่งเสียงกรอบแกรบเมื่อถูกพัด, กังหันลมถูกลมพัด | ||
3 | ทะเลเรียบ | 7 – 10 นอต (เฉลี่ย 9 นอต) | ประมาณ 0.1 -0.5 เมตร | ระลอกคลื่นใหญ่ขึ้น ยอดระลอกเริ่มจะแตก แต่ส่วนมากยังเป็นกระจก มีแตกเป็นฟองขาวเล็กน้อย | ใบไม้และกิ่งเล็ก ๆ เริ่มเคลื่อนไหว | ||
4 | คลื่นเล็กน้อย | 11 – 16 นอต (เฉลี่ย 13 นอต) | ประมาณ 0.5 - 1.25 เมตร | คลื่นขนาดเล็ก เป็นลูกยาวขึ้นและแตกเป็นฟองขาวบ่อยขึ้น | พัดฝุ่นและกระดาษได้ กิ่งไม้ขนาดเล็กเคลื่อนไหว | ||
5 | คลื่นปานกลาง | 17 – 21 นอต (เฉลี่ย 18 นอต) | ประมาณ 1.25 - 2.5 เมตร | ลื่นปานกลาง เป็นลูกยาวชัดเจน แตกเป็นฟองขาวมากขึ้น (อาจมีฝอยได้บ้าง) | ใบไม้บนต้นไม้เริ่มสั่นไหว | ||
6 | คลื่นจัด | 22 – 27 นอต (เฉลี่ย 24 นอต) | ประมาณ 2.5 -4.0 เมตร | เริ่มมีคลื่นใหญ่ ยอดคลื่นแตกเป็นฟองขาวจำนวนมาก (บางทีมีฝอยกระจายไปตามลม) | กิ่งไม้ขนาดใหญ่สั่นไหว, สายไฟแกว่งเสียดสีกัน | ||
7 | คลื่นจัดมาก | 28 – 33 นอต (เฉลี่ย 30 นอต) | ประมาณ 4.0 - 6.0 เมตร | คลื่นสูงขึ้น ฟองขาวจากยอดคลื่นเริ่มปลิวเป็นสายไปตามลมบ้าง | ส่วนของต้นไม้มีการไหวตามลายลม และรู้สึกลำบากเมื่อเดินสวนกับลม | ||
8 | คลื่นใหญ่ | 34 – 40 นอต (เฉลี่ย 37 นอต) | ประมาณ 6.0 - 9.0 เมตร | คลื่นสูงใหญ่ปานกลางเป็นแนวยาว ยอดคลื่นเริ่มม้วนตัว มีฟองขาวปลิวเป็นสายไปตามลมชัดเจน | กิ่งไม้หัก | ||
9 | คลื่นใหญ่ | 41 – 47 นอต (เฉลี่ย 44 นอต) | ประมาณ 6.0 - 9.0 เมตร | คลื่นสูงใหญ่ มีฟองหนาปลิวเป็นสายไปตามทางลม ยอดคลื่นเริ่มม้วนตัว ฝอยน้ำอาจทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี | เกิดความเสียหายของโครงสร้างเล็กน้อย | ||
10 | คลื่นใหญ่มาก | 48 – 55 นอต (เฉลี่ย 52 นอต) | ประมาณ 9.0 - 14 เมตร | คลื่นสูงใหญ่มากกับมียอดคลื่นเป็นแนวยาว มีฟองแตกขาวเป็นสายยาวปลิวไปตามลม ท้องทะเลเป็นฟองขาวไปทั่ว มีทัศนวิสัยไม่ดี | ต้นไม้ถอนรากถอนโคน ความเสียหายของโครงสร้างอย่างมาก | ||
11 | ทะเลเป็นบ้า | 56 – 63 นอต (เฉลี่ย 60 นอต) | มากกว่า 14 เมตร | คลื่นสูงใหญ่ ไม่ควรนำเรือขนาดเล็กและขนาดกลางมาเพราะอาจจมหายไปในร่องคลื่น ทะเลมีฟองขาวเป็นสายยาวไปตามลม ยอดคลื่นถูกลมตีเป็นฟองไปทั่ว | ความเสียหายอย่างกว้างขวาง | ||
12 | ทะเลเป็นบ้า | 64 – 71 นอต (เฉลี่ย 68 นอต) | มากกว่า 14 เมตร | มีฟองและฝอยน้ำคลุ้งในอากาศไปทั่ว ทะเลเป็นสีขาวเนื่องจากมีฝอยน้ำแทบทุกบริเวณ | การทำลายล้าง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สี่แคว, Tum Sikwae : ตุ้ม (วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557). "Tum Sikwae ตุ้ม สี่แคว: วิธีบอกความเร็วลม ความใหญ่ของคลื่น โดยการใช้สายตาเป็นตัววัด ตาม มาตราโบฟอร์ต". Tum Sikwae ตุ้ม สี่แคว.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-02-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Beaufort Wind Scale". www.spc.noaa.gov.
- ↑ "ภาพแสดงลักษณะทะเล". www.marine.tmd.go.th.