iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/พิจิตร_กุลละวณิชย์
พิจิตร กุลละวณิชย์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

พิจิตร กุลละวณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิจิตร กุลละวณิชย์
พิจิตร กุลละวณิชย์ (คนขวา) ในปี 2559
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529
ก่อนหน้าพัฒน์ อุไรเลิศ
ถัดไปวัฒนชัย วุฒิศิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสอรุณี กุลละวณิชย์ (หย่า)
คุณหญิงวิมล กุลละวณิชย์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) นายกสภาวิทยาลัยสันตพล[1] อดีตองคมนตรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีศักดิ์เป็นน้าของชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ. พิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา) เป็นบุตรคนโตในจำนวน 7 คนของจวน กุลละวณิชย์ ที่เป็นลูกของ นายปลื้ม กุลละวณิชย์ และเป็นหลานลุงของ พล.ต.อ. พิชัย กุลละวณิชย์

การศึกษา

[แก้]

เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 2

ขณะที่เรียนอยู่ปีที่ 2 นั้นมีผลการเรียนดีเด่นมาก จึงถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์เท่อปีที่ พ.ศ. 2501 จากนั้นศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารราบกองทัพบกสหรัฐฯ ค่ายเบนนิ่ง รัฐจอร์เจียในหลักสูตรผู้บังคับหมวด, หลักสูตรจู่โจม และหลักสูตรพลร่ม ระหว่าง พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2505 ศึกษาหลักสูตร ผู้บังคับกองพัน ที่ค่ายเบนนิ่ง และในปี พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2509 เข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

หลังจบการศึกษาก็ได้เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นครูอยู่แผนกวิชาการรบพิเศษและส่งทางอากาศ โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ จังหวัดลพบุรี ทำหน้าที่ฝึกสอนนายทหารและนายสิบในหลักสูตรจู่โจมและโดดร่มหลายรุ่น ในการสอนนักเรียนจู่โจม ระหว่างการฝึกเข้าตี แทงดาบ หรือ เลิกแถว จะกำหนดให้นักเรียนทหาร ร้องคำว่า "เอีย" เป็นสัญลักษณ์การคำรามของเสือก่อนการจู่โจม ทำให้ได้รับสมญานามว่า "เสือใหญ่" เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของหน่วยจู่โจม มาตั้งแต่นั้น จึงทำให้ในปัจจุบัน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกชื่อเขาเล่น ๆ ว่า "บิ๊กเสือ"

หลังจบการศึกษาที่ค่ายเบนนิ่ง แล้วกลับมาเป็นนายทหารยุทธการและการฝึกของกองพันทางอากาศที่ 1 (ปัจจุบันคือกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์) ซึ่งเป็นกองพันส่งทางอากาศกองพันแรกของกองทัพบกซึ่งอยู่ที่ลพบุรี

หลังจบโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่งเป็นหัวหน้ายุทธการและการฝึกศูนย์สงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี จากนั้นได้เดินทางไปราชการสงครามในสงครามเวียดนาม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองผู้บังคับการหัวหน้ายุทธการในเวียดนามใต้ (ปฏิบัติการร่วมกับ พ.ท. ชวลิต ยงใจยุทธ (ยศในขณะนั้น)) จากนั้นไปปฏิบัติราชการพิเศษในพระราชอาณาจักรลาว ตำแหน่งรองผู้บังคับการหน่วยรบพิเศษเฉพาะกิจราทิกุลอยู่ 1 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2515 และเป็นผู้บังคับการหน่วยเดียวกันนี้จนถึงปี พ.ศ. 2517 หลังจากกลับจากราชการพิเศษ ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองยุทธการ กรมยุทธการทหารบก

ในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยา พล.อ. พิจิตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ในยศ"พลโท" เป็นผู้ประสานจัดเครื่องบินให้แก่ พล.ต. มนูญ รูปขจร แกนนำก่อการกบฏ เพื่อเดินทางออกนอกประเทศ[2]

หลังเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[3]

เข็มแถบจู่โจม กองทัพบกสหรัฐ

ราชการพิเศษ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2511 - เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับ วี
    • พ.ศ. 2511 - เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส
    • พ.ศ. 2511 - เมอริโทเรียส ยูนิท คอมมันเดเชิน (ทหารบก)
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2511 - แกลแลนทรี่ครอส ยูนิท ไซเทเชิน
    • พ.ศ. 2511 - เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2529 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 2[13]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ. พิจิตร เคยสมรสกับอรุณี กุลละวณิชย์ มีบุตร 3 คน คนแรกคือ

  1. พิเชฏฐ์ กุลละวณิชย์ ซึ่งภายหลังได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าบุตรชายคนดังกล่าวได้ตัดขาดจากตน[14] แต่พิเชฏฐ์ออกมาปฏิเสธ[15]
  2. พิชาญ กุลละวณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า[16]
  3. อัญชนา กุลละวณิชย์

ต่อมาสมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิงวิมล กุลละวณิชย์ ไม่มีบุตรด้วยกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
  2. "เอกยุทธ อัญชันบุตร รำลึกรัฐประหาร 9 กันยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอน ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๓ ง หน้า ๓๕๕๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 103 ตอนที่ 100 ฉบับพิเศษ หน้า 8, 11 มิถุนายน 2529
  14. "เปิดประวัติครอบครัว "บิ๊กเสือ" - พิจิตร กุลละวณิชย์ หลังถูกลูกชายร้องเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2015-06-24.
  15. "บิ๊กเสือ"โผล่ที่พัทยา โต้ป่วย! ยันยังฟิต - พิเชฏฐ์ ลั่นไม่เคยคิดหวังทรัพย์สมบัติ[ลิงก์เสีย]
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ในวโรกาสวันพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓)