iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศอิหร่านในโอลิมปิก
ประเทศอิหร่านในโอลิมปิก - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอิหร่านในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศอิหร่าน ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1900 อิหร่านได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1980 และ 1984 เนื่องจากการคว่ำบาตรทางการเมือง อิหร่านยังได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวหลายครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956

อิหร่านได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 18 ครั้งแล้ว อิหร่านเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 9 ครั้งและได้รับ 4 เหรียญทองก่อนการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1979 อิหร่านยังเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อน 9 ครั้งและได้รับเหรียญทอง 20 เหรียญหลังการปฏิวัติ

เฟรย์ดูน มัลคอม นักฟันดาบที่เข้าร่วมการแข่งขันเอเป้ในโอลิมปิกฤดูร้อนปี ค.ศ. 1900 เป็นผู้แข่งขันกีฬาโอลิมปิกชาวอิหร่านคนแรก นักกีฬาชาวอิหร่านได้รับรางวัลทั้งหมด 76 เหรียญ ทั้งหมดคือกีฬามวยปล้ำ ยกน้ำหนัก เทควันโด กรีฑา ยิงปืน และคาราเต้ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติของอิหร่านก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1947

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

โอลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]
ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
ฝรั่งเศส ปารีส 1900 1 0 0 0 0
สหรัฐ เซนต์หลุยส์ 1904 ไม่ได้เข้าร่วม
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 1908
สวีเดน สต็อกโฮล์ม 1912
เบลเยียม แอนต์เวิร์ป 1920
ฝรั่งเศส ปารีส 1924
เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม 1928
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 1932
เยอรมนี เบอร์ลิน 1936
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 1948 36 0 0 1 1 34
ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 1952 22 0 3 4 7 30
ออสเตรเลีย เมลเบิร์น 1956 17 2 2 1 5 14
อิตาลี โรม 1960 25 0 1 3 4 27
ญี่ปุ่น โตเกียว 1964 63 0 0 2 2 34
เม็กซิโก เม็กซิโกซิตี 1968 14 2 1 2 5 19
เยอรมนีตะวันตก มิวนิก 1972 50 0 2 1 3 28
แคนาดา มอนทรีอัล 1976 86 0 1 1 2 33
สหภาพโซเวียต มอสโก 1980 ไม่ได้เข้าร่วม
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 1984
เกาหลีใต้ โซล 1988 27 0 1 0 1 36
สเปน บาร์เซโลนา 1992 40 0 1 2 3 44
สหรัฐ แอตแลนตา 1996 18 1 1 1 3 43
ออสเตรเลีย ซิดนีย์ 2000 35 3 0 1 4 27
กรีซ เอเธนส์ 2004 38 2 2 2 6 29
จีน ปักกิ่ง 2008 55 1 0 1 2 52
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 2012 53 7 5 1 13 12
บราซิล รีโอเดจาเนโร 2016 63 3 1 4 8 24
ญี่ปุ่น โตเกียว 2020 65 3 2 2 7 27
ฝรั่งเศส ปารีส 2024 อนาคต
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 2028
ออสเตรเลีย บริสเบน 2032
รวม 24 23 29 76 40

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]