บทจดหมายของเปาโล
36 | (ค.ศ. 31–36: การกลับใจของเปาโล) |
---|---|
37 | |
38 | |
39 | |
40 | |
41 | |
42 | |
43 | |
44 | |
45 | |
46 | |
47 | |
48 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย |
49 | |
50 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 1 |
51 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 2 |
52 | |
53 | |
54 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 |
55 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 |
56 | |
57 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม |
58 | |
59 | |
60 | |
61 | |
62 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวฟีลิปปี |
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน | |
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี | |
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส | |
63 | |
64 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 |
65 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 2 |
66 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิตัส |
67 | (ค.ศ. 64–67: การเสียชีวิตของเปาโล) |
บทจดหมายของเปาโล (อังกฤษ: Pauline epistles, Epistles of Paul หรือ Letters of Paul) เป็นหนังสือ 13 เล่มในภาคพันธสัญญาใหม่ที่เชื่อว่าเขียนโดยเปาโลอัครทูต แม้ว่าบางเล่มเป็นที่ถกเถียงในเรื่องตัวตนของผู้เขียน บทจดหมายเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารศาสนาคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่ บทจดหมายให้ข้อเชิงลึกเกี่ยวกับความเชื่อและข้อโต้แย้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก บทจดหมายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในสารบบของพันธสัญญาใหม่ และเป็นตำราพื้นฐานสำหรับทั้งเทววิทยาและจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าแท้จริงแล้วเปาโลเขียนบทจดหมาย 7 เล่มจากทั้งหมด 13 เล่ม (กาลาเทีย, โรม, 1 โครินธ์, 2 โครินธ์, ฟีเลโมน, ฟีลิปปี, 1 เธสะโลนิกา) มีบทจดหมาย 3 เล่มที่เขียนในนามเปาโลซึ่งมักถูกมองว่าเป็นงานเขียนปลอมแปลง (1 ทิโมธี, 2 ทิโมธี, ทิตัส)[1] ยังมีการถกเถียงอย่างกว้างขวางในเรื่องว่าเปาโลเขียนบทจดหมายอื่นอีก 3 เล่ม (2 เธสะโลนิกา, เอเฟซัส และโคโลสี) ในนามของตนหรือไม่[1] นักวิชาการบางคนระบุว่าเปาโลเขียนจดหมายซึ่งเป็นที่สงสัยเหล่านี้ด้วยความช่วยเหลือของเลขานุการ[2] ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อรูปแบบการเขียน ไม่ใช่ต่อเนื้อหาทางเทววิทยา จดหมายถึงชาวฮีบรูแม้ไม่ได้ระบุชื่อของเปาโล แต่ตามธรรมเนียมถือว่าเป็นงานเขียนของเปาโล (แม้ว่ามุขมณฑลโรมแสดงความสงสัยถึงตัวตนของผู้เขียน) แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ความเห็นก็โน้มไปทางในที่ไม่เชื่อว่าเปาโลเป็นผู้เขียน และปัจจุบันมีนักวิชาเพียงไม่กี่คนที่ระบุว่าบทจดหมายนี้เป็นงานเขียนของเปาโล สาเหตุเป็นเพราะว่าจดหมายถึงชาวฮีบรูมีรูปแบบและเนื้อหาที่ไม่เหมือนบทจดหมายอื่น ๆ ของเปาโล และเพราะบทจดหมายถึงชาวฮีบรูไม่ได้ระบุว่าเปาโลเป็นผู้เขียนต่างจากบทจดหมายอื่น ๆ[3]
นักวิชาการส่วนหนึ่งแย้งว่าจากรายละเอียดในชีวประวัติของเปาโล เปาโลน่าจะประสบปัญหาทางร่างกายบางอย่าง เช่น สูญเสียการมองเห็นหรือมือได้รับบาดเจ็บ และเปาโลระบุอย่างชัดเจนในบทจดหมายหลายเล่มว่าตนใช้เลขานุการในการเขียนบทจดหมาย (บางบทจดหมายบอกกระทั่งชื่อของเลขานุการผู้เขียน) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในโลกยุคกรีก-โรมัน จึงอาจจะอธิบายประเด็นของบทจดหมายบางเล่มที่ดูเหมือนไม่ใช่ของเปาโลได้[4][5][6][7]
บทจดหมายของเปาโลมักถูกวางไว้ระหว่างกิจการของอัครทูตและบทจดหมายคาทอลิก (หรือเรียกว่าบทจดหมายทั่วไป) ในคัมภีร์ไบเบิลยุคปัจจุบัน สำเนาต้นฉบับภาษากรีกส่วนใหญ่วางบทจดหมายทั่วไปไว้ก่อน[8] และสำเนาต้นฉบับอักษร Minuscule จำนวนหนึ่ง (Minuscule 175, 325, 336 และ 1424) ที่วางบทจดหมายของเปาโลไว้ท้ายสุดของพันธสัญญาใหม่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 New Testament Letter Structure, from Catholic Resources by Felix Just, S.J.
- ↑ Richards, E. Randolph. Paul and First-Century Letter Writing: Secretaries, Composition and Collection. Downers Grove, IL; Leicester, England: InterVarsity Press; Apollos, 2004. [ต้องการเลขหน้า]
- ↑ The New Jerome Biblical Commentary, publ. Geoffrey Chapman, 1989, chapter 60, at p. 920, col. 2 "That Paul is neither directly nor indirectly the author is now the view of scholars almost without exception. For details, see Kümmel, I[ntroduction to the] N[ew] T[estament, Nashville, 1975] 392–94, 401–03"
- ↑ Moss, Candida R (29 April 2023). "The Secretary: Enslaved Workers, Stenography, and the Production of Early Christian Literature". The Journal of Theological Studies. 74 (1): 20–56. doi:10.1093/jts/flad001.
- ↑ Blumell, Lincoln H. (2006). "Scribes and Ancient Letters Implications for the Pauline Epistles". Brigham Young University. How the New Testament Came to Be: The Thirty-fifth Annual Sidney B. Sperry Symposium, ed. p. 208-226.
- ↑ Marshall, Dr Taylor (30 January 2015). "The Secretaries of Peter, Paul and John". Taylor Marshall.
- ↑ Richards, E. Randolph (1991). The Secretary in the Letters of Paul. Mohr Siebeck. ISBN 3161455754.
- ↑ Metzger, Bruce M. (1987). The Canon of the New Testament: Its Origin, Development, and Significance (PDF). pp. 295–96. ISBN 0198261802. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-01.
บรรณานุกรม
[แก้]- Aland Kurt. "The Problem of Anonymity and Pseudonymity in Christian Literature of the First Two Centuries." Journal of Theological Studies 12 (1961): 39–49.
- Bahr, Gordon J. "Paul and Letter Writing in the First Century." Catholic Biblical Quarterly 28 (1966): 465–477. idem, "The Subscriptions in the Pauline Letters." Journal of Biblical Literature 2 (1968): 27–41.
- Bauckham, Richard J. "Pseudo-Apostolic Letters." Journal of Biblical Literature 107 (1988): 469–494.
- Carson, D.A. "Pseudonymity and Pseudepigraphy." Dictionary of New Testament Background. Eds. Craig A. Evans and Stanley E. Porter. Downers Grove: InterVarsity, 2000. 857–864.
- Cousar, Charles B. The Letters of Paul. Interpreting Biblical Texts. Nashville: Abingdon, 1996.
- Deissmann, G. Adolf. Bible Studies. Trans. Alexander Grieve. 1901. Peabody: Hendrickson, 1988.
- Doty, William G. Letters in Primitive Christianity. Guides to Biblical Scholarship. New Testament. Ed. Dan O. Via, Jr. Philadelphia: Fortress, 1988.
- Gamble, Harry Y. "Amanuensis." Anchor Bible Dictionary. Vol. 1. Ed. David Noel Freedman. New York: Doubleday, 1992.
- Haines-Eitzen, Kim. "'Girls Trained in Beautiful Writing': Female Scribes in Roman Antiquity and Early Christianity." Journal of Early Christian Studies 6.4 (1998): 629–646.
- Hart, David Bentley. "The New Testament." New Haven and London: Yale University Press: 2017. 570–574.
- Kim, Yung Suk. A Theological Introduction to Paul's Letters. Eugene, Oregon: Cascade Books, 2011.
- Longenecker, Richard N. "Ancient Amanuenses and the Pauline Epistles." New Dimensions in New Testament Study. Eds. Richard N. Longenecker and Merrill C. Tenney. Grand Rapids: Zondervan, 1974. 281–297. idem, "On the Form, Function, and Authority of the New Testament Letters." Scripture and Truth. Eds. D.A. Carson and John D. Woodbridge. Grand Rapids: Zondervan, 1983. 101–114.
- Murphy-O'Connor, Jerome. Paul the Letter-Writer: His World, His Options, His Skills. Collegeville, MN: Liturgical, 1995.
- Richards, E. Randolph. The Secretary in the Letters of Paul. Tübingen: Mohr, 1991. idem, "The Codex and the Early Collection of Paul's Letters." Bulletin for Bulletin Research 8 (1998): 151–66. idem, Paul and First-Century Letter Writing: Secretaries, Composition, and Collection. Downers Grove: InterVarsity, 2004.
- Robson, E. Iliff. "Composition and Dictation in New Testament Books." Journal of Theological Studies 18 (1917): 288–301.
- Slaten, Arthur Wakefield (1918) "Qualitative nouns in the Pauline epistles and their translation in the revised version". Chicago, Illonis: The University of Chicago Press. OCLC 1051723498
- Stowers, Stanley K. Letter Writing in Greco-Roman Antiquity. Library of Early Christianity. Vol. 8. Ed. Wayne A. Meeks. Philadelphia: Westminster, 1989.
- Wall, Robert W. "Introduction to Epistolary Literature." New Interpreter's Bible. Vol. 10. Ed. Leander E. Keck. Nashville: Abingdon, 2002. 369–391.