iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวคาซัค
ชาวคาซัค - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ชาวคาซัค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวคาซัค
қазақтар
qazaqtar
قازاقتار
ชาวคาซัคในชุดพื้นเมือง
ประชากรทั้งหมด
ป. 16 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 คาซัคสถาน13,012,645[1]
 จีน1,562,518[2]
 อุซเบกิสถาน803,400[3]
 รัสเซีย647,732[4]
 มองโกเลีย102,526[5]
 คีร์กีซสถาน33,200[6]
 สหรัฐ24,636[7]
 ตุรกี10,000[8]
 แคนาดา9,600[9]
 อิหร่าน3,000–15,000[10][11]
 เช็กเกีย5,639[12]
 ยูเครน5,526[13]
 สหราชอาณาจักร5,432[14]
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์5,000[15]
 อิตาลี1,924[16]
 ออสเตรเลีย2,310[17]
 ออสเตรีย1,685[18]
 เบลารุส1,355[19]
 เยอรมนี1,000[20]
 โปรตุเกส633[21]
 อัฟกานิสถาน200[22]
 ฟิลิปปินส์178–215[23]
ภาษา
คาซัค, รัสเซีย[24]
ศาสนา
ส่วนใหญ่อิสลามนิกายซุนนี[25]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
คีร์กีซ, Nogai และชาวการากัลปัก

ชาวคาซัค หรือ ชาวคาซัก (คาซัค: қазақтар / qazaqtar) เป็นกลุ่มชนเติร์กที่อาศัยอยู่ในเอเชียกลางถึงยุโรปตะวันออก ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศคาซัคสถาน แต่ก็มีส่วนหนึ่งอยู่ทางเหนือของอุซเบกิสถาน ภูมิภาคชายแดนของประเทศรัสเซีย และในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (โดยเฉพาะจังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี) และมองโกเลียตะวันตก (จังหวัดบายัน-เอิลกี) ชาวถือกำเนิดจากการรวมตัวของชาวเติร์กสมัยกลางกับชนเผ่ามองโกล[26][27][28][29]

ความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์คาซัคกำเนิดขึ้นในยุคกลาง และชัดเจนมากขึ้นในสมัยรัฐข่านคาซัคระหว่าง ค.ศ. 1456 - 1465 (หลังการล่มสลายของโกลเดนฮอร์ด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บางเผ่าชนที่อยู่ใต้การปกครองของสุลต่านซานิเบกและเกเรย์ แยกตัวออกจากจักรวรรดิข่านแห่งอบูล-ไคร์ ข่าน

ศัพท์ คาซัค ใช้เรียกผู้ที่มีชาติพันธุ์คาซัค ส่วนศัพท์ คาซัคสตานี ส่วนใหญ่ใช้เรียกผู้อยู่อาศัยหรือพลเมืองคาซัคสถานทุกคน โดยไม่คำนึงถึงกลุ่มชาติพันธุ์[30][31]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
คนขี่ม้าจากเอเชียกลางเชื้อชาติคาซัค พิพิธภัณฑ์รัสเซียแห่งชาติพันธุ์วรรณนา ค.ศ. 1910

ชาวคาซัคอาจเริ่มใช้ชื่อชาติพันธุ์ตนเองตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15[32] หลายทฤษฎีได้อธิบายที่มาของคำว่า "คาซัค" บางทฤษฎีมีสมมุติฐานว่าคำนี้มาจากรูปกริยาภาษาเตอร์กิกว่า qaz ("ร่อนเร่, พเนจร, นักรบ, เสรี, อิสระ") หรือมาจากศัพท์เตอร์กิกดั้งเดิมว่า *khasaq (เกวียนใช้โดยชาวคาซัคเพื่อขนย้ายเยิร์ตและข้าวของของตน)[33][34]

อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่าชื่อของกลุ่มชนนี้ (Kazakh, เดิมเขียน Qazaq) มาจากศัพท์ภาษาเตอร์กิกโบราณว่า qazğaq ซึ่งมีการใช้เป็นครั้งแรกบนอนุสาวรีย์ของชาวเติร์กในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ของอูยุก-ทูรัน[35] ส่วนทฤษฎีโดย วาซิลี รัดลอฟ นักภาษาศาสตร์ด้านกลุ่มชนเติร์ก และเวเนียมิน ยูดิน นักบูรพาวิทยา เสนอว่า คำว่า qazğaq ซึ่งเป็นคำนาม มีรากเดียวกับคำว่า qazğan ("รับ", "ได้") ดังนั้น คำว่า qazğaq มีนิยามว่า บุคคลแบบหนึ่งที่หาผลประโยชน์และกำไร[36]

ประวัติ

[แก้]

คำว่า "คาซัค" มีการใช้แบบทั่วไปในเอเชียกลางสมัยยุคกลาง โดยทั่วไปใช้เพื่อกล่าวถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับอิสรภาพจากผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครอง ตีมูร์ ผู้พิชิตชาวเติร์ก-มองโกล ก็เคยกล่าวว่า การที่เขาตอนยังเป็นหนุ่มไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจโดยตรงของใคร คือ Qazaqliq ("ความเป็นกาซักหรือคาซัค")[37] ในช่วงการพิชิตดินแดนเอเชียกลางโดยชนร่อนเร่ชาวอุซเบก จักรพรรดิอบูล-ไคร์คาน ผู้ครองจักรวรรดิข่านอุซเบก ได้มีความขัดแย้งกับ กิเรย์และจานิเบก ข่าน ผู้เป็นเสนาของจักรพรรดิเจงกีส ข่านและผู้สืบเชื้อสายของอุรุส ข่าน

ความขัดแย้งนี้อาจเกิดขึ้นจากความพ่ายแพ้แบบย่อยยับของจักรพรรดิอบูล-ไคร์คานโดยพวกกัลมัก[38] ทำให้กิเรย์ จานิเบกและชนเร่รอนกลุ่มใหญ่อพยพไปบริเวณเจติซู/เซมิเรชเย ซึ่งติดกับชายแดนโมกูลิสถาน และไปสร้างทุ่งหญ้าเป็นที่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ โดยอาศัยบารมีของจักรพรรดิเอเซน บูกา ผู้เป็นจักรพรรดิที่นั่นและผู้สืบเชื้อสายของเจงกีส ข่าน โดยพระองค์มีความประสงค์ให้ทุ่งหญ้าของผู้ย้ายถิ่นมาใหม่นี้ เป็นพื้นที่กันชนเพื่อป้องกันการขยายตัวของชาวโอยรัต[39] ไม่มีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่าเหตุใดชาวคาซัครุ่นหลังจึงใช้คำว่า "คาซัค" เป็นชื่อชาติพันธุ์ตนเองอย่างถาวร แต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นแหล่งอ้างอิงเดียวที่ตรวจสอบได้ในประวัติศาสตร์ ในเอกสารต่าง ๆ กลุ่มชนที่ปกครองโดยกิเรย์และจานิเบก มักถูกเรียกว่า กาซัก (Qazak) และกาซัก-อุซเบก (Uzbek-Qazak) (หมายถึงชาวอุซเบกที่ไม่ได้ปกครองโดยจักรพรรดิข่านอุซเบก) เดิมทีชาวรัสเซียเรียกชาวคาซัคว่า "กีร์กีซ" (Kirgiz) และภายหลังเรียกว่า "กีร์กีซ-ไกซัก" (Kirghiz-Kaisak) เพื่อไม่ให้สับสนกับชาวคีร์กีซ

สัญนิยมของรัสเซียในศตวรรษที่ 17 แนะนำว่า เพื่อไม่ให้สับสนระหว่างชาวกาซักแห่งทุ่งหญ้ากว้างใหญ่กับคอสแซคของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย พยัญชนะท้ายคำของคำว่า Qazak ควรใช้เป็น "kh" แทน "q" หรือ "k" การสะกดแบบนี้ได้เป็นการสะกดอย่างทางการในสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1936[40]

  • Kazakh  (คาซัค / กาซัก) – Казах
  • Cossack  (คอสแซค) – Казак

คำว่า "คอสแซค" ในภาษายูเครนอาจมีจากรากศัพท์เดียวกับคำว่า "กิปชัก" (Kypchak) ซึ่งแปลว่า "ผู้ร่อนเร่" หรือ "ผู้ปล้นคนเดินทาง"[41][42]

ประวัติศาสตร์มุขปาฐะ

[แก้]

เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีวีถีชีวิตแบบชนร่อนเร่ ชาวคาซัคคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์มุขปาฐะแบบมหากาพย์ที่สืบมาหลายศตวรรษ โดยทั่วไปจะถ่ายทอดในรูปแบบของเพลง (kyi) และบทกวี (zhyr) ซึ่งมักจะบอกเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษของชาติคาซัคสถาน[43]

ประเพณีมุขปาฐะคาซัคถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ในการโฆษณาชวนเชื่อมานานแล้ว Abai Qunanbaiuly นักกวีชาวคาซัคผู้มีอิทธิพลอย่างมาก มองสิ่งนี้เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการถ่ายทอดแนวคิดสนับสนุนการทำให้เป็นตะวันตกแก่เพื่อนร่วมงานของเขา ประเพณีมุขปาฐะคาซัคยังทับซ้อนกับความเป็นชาตินิยมทางชาติพันธุ์ และไเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของการให้เอกราชนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต[43][44][45]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Агентство Республики Казахстан по статистике. Этнодемографический сборник Республики Казахстан 2014". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2014.
  2. "Main Data of the Seventh National Population Census". Stats.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
  3. "DEMOGRAPHIC SITUATION IN THE REPUBLIC OF UZBEKISTAN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2018.
  4. "Russia National Census 2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2012.
  5. Mongolia National Census 2010 Provision Results. National Statistical Office of Mongolia เก็บถาวร 15 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Mongolian.)
  6. In 2009 National Statistical Committee of Kyrgyzstan. National Census 2009 เก็บถาวร 8 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "Place of birth for the foreign-born population in the United States, Universe: Foreign-born population excluding population born at sea, 2014 American Community Survey 5-Year Estimates". United States Census Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2020. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  8. "Казахское общество Турции готово стать объединительным мостом в крепнущей дружбе двух братских народов – лидер общины Камиль Джезер". 26 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  9. "2011 National Household Survey: Data tables". 8 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  10. "Казахи "ядерного" Ирана". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  11. ""Казахи доказали, что являются неотъемлемой частью иранского общества и могут служить одним из мостов, связующих две страны" – представитель диаспоры Тойжан Бабык". 20 March 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  12. "Population data". czso.cz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  13. Ukrainian population census 2001 [ลิงก์เสีย]: Distribution of population by nationality. Retrieved 23 April 2009
  14. "Main Language in England & Wales by Proficiency in English 2011". Office for National Statistics. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  15. "UAE´s population – by nationality". BQ Magazine. 12 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2015. สืบค้นเมื่อ 12 July 2015.
  16. "Cittadini Kazaki in Italia Dati Istat al 2022". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 4 April 2023.
  17. "Kazakhstan country brief". Department of Foreign Affairs and Trade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
  18. "Bevölkerung nach Staatsangehörigkeit und Geburtsland". Statistik Austria. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2015. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  19. population census 2009 เก็บถาวร 18 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: National composition of the population.
  20. "Kasachische Diaspora in Deutschland. Botschaft der Republik Kasachstan in der Bundesrepublik Deutschland" (ภาษาเยอรมัน). botschaft-kaz.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2016.
  21. "Sefstat".[ลิงก์เสีย]
  22. Лаханұлы, Нұртай (10 September 2021). "Ауғанстанда қанша қазақ тұрады?". Азаттық Радиосы. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  23. "how many kazakhs live in philippines?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2022. สืบค้นเมื่อ 27 January 2022.
  24. [1]
  25. "Chapter 1: Religious Affiliation". The World’s Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 August 2012. Retrieved 4 September 2013
  26. Lee, Joo-Yup (2018). "Some remarks on the Turkicisation of the Mongols in post-Mongol Central Asia and the Qipchaq Steppe".
  27. "The medieval Mongolian roots of Y-chromosomal lineages from South Kazakhstan". 2020.
  28. "The Genetic Origin of the Turko-Mongols and Review of The Genetic Legacy of the Mongols". academia.edu.
  29. "The Kazakhstan DNA projecthits first hundred Y-profilesfor ethnic Kazakhs". academia.edu.
  30. Kolsto, Pal (January 1998). "Anticipating Demographic Superiority: Kazakh Thinking on Integration and Nation". Europe-Asia Studies. 50 (1): 51–69. doi:10.1080/09668139808412523. hdl:10852/25215. JSTOR 153405. PMID 12348666. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021 – โดยทาง JSTOR.
  31. Buri, Tabea (2016). "Urbanisation and Changing Kazakh Ethnic Subjectivities in Gansu, China". Inner Asia. 18 (1): 79–96 (87). doi:10.1163/22105018-12340054. JSTOR 44645086. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021 – โดยทาง JSTOR.
  32. Barthold, V. V. (1962). Four Studies on the History of Central Asia. Vol. &thinsp, 3. แปลโดย V. & T. Minorsky. Leiden: Brill Publishers. p. 129.
  33. Olcott, Martha Brill (1995). The Kazakhs. Hoover Press. p. 4. ISBN 978-0-8179-9351-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 7 April 2009.
  34. Caroe, Olaf (1953). Soviet Empire : the Turks of Central Asia and Stalinism. Macmillan. p. 38. OCLC 862273470.
  35. Уюк-Туран [Uyuk-Turan] (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2006.
  36. Yudin, Veniamin P. (2001). Центральная Азия в 14–18 веках глазами востоковеда [Central Asia in the eyes of 14th–18th century Orientalists]. Almaty: Dajk-Press. ISBN 978-9965-441-39-4.
  37. Subtelny, Maria Eva (1988). "Centralizing Reform and Its Opponents in the Late Timurid Period". Iranian Studies. Taylor & Francis, on behalf of the International Society of Iranian Studies. 21 (1/2: Soviet and North American Studies on Central Asia): 123–151. doi:10.1080/00210868808701712. JSTOR 4310597.
  38. Bregel, Yuri (1982). "Abu'l-Kayr Khan". Encyclopædia Iranica. Vol. 1. Routledge & Kegan Paul. pp. 331–332. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.
  39. Barthold, V. V. (1962). "History of the Semirechyé". Four Studies on the History of Central Asia. Vol. &thinsp, 1. แปลโดย V. & T. Minorsky. Leiden: Brill Publishers. pp. 137–65.
  40. Постановление ЦИК и СНК КазАССР № 133 от 5 February 1936 о русском произношении и письменном обозначении слова «казак»
  41. "Cossack". Online Etymology Dictionary. Etymonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  42. "Cossack | Russian and Ukrainian people". Encyclopædia Britannica. 28 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2015.
  43. 43.0 43.1 Dubuisson, Eva Marie (28 July 2017). Living Language in Kazakhstan: The Dialogic Emergence of an Ancestral Worldview (ภาษาอังกฤษ). University of Pittsburgh Press. p. 181. ISBN 978-0-8229-8283-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 13 February 2023.
  44. Breed, Ananda; Dubuisson, Eva-Marie; Iğmen, Ali (24 November 2020). Creating Culture in (Post) Socialist Central Asia (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. p. 145. ISBN 978-3-030-58685-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2023. สืบค้นเมื่อ 13 February 2023.
  45. Kudaibergenova, Diana T. (3 February 2017). Rewriting the Nation in Modern Kazakh Literature: Elites and Narratives (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. p. 210. ISBN 978-1-4985-2830-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2023. สืบค้นเมื่อ 13 February 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]