iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: https://th.wikipedia.org/wiki/ชัดรัค_เมชาค_และอาเบดเนโก
ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก
ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์
เตาที่ไฟลุกอยู่ (ค.ศ. 1266) โดย Toros Roslin.
สามชายหนุ่มศักดิ์สิทธิ์
นับถือ ในศาสนายูดาห์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
สักการสถานหลักสุสานดาเนียล เมืองซูซา
วันฉลอง16 ธันวาคม (โรมันคาทอลิก)
17 ธันวาคม (ไบแซนไทน์)
วันอังคารหลังวันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลเพนเทคอสต์ (อาร์มีเนีย)
24 มกราคม (โมซารับ)[1]
สัญลักษณ์ชายสามคนในเตาที่ไฟลุกอยู่
Franz Joseph Hermann, "เตาที่ไฟลุกอยู่; จากหนังสือดาเนียล, 3"; St. Pankratius, Wiggensbach, ประเทศเยอรมนี กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ (ซ้าย) ทอดพระเนตรชายหนุ่มสามคนและทูตสวรรค์ในเตา (ขวา) โดยมีปฏิมากรขนาดใหญ่ของกษัตริย์อยู่ด้านหลัง (ตรงกลาง)

ชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโก (อังกฤษ: Shadrach, Meshach, and Abednego) ชื่อฮีบรูคือ ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์ (อังกฤษ: Hananiah, Mishael, and Azariah) เป็นตัวละครจากบทที่ 3 ของหนังสือดาเนียลในคัมภีร์ไบเบิล ในเรื่องเล่า ทั้งสามเป็นเด็กหนุ่มชาวยิวที่ถูกจับโยนเข้าเตาที่ไฟลุกอยู่โดยรับสั่งของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 กษัตริย์แห่งบาบิโลน ในข้อหาที่ทั้งสามปฏิเสธที่จะนมัสการต่อปฏิมากรของกษัตริย์ ทั้งสามได้รับการปกป้องจากอันตรายในเตา และกษัตริย์ก็ทรงเห็นชายสี่คนเดินอยู่ในกองไฟ "คนที่สี่นั้นดูเหมือนองค์เทพบุตร" ทั้งสามถูกกล่าวถึงครั้งแรกในดาเนียล 1 เมื่อทั้งสามถูกพาตัวไปยังบาบิโลนพร้อมกับดาเนียลเพื่อศึกษาภาษาเคลเดียและวรรณคดีเคลเดีย เพื่อจะให้มารับใช้ในราชสำนักของกษัตริย์ และชื่อในภาษาฮีบรูของถูกสามถูกเปลี่ยนเป็นชื่อในภาษาเคลเดียหรือภาษาของชาวบาบิโลน[2]

หกบทแรกของหนังสือดาเนียลเป็นเรื่องราวที่มีการเล่าในช่วงปลายสมัยเปอร์เซีย/ต้นสมัยเฮลเลนิสต์ และการทีดาเนียลไม่ปรากฏในเรื่องราวของสามเด็กหนุ่มฮีบรูในเตาที่มีไฟลุกนั้น คาดว่าเดิมทีเรื่องราวนี้กับเรื่องราวของดาเนียลอาจเป็นเรื่องราวที่เป็นอิสระต่อกัน[3] เรื่องราวนี้คู่กับเรื่องราวของดาเนียลในถ้ำสิงโตบ่งชี้ว่าพระเจ้าของชาวยิวจะทรงช่วยเหลือผู้ที่สัตย์ซื่อต่อพระองค์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Calendarium Hispano".
  2. Levine 2010, p. 1239-1241.
  3. Levine 2010, p. 1233, 1239 footnote 3.1–7.
  4. Seow 2003, p. 87.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]