กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก
หน้าตา
กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก | |
---|---|
ภูมิภาค: | เอเชียตะวันตกเฉียงใต้, เอเชียกลาง, คอเคซัส และเอเชียใต้ฝั่งตะวันตก |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | อินโด-ยูโรเปียน
|
กลุ่มย่อย: |
|
กลอตโตลอก: | west2794[1] |
กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิหร่าน แบ่งได้อีกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือและกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้
กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ
[แก้]มีผู้พูด 40 - 50 ล้านคนในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แบ่งได้เป็น 9 กลุ่ม ภาษายุคโบราณของกลุ่มนี้คือภาษาเมเดีย ภาษาในยุคกลางคือภาษาพาร์เทียน
- กลุ่มบาโลชิ ประกอบด้วย ภาษาบาโลชิ ซึ่งมีสำเนียงเหนือ ใต้ และตะวันออก ภาษาบัสการ์ดี ภาษาโกโรชิ
- กลุ่มคัสเปียน ประกอบด้วย ภาษาคิเลกิ ภาษามาซันดารานี
- กลุ่มอิหร่านกลาง ประกอบด้วย ภาษาอัสเตียนี ภาษาดารี
- กลุ่มเคิร์ด ประกอบด้วยภาษาเคิร์ด สำเนียงเหนือ ใต้
- กลุ่มโอร์มูรี-ปาราชี ประกอบด้วย ภาษาโอร์มูรี ภาษาปาราชี
- กลุ่มเซมนานี ประกอบด้วยภาษาซังกิซารี กลุ่มภาษาเซมนานี
- ภาษาคาลาซ
- กลุ่มตาติก ประกอบด้วย ภาษาอัลวิรี-วิดารี ภาษาเอสเตรฮันดี ภาษาโกซาร์คานี ภาษาฮาร์ซานี ภาษากาบาเตย ภาษากาบาลี ภาษาตาเลียซ ภาษาตาโรมีบน
- กลุ่มซาซา-โกรานี ประกอบด้วย สำเนียงบาเยลานี สำเนียงคิมลี สำเนียงโกรานี เป็นต้น
ภาษาที่จัดจำแนกไม่ได้คือภาษาลากี ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาลูรีในกลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้กับภาษาเคิร์ดในกลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ
กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้
[แก้]ประกอบด้วยภาษาที่ใกล้เคียงกัน 16 ภาษา และสำเนียงต่างๆ แบ่งย่อยได้เป็น
- สำเนียงลูรี ได้แก่ ภาษาลูรี ภาษากุมากรี
- ภาษาเปอร์เซีย สำเนียงต่างๆ ได้แก่ ภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียกลาง ภาษาเปอร์เซียมาตรฐาน สำเนียงอิหร่านสมัยใหม่ ภาษาดารีเปอร์เซีย สำเนียงทาจิกิ ภาษาอายมัก ภาษาบูโครี ภาษาดัรวาซี ภาษาเดห์วารี ภาษาเปอร์เซียซิดี ภาษาฮาซารากี ภาษายิวซิราซี ภาษาเปอร์เซียคูเซสถาน ภาษาลารี ภาษาปะห์ลาวานี
- สำเนียงตัต ได้แก่ ภาษายูฮูรี ภาษาตัต
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Western Iranian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
บรรณานุกรม
[แก้]- Compendium Linguarum Iranicarum, ed. Rüdiger Schmitt. Wiesbaden: L. Reichert Verlag, 1989; p. 99.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- "Contact and the diversity of noun-noun subordination strategies among Western Iranic languages" (PDF). Nicholas Kontovas, Indiana University Bloomington, Bloomington, Indiana, USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- Hanaway Jr, William L. "Persian and West Iranic: History and State of Research: Part One: Persian Grammar.[Trends in Linguistics: State-of-the-Art Reports, No. 12]." (1982): 56-58.