ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
20,916,028 ร้อยละ 5.9 ของประชากร (ค.ศ. 2018)[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
แคลิฟอร์เนีย | 5,556,592 |
นิวยอร์ก | 1,579,494 |
เท็กซัส | 1,110,666 |
นิวเจอร์ซีย์ | 795,163 |
ฮาวาย | 780,968 |
อิลลินอยส์ | 668,694 |
วอชิงตัน | 604,251 |
ฟลอริดา | 573,083 |
เวอร์จิเนีย | 522,199 |
เพนซิลเวเนีย | 402,587 |
ภาษา | |
ศาสนา | |
ศาสนาคริสต์ (42%) ไม่มีศาสนา (26%) ศาสนาพุทธ (14%) ศาสนาฮินดู (10%) ศาสนาอิสลาม (4%) ศาสนาซิกข์ (1%) อื่น ๆ (2%) คือ ศาสนาเชน, ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ศาสนาชินโต และศาสนาพื้นบ้านจีน (ลัทธิเต๋า, Tengrism และ ลัทธิขงจื๊อ)[3] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวอเมริกันเขื้อสายละติน ฮิสปานิก และเอเชีย |
ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย (อังกฤษ: Asian Americans) คือชาวอเมริกันที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเอเชีย คำนี้ใช้ระบุถึงกลุ่มพหุชาติพันธุ์ (Panethnicity) อันประกอบด้วยประชากรที่หลากหลาย ที่มีพื้นเพมาจากเอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่นิยามไว้โดยสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา[4] ที่ซึ่งผระกอบผู้ที่ระบุเชื้อชาติ (race(s)) ของตนบนสำมะโนว่าเป็นชาวเอเชีย ("Asian") หรือใช้คำที่มีการรายงานไว้ เช่น "จีน, ฟิลิปิโน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และชาวเอเชียอื่น ๆ (Other Asian)"[5] ในปี 2018 ประชากรอเมริกันเชื้อสายเอเชียคิดเป็น 5.4% ของประชากรทั้งสหรัฐอเมริกา; ซึ่งถ้ารวมถึง ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียพหุเชื้อชาติ (Multiracial Asian Americans) จำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6.5%[6]
ประชากรศาสตร์
[แก้]ประชากรศาสตร์ของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียสามารถแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียกลาง: ชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟกัน, ชาวอเมริกันเชื้อสายคาซัค, ชาวอเมริกันเชื้อสายอุซเบก, ชาวอเมริกันเชื้อสายทาจิก และ ชาวอเมริกันเชื้อสายเติร์กเมน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียตะวันออก: ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน, ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น, ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี, ชาวอเมริกันเชื้อสายมองโกเลีย, ชาวอเมริกันเชื้อสายไต้หวัน, ชาวอเมริกันเชื้อสายทิเบต และ ชาวอเมริกันเชื้อสายริวกิว
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียใต้: ชาวอเมริกันเชื้อสายบังกลาเทศ, ชาวอเมริกันเชื้อสายภูฏาน, ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย, ชาวอเมริกันเชื้อสายเนปาล, ชาวอเมริกันเชื้อสายปากีสถาน และ ชาวอเมริกันเชื้อสายศรีลังกา
- ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ชาวอเมริกันเชื้อสายพม่า, ชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา, ชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปิโน, ชาวอเมริกันเชื้อสายมัง, ชาวอเมริกันเชื้อสายอินโดนีเซีย, ชาวอเมริกันเชื้อสายลาว, ชาวอเมริกันเชื้อสายมาเลเซีย, ชาวอเมริกันเชื้อสายเมี้ยง, ชาวอเมริกันเชื้อสายสิงคโปร์, ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย และ ชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนาม
นอกจากนี้ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียยังรวมถึง ชาวอเมริกันพหุเชื้อชาติ (Multiracial Americans) ที่มีพื้นเพจากชาวเอเชียกลุ่มหนึ่งหรือมากกว่า
ภาษา
[แก้]ในปี 2010 มีประชากร 2.8 ล้านรน (อายุ 5 ขวบหรือมากกว่า) ที่พูดภาษาใดภาษาหนึ่งของภาษาจีนเมื่ออยู่ในเคหสถาน[7] และเป็นภาษาที่มีใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสามรองจากภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ[7] ส่วนภาษาของเอเชียอื่น ๆ ที่มีพบผู้พูดเป็นจำนวนมากเช่น ภาษาตากาล็อก, ภาษาเวียดนาม และ ภาษาเกาหลี ที่ซึ่งมีผู้พูดมากกว่า 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา[7]
ในปี 2012 อลาสกา, แคลิฟอร์เนีย, ฮาวาย, อิลลินอยส์, แมสซาชูเสตส์, มิชิแกน, เนวาดา, นิวเจอร์ซีย์, รัฐนิวยอร์ก, เท็กซัส และรัฐวอชิงตัน ได้ตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นภาษาของเอเชีย เพื่อเป็นไปตามรัฐบัญยัติ Voting Rights Act;[8] ประกอบด้วยภาษาตากาล็อก, ภาษาจีนแมนดาริน, ภาษาเวียดนาม, ภาษาสเปน,[2] ภาษาฮินดีมาตรฐาน และ ภาษาเบงกอล[8] นอกจากนี้ยังมีในภาษาคุชราต, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเขมร, ภาษาเกาหลี และ ภาษาไทย เพิ่มเข้ามาในภายหลัง[9] ผลสำรวจในปี 2013 พบว่าชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 48 เปอร์เซ็นต์เลือกรับสื่อในภาษาแม่ (Media in native language) เป็นแหล่งข่าวหลัก (primary news source)[10]
ในสำมะโนประชากรปี 2000 พบว่าภาษาที่มีใช้มากที่สุดในชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้นประกอบด้วยภาษาจีน (ภาษากวางตุ้ง, ภาษาไตซาน และ ภาษาฮกเกี้ยน), ภาษาตากาล็อก, ภาษาเวียดนาม, ภาษาเกาหลี, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฮินดี, ภาษาอูรดู, และภาษาคุชราต[11]
ศาสนา
[แก้]ผลการศึกษาในปี 2012 ของศูนย์วิจัยพีวระบุศาสนาที่พบในประชากรอเมริกันเชื้อสายเอเชียดังนี้:[12]
- 42% ศาสนาคริสต์
- 26% ไม่มีศาสนา
- 14% ศาสนาพุทธ
- 10% ศาสนาฮินดู
- 4% ศาสนาอิสลาม
- 2% ศาสนาอื่น ๆ
- 1% ศาสนาซิกข์
แนวโน้มทางศาสนา
[แก้]อัตราส่วนของคริสเตียนในชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้นลดลงอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษ 1990s หลัก ๆ แล้วเกิดจากการอพยพขนาดใหญ่จากประเทศคริสเตียนส่วนน้อยเข้ามา (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย) ในปี 1990 มีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 63% ที่นับถือศาสนาคริสต์ ในขณะที่ในปี 2001 มีเพียง 43%[13] นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากแนวโน้มที่คนเริ่มหันเข้าสู่ศาสนาเอเชีย ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นสองเท่าในทศวรรษเดียวกัน[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Asian and Pacific Islander Population in the United States census.gov". United States Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2021. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Jonathan H. X. Lee; Kathleen M. Nadeau (2011). Encyclopedia of Asian American Folklore and Folklife. ABC-CLIO. pp. 333–334. ISBN 978-0-313-35066-5.
Since the Philippines was colonized by Spain, Filipino Americans in general can speak and understand Spanish too.
- ↑ "Asian Americans: A Mosaic of Faiths". The Pew Forum on Religion & Public Life. Pew Research Center. July 19, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2013. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
Christian 42%, Buddhist 14%, Hindu 10%, Muslim 4%, Sikh 1%, Jain *% Unaffiliated 26%, Don't know/Refused 1%
- ↑ Karen R. Humes; Nicholas A. Jones; Roberto R. Ramirez (March 2011). "Overview of Race and Hispanic Origin: 2010" (PDF). United States Census Bureau. U.S. Department of Commerce. สืบค้นเมื่อ January 5, 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcentech
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อacs18
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Asian/Pacific American Heritage Month: May 2012". United States Census Bureau. United States Department of Commerce. March 21, 2012. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ 8.0 8.1 Timothy Pratt (October 18, 2012). "More Asian Immigrants Are Finding Ballots in Their Native Tongue". New York Times. Las Vegas. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ Leslie Berestein Rojas (November 6, 2012). "Five new Asian languages make their debut at the polls". KPCC. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ Shaun Tandon (January 17, 2013). "Half of Asian Americans rely on ethnic media: poll". Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ "Language Use and English-Speaking Ability: 2000: Census 2000 Brief" (PDF). census.gov. สืบค้นเมื่อ November 22, 2017.
- ↑ "Asian Americans: A Mosaic of Faiths" (overview) (Archive). Pew Research. July 19, 2012. Retrieved on May 3, 2014.
- ↑ Leffel, Gregory P. Faith Seeking Action: Mission, Social Movements, and the Church in Motion. Scarecrow Press, 2007. ISBN 1461658578. p. 39
- ↑ Sawyer, Mary R. The Church on the Margins: Living Christian Community. A&C Black, 2003. ISBN 1563383667. p. 156