iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/ไฮน์ริช_แฮทซ์
ไฮน์ริช แฮทซ์ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ไฮน์ริช แฮทซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮน์ริช แฮทซ์
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400
ฮัมบวร์ค สมาพันธรัฐเยอรมัน
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2437 (36 ปี)
บ็อน จักรวรรดิเยอรมัน
มีชื่อเสียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่อ

ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ (เยอรมัน: Heinrich Rudolf Hertz; 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 – 1 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นคนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแสง

แฮทซ์พิสูจน์ทฤษฎีโดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ส่งและรับคลื่นวิทยุโดยใช้การทดลอง นั่นให้เหตุผลถึงปรากฏการณ์แบบไร้สายอื่น ๆ ที่รู้จัก หน่วยวิทยาศาสตร์ของความถี่รอบต่อวินาทีได้รับการตั้งชื่อเป็น "เฮิรตซ์" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

ประวัติ

[แก้]

ไฮน์ริช รูด็อล์ฟ แฮทซ์ เกิดที่เมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี บิดาชื่อ กุสทัฟ แฟร์ดีนันท์ แฮทซ์ (ชื่อเดิม ดาวิท กุสทัฟ แฮทซ์; พ.ศ. 2370–2457) เป็นนักเขียนและสมาชิกวุฒิสภา มารดาคือ อันนา เอลีซาเบ็ท เพ็ฟเฟอร์คอร์น[1] ระหว่างที่เรียนอยู่ที่โยฮันน็อยม์ในฮัมบวร์ค แฮทซ์ได้แสดงความสามารถด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ได้ดีเทียบเท่ากับการเรียนภาษาอาหรับและภาษาสันสกฤต ได้เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในเดรสเดิน มิวนิก และเบอร์ลิน ที่ที่ได้เรียนกับกุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ และแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์

ในปี พ.ศ. 2423 แฮทซ์ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน และยังคงศึกษาต่อหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกกับเฮล์มโฮลทซ์อยู่อีก 3 ปี ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเขา

ในปี พ.ศ. 2426 แฮทซ์ก็เข้ามาอยู่ในตำแหน่งวิทยากรวิชาฟิสิกส์ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยแห่งคีล

ในปี พ.ศ. 2428 แฮทซ์กลายเป็นอาจารย์เต็มตัวที่มหาวิทยาลัยแห่งคาลส์รูเออ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Buildings Integral to the Former Life and/or Persecution of Jews in Hamburg". .uni-hamburg.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]