แขวงรองเมือง
แขวงรองเมือง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Rong Mueang |
มุมมองทางอากาศของสถานีรถไฟหัวลำโพงในเวลาเย็น ถนนด้านขวาซึ่งขนานไปกับสถานีคือถนนรองเมือง | |
แผนที่เขตปทุมวัน เน้นแขวงรองเมือง | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | ปทุมวัน |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1.300 ตร.กม. (0.502 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 15,198 คน |
• ความหนาแน่น | 11,690.77 คน/ตร.กม. (30,279.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10330 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 100701 |
รองเมือง เป็นแขวงหนึ่งของเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]แขวงรองเมืองตั้งชื่อตามถนนรองเมืองในพื้นที่ ซึ่งเริ่มจากถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศเหนือในแนวขนานกับสถานีกรุงเทพ แล้วไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 1 เชิงสะพานกษัตริย์ศึก รวมระยะทางประมาณ 900 เมตร โดยปัจจุบันปรับเส้นทางให้รถวิ่งได้ทางเดียว และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นทางจากถนนพระรามที่ 1 ให้รถวิ่งไปทางทิศใต้เท่านั้น ส่วนเส้นทางจากถนนพระรามที่ 4 ให้รถวิ่งไปทางทิศเหนือเท่านั้น โดยทั้ง 2 ส่วนจะบรรจบกันที่สามแยกที่เชื่อมต่อกับถนนเจริญเมือง และจะบังคับให้เดินรถไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนเจริญเมือง ไปยังถนนจารุเมืองและถนนบรรทัดทอง
ชื่อถนนรองเมืองตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) ขุนนางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในขุนนางที่ร่วมสร้างถนนหลายแห่งในเขตบางรักเพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในสมัยนั้น เช่น ถนนสี่พระยา, ถนนเดโช, ถนนสุรวงศ์ เป็นต้น ถนนรองเมืองเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2445 จนแล้วเสร็จและมีพิธีเปิดถนนในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2447[3]
ภูมิศาสตร์
[แก้]แขวงรองเมืองมีพื้นที่ประมาณ 1.301 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นพื้นที่เมืองและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
แขวงที่อยู่ติดกับแขวงรองเมืองได้แก่ (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ)
- ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสี่แยกมหานาค (เขตดุสิต) และแขวงถนนเพชรบุรี (เขตราชเทวี) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติตต่อกับแขวงวังใหม่ (เขตปทุมวัน) มีถนนบรรทัดทองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติตต่อกับแขวงมหาพฤฒาราม (เขตบางรัก) มีถนนพระรามที่ 4เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติตต่อกับแขวงป้อมปราบ, แขวงวัดเทพศิรินทร์,แขวงคลองมหานาค (เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) และแขวงตลาดน้อย (เขตสัมพันธวงศ์) มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต[4]
แขวงนี้มีชุมชนอย่างน้อย 4 แห่ง เช่น ชุมชนตรอกสลักหิน, ชุมชนวัดดวงแข, ชุมชนแฟลตรถไฟ, ชุมชนจรัสเมือง เป็นต้น ในชุมชนดังกล่าวมีจุดหมายตาอย่างน้อย 7 แห่ง[5]
นอกจากนี้ แขวงรองเมืองยังเป็นที่ตั้งของภัตตาคารหลายแห่งด้วย[5] บางแห่งได้รับการจัดอยู่ในประเภทบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1007&rcodeDesc=เขตปทุมวัน 2566. สืบค้น 18 กุมภายพันธ์ 2567.
- ↑ Kanthika Sriudom, 2006. “King Chulalongkorn’s Blessings for Modern Bangkok.” Journal of Muang Boran 32, 1 (Jan.-Mar. 2006): 36-49.
- ↑ "ข้อมูลแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร" [Information of Rong Mueang subdistrict, Pathum Wan district, Bangkok]. ThaiTambon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-04-05.
- ↑ 5.0 5.1 pimchanok (2016-02-01). "เช็คอิน "7 รองเมือง" ชมถิ่นวิถีสุข" [Check in "7 Rong Mueang" watch the places of happiness]. Thaihealth. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
- ↑ Hsiao, Tina (2019-06-06). "Jay Oh: Enjoy Late Night Comfort Food with Good Friends". Michelin Guilde. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.