iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/อ่าวไทย
อ่าวไทย - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

อ่าวไทย

พิกัด: 09°30′N 102°00′E / 9.500°N 102.000°E / 9.500; 102.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่าวไทย
  • ឈូងសមុទ្រសៀម
  • Teluk Siam
  • Vịnh Thái Lan
อ่าวไทย
Location of the Gulf of Thailand.
Location of the Gulf of Thailand.
อ่าวไทย
Location of the Gulf of Thailand.
Location of the Gulf of Thailand.
อ่าวไทย
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด09°30′N 102°00′E / 9.500°N 102.000°E / 9.500; 102.000
ชนิดอ่าว
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักทะเลจีนใต้
เปิดสู่มหาสมุทร/ทะเลมหาสมุทรแปซิฟิก
ประเทศในลุ่มน้ำ
พื้นที่พื้นน้ำ320,000 km2 (120,000 sq mi)
ความลึกโดยเฉลี่ย58 m (190 ft)
ความลึกสูงสุด85 m (279 ft)
แผนที่แสดงที่ตั้งของอ่าวไทย

อ่าวไทย (เดิมชื่อ อ่าวสยาม) เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม

อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำมันและแก๊สแต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทย

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ภาพแผนที่โลกแผ่นที่ 11 ของทอเลมี ทางซ้ายมือคืออ่าวเบงกอล โดยในแผนที่เรียกว่า ปากอ่าวแม่น้ำคงคา ส่วนอ่าวไทย ทางขวาเรียกว่า แมกนัสไซนัส (Magnus Sinus)

อ่าวไทยได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในแผนที่โลกของทอเลมีในชื่อ แมกนัสไซนัส (Magnus Sinus) หรืออ่าวที่กว้างไกลในภาษากรีก ซึ่งทะเลมีได้รวบรวมคำบรรยายจากพ่อค้าวาณิชที่เดินเรือไปอาณาจักรฟูนาน ซึ่งทำให้ทอเลมีอธิบายว่า หากเดินเรือจากอ่าวคงคา ผ่านแหลมทองคำ (Golden Chersonese) ขึ้นไปทางเหนือจะเจอปากอ่าวที่มีขนาดใหญ่มาก มีชายฝั่งคดเคี้ยวและมีแม่น้ำหลายสายไหลลงมาที่อ่าวนึ้[1] ซึ่งแม่น้ำหลายสายที่ว่าอาจหมายถึง แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง โดยหากเดินเรือผ่านพื้นที่จังหวัดตราดลงไปอีกก็จะเจอเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่แหล่งโบราณคดีโอเคีย ตำบลเตินเชิว จังหวัดอานซาง ประเทศเวียดนาม

ในจดหมายเหตุจีนสมัยโบราณยุคอาณาจักรพัน - พันหรือสุวรรณภูมิ อ่าวไทยมีชื่อว่า อ่าวจินหลิน[2] (Chin Lin) หมายถึงดินแดนทอง และทอเลมีเรียกชื่อบริเวณปากอ่าวไทยว่าไคร้เส (Chrysê)[3]

พื้นที่

[แก้]

อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร[4] เขตแดนของอ่าวไทยกำหนดด้วยเส้นที่ลากจากแหลมกาเมา ทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร โดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า "อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว ก" ซึ่งต่างชาติเรียก "อ่าวกรุงเทพฯ"

ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58 เมตร (190 ฟุต)[5] จุดที่ลึกที่สุด 85 เมตร (279 ฟุต)[5] จึงทำให้การแลกเปลี่ยนระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเป็นไปอย่างเชื่องช้า น้ำจืดจำนวนมากที่ไหลมาจากแม่น้ำต่าง ๆ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับความเค็มต่ำประมาณร้อยละ 3.05-3.25 และมีตะกอนสูง แต่บริเวณที่ลึกกว่า 50 เมตร มีความเค็มสูงกว่านี้ประมาณร้อยละ 3.4% ซึ่งเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจากทะเลจีนใต้

อาณาเขตของอ่าวไทย

[แก้]

ความสำคัญ

[แก้]

อาณาเขตของอ่าวไทยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักเรื่องดินแดนตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า[6]

"ประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้หลักดินแดน...'หลักดินแดน' หมายความว่า กฎหมายของรัฐใด ย่อมใช้บังคับแก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น ทั้งนี้...เพราะรัฐทุกรัฐมีอธิปไตยเหนืออาณาเขตของตน"

ตามกฎหมายไทยแล้ว มีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย" และ ววรรคสองว่า "การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร" ดังนั้น "ราชอาณาจักรไทย" ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงหมายความถึง[6]

  1. พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย
  2. ทะเลห่างจากดินแดนที่เป็นประเทศไทยไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล
  3. ทะเลอันเป็นอ่าวไทย ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502[7]
  4. พื้นอากาศเหนือ 1. 2. และ 3.
  5. อากาศยานไทย และเรือไทย

ทะเลอันเป็นอ่าวไทย

[แก้]
แผนที่แนบท้าย พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502[7]

พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502[7] เป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2502 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอนที่ 92 หน้าที่ 430 วันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ เนื่องจากเขตจังหวัดต่าง ๆ ทางทะเลในอ่าวไทยตอนในยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติบางประการจึงควรจะได้กำหนดเสียให้เป็นที่ชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ในการปกครองและความสะดวกของประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

โดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดเขตอ่าวไทยไว้ดังต่อไปนี้ (ดูแผนที่ด้านขวาประกอบ)

จังหวัดเพชรบุรี

[แก้]

จากจุดอักษร ก. ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; แล้วขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (3), ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จังหวัดสมุทรสงคราม

[แก้]

จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวัออก

จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จังหวัดสมุทรสาคร

[แก้]

จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จังหวัดธนบุรี

[แก้]

จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

สำหรับพื้นที่จังหวัดธนบุรีในแผนที่นั้น ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

[แก้]

จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจุด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จังหวัดฉะเชิงเทรา

[แก้]

จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จังหวัดชลบุรี

[แก้]

จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดอักษร ซ. แหลมบ้านช่องแสมสาน ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-57 ลิปดา-45 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก

จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก

สายน้ำในอ่าวไทย

[แก้]

แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนที่แยกสาขาออกมา แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

น้ำอุ่นในอ่าวไทยทำให้เกิดแนวปะการังที่สวยงาม โดยสถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะสมุย และเกาะเต่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทรัพยากรธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย คือ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ

ฤดูปิดอ่าว

[แก้]

ทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นช่วงที่สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนและเจริญเติบโต เป็นฤดูปิดอ่าว กรมประมงจะประกาศควบคุมการทำประมงตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร[8]

การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ถ้าชาวประมงรายใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ[9]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. The Encyclopædia of Geography: Comprising a Complete Description of the Earth, Physical, Statistical, Civil, and Political, Volume 1
  2. ขจร สุขพานิช. "สุวรรณภูมิและทวารวดีอยู่ที่ไหน", นิตยสารศิลปากร, 1(2), (กรกฎาคม 2500): 66. อ้างใน จดหมายเหตุจีน.
    • ต้วน ลี เซิง. (2537). พลิกต้นตระกูลไทยประวัติศาสตร์ไทยในทัศนะของชาวจีน. กรุงเทพฯ: พิราบ. 253 หน้า. หน้า 6. ISBN 978-974-7-43009-7
    • ครองชัย หัตถา. (2551). ประวัติศาสตร์ปัตตานี: สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 229 หน้า. หน้า 1. ISBN 978-974-0-32060-9
    • มนัส โอภากุล. (2547). ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน. 358 หน้า. หน้า 256. ISBN 978-974-3-23303-6
  3. วารสารศิลปากร, 40(4)(กรกฎาคม-สิงหาคม 2540). "ในบันทึกจดหมายเหตุจีนก็กล่าวว่า บริเวณปากอ่าวไทยที่ปโตเลมีเรียก ไคร้เส (Chrysê) คือ อ่าวจินหลิน (Chin Lin) ซึ่งก็แปลว่า “ดินแดนทอง” ตรงกัน และคําว่า “สุพรรณบุรี” ก็เป็นการถ่ายคํามาจาก “สุพรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณภูมิ” โดยตรงนั่นเอง"
  4. ข้อมูลอุทกศาสตร์น่านน้ำไทย, 2550 : ออนไลน์.
  5. 5.0 5.1 Khongchai, Narongsak; Vibunpant, Somchai; Eiamsa-ard, Monton; Supongpan, Mala. "Preliminary Analysis of Demersal Fish Assemblages in Coastal Waters of the Gulf of Thailand" (PDF). Worldfish. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 19 Feb 2015., หน้า 250
  6. 6.0 6.1 หยุด แสงอุทัย, 2551 : 18.
  7. 7.0 7.1 7.2 พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
  8. "ปิดอ่าวไทย 3 เดือน อนุรักษ์ปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ", 2549 : ออนไลน์.
  9. "กรมประมงสั่งปิดฝั่ง 'อ่าวไทย' 3 เดือน ห้ามจับสัตว์น้ำฤดูวางไข่-ตั้งแต่ประจวบฯถึงสุราษฏร์", 2 แนวหน้า, 2551 : ออนไลน์.

อ้างอิง

[แก้]
  • "กรมประมงสั่งปิดฝั่ง 'อ่าวไทย' 3 เดือน ห้ามจับสัตว์น้ำฤดูวางไข่-ตั้งแต่ประจวบฯ ถึงสุราษฏร์". (2551, 13 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • "ข้อมูลอุทกศาสตร์น่านน้ำไทย." (2550). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • "ปิดอ่าวไทย 3 เดือน อนุรักษ์ปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ". (2549, 10 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
    • (2549, 6 กรกฎาคม). พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1 เก็บถาวร 2004-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
    • (2551, 11 กุมภาพันธ์). ประมวลกฎหมายอาญา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1 เก็บถาวร 2004-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
  • หยุด แสงอุทัย. (2551). กฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 20, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789749000413.
  • Hugh Murray, William Wallace, Robert Jameson, Sir William Jackson Hooker, William Swainson. (1843) "The Encyclopædia of Geography: Comprising a Complete Description of the Earth, Physical, Statistical, Civil, and Political, Volume 1 " บรรทัดที่5 ถึง 15 หน้า57 E-book link by Google