องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
Thai Public Broadcasting Services | |
ภาพรวมองค์การ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 15 มกราคม พ.ศ. 2551 |
องค์การก่อนหน้า | |
ประเภท | หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นนิติบุคคลมหาชน[2] |
สำนักงานใหญ่ | 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
งบประมาณต่อปี | 2,839,720,000 บาท (พ.ศ. 2566)[a][1] |
ฝ่ายบริหารองค์การ |
|
ต้นสังกัดองค์การ | สำนักนายกรัฐมนตรี |
ลูกสังกัด | |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ขององค์การ |
อักษรย่อ | คำเต็ม |
---|---|
พ.ร.บ. ส.ส.ท. | พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 |
ส.ส.ท. | องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย |
การใช้อักษรย่อในนี้เพื่อมิให้บทความเยิ่นเย้อเท่านั้น แต่โดยปรกติแล้วควรเขียนด้วยคำเต็มไม่ควรย่อ เช่น "พ.ร.บ. ส.ส.ท. 2551"' ควรเขียนว่า "พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551" |
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ชื่อย่อ ส.ส.ท. (อังกฤษ: Thai Public Broadcasting Service; TPBS) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชน[2] จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551[3] มีหน้าที่เป็นสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ส.ส.ท. เกิดขึ้นหลังจากการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียึดสัมปทานคืนจากไอทีวี และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำช่องสัญญาณดังกล่าวมาจัดตั้งเป็น สถานีโทรทัศน์สาธารณะ โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินงานชั่วคราว ก่อนมีการจัดตั้ง ส.ส.ท. โดยได้รับโอนกิจการและเข้ามาบริหารงาน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังทดลองออกอากาศ 1 เดือน
ประวัติ
เมื่อปี 2549 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ให้ไอทีวี กลับไปจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการในช่วงเวลายอดนิยมให้มีรายการสาระประโยชน์ร้อยละ 70 และรายการบันเทิงร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547[4] หลังจากนั้นไอทีวี ไม่สามารถจ่ายค่าปรับจำนวน 101,000,000,000 บาท[5][6] ดังกล่าวให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้สัมปทานคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกยึดคืนมาเป็นของรัฐ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในระยะแรกรัฐบาล โดยกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีชั่วคราว[7] ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550[8] ถึงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551[9]
ช่วงกลางปี 2550 ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ได้เสนอร่างกฎหมายให้ไอทีวีเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. ส่งผลให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ยุติการดำเนินการออกอากาศและส่งต่อภารกิจดังกล่าวให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน ต่อมา ส.ส.ท. ได้รับโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพันของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. ส.ส.ท.[10][3]
โครงสร้างการบริหาร
พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดโครงสร้างการบริหารของ ส.ส.ท. เป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร โดยบทเฉพาะกาลมาตรา 58 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการไม่เกิน 5 คน เป็นคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ได้มีการสรรหาไว้แล้วภายใน 180 วันนับแต่วันใช้บังคับ โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการ
คณะกรรมการนโยบาย
คณะกรรมการนโยบายมีจำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ๆ อีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสื่อสารมวลชน 2 คน ด้านบริหารจัดการองค์กร 3 คน และด้านประชาสังคม 4 คน
มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบในแผนการดำเนินงาน แผนการจัดผังรายการ และแผนงบประมาณขององค์การ กำหนดระเบียบการดำเนินงาน และคุ้มครองสวัสดิภาพ และความอิสระในการทำงานของพนักงานในองค์การ รวมถึงการควบคุมดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการนโยบายมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
คณะกรรมการนโยบายชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยดังนี้[11][12][13][14][15][16]
ด้านการบริหารจัดการองค์กร
- ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
- ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
- รศ. ดร.ธีรภัทร สงวนกชกร (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) วาระ 4 ปี
ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนฯ หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือ การส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
- รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)[17] (ประธานคณะกรรมการนโยบาย)[18]
- นายบุญเลิศ คชายุทธเดช (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
- นางสาวอุษาสินี ริ้วทอง (29 กันยายน 2563 - ปัจจุบัน)
- นายชัยรัตน์ แสงอรุณ (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ด้านกิจการสื่อสารมวลชน
- นางสาวรุ่งมณี เมฆโสภณ (30 พฤศจิกายน 2557 - 29 พฤศจิกายน 2561 และ 13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
- นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล (13 ธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารมีทั้งหมด 11 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง รองผู้อำนวยการจำนวนไม่เกิน 6 คน และกรรมการบริหารจำนวนไม่เกิน 4 คน ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส การดำเนินงานขององค์การ การจัดทำแผนการดำเนินงาน รวมไปจนถึงการประเมินคุณภาพของรายการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบาย
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[19][20] โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีดังต่อไปนี้
- รศ. ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ประธานกรรมการ)
- อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท.[21] (กรรมการ)
- สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
- สุวรรณา สมบัติรักษาสุข รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
- พิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (กรรมการ)
- ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว (กรรมการ)
- โยธิน สิทธิบดีกุล ผู้อำนวยการสำนักโทรทัศน์และวิทยุ (กรรมการ)
- เจษฎา อนุจารี (กรรมการบริหารอื่น)
- พูลประโยชน์ ชัยเกียรติ (กรรมการบริหารอื่น)
- สุธีร์ รัตนนาคินทร์ (กรรมการบริหารอื่น)
ทุน
ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. มาตรา 11 กำหนดแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะใช้ในการบริหารงานของ ส.ส.ท. ไว้ดังต่อไปนี้
- เงินบำรุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา 12
- เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 57 หรือตามกฎหมายอื่น (ในที่นี้ เงินและทรัพย์สินตามมาตรา 57 คือเงิน และทรัพย์สินของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม)
- ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุนตามมาตรา 60 (รัฐประเดิมทุนให้ได้สูงสุดไม่เกิน 2,000 ล้านบาท)
- ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ
- เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ
- รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ
- ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ
สำหรับการรับเงินตามข้อ 5 ต้องไม่ทำให้องค์การขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน หรือให้กระทำการอันขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ขององค์การฯ และตามข้อ 2 และ 3 ต้องใช้สนับสนุนพัฒนาศักยภาพ และให้โอกาสสร้างสรรค์แก่ผู้ผลิตรายการอิสระในอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ดังกล่าว ทั้งนี้ รายได้ขององค์การฯ ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ[3]
พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดให้ ส.ส.ท. มีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพดานสูงสุดของเงินได้ทุก ๆ 3 ปี)[3]
อาคารสำนักงานใหญ่
ในช่วงระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง ส.ส.ท. ได้ใช้พื้นที่ชั้น 13 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ซึ่งเป็นสำนักงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมา ส.ส.ท. ได้สร้างอาคารสำนักงานถาวร ติดกับสโมสรตำรวจ เริ่มทำงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งแต่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และเริ่มออกอากาศจากสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสำนักงานใหญ่ ในวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[22]
อาคารสำนักงานใหญ่ ส.ส.ท. ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 หลัง ได้แก่
- อาคารอำนวยการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอำนวยการ หน่วยงานด้านเทคนิคสารสนเทศ และหน่วยงานด้านสื่อสารสังคม
- อาคารปฏิบัติการ เป็นที่ตั้งของสำนักข่าว และห้องส่งการออกอากาศ
- อาคารบริการ เป็นที่ตั้งของห้องอาหาร ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ฟิตเนส ห้องพยาบาล และหละหมาด
- อาคารศูนย์เรียนรู้ ประกอบด้วย นิทรรศการสื่อสาธารณะ ห้องฝึกอบรม ห้องฉายภาพยนตร์ และศูนย์ประชุม [22]
หน่วยงานในสังกัด
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นสถานีโทรทัศน์ออกอากาศผ่านเสาอากาศภาคพื้นดินแห่งที่ 6 ของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี แต่เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมานั้น ได้ออกอากาศเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ชึ่งเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก่อนออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ทางสถานีฯ ส่งสัญญาณออกอากาศทางโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (ระบบแอนะล็อก) และช่อง 3 (ระบบดิจิทัล) จากกรุงเทพมหานคร และมีสถานีเครือข่ายในภูมิภาคอีกด้วย
สถานีฯ ได้นำเสนอการรายงานข่าวสาร สาระบันเทิง รายการเพื่อเด็กและเยาวชน และรายการความรู้ ที่บริหารด้วยความเป็นไทย มีความสมดุล ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ มุ่งดำเนินการโดยปราศจากอคติทางการเมือง และผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
สถานีวิทยุไทยพีบีเอส
สถานีวิทยุไทยพีบีเอส เป็นสถานีวิทยุของไทยพีบีเอสที่กระจายเสียงในระบบออนไลน์ ซึ่งเสนอรายการข่าวสาร (บางรายการรับสัญญาณการออกอากาศจากความถี่เสียงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) สาระต่างๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคม โดยสามารถรับฟังการกระจายเสียงของสถานีฯ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaipbsradio.com
สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ
เป็นส่วนหนึ่งของ ส.ส.ท. ที่มีสมาชิก 50 คน ที่คัดเลือกจากผู้สมัครจากแต่ละกลุ่ม มากลุ่มละ 4 คน และคณะกรรมนโยบายมาคัดเลือกอีกทีหนึ่งโดยคัดเลือกให้เลือกเพียง 50 คนที่ กฎหมาย เพื่อเป็นกลไลในการรับฟังความคิด นอกจากนี้ยังผู้ตรวจสอบภายในและศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส เพื่อให้ไทยพีบีเอส วิทยุไทย และสื่อใน ส.ส.ท. เป็นสิ่งที่ตอบสนองคนทุกกลุ่มได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม
ศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส
เป็นหน่วยงานที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันตรวจสอบพฤติกรรมการผลิตและดำเนินรายการต่าง ๆ ของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ของไทยพีบีเอสไปพร้อมกันกับผู้ชมและผู้ฟังการออกอากาศ
บุคคลสำคัญ
ผู้อำนวยการ
รายนามผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีดังต่อไปนี้
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. เทพชัย หย่อง | 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รักษาการผู้อำนวยการสถานี ตามมติคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ส.ส.ท.) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
2. สมชัย สุวรรณบรรณ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[23] |
3. พวงรัตน์ สองเมือง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[24] - 31 มกราคม พ.ศ. 2559(ผู้อำนวยการสำนักรายการ รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
4. ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[25] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[26] |
5. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ | 16 มีนาคม[27]- 15 เมษายน พ.ศ. 2560 (รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ไปพลางก่อน) |
6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ | 16 เมษายน[28] - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (ผู้อำนวยการสำนักข่าว รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
7. รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[29] |
ดูเพิ่ม
- ไอทีวี
- สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- สถานีวิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์
- สถานีโทรทัศน์เอแอลทีวี
หมายเหตุ
- ↑ จากการจัดเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่เพิ่มเติมในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยไม่เกินปีละ 2,000 ล้านบาท
อ้างอิง
- ↑ ภาษีอากร[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "แนะนำเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Egov.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551, เล่ม 125, ตอน 8ก, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 1
- ↑ "คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีไอทีวี". Ryt9.com. 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "เงียบไปนาน สปน.เดินหน้าสู้คดีเรียกค่าปรับ"ไอทีวี" 1 แสนล้าน". Isranews.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ปลุกผีค่าเสียหายไอทีวี 2.9 พันล้านสปน.หืดขึ้นคอ". Thansettakij.com. 2020-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ ""ทีไอทีวี"-ไอทีวีแปลงร่าง?". Info.gotomanager.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "7 มีนาคม 2550 ไอทีวี ออกอากาศวันสุดท้าย". Facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ Teenee Media.co.Ltd., Thailand. "ปิดฉากแล้ว ทีไอทีวี". Tnews.teenee.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ คำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2008-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดลินิวส์ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:01 น.
- ↑ "รู้จักกรรมการนโยบาย ส.ส.ท". Bog.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แต่งตั้งกรรมการนโยบาย (แทนตำแหน่งที่ว่าง) เก็บถาวร 2013-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม 131, ตอนพิเศษ 228ง, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, หน้า 11
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, เล่ม 133, ตอนพิเศษ 218ง, 28 กันยายน พ.ศ. 2559, หน้า 20
- ↑ "ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะครบวาระ 4 ปี". Bog.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ "แต่งตั้ง 5 กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส" วาระ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 63". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "คณะกรรมการบริหาร ส.ส.ท. ชุดปัจจุบัน". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ประกาศแต่งตั้งรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ 22.0 22.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2012-07-16.
- ↑ "ประกาศเลิกสัญญาจ้าง นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (ไทยพีบีเอส)". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ประกาศองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เรื่อง แต่งตั้งรักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.(นางพวงรัตน์ สองเมือง)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "ประกาศแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์" ลาออก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. รับผิดชอบกรณีซื้อตราสารหนี้
- ↑ นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท.
- ↑ แต่งตั้งพนักงานรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ส.ส.ท. (นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อthaipbs1
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
- เว็บไซต์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภาคภาษาอังกฤษ เก็บถาวร 2011-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แนะนำเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2020-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นักข่าวพลเมือง เก็บถาวร 2015-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายงานผลการปฏิบัติงาน ส.ส.ท. ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน