iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/สงครามอาหรับ–อิสราเอล_ค.ศ._1948
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949

ทหารอิสราเอลปักธงหมึก ณ ไอลัต เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1948
วันที่15 พฤษภาคม 1948 – 20 กรกฎาคม 1949
(1 ปี 7 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
อดีตปาเลสไตน์ในอาณัติ, คาบสมุทรไซนาย, ทางใต้ของเลบานอน
ผล

  • อิสราเอลชนะ
  • จอร์แดนชนะเพียงเล็กน้อย[3][4]
  • ปาเลสไตน์อาหรับแพ้
  • อียิปต์แพ้
  • ความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์ของสันนิบาตอาหรับ
  • การอพยพหนีภัยของชาวปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 และการอพยพของยิวออกจากประเทศอาหรับและมุสลิม ค.ศ. 1948
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ภายใต้ความตกลงสงบศึก ค.ศ. 1949:
คู่สงคราม
ก่อน 26 พฤษภาคม 1948
อิสราเอล Yishuv
กำลังกึ่งทหาร:

หลัง 26 พฤษภาคม 1948:
อิสราเอล อิสราเอล
กองกำลังป้องกันอิสราเอล


อาสาสมัครต่างด้าว:
Mahal

ALA
al-Najjada


Holy War Army
(ก่อน 15 พฤษภาคม 1948)
อียิปต์ อียิปต์
จอร์แดน ทรานส์จอร์แดน
อิรัก อิรัก
ซีเรีย ซีเรีย

เลบานอน เลบานอน
(หลัง 15 พฤษภาคม 1948)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อิสราเอล เดวิด เบนกูเรียน
อิสราเอล Yisrael Galili
อิสราเอล ยาคอฟ ดอรี่
อิสราเอล Yigael Yadin
อิสราเอล Yigal Allon
อิสราเอล ยิตซัค ราบิน
อิสราเอล David Shaltiel
อิสราเอล โมเช ดายัน

อิสราเอล Shimon Avidan

สันนิบาตอาหรับ Azzam Pasha
พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
จอร์แดน สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1
Muzahim al-Pachachi
Husni al-Za'im
Haj Amin al-Husseini
Ahmed Ali al-Mwawi
Muhammad Naguib
จอร์แดน John Bagot Glubb
จอร์แดน Habis al-Majali
Hasan Salama  

Fawzi al-Qawuqji
กำลัง
อิสราเอล: เริ่มแรกมีประมาณ 10,000 คน แต่เพิ่มขึ้นเป็น 115,000 คนในเดือนมีนาคม 1949 อียิปต์: 10,000 นาย ขั้นต้นและเพิ่มขึ้นถึง 20,000 นาย
อิรัก: 3,000 นาย ขั้นต้นและเพิ่มขึ้นถึง 15,000-18,000 นาย
ซีเรีย: 2,500-5,000 นาย
ทรานสจอร์แดน: 8,000-12,000 นาย
เลบานอน: 1,000 นาย [5]
ซาอุดีอาระเบีย: 800-1,200 นาย (คำสั่งอียิปต์)
เยเมน: 300 นาย
กองทัพปลดปล่อยอาหรับ:. 3,500-6,000
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 6,080 คน (ทหาร 4,074 นายและพลเรือน 2,000 คน)[6] เสียชีวิตระหว่าง +5,000[6] และ 20,000 คน (รวมพลเรือน)[7] ในจำนวนนี้เป็นทหารอียิปต์ จอร์แดนและซีเรียรวมกัน 4,000 นาย[8]
อาหรับเสียชีวิต 15,000 คนและได้รับบาดเจ็บ 25,000 คน (ประมาณการ)[9]

สงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949 หรือในอิสราเอล เรียก สงครามอิสรภาพ (ฮีบรู: מלחמת העצמאות) และในภาษาอาหรับเรียกว่าเป็นองค์ประกอบแกนกลางของนักบา (อาหรับ: النكبة)[10][11][12] เป็นสงครามรบพึ่งกันในดินแดนปาเลสไตน์ภายใต้อาณัติของบริเตน เป็นสงครามครั้งแรกในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลอีกต่อหนึ่ง ในสงครามครั้งนี้ จักรวรรดิบริติชถอนตัวจากปาเลสไตน์ในอาณัติ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันจนถึงปี 1917 สงครามครั้งนี้ลงเอยด้วยการสถาปนารัฐอิสราเอลโดยชาวยิว และมีการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์อย่างเบ็ดเสร็จในดินแดนที่ยิวได้ยึดครอง โดยมีการพลัดถิ่นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ประมาณ 700,000 คน และการทำลายพื้นที่เมืองของชาวอาหรับปาเลสไตน์ส่วนใหญ่[13] ชาวอาหรับปาเลสไตน์ตกอยู่ในสภาพไร้รัฐเป็นอันมาก โดยกระจัดกระจายอยู่ตามดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกประเทศอียิปต์และจอร์แดนยึดครอง หรืออยู่ตามรัฐอาหรับที่อยู่ติดกัน ในบรรดาชาวอาหรับปาเลสไตน์นี้ มีจำนวนมากยังไร้รัฐและต้องอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย

ดินแดนที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริติชก่อนสงครามนั้นถูกแบ่งออกเป็นรัฐอิสราเอล ซึ่งควบคุมประมาณร้อยละ 78 ของพื้นที่ ราชอาณาจักรจอร์แดน (ขณะนั้นชื่อทรานส์จอร์แดน) ซึ่งควบคุมและต่อมาผนวกดินแดนซึ่งต่อมาเป็นเวสต์แบงก์ และประเทศอียิปต์ซึ่งยึดฉนวนกาซา ดินแดนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านสันนิบาตอาหรับสถาปนารัฐบาลปาเลสไตน์ทั้งปวง (All-Palestine Government)

สงครามนี้แบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะแรกเป็นสงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์ในอาณัติปี 1947–1948 ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1947 หนึ่งวันหลังสหประชาชาติลงมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐเอกราชยิวและอาหรับ และเยรูซาเลมซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของนานาชาติ (ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 181) ซึ่งผู้นำยิวยอมรับ แต่ผู้นำอาหรับและอาหรับปาเลสไตน์ปฏิเสธโดยพร้อมเพรียงกัน[14] นักประวัติศาสตร์อธิบายความขัดแย้งในระยะนี้ว่าเป็นสงคราม "กลางเมือง", "เชื้อชาติ" หรือ "ระหว่างชุมชน" เพราะรบพุ่งกันระหว่างทหารอาสาสมัครยิวและอาหรับปาเลสไตน์ ซึ่งฝ่ายหลังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพปลดปล่อยอาหรับและรัฐอาหรับที่อยู่โดยรอบ สงครามในระยะนี้มีลักษณะเป็นการสงครามกองโจรและการก่อการร้าย และต่อมาบานปลายขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 1948 เมื่อยิวเป็นฝ่ายบุกและเป็นฝ่ายชนะชาวปาเลสไตน์ในการทัพและยุทธการขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นแนวรบที่ชัดเจน ในระหว่างนี้ บริเตนยังคงปกครองดินแดนปาเลสไตน์อยู่ แม้ว่าจะน้อยลงเรื่อย ๆ และบางทีก็เข้าสอดในความรุนแรงนี้[15][16]

จักรวรรดิบริติชกำหนดการถอนกำลังและสละการอ้างสิทธิ์ทั้งปวงในปาเลสไตน์ไว้วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ในวันนั้น เมื่อทหารและกำลังพลบริติชคนสุดท้ายออกจากนครไฮฟา ผู้นำยิวในปาเลสไตน์ประกาศสถาปนารัฐอิสราเอล หลังประกาศได้พลันกองทัพอาหรับและกำลังรบนอกประเทศของอาหรับที่อยู่โดยรอบอิสราเอลก็บุกครองอิสราเอลทันทีเพื่อขัดขวางอิสราเอลและเข้าช่วยชาวอาหรับปาเลสไตน์ซึ่งเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในเวลานั้น การบุกครองดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในระยะที่สอง เรียก สงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 อียิปต์รุกคืบเข้ามาทางฝั่งทะเลตอนใต้และหยุดใกล้กับแอชดอด (Ashdod); ลีจันอาหรับจากจอร์แดนและกองทัพอิรักยึดที่ราบสูงตอนกลางของปาเลสไตน์ ประเทศซีเรียและเลบานอนรบปะทะกับกำลังอิสราเอลหลายครั้งทางตอนเหนือ ทหารอาสาสมัครอิสราเอล ซึ่งจัดระเบียบเป็นกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) สามารถหยุดยั้งกองทัพอาหรับไว้ได้ ในเดือนต่อ ๆ มามีการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่าง IDF กับกองทัพอาหรับ ซึ่งค่อย ๆ ถูกผลักดันกลับไป กองทัพจอร์แดนและอิรักสามารถควบคุมที่สูงตอนกลางปาเลสไตน์และยึดเยรูซาเลมตะวันออกไว้ได้ รวมทั้งกรุงเก่า เขตยึดครองของอียิปต์ถูกจำกัดไว้เพียงฉนวนกาซาและวงล้อมขนาดเล็กภายใต้การล้อมของกำลังอิสราเอลที่ Al-Faluja ในเดือนตุลาคมและธันวาคม 1948 กำลังอิสราเอลข้ามสู่ดินแดนเลบานอนและผลักดันเข้าสู่คาบสมุทรไซนายของอียิปต์ ล้อมกำลังอียิปต์ไว้ใกล้กับนครกาซา การปฏิบัติทางทหารสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 1949 เมื่อกำลังอิสราเอลยึดทะเลทรายเนเกฟและถึงทะเลแดง ในปี 1949 อิสราเอลลงนามการสงบศึกแยกกันกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้ กับประเทศอียิปต์ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์, กับประเทศเลบานอนในวันที่ 23 มีนาคม, กับทรานส์จอร์แดนในวันที่ 3 เมษายน และกับประเทศซีเรียในัวนที่ 20 กรกฎาคม ในช่วงนี้ การหนีของและการขับไล่ชาวอาหรับปาเลสไตน์ยังคงดำเนินต่อไป

ในช่วงสามปีหลังสงคราม ยิวประมาณ 700,000 คนเข้าเมืองอิสราเอลจากทวีปยุโรปและดินแดนอาหรับ โดยหนึ่งในสามของจำนวนนี้ออกหรือถูกขับออกจากประเทศถิ่นพำนักของตนในตะวันออกกลาง[17][18][19] ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ถูกกลืนเข้าสู่อิสราเอลในแผนหนึ่งล้าน[20][21][22][23]

แผนภาพ

[แก้]
แผนที่ชุดสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1947–1949
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 1948
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 1948 
สถานการณ์ในเดือนตุลาคม 1948
สถานการณ์ในเดือนตุลาคม 1948 
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 1948 – 7 มกราคม 1949
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 1948 – 7 มกราคม 1949 
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคม 1949
สถานการณ์ระหว่างวันที่ 5–10 มีนาคม 1949 
แผนที่หลังการสงบศึก
แผนที่หลังการสงบศึก 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Palestine Post, "Israel's Bedouin Warriors", Gene Dison, August 12, 1948
  2. AFP (24 April 2013). "Bedouin army trackers scale Israel social ladder". Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 7 May 2015.
  3. Anita Shapira, L'imaginaire d'Israël : histoire d'une culture politique (2005), Latroun : la mémoire de la bataille, Chap. III. 1 l'événement p. 91–96
  4. Benny Morris (2008), p.419.
  5. Pollack, 2004; Sadeh, 1997
  6. 6.0 6.1 Sandler, Stanley (2002). Ground Warfare: An International Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 160. ISBN 9781576073445.
  7. Rosemarie Esber, Under the Cover of War, Arabicus Books & Medica, 2009, p.28.
  8. Casualties in Arab-Israeli Wars
  9. Clodfelter, Micheal (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015, 4th ed. McFarland. p. 572. ISBN 978-0786474707.
  10. Reuven Firestone To Jews, the Jewish-Arab war of 1947–1948 is the War of Independence (milchemet ha'atzma'ut). To Arabs, and especially Palestinians, it is the nakba or calamity. I therefore refrain from assigning names to wars. I refer to the wars between the State of Israel and its Arab and Palestinian neighbors according to their dates: 1948, 1956, 1967, 1973, and 1982.' Reuven Firestone, Holy War in Judaism: The Fall and Rise of a Controversial Idea, Oxford University Press, 2012 p.10, cf.p.296
  11. Neil Caplan, ‘Perhaps the most famous case of differences over the naming of events is the 1948 war (more accurately, the fighting from December 1947 through January 1949). For Israel it is their “War of Liberation” or “War of Independence” (in Hebrew, milhemet ha-atzama’ut) full of the joys and overtones of deliverance and redemption. For Palestinians, it is Al-Nakba, translated as “The Catastrophe” and including in its scope the destruction of their society and the expulsion and flight of some 700,000 refugees.’ The Israel-Palestine Conflict: Contested Histories, John Wiley & Sons, Sep 19, 2011 p.17.
  12. Neil Caplan Although some historians would cite 14 May 1948 as the start of the war known variously as the Israeli War of Independence, an-Nakba (the (Palestinian) Catastrophe), or the first Palestine war, it would be more accurate to consider that war as beginning on 30 November 1947'. Futile Diplomacy: The United Nations, the Great Powers, and Middle East Peacemaking 1948–1954, (vol.3) Frank Cass & Co, 1997 p.17
  13. — Benny Morris, 2004. The Birth of the Palestinian Refugee Problem Revisited, pp. 602–604. Cambridge University Press; ISBN 978-0-521-00967-6. "It is impossible to arrive at a definite persuasive estimate. My predilection would be to opt for the loose contemporary British formula, that of 'between 600,000 and 760,000' refugees; but,if pressed, 700,000 is probably a fair estimate";
    Memo US Department of State, 4 May 1949, FRUS, 1949, p. 973.: "One of the most important problems which must be cleared up before a lasting peace can be established in Palestine is the question of the more than 700,000 Arab refugees who during the Palestine conflict fled from their homes in what is now Israeli occupied territory and are at present living as refugees in Arab Palestine and the neighbouring Arab states.";
    Memorandum on the Palestine Refugee Problem, 4 May 1949, FRUS, 1949, p. 984.: "Approximately 700,000 refugees from the Palestine hostilities, now located principally in Arab Palestine, Transjordan, Lebanon and Syria, will require repatriation to Israel or resettlement in the Arab states."
  14. Morris (2008), p.63–65
  15. Morris (2008), p.77–79
  16. Tal (2003), p.41
  17. Devorah Hakohen, Immigrants in Turmoil: Mass Immigration to Israel and Its Repercussions in the 1950s and after, Syracuse University Press 2003 p.267
  18. Displaced Persons retrieved on 29 October 2007 from the U.S. Holocaust Museum.
  19. Tom Segev, 1949. The First Israelis, Owl Books, 1986, p.96.
  20. Morris, 2001, chap. VI.
  21. "Jewish Refugees of the Israeli Palestinian Conflict". Mideast Web. สืบค้นเมื่อ 2013-04-01.
  22. Axelrod, Alan (2014). Idiot's Guides: The Middle East Conflict. Penguin Group. ISBN 9781615646401.
  23. Benny Morris, Righteous Victims, chap. VI.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]