iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/ยอ
ยอ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ยอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอ
ใบและผลของต้นยอ (Morinda citrifolia L.)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Rubiaceae
สกุล: Morinda
สปีชีส์: M.  citrifolia
ชื่อทวินาม
Morinda citrifolia
L.
ดอกยอ

ยอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม

สารอาหารและสารเคมีในผลยอ

[แก้]
ผลยอในฮาวาย
ผลยอผ่าตามขวางแสดงลักษณะของผลรวม

ใบอ่อนนำมาลวกกินกับน้ำพริก แกงจืด แกงอ่อม หรือใช้รองกระทงห่อหมก ผัดไฟแดง ลูกยอสุกกินกับเกลือหรือกะปิ ลูกห่ามใช้ตำส้มตำ ปัจจุบันมีการนำลูกยอไปคั้นเป็นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ป้องกันโรคภูมิแพ้

ลูกยอบดประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและเส้นใย [1] มีธาตุอาหารที่พบในน้ำลูกยอเล็กน้อย[2] ในลูกยอบดมี วิตามินซี ไนอะซิน (วิตามิน B3), เหล็ก และโพแทสเซียม[1] วิตามินเอ, แคลเซียม และ โซเดียม เมื่อคั้นเป็นน้ำจะเหลือแต่วิตามินซี [2] ในปริมาณครึ่งหนึ่งของส้มดิบ[3] แต่มีโซเดียมสูงกว่า[1] ลูกยอมีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ แม้จะมีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเหล่านี้ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการสรุปถึงประโยชน์ต่อมนุษย์ [4][5][6][7][8]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ใบสดใช้สระผม กำจัดเหา ผลยอแก่มี asperuloside แอนโทรควิโนน ช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในโพลีเนเซีย ใช้ผลอ่อน ใบและรากใช้รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ความระคายเคืองในทางเดินอาหาร เบาหวาน โรคเกี่ยวกับตับ และการติดเชื้อในระบบขับถ่ายปัสสาวะ [9] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้น้ำคั้นจากผลรักษาดีซ่าน[10]

รากใช้ย้อมสีให้สีแดงหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกให้สีแดง เนื้อในเปลือกสีเหลืองใช้ย้อมสีผ้าบาติก ในฮาวาย สกัดสีเหลืองจากรากยอใช้ย้อมผ้า [11] มีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดยอ [12] ซึ่งมีกรดลิโนเลอิกมาก ใช้ทาลดการอักเสบและลดการเกิดสิว [13][14][15]ลูกยอสุก รับประทานโดยนำมาจิ้มกับพริกกับเกลือหรือเอามาสับเอาแต่เนื้อกวนกับน้ำตาล ใบยอใช้รองห่อหมก แกงอ่อมใบยอ แกงเผ็ดปลาขมิ้นใบยอ ผักลวกจิ้มน้ำพริก[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Nelson, Scot C. (2006) "Nutritional Analysis of Hawaiian Noni (Noni Fruit Powder)" The Noni Website. Retrieved 15-06-2009.
  2. 2.0 2.1 Nelson, Scot C. (2006) "Nutritional Analysis of Hawaiian Noni (Pure Noni Fruit Juice)" The Noni Website. Retrieved 15-06-2009.
  3. "World's Healthiest Foods, in-depth nutrient analysis of a raw orange". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-14.
  4. Saleem, Muhammad; Kim, Hyoung Ja; Ali, Muhammad Shaiq; Lee, Yong Sup (2005). "An update on bioactive plant lignans". Natural Product Reports. 22 (6): 696. doi:10.1039/b514045p. PMID 16311631.
  5. Deng, Shixin; Palu, ‘Afa K.; West, Brett J.; Su, Chen X.; Zhou, Bing-Nan; Jensen, Jarakae C. (2007). "Lipoxygenase Inhibitory Constituents of the Fruits of Noni (Morindacitrifolia) Collected in Tahiti". Journal of Natural Products. 70 (5): 859–62. doi:10.1021/np0605539. PMID 17378609.
  6. Lin, Chwan Fwu; Ni, Ching Li; Huang, Yu Ling; Sheu, Shuenn Jyi; Chen, Chien Chih (2007). "Lignans and anthraquinones from the fruits ofMorinda citrifolia". Natural Product Research. 21 (13): 1199–204. doi:10.1080/14786410601132451. PMID 17987501.
  7. Levand, Oscar; Larson, Harold (2009). "Some Chemical Constituents of Morinda citrifolia". Planta Medica. 36 (06): 186–7. doi:10.1055/s-0028-1097264.
  8. Mohd Zin, Z.; Abdul Hamid, A.; Osman, A.; Saari, N.; Misran, A. (2007). "Isolation and Identification of Antioxidative Compound from Fruit of Mengkudu (Morinda citrifoliaL.)". International Journal of Food Properties. 10 (2): 363–73. doi:10.1080/10942910601052723.
  9. Wang MY, West BJ, Jensen CJ, Nowicki D, Su C, Palu AK, Anderson G (2002). "Morinda citrifolia (Noni): a literature review and recent advances in Noni research". Pharmacol Sin. 23 (12): 1127–41. PMID 12466051.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  11. Thompson, RH (1971). Naturally Occurring Anthraquinones. New York: Academic Press.
  12. West, Brett J.; Jarakae Jensen, Claude; Westendorf, Johannes (2008). "A new vegetable oil from noni (Morinda citrifolia) seeds". International Journal of Food Science & Technology. 43 (11): 1988–92. doi:10.1111/j.1365-2621.2008.01802.x.
  13. "Plant oils: Topical application and anti-inflammatory effects (croton oil test)". Dermatol. Monatsschr. 179: 173. 1993. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  14. Letawe, C; Boone, M; Pierard, GE (1998). "Digital image analysis of the effect of topically applied linoleic acid on acne microcomedones". Clinical and Experimental Dermatology. 23 (2): 56–8. doi:10.1046/j.1365-2230.1998.00315.x. PMID 9692305.
  15. Darmstadt, GL; Mao-Qiang, M; Chi, E; Saha, SK; Ziboh, VA; Black, RE; Santosham, M; Elias, PM (2007). "Impact of topical oils on the skin barrier: possible implications for neonatal health in developing countries". Acta Paediatrica. 91 (5): 546–54. doi:10.1080/080352502753711678. PMID 12113324.
  16. นิดดา หงส์วิวัฒน์. ยอ สุดยอดอาหารของคนโบราณ. ครัว ปีที่ 21 ฉบับที่ 244 ตุลาคม 2557 หน้า 18

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Noni: The Complete Guide for Consumers and Growers. Permanent Agriculture Resources. 2006. p. 112. ISBN 0-9702544-6-6. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  • Kamiya, Kohei; Tanaka, Yohei; Endang, Hanani; Umar, Mansur; Satake, Toshiko (2004). "Chemical Constituents of Morinda citrifolia Fruits Inhibit Copper-Induced Low-Density Lipoprotein Oxidation". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 52 (19): 5843–8. doi:10.1021/jf040114k. PMID 15366830.
  • "The Noni Website". 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Thomas, Chris (August 30, 2002). "Noni No Miracle Cure". Cancerpage.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-07-14.
  • Anthony, Mark. "Noni or NIMBY?". Foodprocessing.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2012-07-14.