iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาซีรีแอก
ภาษาซีรีแอก - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาซีรีแอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซีรีแอก
ܠܫܢܐ ܣܘܪܝܝܐ leššānā Suryāyā
ออกเสียง/surˈjɑjɑ/ (ตะวันออก), /surˈjɔjɔ/ (ตะวันตก)
ประเทศที่มีการพูดอาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, จอร์เจีย, อิหร่าน, อิรัก, เลบานอน, ปาเลสไตน์, อิสราเอล, ซีเรีย, ตุรกี, รัฐเกราลา, อินเดีย
จำนวนผู้พูด1 500,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีรีแอก
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อิรัก (บริเวณที่มีชาวอัสซีเรียเป็นชนส่วนใหญ่)
รหัสภาษา
ISO 639-2syr
ISO 639-3มีหลากหลาย:
syr – ภาษาซีรีแอก (ทั่วไป)
syc – ภาษาซีรีแอก (คลาสสิก)
aii – ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย
bhn – ภาษาแอราเมอิกใหม่โบห์ตัน
cld – ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย
lhs – ภาษามลาโซ
kqd – ภาษากอย ซันจัก ซูรัต
syn – ภาษาเซนายา
tru – ภาษาตูโรโย
เอกสารภาษาซีรีแอกอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16

ภาษาซีรีแอก (อังกฤษ: Syriac language; ซีรีแอก: ܣܘܪܝܝܐ Suryāyā) เป็นสำเนียงตะวันออกของภาษาแอราเมอิก ใช้พูดในกลุ่มชาวคริสต์ ที่อยู่ระหว่างจักรวรรดิโรมันและเปอร์เซีย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 –12 ปัจจุบันยังคงใช้ในทางศาสนา โดยผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่ในซีเรีย และใช้ในโบสถ์คริสต์ของชาวซีเรีย ในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เป็นภาษาทางศาสนาในตะวันออกกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 – 13 [1] ความหมายอย่างกว้างหมายถึงภาษาแอราเมอิกตะวันออกทั้งหมดที่ใช้ในหมู่ชาวคริสต์ ความหมายอย่างจำเพาะเจาะจงหมายถึงภาษาคลาสสิกของอีเดสซา ซึ่งเป็นภาษาทางศาสนาของชาวซีรีแอกที่นับถือศาสนาคริสต์ และกลายเป็นสื่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมและศาสนาคริสต์จากทางเหนือไปสู่มาลาบาร์ และจากทางตะวันออกไปถึงจีนเคยใช้เป็นภาษากลางระหว่างชาวอาหรับกับชาวเปอร์เซียก่อนจะถูกแทนที่ด้วยภาษาอาหรับเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 13

การจัดจำแนก

[แก้]

ภาษาซีรีแอกเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก อยู่ในภาษากลุ่มเซมิติก สาขาเซมิติกตะวันตก และจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาแอราเมอิก เขียนด้วยอักษรซีรีแอก

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

เริ่มแรกภาษาซีรีแอกเป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกท้องถิ่น ในเมโสโปเตเมียภาคเหนือ ก่อนที่ภาษาอาหรับจะเข้ามาเป็นภาษหลักในภูมิภาคนี้ ภาษาซีรีแอกเคยเป็นภาษาหลักของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง เอเชียกลางและรัฐเกรละ ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นภาษาแรกในชุมชนเล็ก ๆ ในซีเรีย เลบานอน ตุรกี อิรัก อิหร่าน ปาเลสไตน์ อิสราเอล อาร์มีเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน

ประวัติ

[แก้]

ประวัติของภาษาซีรีแอกแบ่งได้เป็นสามยุคกว้างๆคือ

จุดกำเนิด

[แก้]

ภาษาซีรีแอกเริ่มจากเป็นสำเนียงที่ไม่มีการเขียนของภาษาแอราเมอิกโบราณในเมโสโปเตเมียเหนือ หลักฐานอย่างแรกของสำเนียงนี้คืออิทธิพลต่อภาษาแอราเมอิกจักรวรรดิในพุทธศตวรรษที่ 10 หลังจากการรุกรานซีเรียและเมโสโปเตเมียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ภาษาซีรีแอกและภาษาแอราเมอิกสำเนียงอื่นๆกลายเป็นภาษาเขียนเพื่อต่อต้านการทำให้เป็นกรีก ใน พ.ศ. 411 ราชอาณาจักรออสโรเอเนที่พบในเอเดสซาใช้ภาษาซีรีแอกเป็นภาษาราชการ

ภาษาซีรีแอกวรรณคดี

[แก้]

ในพุทธศตวรรษที่ 8 โบสต์คริสต์ในเอเดสซาเริ่มใช้ภาษาซีรีแอกในทางศาสนา มีการแปลไบเบิลเป็นภาษาซีรีแอก (ܦܫܝܛܬܐ Pšîṭtâ) และมีการเขียนกวีนิพนธ์ด้วยภาษาซีรีแอกมากมาย ตัวอย่างเช่น Ṭûḇayhôn l'aylên daḏkên b-lebbhôn: d-hennôn neḥzôn l'allāhâ.(ลมหายใจบริสุทธิ์ในหัวใจ สำหรับพวกเขาที่จะได้เห็นพระเจ้า)

ใน พ.ศ. 1032 ชาวคริสต์ที่พูดภาษาซีรีแอกจำนวนมากอพยพจากจักรวรรดิโรมันไปยังเปอร์เซียเพื่อหลีกหนีการกลั่นแกล้งและความเป็นปฏิปักษ์ของชาวคริสต์ที่พูดภาษากรีก การเพิ่มขึ้นของนิกายในเปอร์เซียที่เรียกว่าเนสโตเรียโดยชาวตะวันตก ทำให้ภาษาซีรีแอกถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือสำเนียงตะวันตกและตะวันออกโดยมีความแตกต่างกันทั้งด้านระบบเสียง ระบบการเขียนและคำศัพท์ด้วยบางส่วน

ภาษาซีรีแอกยุคกลางตะวันตกเป็นภาษาราชการของนิกายซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ นิกายซีเรียนคาทอลิก นิกายมาโรไนต์ นิกายมาลันการาซีเรียนออร์ทอดอกซ์ นิกายมาร์ โทมา และนิกายซีโร-มาลันการาคาทอลิก

ภาษาซีรีแอกยุคกลางตะวันออกเป็นภาษาทางศาสนาของนิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก (รวมนิกายคัลเดียนซีเรียนด้วย) นิกายคัลเดียนคาทอลิก และนิกายซีโร-มาลาบาร์

ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ภาษาอาหรับเข้ามาเป็นภาษาสำหรับการติดต่อสื่อสารแทนภาษาซีรีแอก การรุกรานของมองโกลในพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้ผู้พูดภาษานี้ลดลงอย่างรวดเร็ว มีการฟื้นฟูภาษาซีรีแอกโดยออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาซีรีแอกวรรณคดี (ܟܬܒܢܝܐ Kthābānāyā) แปลหนังสือจากภาษาอาหรับและภาษาของชาวตะวันตกเป็นภาษาซีรีแอก ส่วนภาษาซีรีแอกในรัฐเกรละถูกแทนที่ด้วยภาษามลยาฬัม

ภาษาซีรีแอกสมัยใหม่

[แก้]

ภาษาซีรีแอกคลาสสิกผสมกับสำเนียงตะวันออกอื่นๆของภาษาแอราเมอิกที่ไม่มีการเขียนซึ่งใช้พูดตลอดภาคเหนือของเมโสโปเตเมีย ภาษาซีรีแอกสมัยใหม่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาษาซีรีแอกคลาสสิกและมีความหลากหลายจนทำให้การติดต่อระหว่างผู้พูดภาษาซีรีแอกสมัยใหม่ต่างสำเนียงกันเข้าใจกันได้ยาก

ภาษาหลักของภาษาซีรีแอกตะวันตกสมัยใหม่ได้แก่ภาษาตูโรโยซึ่งเป็นสำเนียงภูเขาของตูร์ อับดินในตุรกีตะวันออก ภาษาที่ใกล้เคียงแต่เป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหากและคาดว่าเป็นภาษาตายไปแล้วคือภาษามลาโซ

ภาษาซีรีแอกตะวันออกสมัยใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับสำเนียงยิวของภาษาแอราเมอิกตะวันออก ภาษาในกลุ่มนี้แพร่กระจายจากบริเวณทะเลสาบอูร์เมียในโมซุล มีความหลากหลายมาก ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดียเป็นภาษาหลักของชาวคริสต์ เนื่องจากความขัดแย้งในบริเวณนี้ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้พูดภาษานี้มีการแพร่กระจายไป ทางใต้ไปซีเรียและอิรัก ทางเหนือไปจอร์เจีย อาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจาน รวมทั้งบริเวณอื่นๆของโลก

ไวยากรณ์

[แก้]

คำในภาษาซีรีแอกสร้างจากรากศัพท์พยัญชนะสามตัวเช่นเดียวกับภาษากลุ่มเซมิติกอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ܫܩܠ, ŠQL, แสดงความหมายพื้นฐานของการนำไป และสามารถสร้างคำจากรากศัพท์นี้ได้เป็น

  • ܫܩܠ — šqal: "เขานำไป (perfect tense) "
  • ܢܫܩܘܠ — nešqûl: "เขานำไป (ปัจจุบัน"
  • ܫܩܠ — šaqel: "เขาถูกยกขึ้น"
  • ܐܫܩܠ — ašqel: "เขาจัดออก"
  • ܫܩܠܐ — šqālâ: "การนำไป, ภาระ, พยางค์"
  • ܫܩܠܐ — šeqlē: "ภาษี"
  • ܫܩܠܘܬܐ — šaqlûṯā: "สัตว์สำหรับบรรทุก"
  • ܫܘܩܠ — šûqālâ: "ความจองหอง"

นาม

[แก้]

คำนามส่วนใหญ่มาจากรากศัพท์พยัญชนะสามตัว นามมีสองเพศคือบุรุษและสตรี แบ่งตามจำนวนเป็นเอกพจน์และพหูพจน์ ส่วนน้อยที่เป็นทวิพจน์ สถานะทางไวยากรณ์ของนามมีสามแบบเช่นเดียวกับภาษาอื่นในกลุ่มเดียวกันคือ

  • สถานะสัมบูรณ์เป็นรูปแบบพื้นฐานของนาม เช่น — ܫܩܠܝܢ, šeqlîn, "ภาษี".
  • สถานะเน้น แสดงนามชี้เฉพาะ แบบเดียวกับนามที่ใช้กบคำนำหน้านาม the ในภาษาอังกฤษ เช่น — ܫܩܠܐ, šeqlē, "ภาษี".
  • โครงสร้างผูกประโยค เป็นนามที่สัมพันธ์กับอีกคำนามหนึ่ง เช่น — ܫܩܠܝ, šeqlay, "ภาษีของ.."

ระหว่างพัฒนาการของภาษาซีรีแอกคลาสสิก สถานะเน้นกลายเป็นโครงสร้างทั่วไปของนาม สถานะสัมบูรณ์และสถานะโครงสร้างถูกใช้ในรูปวลีต่างๆ เช่น ܒܪ ܐܢܫܐ, bar nāšâ, "ผู้ชาย", ตรงตัว "ลูกชายของผู้ชาย")

ภาษาซีรีแอกโบราณและยุคคลาสสิกตอนต้น คำนามแสดงความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่สร้างด้วยสถานะโครงสร้าง เช่น ܫܩܠܝ ܡܠܟܘܬܐ, šeqlay malkûṯâ, หมายถึง "ภาษีของราชอาณาจักร" ต่อมาสถานะโครงสร้างถูกแทนที่ด้วยอนุภาคแสดงความสัมพันธ์ ܕ, d- ทำให้วลีเดิมข้างต้นเปลี่ยนเป็น ܫܩܠܐ ܕܡܠܟܘܬܐ, šeqlē d-malkûṯâ, ซึ่งนามทั้งสองคำอยู่ในสถานะเน้น นอกจากนั้น อาจใช้วิธีเติมปัจจัยก่อนประธาน เป็น ܫܩܠܝܗ ܕܡܠܟܘܬܐ, šeqlêh d-malkûṯâ นามทั้งสองคำยังอยู่ในสถานะเน้นเช่นเดิม แต่นามคำแรกมีปัจจัยเพิ่มเข้ามาและถอดความตามตัวอักษรได้เป็น ภาษีของหล่อน, อาณาจักรเหล่านั้น

คำคุณศัพท์

[แก้]

คำคุณศัพท์มีเพศเช่นเดียวกับนามที่ขยาย จะอยู่ในสถานะสัมบูรณ์เมื่อเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ แต่อาจจะเปลี่ยนไปเมื่อแสดงลักษณะไปตามลักษณะของนาม เช่น, ܒܝܫܝܢ ܫܩܠܐ, bîšîn šeqlē, หมายถึง "ภาษีเป็นสิ่งชั่วร้าย", ในขณะที่ ܫܩܠܐ ܒܝܫܐ, šeqlē ḇîšē, หมายถึง "ภาษีชั่วร้าย"

กริยา

[แก้]

ส่วนใหญ่อยุ่ในรูปรากศัพท์พยัญชนะสามตัว คำกริยาแต่ละคำแสดงบุคคล เพศ (ยกเว้นบุรุษที่ 1 ) จำนวน กาลและสันธาน ภาษาซีรีแอกมีสองกาลคือกาลสัมบูรณ์และกาลไม่สัมบูรณ์ ซึ่งเทียบเคียงได้กับอนาคตและอดีต กาลปัจจุบันใช้อนุภาคตามด้วยสรรพนามประธาน คำสันธานรวมอยู่กับคำกริยาเช่นเดียวกับภาษากลุ่มเซมิติกอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ความหมายของกริยาเปลี่ยนไป สันธานตัวแรกคือ สถานะพื้นฐานหรือรูปแบบPə`al (แสดงความหมายจริงๆของคำ) สถานะเน้นหรือรูปแบบ Pa``el, แสดงความหมายที่เน้นหนัก สถานะอย่างกว้างหรือรุปแบบ Ap̄`el, แสดงความหมายที่เป็นเหตุผล สถานะเหล่านี้เป็นคู่ขนานกับสันธานถูกกระทำ Eṯpə`el, Eṯpa``al และ Ettap̄`al ตามลำดับนอกจากนี้มีสันธานไม่ปกติ เช่น the Šap̄`el and Eštap̄`al, เพื่อให้ความหมายที่กว้างขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Beyer, Klaus1986.The Aramaic Language: its distribution and subdivisions.John F. Healey (trans.)GöttingenVandenhoeck und Ruprechtpages=44isbn=3-525-53573-2
  • Journal of Sacred Literature, New Series [Series 4] vol. 2 (1863) pp. 75-87, The Syriac Language and Literature
  • Beyer, Klaus (1986). The Aramaic language: its distribution and subdivisions. Göttingen: Vandenhoeck und Ruprecht. ISBN 3-525-53573-2.
  • Brock, Sebastian (2006). An Introduction to Syriac Studies. Piscataway, NJ: Gorgias Press. ISBN 1-59333-349-8.
  • Brockelmann, Carl (1895). Lexicon Syriacum. Berlin: Reuther & Reichard; Edinburgh: T. & T. Clark.
  • Healey, John F (1980). First studies in Syriac. University of Birmingham/Sheffield Academic Press. ISBN 0-7044-0390-0.
  • Maclean, Arthur John (2003). Grammar of the dialects of vernacular Syriac: as spoken by the Eastern Syrians of Kurdistan, north-west Persia, and the Plain of Mosul: with notices of the vernacular of the Jews of Azerbaijan and of Zakhu near Mosul. Gorgias Press. ISBN 1-59333-018-9.
  • Nöldeke, Theodor and Julius Euting (1880) Kurzgefasste syrische Grammatik. Leipzig: T.O. Weigel. [translated to English as Compendious Syriac Grammar, by James A. Crichton. London: Williams & Norgate 1904. 2003 edition: ISBN 1-57506-050-7].
  • Payne Smith, Jessie (Ed.) (1903). A compendious Syriac dictionary founded upon the Thesaurus Syriacus of Robert Payne Smith. Oxford University Press, reprinted in 1998 by Eisenbraums. ISBN 1-57506-032-9.
  • Robinson, Theodore Henry (1915). Paradigms and exercises in Syriac grammar. Oxford University Press. ISBN 0-19-926129-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]