iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาคาลาซ
ภาษาแฆแลจ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาแฆแลจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาคาลาซ)
ภาษาแฆแลจ
خلج
ประเทศที่มีการพูดประเทศอิหร่าน
ภูมิภาคส่วนหนึ่งของจังหวัดโกม (ส่วนใหญ่อยู่ในแฆแลแจสถาน)
ชาติพันธุ์ชาวแฆแลจ
จำนวนผู้พูด19,000  (2018)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Talx-āb[3][a]
Xarrāb[4]
Dāγān[5]
รหัสภาษา
ISO 639-3klj
แผนที่บริเวณผู้ใช้ภาษาแฆแลจ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาแฆแลจ เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่มีผู้พูดในประเทศอิหร่าน ถึงแม้ว่าจะยังคงมีคุณสมบัติภาษาเตอร์กิกเก่า แต่ได้แผลงเป็นเปอร์เซียแล้ว[6][7] ใน ค.ศ. 1978 มีผู้พูดภาษานี้ 20,000 คนใน 50 หมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงใต้ของเตหะราน[3] แต่จำนวนนี้ลดลงเหลือประมาณ 19,000 คน[1] ในภาษาแฆแลจมีประมาณ 150 คำที่ไม่ทราบต้นกำเนิด[8] จากการสำรวจพบว่า พ่อแม่ชาวแฆแลจส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ส่งต่อภาษาของตนแก่ลูก ๆ โดยมีผู้ส่งต่อภาษานี้เพียง 5 ใน 1,000 ครัวเรือน[1]

ภาษาแฆแลจเป็นภาษาที่สืบจากภาษาเตอร์กิกเก่าที่มีชื่อว่า Arghu [ru][2][9] มะห์มูด อัลกาชเฆาะรี นักพจนานุกรมภาษาเตอร์กิกในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นบุคคลแรกที่ให้ตัวอย่างของภาษาแฆแลจ ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับภาษาแฆแลจในปัจจุบัน[7]

แกร์ฮาร์ด เดอร์เฟอร์ (Gerhard Doerfer) ผู้ค้นพบภาษาแฆแลจอีกครั้ง ได้พิสูจน์ว่าภาษานี้เป็นภาษาแรกที่แยกตัวออกจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกทั่วไป[9]

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
เสียงพยัญชนะ[10]
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
นาสิก m n ŋ
หยุด/
กักเสียดแทรก
อโฆษะ p t ç [t͡ʃ] k q
โฆษะ b d c [d͡ʒ] ɡ ɢ
เสียดแทรก อโฆษะ f s ş [ʃ] x h
โฆษะ v z ʒ ğ [ɣ]
เปิด l j
โรติก r

สระ

[แก้]
เสียงสระ[10]
หน้า กลาง หลัง
ไม่ห่อ ห่อ
ปิด i [i] ī [iː] ü [y] üː[yː] ı [ɨ] ıː[ɨː] u [u][uː]
กลาง e [e][eː] ö [ø] öː [øː] o [o][oː]
เปิด ä [æ] äː[æː] a [a] aa [aː]

เดอร์เฟอร์อ้างว่าภาษาแฆแลจ ยังคงความยาวของเสียงสระสามระดับไว้ตามสมมุติฐานของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิม: เสียงยาว (เช่น [qaːn] 'เลือด') เสียงกึ่งหนึ่ง (เช่น [baˑʃ] 'หัว') และเสียงสั้น (เช่น [hat] 'ม้า')[11][12] อย่างไรก็ตาม อเล็กซิส แมแนสเตอร์ แรเมอร์ (Alexis Manaster Ramer) คัดค้านทั้งการตีความว่าภาษาแฆแลจมีความยาวเสียงสระสามระดับและภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมีความยาวเสียงสระสามระดับเช่นกัน[13] สระบางสระของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมถูกรับรู้ว่าเป็นสระประสมเน้นเสียงแรก (falling diphthong) เช่นในคำว่า [quo̯l] ('แขน')

ไวยากรณ์

[แก้]

นาม

[แก้]

โดยทั่วไปมีเครื่องหมายแสดงพหูพจน์และความเป็นเจ้าของ ภาษาแฆแลจประกอบด้วยสัมพันธการก, กรรมการก, สัมปทานการก, อธิกรณการก, อปาทานการก, กรณการก และสมการการก รูปแบบของการเติมปัจจัยการกเปลี่ยนตามการกลมกลืนเสียงสระและพยัญชนะที่ตามมา การลงท้ายของปัจจัยการกจะสัมพันธ์กับปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ ตารางต่อไปนี้ แสดงการลงท้ายของการกแบบพื้นฐาน

การก ปัจจัย
กรรตุการก -
สัมปทานการก -A, -KA
กรรมการก -I, -NI
อธิกรณการก -čA
อปาทานการก -dA
กรณการก -lAn, -lA, -nA
สมการการก -vāra

กริยา

[แก้]

คำกริยาผันตามรูปการกระทำ กาล จุดมุ่งหมายและรูปการปฏิเสธ กริยาจะประกอบด้วยรูปคำต่อไปนี้

รากศัพท์ + การกระทำ + ปฏิเสธ + กาล/จุดมุ่งหมาย + ข้อตกลง

การเรียงประโยค

[แก้]

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์นำหน้านาม

คำศัพท์

[แก้]

ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก แต่มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมาก รวมทั้งศัพท์จากกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ภาษาอาเซอร์ไบจาน

ตัวเลข

[แก้]

ส่วนใหญ่มาจากศัพท์ของกลุ่มภาษาเตอร์กิก ยกเว้น "80" และ "90" มาจากภาษาเปอร์เซีย

  • 1 - [biː]
  • 2 - [æk.ki]
  • 3 - [yʃ]
  • 4 - [tœœɾt]
  • 5 - [bieʃ]
  • 6 - [al.ta]
  • 7 - [jæt.ti]
  • 8 - [sæk.kiz]
  • 9 - [toq.quz]
  • 10 - [uon]
  • 20 - [ji.giɾ.mi]
  • 30 - [hot.tuz]
  • 40 - [qiɾq]
  • 50 - [æl.li]
  • 60 - [alt.miʃ]
  • 70 - [yæt.miʃ]
  • 80 - [saj.san] (เตอร์กิก), [haʃ.tad] (เปอร์เซีย)
  • 90 - [toqx.san] (เตอร์กิก), [na.vad] (เปอร์เซีย)
  • 100 - [jyːz]
  • 1000 - [min], [miŋk]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ถือเป็นภาษาต่างหากมากกว่าสำเนียง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 زبان خلجی در حال انقراض [Endangered Khalaj language]. همشهری آنلاین [Hamshahri Online] (ภาษาเปอร์เซีย). 2019-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-26.
  2. 2.0 2.1 Johanson & Csató 1998, p. 81.
  3. 3.0 3.1 Doerfer 1977, p. 17.
  4. Doerfer 1977, p. 18.
  5. Doerfer 1977, p. 20.
  6. Knüppel 2009.
  7. 7.0 7.1 Ölmez 1995.
  8. Doerfer 1977, p. 32.
  9. 9.0 9.1 Robbeets 2015, p. 8.
  10. 10.0 10.1 Shcherbak 1997, p. 472.
  11. Doerfer 1971.
  12. Doerfer & Tezcan 1980.
  13. Manaster Ramer 1995, pp. 187–88.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

บทในหนังสือ หัวข้อวารสาร และรายการสารานุกรม

[แก้]
  • Cheung, Johnny; Aydemir, Hakan (2015). "Turco-Afghanica: On East Iranian *amarnā and Turkic alma, alïmla, almïla 'apple'". ใน Pelevin, Mikhail (บ.ก.). "На Пастбище Мысли Благой". Сборник статей к юбилею И. М. Стеблин-Каменского ["On the Pasture of Good Thoughts": Collected Articles for the Anniversary of I. M. Steblin-Kamensky] (ภาษารัสเซีย และ อังกฤษ). Saint Petersburg: Kontrast. pp. 73–94. ISBN 9785438001256. OCLC 1038607183.
  • Doerfer, Gerhard (1977). "Khalaj and its relation to the other Turkic languages". Yearbook of Turkic Studies - Belleten. 25: 17–32. ISSN 0564-5050. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2021.
  • Dybo, Anna (2006). Хронология тюркских языков и лингвистические контакты ранних тюрков [Chronology of Turkic languages and linguistic contacts of early Turks]. ใน Tenišev, E. R.; Dybo, A. V. (บ.ก.). Пратюркский язык-основа. Картина мира пратюркского этноса по данным языка [Proto-Turkic Base Language: A Picture of the World of the Proto-Turks According to Their Language] (PDF). Сравнительно-историческая грамматика тюркских языков [Comparative-Historical Grammar of Turkic Languages] (ภาษารัสเซีย). Vol. 6. Moscow: Nauka. pp. 766–817. ISBN 9785020327108. OCLC 13008487. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  • Kıral, Filiz (2000). "Reflections on –miš in Khalaj". ใน Johanson, Lars; Utas, Bo (บ.ก.). Evidentials: Turkic, Iranian and Neighbouring Languages. The Hague: Walter de Gruyter. pp. 89–102. ISBN 9783110805284. OCLC 868974004.
  • Knüppel, Michael (2009). "ḴALAJ ii. Ḵalaji Language". Encyclopædia Iranica. Vol. XV/4. pp. 364–365. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  • Manaster Ramer, Alexis (1995). "Khalaj (and Turkic) vowel lengths revisited". Wiener Zeitschrift für die Kunde des Morgenlandes. 85: 187–197. JSTOR 23866156.
  • Ölmez, Mehmet (กุมภาพันธ์ 1995). "Halaçlar ve Halaçça" [Khalajis and Khalaj] (PDF). Çağdaş Türk Dili (ภาษาตุรกี). 7 (84): 15–22. ISSN 1300-1345. OCLC 222016380. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
  • Shcherbak, A. M. (1997). Xaлaджcкий язык [Khalaj language]. ใน Tenišev, E. R. (บ.ก.). Тюркские языки [Turkic Languages]. Языки мира [Languages of the World] (ภาษารัสเซีย). Vol. 2. Moscow: Indrik. pp. 470–476. ISBN 9785857590614. OCLC 68040217.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]