iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.
iBet uBet web content aggregator. Adding the entire web to your favor.



Link to original content: http://th.wikipedia.org/wiki/ทหารราบ
ทหารราบ - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ทหารราบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารราบของกรมปืนเล็กยาวหลวงไอร์แลนด์ ณ ยุทธการที่แม่น้ำซอมม์ (ค.ศ. 1916) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ทหารราบ หรือ ทหารเดินเท้า (อังกฤษ: infantry, foot soldier) เป็นเหล่าทัพที่ประจัญบานแบบเดินเท้า ซึ่งต่างจากทหารม้า ทหารปืนใหญ่และทหารยานเกราะ ปกติเดินด้วยเท้าระหว่างศึกต่าง ๆ แต่อาจขี่ม้า ยานพาหนะทหารและยานขนส่งอย่างอื่นบ้าง ทหารราบเป็นเหล่าทัพส่วนใหญ่ของกองทัพประเทศส่วนใหญ่ ตรงแบบได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการสงคราม ทั้งกำลังพลสูญเสีย การขาดแคลน และความเครียดทางกายและจิต

เหล่าทัพแรกในประวัติศาสตร์คือทหารราบนี่เอง ในสมัยโบราณ ทหารราบติดอาวุธประชิดตัวระยะแรก เช่น หอก ขวานหรือดาบ หรืออาวุธระยะไกล เช่น หอกซัด สลิงหรือธนู ทหารราบบางส่วนมีทั้งอาวุธประชิดตัวและระยะไกล เมื่อมีการพัฒนาดืนปืน ทหารราบเริ่มเปลี่ยนไปใช้อาวุธปืนเป็นหลัก เมื่อถึงสงครามนโปเลียน ทหารราบ ทหารม้าและทหารปืนใหญ่เกิดเป็นสามเหล่าทัพพื้นฐานของกองทัพ แต่ทหารราบยังเป็นเหล่าที่มีจำนวนมากที่สุด เมื่อมีสงครามยานเกราะ พาหนะสู้ยานเกราะเริ่มเข้าแทนที่ทหารม้า และอำนาจทางอากาศเพิ่มเข้ามาเป็นมิติใหม่ของการสู้รบภาคพื้นดิน แต่ทหารราบยังมีความสำคัญในปฏิบัติการรวมเหล่าสมัยใหม่ทั้งหมดดังเดิม

ทหารราบมีความตระหนักในสถานการณ์ท้องถิ่นดีกว่าเหล่าทัพอื่น ๆ เนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดกับสนามรบอยู่ตลอดเวลา จึงมีความสำคัญในการประจัญบานและแทรกซึมที่ตั้งของข้าศึก การถือครองและป้องกันพื้นที่ (เป้าหมายทางทหาร) การยึดชัยในสมรภูมิ การรักษาการควบคุมและความมั่นคงของพื้นที่ทหารทั้งที่แนวรบและหลังแนวรบ การยึดสรรพาวุธและยุทธภัณฑ์ การพาตัวเชลย และการยึดครองทางทหาร[1] ทหารราบสามารถรับรู้ ปรับตัวและตอบสนองต่อภาวะ ล้มฟ้าอากาศ และการเปลี่ยนอาวุธหรือยุทธวิธีของข้าศึกได้ง่ายกว่ามาก ทหารราบสามารถปฏิบัติการในภูมิประเทศได้หลากหลายซึ่งยานพาหนะทหารเข้าถึงไม่ได้ และสามารถปฏิบัติการโดยมีภาวะทางลอจิสติกส์ต่ำกว่า ทหารราบเป็นกำลังที่ส่งไปยังพื้นที่รบภาคพื้นดินได้ง่ายที่สุด อาจด้วยการเดินแถว หรือโดยสารรถบรรทุก ยานขนส่งทางน้ำหรืออากาศ นอกจากนี้ยังสามารถนำเข้าสู่การรบโดยตรงได้ด้วยการยกพลสะเทินน้ำสะเทินบก หรือการโจมตีทางอากาศด้วยร่มชูชีพ (ทหารราบพลร่ม) หรือเฮลิคอปเตอร์ (ทหารราบเคลื่อนที่ทางอากาศ) และสามารถเสริมได้ด้วยอาวุธที่ต้องใช้พลป้อนกระสุน ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะและยานต่อสู้ทหารราบได้หลายชนิด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Strater, Laura D. (2001). "Analysis of Infantry Situation Awareness Training Requirements" (ภาษาอังกฤษ). U.S. Army Research Institute for the Behavioral and Social Sciences.