พ.ศ. 2545
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2002)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2545 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2002 MMII |
Ab urbe condita | 2755 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1451 ԹՎ ՌՆԾԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6752 |
ปฏิทินบาไฮ | 158–159 |
ปฏิทินเบงกอล | 1409 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2952 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 50 Eliz. 2 – 51 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2546 |
ปฏิทินพม่า | 1364 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7510–7511 |
ปฏิทินจีน | 辛巳年 (มะเส็งธาตุโลหะ) 4698 หรือ 4638 — ถึง — 壬午年 (มะเมียธาตุน้ำ) 4699 หรือ 4639 |
ปฏิทินคอปติก | 1718–1719 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3168 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1994–1995 |
ปฏิทินฮีบรู | 5762–5763 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2058–2059 |
- ศกสมวัต | 1924–1925 |
- กลียุค | 5103–5104 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12002 |
ปฏิทินอิกโบ | 1002–1003 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1380–1381 |
ปฏิทินอิสลาม | 1422–1423 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 14 (平成14年) |
ปฏิทินจูเช | 91 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4335 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 91 民國91年 |
เวลายูนิกซ์ | 1009843200–1041379199 |
พุทธศักราช 2545 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 7 มกราคม - โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เยือนอัฟกานิสถาน ถือเป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่ไปเยือนหลังการล่มสลายของตาลีบัน
- 17 มกราคม - ชาวปาเลสไตน์กราดยิงชาวยิวเสียชีวิต 6 ศพในเมืองฮาเดอรา ฆาตกรถูกตำรวจอิสราเอลสังหาร กลุ่มกองพลผู้เสียสละอัล-อักซาออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 19 มกราคม – พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- 22 มกราคม - กลุ่มติดอาวุธใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะกราดยิงสถานทูตสหรัฐในกัลกัตตา ทำให้มีชาวอินเดียเสียชีวิต 5 คน
กุมภาพันธ์
[แก้]- 27 กุมภาพันธ์ – รถไฟขบวนหนึ่งที่นำนักแสวงบุญฮินดูกลับจากอโยธยา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางตะวันตกของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ถูกเผาโดยผู้ก่อการความรุนแรงชาวมุสลิม มีผู้เสียชีวิตบนรถไฟ 58 คน ส่งผลให้เกิดการจลาจลตอบโต้ นำไปสู่การเสียชีวิตของมุสลิมนับพันคน
มีนาคม
[แก้]- 1 มีนาคม – ปฏิบัติการแอนาคอนดาของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นในตะวันออกของอัฟกานิสถาน
- 17 มีนาคม มือปืนขว้างระเบิดมือเข้าใส่โบสถ์นิกายโปรแตสแตนท์ในเมืองอิสลามาบาด ประเทศปากีสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน คาดว่าเป็นฝีมือกองทัพแห่งความชอบธรรม
- 20 มีนาคม- เกิดระเบิดรถยนต์บริเวณศูนย์การค้าใกล้สถานทูตสหรัฐในกรุงลิมา ประเทศเปรู มีผู้เสียชีวิต 9 คน เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เดินทางไปเปรู 3 วัน
- 27 มีนาคม – เหตุระเบิดพลีชีพที่นาทันยา ประเทศอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 คน
- 30 มีนาคม - เกิดระเบิดที่ศาสนสถานของศาสนาฮินดูในรัฐชัมมูและกัษมีระ มีผู้เสียชีวิต 10 คน กลุ่มแนวร่วมอิสลามออกมาอ้างความรับผิดชอบ
เมษายน
[แก้]- 12 เมษายน - เกิดระเบิดพลีชีพบนเครื่องบินในกรุงเยรูซาเลม มีผู้เสียชีวิต 6 คน กลุ่มกองพลผู้เสียสละอัลอักซา ออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 30 เมษายน – การลงประชามติในปากีสถานรับรองให้เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีก 5 ปี
พฤษภาคม
[แก้]- 8 พฤษภาคม - เกิดระเบิดรถยนต์ในกรุงการาจี ประเทศปากีสถานมีผู้เสียชีวิต 12 คน คาดว่าเป็นฝีมือกลุ่มอัลกออิดะห์
- 9 พฤษภาคม - เกิดระเบิดควบคุมด้วยรีโมทในงานพาเหรดที่ดาเกสถาน ประเทศรัสเซีย มีผู้เสียชีวิต 42 คน คาดว่าเป็นฝีมือกลุ่มอัลกออิดะห์
- 20 พฤษภาคม – ประเทศติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีเซีย
มิถุนายน
[แก้]- 5 มิถุนายน – มูลนิธิมอซิลลาเปิดตัวโปรแกรมค้นดูเว็บ มอซิลลา 1.0
- 6 มิถุนายน – ดาวเคราะห์น้อยขนาดประมาณ 10 เมตร ระเบิดเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เกิดพลังงานที่รุนแรงกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มนางาซากิเล็กน้อย
- 7 มิถุนายน - ทหารฟิลิปปินส์เข้าโจมตีกลุ่มอาบูไซยาฟ ที่เกาะมินดาเนาเพื่อช่วยเหลือตัวประกันชาวสหรัฐที่ถูกจับไปแล้ว 1 ปี ผลปรากฏว่าตัวประกันถูกสังหาร ฝ่ายอาบูไซยาฟเสียชีวิต
- 22 มิถุนายน – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่ภาคตะวันตกของประเทศอิหร่านส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 261 ราย
- 30 มิถุนายน – ทีมฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 17 (สมัยที่5)
กรกฎาคม
[แก้]- 9 กรกฎาคม – ก่อตั้งสหภาพแอฟริกา ณ อาดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย
สิงหาคม
[แก้]- 5 สิงหาคม - เกิดการโจมตีโรงเรียนคริสต์ในปากีสถานที่มีเด็กจากคณะมิชชันนารีทั่วโลกมาร่วมประชุม มีผู้เสียชีวิต 6 คน
- 6 สิงหาคม - มีการโจมตีนักแสวงบุญชาวฮินดูที่ไปแสวงบุญในกัษมีระ มีผู้เสียชีวิต 6 คน
กันยายน
[แก้]- 11 กันยายน - เกิดการลอบสังหารนายมัสตัก อาห์เหม็ด โสนะ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของกัษมีระ
ตุลาคม
[แก้]- 12 ตุลาคม – เกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นที่ไนต์คลับ 2 แห่ง บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 202 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นชาวต่างชาติ
- 23-25 ตุลาคม - กบฏเชเชนจับประชาชนราว 700 คนเป็นตัวประกันในเหตุการณ์วิกฤติตัวประกันโรงละครมอสโก
พฤศจิกายน
[แก้]- 8 พฤศจิกายน – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านความเห็นชอบข้อมติ 1441 บังคับให้อิรักปลดอาวุธหรือไม่เช่นนั้นก็เผชิญกับ "ผลร้ายแรงที่ตามมาภายหลัง"
- 15 พฤศจิกายน – หู จิ่น เทา ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- 16 พฤศจิกายน – พบการระบาดครั้งแรกของโรคซาร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันเกิด
[แก้]- 3 มกราคม - นิโก กอนซาเลซ นักฟุตบอลชาวสเปน
- 9 มกราคม - เกียรติภูมิ บันลือชัยฤทธิ์ นักแสดงชายชาวไทย
- 5 กุมภาพันธ์ -
- คัง แทฮย็อน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- พัค จีซ็อง ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 2 มีนาคม - ชิน จียุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 11 มีนาคม - นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล นักร้องชาวไทย
- 13 มีนาคม - พัค แชริน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 17 มีนาคม - จักรภัทร อังศุธนมาลี นักแสดงชายชาวไทย
- 20 มีนาคม - คาวาอิ รุกะ สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวงเบบีมอนสเตอร์
- 27 มีนาคม - รตา ชินกระจ่างกิจ นักร้องชาวไทย
- 11 เมษายน - ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์ นักแสดงชายชาวไทย
- 16 เมษายน - เซดี้ ซิงค์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 20 เมษายน - พัค จงซ็อง ศิลปินชาวเกาหลีใต้-อเมริกัน
- 22 เมษายน - นภสรณ์ ศิริปาณี นักร้องชาวไทย
- 27 เมษายน - แอนโทนี เอลังกา นักฟุตบอลชาวสวีเดน
- 30 เมษายน - โช ซอย็อง ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 4 พฤษภาคม - ศิภัชรดา ผิวทอง นักแสดงหญิงชาวไทย
- 7 พฤษภาคม - บัง เยดัม ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 10 พฤษภาคม - คิม จีมิน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 23 พฤษภาคม - อภิชญา ทองคำ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 30 พฤษภาคม - อาณัชญา สุพุทธิพงศ์ นักร้องชาวไทย
- 16 มิถุนายน - อนุวัฒน์ แซ่โจว นักร้องชาวไทย
- 9 กรกฎาคม -
- พิมรภัส ผดุงวัฒนะโชค นักร้องชาวไทย
- ชา จุนโฮ ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 16 กรกฎาคม - พันวา พรหมเทพ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 22 กรกฎาคม - เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งเดนมาร์ก พระโอรสในเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์กและอเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก
- 31 กรกฎาคม - พศวีร์ ศรีอรุโณทัย สมาชิกวง TPOP BUS
- 4 กรกฎาคม - สุชญา แสนโคต นักร้องชาวไทย
- 8 สิงหาคม - ณฐสิชณ์ เอื้อเอกสิชฌ์ นักแสดงชาวไทย
- 14 สิงหาคม - ฮยูนิง ไค ศิลปินชาวเกาหลีใต้-อเมริกัน
- 24 สิงหาคม - อติรุจ แสงเทียน นักแสดงชาวไทย
- 3 กันยายน - จณิสตา ตันศิริ นักร้องชาวไทย
- 8 กันยายน - เกเตน มาตาราซโซ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 9 กันยายน - ซน ดงพโย ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 17 กันยายน - คัง มินฮี ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 18 กันยายน - ปาฏลี ประเสริฐธีระชัย นักร้องชาวไทย
- 30 กันยายน - ย็อม แทกยุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 20 ตุลาคม - เยเรมิ ปิโน นักฟุตบอลชาวสเปน
- 23 ตุลาคม - หนิง อี้จั๋ว ศิลปินชาวจีน
- 26 ตุลาคม -
- 31 ตุลาคม - อันซู ฟาตี นักฟุตบอลชาวสเปน
- 6 พฤศจิกายน - โมริ โคยูกิ ศิลปินชาวญี่ปุ่น
- 10 พฤศจิกายน - เอดัวร์โด กามาวีงกา นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 11 พฤศจิกายน - อิม ยอจิน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 13 พฤศจิกายน -
- ดนุภา คณาธีรกุล แร๊ปเปอร์ชาวไทย
- เอ็มมา ราดูคานู นักเทนนิสอาชีพชาวอังกฤษ
- จิโอวานนี เรย์นา นักฟุตบอลชาวสหรัฐ
- 15 พฤศจิกายน -
- ญาณิศา เมืองคำ นักร้องชาวไทย
- ชิม แจยุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้-ออสเตรเลีย
- 25 พฤศจิกายน - เปดริ นักฟุตบอลชาวสเปน
- 30 พฤศจิกายน - ซง ฮย็องจุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 3 ธันวาคม - ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา นักร้องชาวไทย
- 5 ธันวาคม - ลี แชย็อง ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 8 ธันวาคม - พัค ซ็องฮุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 12 ธันวาคม - กฤษณ์ กัญจนาทิพย์ สมาชิกวงTpop บัส
- 23 ธันวาคม - ฟินน์ วูล์ฟฮาร์ด นักแสดงและนักดนตรีชาวแคนาดา
- 25 ธันวาคม - อ๋าว จื่ออี้ ศิลปินนักแสดงชาวจีน
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 9 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน (ประสูติ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2473)
- 20 กุมภาพันธ์ - อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ นักร้อง (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2514)
มีนาคม
[แก้]- 30 มีนาคม - สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (พระราชสมภพ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2443)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน - ซิโม แฮวแฮ พลซุ่มยิงชาวฟินแลนด์ (เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2448)
- 30 เมษายน - ล้อต๊อก นักแสดงตลกและศิลปินแห่งชาติ(เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2457)
พฤษภาคม
[แก้]- 3 พฤษภาคม - โมฮัมเหม็ด ฮาจี อิบราฮิม อิกอัล นายกรัฐมนตรีแห่งโซมาเลียสองสมัย (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
- 13 พฤษภาคม - หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ (ประสูติ 9 เมษายน พ.ศ. 2460)
- 18 พฤษภาคม - เดวี บอย สมิธ นักมวยปล้ำชาวอังกฤษ (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505)
มิถุนายน
[แก้]- 5 มิถุนายน - ดี ดี ราโมน มือเบสชาวอเมริกัน (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2494)
- 7 มิถุนายน - ลิเลียน เจ้าหญิงแห่งเรตี เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม (พระราชสมภพ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- 14 มิถุนายน - โฮเซ โบนียา นักมวยสากลชาวเวเนซุเอลา (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510)
- 29 มิถุนายน - โรสแมรี คลูนีย์ นักร้องและนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2471)
กรกฎาคม
[แก้]- 9 กรกฎาคม - ร็อด ชไตเกอร์ นักแสดงชายชาวอเมริกัน (เกิด 14 เมษายน พ.ศ. 2468)
- 28 กรกฎาคม - อาร์เชอร์ มาร์ติน นักเคมีชาวอังกฤษ (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2453)
สิงหาคม
[แก้]กันยายน
[แก้]ตุลาคม
[แก้]- 6 ตุลาคม -
- เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (พระราชสมภพ 6 กันยายน พ.ศ. 2469)
- ปีย์ชนิตถ์ อ้นอารี นักร้อง,นักดนตรีชาวไทย (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524)
- 12 ตุลาคม - โนโซมิ โมโมอิ นักแสดงภาพยนตร์ลามกอนาจารหญิงชาวญี่ปุ่น (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2521)
- 22 ตุลาคม - สมเด็จพระราชินีเจรัลดีนแห่งแอลเบเนีย สมเด็จพระบรมราชินีในพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย (พระราชสมภพ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2458)
- 24 ตุลาคม - แฮร์รี เฮย์ นักรณรงค์สิทธิ์ของกลุ่มรักร่วมเพศ ผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ และผู้สนับสนุนแรงงาน (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2455)
- 25 ตุลาคม – ริชาร์ด แฮร์ริส นักแสดงชาวไอริช (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2473)
พฤศจิกายน
[แก้]- 2 พฤศจิกายน - ลัว เลี่ย นักแสดงชายชาวฮ่องกง (เกิด 29 มิถุนายน พ.ศ. 2482)
- 18 พฤศจิกายน - เจมส์ โคเบิร์น นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
- 21 พฤศจิกายน – เจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดะโนะมิยะ พระภาดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (ประสูติ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2497)
ธันวาคม
[แก้]- 5 ธันวาคม - เนวี่น ผู้บัญชาการแห่งกองทัพพม่า ประธานาธิบดีพม่าคนที่ 4 (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2453)
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – John B. Fenn, Koichi Tanaka, Kurt Wüthrich
- สาขาวรรณกรรม – อิมเร เคอร์เตซ
- สาขาสันติภาพ – จิมมี คาร์เตอร์
- สาขาฟิสิกส์ – เรย์มอนด์ เดวิส, มาซาโตชิ โคชิบา, ริคคาร์โด แจ็คโคนี
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ซิดนีย์ เบรนเนอร์, เอช. โรเบิร์ต ฮอร์วิทซ์, จอห์น อี. ซุลสตัน
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Daniel Kahneman, เวอร์นอน แอล สมิธ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พ.ศ. 2545
- 2002 Year-End Google Zeitgeist - เหตุการณ์สำคัญและคำค้นภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดใน ปี ค.ศ. 2002 โดยกูเกิล