พ.ศ. 2486
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1943)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2486 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1943 MCMXLIII |
Ab urbe condita | 2696 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1392 ԹՎ ՌՅՂԲ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6693 |
ปฏิทินบาไฮ | 99–100 |
ปฏิทินเบงกอล | 1350 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2893 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 7 Geo. 6 – 8 Geo. 6 |
พุทธศักราช | 2487 |
ปฏิทินพม่า | 1305 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7451–7452 |
ปฏิทินจีน | 壬午年 (มะเมียธาตุน้ำ) 4639 หรือ 4579 — ถึง — 癸未年 (มะแมธาตุน้ำ) 4640 หรือ 4580 |
ปฏิทินคอปติก | 1659–1660 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3109 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1935–1936 |
ปฏิทินฮีบรู | 5703–5704 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1999–2000 |
- ศกสมวัต | 1865–1866 |
- กลียุค | 5044–5045 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11943 |
ปฏิทินอิกโบ | 943–944 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1321–1322 |
ปฏิทินอิสลาม | 1361–1363 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 18 (昭和18年) |
ปฏิทินจูเช | 32 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4276 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 32 民國32年 |
พุทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตาม ปฏิทินเกรกอเรียนและเป็น
- ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1305 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- เจ้านครประเทศราช: (ลำพูน) เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พ.ศ. 2454 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- นายกรัฐมนตรี: จอมพล ป. พิบูลสงคราม (16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
เหตุการณ์
[แก้]- 15 มกราคม - สร้างตึกเดอะเพนตากอน
- 25 มกราคม - ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากปาปัว
- 2 กุมภาพันธ์ -
- สถาปนา "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"[1]
- สถาปนา "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)[2]
- 2 มีนาคม - เริ่มยุทธนาวีแห่งทะเลบิสมาร์ก ญี่ปุ่นพบความเสียหายอย่างมากในยุทธนาวีครั้งนั้น
- 1 สิงหาคม - ญี่ปุ่นบุกยึดพม่าได้สำเร็จ
- 14 สิงหาคม - จัดตั้งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ศรีลังกาเป็นกองกำลังชาวพุทธเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- 20 สิงหาคม - ญี่ปุ่นยินยอมลงนามให้ไทยรวมสหรัฐไทยเดิม (เมืองเชียงตุงและเมืองพวนในรัฐฉาน) และสี่รัฐมาลัยเป็นดินแดนของไทย
- 12 ตุลาคม - สถาปนา "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[3]
เหตุการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่
[แก้]วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 3 มกราคม - ธานินทร์ อินทรเทพ นักร้องเพลงลูกกรุง
- 4 มกราคม - วีระนิด เจริญเมือง แชมป์ OPBF ชาวไทยคนที่ 9
- 5 มกราคม
- รามอน ซัมเปโดร นักเขียนชาวสเปน (ถึงแก่กรรม 12 มกราคม พ.ศ. 2538)
- รุ่งนภา ดารากุล นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 22 มีนาคม พ.ศ. 2565)
- 7 มกราคม - ซะดะโกะ ซะซะกิ เด็กหญิงชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 25 ตุลาคม พ.ศ. 2498)
- 8 มกราคม -
- สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (สิ้นพระชนม์ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
- สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นักพูด และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์
- 16 มกราคม - วินัย สมพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- 19 มกราคม -
- แจนิส จอปลิน นักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 4 ตุลาคม พ.ศ. 2513)
- เพชรา เชาวราษฎร์ นักแสดงภาพยนตร์ชื่อดังชาวไทย
- เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์
- 20 มกราคม -
- จ้าว จื้อหลิง นักแสดงชาวฮ่องกง
- ธัญ การวัฒนาศิริกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
- 21 มกราคม - ชาญเดช วีระพล นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- 24 มกราคม -
- ชารอน เทต นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 9 สิงหาคม พ.ศ. 2512)
- ประชา โพธิพิพิธ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- มานูเอล เบลัซเกซ อดีตนักฟุตบอลชาวสเปน (ถึงแก่กรรม 15 มกราคม พ.ศ. 2559)
- 26 มกราคม - ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และอดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- 31 มกราคม - ปีเตอร์ แมคร็อบบี นักแสดงชาวอเมริกัน
19 กันยายน เฉลิมชัย อดิศัย นักว่ายน้ำทีมชาติรอบคัดออก
กุมภาพันธ์
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ - เซโซ ฟุกุโมะโตะ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น
- 5 กุมภาพันธ์ - ไมเคิล แมนน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียนบท และโปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน
- 7 กุมภาพันธ์ - อรุณี ขวัญบัว นักร้อง
- 9 กุมภาพันธ์ -
- วนัสธนา สัจจกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย และอดีตผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
- สุทธ บูลีน นักเขียนชาวกัมพูชา
- 10 กุมภาพันธ์ - คิม ย็อน-จา อดีตนักวอลเลย์บอลหญิงชาวเกาหลีเหนือ
- 14 กุมภาพันธ์ - เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน
- 20 กุมภาพันธ์ - แอนโทนีโอ อิโนะกิ นักมวยปล้ำอาชีพชาวญี่ปุ่น
- 21 กุมภาพันธ์ - เดวิด เกฟเฟน ผู้อำนวยการสร้างเพลง โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ โปรดิวเซอร์ละครเวที นักการกุศลสังคม
- 22 กุมภาพันธ์ - ฮอสท์ เคอเลอร์ นักการเมืองชาวเยอรมัน
- 25 กุมภาพันธ์ -
- จอร์จ แฮร์ริสัน นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
- บูดีโยโน รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
มีนาคม
[แก้]- 1 มีนาคม - คะโต ชะ นักแสดงตลกชาวญี่ปุ่น
- 6 มีนาคม -
- เทพศิริ สุขโสภา นักเขียน จิตรกรชาวไทย ศิลปินแห่งชาติ
- องอาจ วชิรพงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- 9 มีนาคม - บอบบี ฟิชเชอร์ นักหมากรุกชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 17 มกราคม พ.ศ. 2551)
- 15 มีนาคม - เดวิด โครเนนเบิร์ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนาดา
- 17 มีนาคม - คะโยะ มะสึโอะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- 18 มีนาคม - สึโยะชิ นะกะมุระ แชมป์นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 19 มีนาคม - มารีโอ มอนตี อดีตนายกรัฐมนตรี-นักเศรษฐศาสตร์อิตาลี
- 21 มีนาคม - อันเดรียส เจ้าชายแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
- 22 มีนาคม - จอร์จ เบนสัน นักกีตาร์แจ๊สชาวอเมริกัน
- 29 มีนาคม -
- จอห์น เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
- แวนเจลิส นักดนตรีและนักแต่งเพลงชาวกรีก
- อีริก อเดิล นักแสดงตลกชาวอังกฤษ
- 31 มีนาคม -
- คริสโตเฟอร์ วอลเคน นักแสดงชาวอเมริกัน
- สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
เมษายน
[แก้]- 3 เมษายน - ณรงค์ หนานโฮ๊ะ นิยมไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่
- 5 เมษายน - ไฟติ้ง ฮาราด้า แชมป์โลกมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 8 เมษายน - อุทุมพร จามรมาน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- 10 เมษายน - เตือนใจ บุญพระรักษา นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (ถึงแก่กรรม 27 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
- 11 เมษายน - ฮาร์ลีย์ เรซ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 13 เมษายน - ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา ภริยาองคมนตรี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดจำหน่ายมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
- 16 เมษายน - พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 25 เมษายน -
- สมานฉันท์ ชมภูเทพ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน (ถึงแก่อนิจกรรม 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557)
- อันเจโล อันกวิลเลตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 9 มกราคม พ.ศ. 2558)
- 26 เมษายน - เพเทอร์ ซุมทอร์ สถาปนิกชาวสวิส
พฤษภาคม
[แก้]- 3 พฤษภาคม - ยุกิโอะ ฮะชิ นักแสดงหญิงและนักร้องชาวญี่ปุ่น
- 5 พฤษภาคม - ไมเคิล เพลิน นักแสดงตลกนักแสดงนักเขียนและนักแสดงโทรทัศน์ชาวอังกฤษ
- 6 พฤษภาคม -
- เจมส์ เทอร์เรลล์ ศิลปินชาวอเมริกัน
- พันธ์ทิพย์ แก้วสุริยะ นักมวยสากลอาชีพชาวไทย
- สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์
- 10 พฤษภาคม - เกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- 17 พฤษภาคม - สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 12 แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย
- 18 พฤษภาคม - จิมมี สนูกกา นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายฟิจิ (ถึงแก่กรรม 15 มกราคม พ.ศ. 2560)
- 28 พฤษภาคม - โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ (ถึงแก่กรรม 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน - เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ พิธีกรรายการ โลกดนตรี (ถึงแก่กรรม 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550)
- 5 มิถุนายน - โทนี มิลลิงตัน อดีตนักฟุตบอลชาวเวลส์ (ถึงแก่กรรม 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
- 6 มิถุนายน - เบอร์นาเบ้ วิลลาแคมโป แชมป์โลกฟิลิปปินส์
- 7 มิถุนายน - ซูเปอร์สตาร์ บิลลี แกรห์ม นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 12 มิถุนายน - แสงชัย สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) (ถึงแก่กรรม 11 เมษายน พ.ศ. 2539)
- 13 มิถุนายน - มัลคอล์ม แมคโดเวลล์ นักแสดงชาวองกฤษ
- 14 มิถุนายน - เจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งปารีส ประมุขของราชวงศ์ออร์เลอ็อง
- 17 มิถุนายน -
- นิวต์ กิงริช นักการเมืองชาวอเมริกัน
- แบร์รี แมนิโลว์ นักร้อง-นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวอเมริกัน
- 22 มิถุนายน - ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- 23 มิถุนายน - เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลลาแห่งซาวอย-เจนัว
- 24 มิถุนายน - ชัจจ์ กุลดิลก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- 27 มิถุนายน - เจ้าหญิงคิราแห่งปรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 10 มกราคม พ.ศ. 2547)
- 28 มิถุนายน - มิยูกิ ฮาโตยามะ อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม - สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- 3 กรกฎาคม - นิยม ประเสริฐสม นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- 10 กรกฎาคม - ศรีไพร ลูกราชบุรี นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (ถึงแก่กรรม 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543)
- 16 กรกฎาคม - สนิท กุลเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ (ถึงแก่กรรม 2 มีนาคม พ.ศ. 2561)
- 25 กรกฎาคม - เรเน่ บาเรียนโตส แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 26 กรกฎาคม - มิก แจ็กเกอร์ นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอังกฤษ
- 27 กรกฎาคม - วิเชียร คันฉ่อง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตรัง
- 29 กรกฎาคม - เปแตร์ เดล มอนเต ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทชาวอิตาลี
- 31 กรกฎาคม -
- ฉลาด วรฉัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราดและกรุงเทพมหานคร
- โลโบ (นักร้อง) นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม - วีรพงษ์ รามางกูร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- 3 สิงหาคม - เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสวีเดน เจ้าหญิงแห่งสวีเดน
- 4 สิงหาคม - วิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- 5 สิงหาคม -
- ศรวณี โพธิเทศ นักร้องลูกกรุงหญิงชาวไทย
- เสถียร จันทิมาธร สื่อมวลชนอิสระ อดีตบรรณาธิการบริหาร
- 11 สิงหาคม - เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ประธานาธิบดีคนที่ 12 ของปากีสถาน
- 16 สิงหาคม - จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ
- 17 สิงหาคม -
- รอเบิร์ต เดอ นิโร นักแสดงชาวอเมริกัน
- อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา นักแสดงชาวไทย
- 19 สิงหาคม - พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- 22 สิงหาคม - โมนีคา ลุนดี นักแสดงละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวเยอรมัน
- 28 สิงหาคม -
- ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช อดีตผู้บริหารบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)
- สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 30 สิงหาคม - จอห์น กานี นักแสดง, นักเขียน, ผู้กำกับ และนักเขียนบทละครชาวแอฟริกาใต้
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน - เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย นักธุรกิจชาวเยอรมัน
- 6 กันยายน - สัมพันธ์ บุญญานันต์ ประธานกรรมการ บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
- 7 กันยายน - เดวิด ดีน สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
- 12 กันยายน - มาโนชญ์ วิชัยกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 14 กันยายน -
- โคทม อารียา อดีตกรรมการการเลือกตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ยอน ชไนเดอร์ส นักยูโดชาวดัตช์
- 15 กันยายน -
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดงชายชาวไทย
- ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประธานกรรมการบริหารบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.)
- 18 กันยายน - กล้านรงค์ จันทิก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
- 23 กันยายน -
- กาบือ โดห์ม นักแสดงหญิงชาวออสเตรีย
- คูลิโอ อีเกลเซียส นักร้องชาวสเปน
- เสริมศักดิ์ การุญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง
- อันตอนีโอ ตาบุคคี นักเขียนชาวอิตาลี (ถึงแก่กรรม 25 มีนาคม พ.ศ. 2555)
- 25 กันยายน - รอเบิร์ต เกตส์ รัฐบุรุษชาวอเมริกัน
- 27 กันยายน - ประทุมพร วัชรเสถียร นักเขียน พิธีกร อาจารย์ชาวไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- 28 กันยายน - หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
- 29 กันยายน - แลค เวาแองซา นักการเมืองชาวโปแลนด์
- 30 กันยายน -
- กริช กงเพชร อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- เจ้าชายบ๋าว ทั้ง พระโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม (ถึงแก่กรรม 17 มีนาคม พ.ศ. 2560)
19กันยายน นายเฉิน อดิศัย นักว่ายน้ำทีมชาติรอบคัดออก
ตุลาคม
[แก้]- 8 ตุลาคม - คาลอส ซูริตา ดยุกแห่งโซเรีย
- 10 ตุลาคม -
- อเล็กซานเดอร์ แมคมิลลาน เอิร์ลที่ 2 แห่งสต็อกตัน
- บุญรื่น ศรีธเรศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์
- 13 ตุลาคม - วอลเตอร์ แม็คโกแวน แชมป์นักมวยสากลชาวสกอตแลนด์
- 14 ตุลาคม - โมแฮมแมด ฆอแทมี นักการเมืองชาวอิหร่าน
- 17 ตุลาคม - สมเด็จพระบรมเรียมนโรดม ยุวนาถ
- 22 ตุลาคม - กาทรีน เดอเนิฟว์ นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส
- 23 ตุลาคม - จองชัย เที่ยงธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
- 28 ตุลาคม - สุกรี อ่อนฉ่ำ นักกอล์ฟชาวไทย
- 29 ตุลาคม - อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์ นักฟิสิกส์ชาวแคนาดา
พฤศจิกายน
[แก้]- 1 พฤศจิกายน - หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลฎีกา และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 6 พฤศจิกายน - เคน แพตเทรา อดีตนักมวยปล้ำอาชีพ, นักยกน้ำหนักชาวอเมริกัน
- 7 พฤศจิกายน - โจนี มิตเชลล์ นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง และจิตรกรชาวแคนาดา
- 9 พฤศจิกายน - มนตรี พงษ์พานิช อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข (ถึงแก่กรรม 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
- 12 พฤศจิกายน - ชัชวาลล์ คงอุดม นักธุรกิจและนักการเมือง
- 13 พฤศจิกายน - แคทเทอรีน แคร์รี เบ็ทติส พระชายาพระองค์ที่2ในเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งยูโกสลาเวีย
- 14 พฤศจิกายน - ปีเตอร์ นอร์ตัน โปรแกรมเมอร์, ผู้เผยแพร่ซอฟต์แวร์, นักเขียน และนักการกุศลชาวอเมริกัน
- 16 พฤศจิกายน - ไว ชิง โฮ นักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ชาวฮ่องกง
- 18 พฤศจิกายน - ฉันทนา กิติยพันธ์ นักร้อง นักแสดง และนักพากย์ชาวไทย
- 21 พฤศจิกายน - พนมไพร ลูกเพชร นักร้องลูกทุ่งชายชื่อดัง ชาวไทย
- 23 พฤศจิกายน - เดอนี ซาซู-อึนแกโซ นักการเมืองชาวคองโกและประธานาธิบดีสาธารณรัฐคองโก
- 25 พฤศจิกายน - เตช บุนนาค อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 26 พฤศจิกายน - มาริลินน์ โรบินสัน นักเขียนนวนิยายและนักเขียนบทความชาวอเมริกัน
- 27 พฤศจิกายน - เจ้าชายอะเมเดโอ ดยุกที่ 5 แห่งโอสตา พระโอรสเพียงพระองค์เดียว
- 29 พฤศจิกายน - เอเฟรน ตอร์เร อดีตแชมป์โลกนักมวยสากลชาวเม็กซิกัน (ถึงแก่กรรม 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
ธันวาคม
[แก้]- 8 ธันวาคม -
- จิม มอร์ริสัน นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2514)
- ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- 11 ธันวาคม -
- จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
- เจ้าหญิงโกลดแห่งออร์เลอ็อง
- 13 ธันวาคม - เกอร์เทราด์ เยสเซอร์เออร์ นักแสดงภาพยนตร์ชาวออสเตรีย
- 15 ธันวาคม - ประสงค์ โฆษิตานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเพชรบูรณ์
- 22 ธันวาคม - เปโดร อาดิเก จูเนียร์ แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 23 ธันวาคม - สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน
- 24 ธันวาคม - อภัย จันทนจุลกะ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 30 ธันวาคม - ภุชงค์ รุ่งโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชลบุรี
- 31 ธันวาคม -
- จอห์น เดนเวอร์ นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 12 ตุลาคม พ.ศ. 2540)
- เบน คิงสลีย์ นักแสดงชายชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย
ไม่ทราบวันเกิด
[แก้]- ธนิต ธรรมสุคติ นักเขียนชาวไทย
- วรรณา สวัสดิ์ศรี นักเขียนชาวไทย
- สมเด็จพระราชาธิบดีเปเตโล วิเคนา พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอาโล
- อาร์มิน ไมเออร์ นักแสดงชายชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521)
- เฮิร์ซล์ โบดิงเงอร์ กองทัพอากาศอิสราเอล
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2419)
- 1 ธันวาคม - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405)
- 5 พฤศจิกายน - เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์สุดท้าย
- 22 มีนาคม - เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397)
รางวัล
[แก้]รางวัลโนเบล
[แก้]- สาขาเคมี – George de Hevesy
- สาขาวรรณกรรม – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาสันติภาพ – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาฟิสิกส์ – ออตโต สเติร์น
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – คาร์ล ปีเตอร์ เฮนริก ดาม, เอ็ดเวิร์ด อเดลเบิร์ท ดอยซี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 เล่ม 228 หน้า 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486, ราชกิจจานุเบกษา 2 กุมภาพันธ์ 2486 หน้า 212 เล่ม 60 ตอนที่ 7
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54