ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร
เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี (หรือ เซโฮเทปอิบเรที่ 1 หรือ เซเฮเทปอิบเรที่ 2 ขึ้นอยู่กับนักวิชาการ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในต้นสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้า[1]หรือสิบ[2]แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม
ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซโฮเทปอิบเร เซอูเซคโทวี, เซเวสค์โทวี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กระบอกพระราชลัญจกรที่ทำจากแลพิสแลซูลี และปรากฏคาร์ทูชของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 2 ปี, ระหว่าง 1783 – 1781 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนบนูนิ (รีฮอล์ต & เบเกอร์), อเมเนมเฮตที่ 5 (ฟอน เบ็คเคอราท & ฟรานเคอ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เซวัดจ์คาเร (รีฮอล์ต & เบเกอร์), อิยูฟนิ (ฟอน เบ็คเคอราท & ฟรานเคอ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสาม |
ตำแหน่งตามลำดับเวลา
แก้ตำแหน่งของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวีภายในราชวงศ์ที่สิบสามนั้นไม่ชัดเจนนัก ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่เขียนขึ้นในช่วงต้นสมัยรามเสส ปรากฏฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ที่ทรงใช้พระนาม "เซเฮเทปอิบเร" ทั้งในคอลัมน์ที่ 7[3] (ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฏพระนามของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสาม) โดยฟาโรห์ "เซเฮเทปอิบเร" พระองค์แรกปรากฏเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่ของราชวงศ์ และฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรอีกพระองค์อยู่ลำดับที่แปด ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวีได้โดยการใช้หลักฐานเพียงบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์กล่าวว่า ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวีเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบของราชวงศ์ ซึ่งครองราชย์เป็นระยะเวลาสองปีตั้งแต่ 1783 จนถึง 1781 ปีก่อนคริสตกาล[2][4] พวกเขาเชื่อว่า ฟาโรห์ "เซเฮเทปอิบเร" พระองค์แรกเป็นการบันทึกพระนามผิดพลาด ซึ่งน่าจะเป็นพระนามของฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ พวกเขายังเสนอความเห็นอีกว่าผู้เขียนบันทึกดังกล่าวไม่ได้บันทึกพระนามฟาโรห์อีกสองพระองค์คือ ฟาโรห์เนริคาเร และฟาโรห์อเมนิ เกมาอู ซึ่งส่งผลให้ลำดับตำแหน่งของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี ซึ่งเดิมทีแล้วพระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบของราชวงศ์แต่กลับกลายมาเป็นฟาโรห์พระองค์ที่แปดแทน[2] ในทางกลับกัน เดตเลฟ ฟรานเคอ และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท ได้มองว่า ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี เป็นฟาโรห์ "เซเฮเทปอิบเร" พระองค์แรกที่ปรากฏพระนามอยู่ในในบันทึกพระนามแห่งตูริน และด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์ โดยฟรานเคอและฟอน เบ็คเคอราทต่างก็ระบุให้ฟาโรห์ "เซเฮเทปอิบเร" พระองค์ที่สองกับ ฟาโรห์โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกัน[5][6][7]
หลักฐานรับรอง
แก้เป็นเวลานานแล้วที่ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรเป็นที่ทราบจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินและตราประทับทรงกระบอกที่ทำจากลาพิสลาซูลิเพียงชิ้นเดียว โดยตราประทับที่ไม่ทราบที่มาถูกซื้อโดยนักสะสมส่วนตัวในกรุงไคโรและในที่สุดก็ขายให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่นั้น[8] บนตราประทับปรากฏพระนามครองราชย์ของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรและตราประทับถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แด่ "เทพีฮาธอร์, สตรีแห่ง[ไบบลอส]"[2] ตราประทับถูกจารึกเพิ่มเติมด้วยชื่อผู้ปกครองเมืองของไบบลอสในอักษรคูนิฟอร์มนามว่า ยาคิน-อิลู โดยนักโบราณคดี วิลเลียม เอฟ. อัลไบร์ทได้ระบุคร่าวๆ ว่า ยาคิน-อิลู กับผู้ปกครองนามว่า ยาคิม ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกที่ค้นพบในไบบลอสร่วมกับยันตินู บุตรชายของเขา ซึ่งนั่งอยู่บนบัลลังก์ถัดจากคาร์ทูชของฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1[2][9] หากสมมติฐานของอัลไบร์ทถูกต้อง ฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรจะเป็นรุ่นหนึ่งที่ลบออกจากฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1
หลักฐานรับรองร่วมสมัยที่สำคัญของฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรคือ จารึกที่ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1980 และถูกค้นพบก่อนหน้านี้ที่ญะบัล เซอิตที่บริเวณริมทะเลแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเหมืองกาเลนา จารึกดังกล่าวปรากฏพระนามฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรร่วมกับพระนามฮอรัส "เซเวเซคทาวี" ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นร่วมสมัยกับรัชสมัยของพระองค์ และจะยืนยันการมีอยู่ของฟาโรห์พระองค์นี้ต่อไป[4][10]
นอกจากนี้ พบตราประทับสคารับจำนวน 2 ชิ้นที่พบในเศษซากจากสุสานพีระมิดทางเหนือที่อัล-ลิชต์ ซึ่งปรากฏพระนามฟาโรห์เซเฮเทปอิบเรที่เขียนโดยไม่มีกรอบคาร์ทูช[11] พบตราประทับที่เทล อัล-อัยยูลจากสมัยสำริดตอนกลาง (สมัยช่วงระหว่างกลางที่สองตามประวัติศาตร์อียิปต์)[12] แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าตราประทับเหล่านี้จะอ้างถึงบุคคลคนเดียวกันหรือไม่
อ้างอิง
แก้- ↑ Thomas Schneider: Ancient Egyptian Chronology - Edited by Erik Hornung, Rolf Krauss, And David a. Warburton, available online, see p. 176
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ Position within the papyrus: Column 7, line 8 and 7.12 - The column starts with rulers of the Twelfth Dynasty
- ↑ 4.0 4.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 359-360
- ↑ Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches (12.-18. Dynastie) Teil 1 : Die 12. Dynastie, in Orientalia 57 (1988)
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
- ↑ Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
- ↑ Seal of Sehetepibre at the MMA, picture and context.
- ↑ W. M. F. Albright: An Indirect Synchronism between Egypt and Mesopotamia, cir. 1730 BC, BASOR 99 (1945)
- ↑ P. Mey, G. Castel, J.-P. Goyon: Installations rupestres du moyen et du nouvel empire au Gebel Zeit (près de Râs Dib), In: Mitteilungen des deutschen Archäologischen Institutes Kairo 36 (1980), 303-305, fig. 1 [1], pl. 80 [a]
- ↑ MMA 09.180.1203, 09.180.1204; see Ben-Tor, Daphna (2007). Scarabs, Chronology, and Interconnections: Egypt and Palestine in the Second Intermediate Period. Friburg: Academic Press. p. 111, Pl. 49:5-61.
- ↑ Petrie, William Flinders; Mackay, Ernest J. H .; Murray, Margaret A. (1952). City of Shepherd Kings and Ancient Gaza V. London: British School of Egyptian Archaeology, University College. Pl. V:124.